ผู้เขียน หัวข้อ: มือของอัลเลาะฮ์ตามหลักอากีดะฮ์ของวะฮาบีย์  (อ่าน 24039 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
เป็นวะฮาบีย์กับอยู่ในหลักการวะฮาบีย์หรืออยู่ในหลักอะกีดะฮ์วะฮาบีย์  มันต่างกันใหมครับ ?  ดังนั้น  ผมไม่พยายามจะบอกว่า  เขาเป็นวะฮาบีย์  แต่ผมพยายามจะบอกว่า เขาอยู่ในหลักการของวะฮาบีย์  เขาอยู่ในแนวทางของวะฮาบีย์  เขาอยู่ในหลักอะกีดะฮ์ของวะฮาบีย์   เพราะฉะนั้น  หากพี่น้องคนหนึ่งของผมที่เป็นชาฟิอีย์  แต่ในช่วงวันหนึ่ง  เขาไปละหมาดไม่อ่านบิสมิลลาห์  ผมไม่พยายามบอกว่าเขาว่าเป็นหะนะฟีย์หรอกครับ  แต่ผมจะบอกว่า  เขารับหลักการหรือแนวทางของหะนะฟีย์มาปฏิบัติ 

แต่ทำไมเราต้องเรียกว่า  นี่แนวทางของวะฮาบีย์  นี่แนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์  ต่างคนก็บอกว่าฝ่ายตนเองคืออะฮ์ลิสซุนนะฮ์  ต่างฝ่ายก็บอกว่าตนเองคือสะลัฟและอยู่ในแนวทางของสะลัฟ  ดังนั้น  หากมาคุยกันต่างฝ่ายต่างแทนชื่อแนวทางตนเอง  โดยใช้ชื่อเดียวกัน  มันก็สับสน   ดังนั้น ธรรมเนียมที่นักปราชญ์อิสลามเขายึดปฏิบัติในการเรียกชื่อ  เพราะดังนี้ครับ

ท่านอิมาม อัลหาฟิซฺ อิบนุ อะซากิร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรีย์" ว่า " เราไม่ได้ทำการอ้างพาดพิงกับมัซฮับของเราในเรื่องหลักเตาฮีดไปยังอิมามอัลอัชอะรีย์บนความหมายที่ว่าเราทำการตักลีดเขาในเรื่องเตาฮีดและเราได้ยึดถือกับตัวเขา แต่เรามีความเห็นสอดคล้องกับเขา กับสิ่งที่เป็นทัศนะของเขาจากเรื่องเตาฮีดเพราะว่ามีบรรดาหลักฐานมายืนยันถึงความถูกต้อง ไม่ใช่เพียงเพราะการตัดลีด และแท้จริง ส่วนหนึ่งจากพวกเราได้ทำการพาดพิงไปยังมัซฮับของอิมามอัล-อัชอะรีย์นั้น เพื่อที่จะแยกออกจากพวกบิดอะฮ์ที่ไม่ได้กล่าวทัศนะตามท่านอิมามอัล-อัชอะรีย์" ดู หน้าที่ 362

วัลลอฮุอะลัม   
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

aswar

  • บุคคลทั่วไป
"ทั้งสองคนไม่ได้มีความเห็นแตกต่างกันเท่าใดนัก "

แตกต่างกันมากครับ เพราะการยืนยันความหมายศิฟะฮ์ไปตามหะกีเกาะฮ์นั้น หมายถึงการยืนยันว่าอัลลอฮ์ทรงมีอวัยวะ ทรงมีรูปร่างซึ่งหมายถึงการมีปริมาณ และมิติตื้นลึกหนาบาง รวมถึงต้องการสถานที่ด้วย ซึ่งดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อเรายืนยันความหมายตามนัยยะเชิงภาษาอย่างแท้จริงครับ(หะกีเกาะฮ์) ซึ่งอยู่ในคำของบังอะสันที่ว่า "แต่ความ เป็นสิฟัตของพระหัตถ์(اليد )นั้น ย่อมมีอยู่จริง เป็นมือที่แท้จริง (หะกีกัต) "ครับ แล้วการยืนยันความหมายศิฟะฮ์ของอัลลอฮ์ตามหะกีเกาะฮ์ และซอฮิรนั้นเป็นทัศนะของใครหรือครับคุณ Goddut?ก็ วะฮาบียะฮ์ไงครับ หรือจะว่าเป็นของใคร?

แต่สิ่งที่ทำให้คุณสับสนอยู่ และอีกหลายคนด้วยคือ ทั้งที่บังอะสันยืนยันว่าความหมายศิฟะฮ์นั้นต้องเป็นไปตามหะกีเกาะฮ์ แต่ขณะเดียวกันก็รับรองคำพูดของคุณมุนีรที่ว่า

?พูดง่ายๆคือ เราไม่แปลความหมายคำว่า มือ เป็นอย่างอื่น
และเราก็ไม่ได้แปลตรงๆตัวด้วย ว่าเป็นมือที่มีนิ้ว นิ้วที่มีเล็บอยู่ปลายนิ้ว ไรอย่างนี้...................แล้วเราก็มอบความหมาย และความรู้เรื่องนี้ให้กับอัลลอฮองค์เดียว?

ว่าถูกต้อง และเคยยกคำจากอิมามอัลบันนาที่เกี่ยวกับการมอบหมายความหมาย(ตัฟวีฎ)เพื่อสนับสนุนอะกีดะฮ์ของตนมาแล้ว

ซึ่งคำว่า ?เราก็มอบความหมายให้กับอัลลอฮ์? ของคุณมุนีรนั้นภาษาอรับเรียกว่า ตัฟวีฎ นั่นเอง
ประเด็นคือ การตัฟวีฎ กับการยืนยันหะกีเกาะฮ์นั้นตรงข้ามกัน ฉะนั้นคนที่ยืนยันหะกีเกาะฮ์ เขาจะปฏิเสธการตัฟวีฎ และคนที่ตัฟวีฎก็จะปฏิเสธหะกีเกาะฮ์  เพราะทั้งสองอย่างเป็นสิ่งตรงกันข้ามที่ไม่สามารถรวมกันได้ในบุคคลคนคนเดียว แต่บังอะสันกลับยืนยันทั้งสองในเวลาเดียวกัน

ทางออกที่จะทำให้เข้าใจการกระทำแบบนี้ของบังอะสันก็มีอยู่แค่สองทางคือ
1.   เป็นทัศนะใหม่ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในอุมมะฮ์อิสลามียะฮ์มาก่อนเลยไม่ว่ากลุ่มไหน หรือ...
2.   เป็นเพราะบังอะสันมีความเข้าใจไม่เพียงพอต่อมัสอาละฮ์นี้ ซึ่งผมเลือกข้อนี้ครับ

ส่วนที่บอกว่าข้อมูลที่อ้างไม่เกี่ยวเนื่องกับวะฮาบีย์เลยนั้น ผมอยากให้คุณทราบว่าอะกีดะฮ์ที่วะฮาบียะฮ์มีอยู่นั้นมีแกนหลักอยู่ที่ ท่านอิมาม อิบนุ ตัยมียะฮ์ แล้วบังอะสันมีการอ้างอิงจากท่านหรือไม่ครับ? (กลับไปดูครับ) และตัฟสีรอัสสะอ์ดีย์ที่มีการอ้างถึงนั้นเป็นของใครหรือครับ? จึงกล่าวว่าไม่เกี่ยวเนื่องกับวะฮาบีย์เลย และเรียนให้ทราบว่าส่วนใหญ่แล้วบังอะสันจะไม่เรียบเรียงบทความด้วยสำนวนตนเอง แต่จะยกคำพูดผู้อื่นมาแปลเสียมากกว่า ซึ่งถ้าเป็นการแปลเรารู้หรือครับว่าเจ้าของคำพูดเป็น หรือไม่เป็นวะฮาบีย์?(แต่เนื้อหามันยืนยันอยู่)

อาจจะออกแนวเหมือนว่าโต้คำพูดคุณนะครับ แต่จริงๆอยากอธิบายให้เข้าใจน่ะครับ ไม่ได้จะโต้อะไรหรอกครับ

วัสสลาม

aswar

  • บุคคลทั่วไป
เสริมหน่อยครับ

บังอะสันพูดว่า "ดังนั้น ถ้าคนที่ไม่ตีความคำนี้ ถูกเรียกว่า"วะฮบีย" ตามคำกล่าวหาในเว็บนักศึกษาไคโร แล้วท่านนบีมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ถูกกล่าวหาว่า "เป็นวะฮบีย์ที่มีอะกีดะฮบิดอะฮหรือ? "

คำนี้ก็อีกเหมือนกันนะครับ บังอะสันพยายามชี้เห็นว่าเวปแห่งนี้กล่าวไว้ว่า "ถ้าใครไม่ตีความคำว่ามือถือเป็นวะฮาบีย์"ซึ่งมันจริงหรือเปล่าล่ะครับคุณมุนีร คุณ Goddut ครับ อะชาอิเราะฮ์ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าแนวทางสลัฟนั้นไม่ตะวีลตีความศิฟะฮ์ และก็ถือว่าแนวทางสลัฟที่ไม่ตีความนี้เป็นแนวทางที่ปลอดภัย คุณอัลอัซฮารีย์ก็เคยพูดเรื่องนี้ไว้แล้ว แต่บังอะสันเชื่อยังไงก็ยังยืนยันจะเชื่อเช่นนั้นแม้จะมีการชี้แจงอย่างชัดเจนแล้วก็ตาม ทำให้ผมไม่เข้าใจว่าบังอะสันต้องการอะไร?

เพราะบังอะสันใช้คำว่า "ตามคำกล่าวหาในเว็บนักศึกษาไคโร" นั่นแสดงว่ามีการกล่าวจริง ณ ที่แห่งนี้ว่า ถ้าไม่ตีความคำนี้ จะถูกเรียกว่า วะฮาบีย์ ซึ่งผมเองยังไม่เคยเห็นเลยเจ้าข้อความผิดๆแบบนี้ แล้วยังจบด้วยการโยงหาท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อีกเพื่อให้เห็นว่าบังอะสันนั้นดำเนินตามท่านนบี แต่ผู้คน ณ ที่นี้ไม่

ที่พูดนี่ไม่ได้จะตอบโต้บังอะสันหรอกนะครับ ถ้าบังอ่านด้วยก็มะอัฟด้วยครับที่ต้องวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา แต่นั่นเป็นเรื่องรองครับ ผมเพียงอยากชี้ให้คนทั่วๆไปที่มีสติปัญญาอย่างคุณ มุนีร คุณ Goddut มองดู และตรึกตรองให้ชัดเจน และไม่ถูกทำให้ไขว้เขวด้วยคำที่ไม่เป็นจริง และความรู้ ความเข้าใจที่ไม่เพียงพอ(ในประเด็นนั้นๆ)

วัสสลาม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ขอบคุณมากครับคุณ "อัสวาร"  ที่มาชี้แจงให้ความรู้แก่พี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์   เราหวังว่า  หากคุณว่าง ๆ จากภาระกิจ  ก็กรุณาปลีกเวลามาให้ความรู้แก่พี่น้องของเราอีกน่ะครับ

เมื่อผมกลับไปอ่านสิ่งที่บังอะสัน นำเสนอหลักการของตนในเวปของเขา  ที่ คุณ ก๊อดดัท  ได้นำมาอ้างอิงเพื่อแจ้งให้เราทราบและขอให้เราชี้แจง   ผมเห็นว่าบังอะสันนำเสนอสิ่งเดิม ๆ ไม่มีอะไรใหม่  ซึ่งเราได้เคยเสวนากันมาแล้ว 

เมื่อเป็นเช่นนี้   ผมจึงขอนำเสนอสิ่งที่เราเคยเสวนากับบังอะสันในเวปมุรีด  เกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทู้นี้  ซึ่งสิ่งที่ผมจะนำเสนอนั้น  ได้ทำการแก้ต่างและชี้แจงสิ่งที่บังอะสันนำเสนอมาทั้งหมดในเวปของเขาแล้วครับ   
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อ้างอิงจากบังอะสัน

มันไปไม่ได้ที่ท่านรซูลลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะละเลยจากการอธิบายในสิ่งที่จะสร้างความคลุมเครือในเรื่องอะกิดะฮ และ ในเรื่องการปฏิบัติ ตามหลักการที่ว่า

تأخيرالبيان عند وقت الحاجة لايجوز

การประวิงการอธิบายเมื่อถึงเวลาจำเป็นจำเป็น นั้น ย่อมไม่อนุญาต

ในอัลกุรอ่าน ซูเราะฮอัลมาอิดะฮ/67 ระบุไว้ว่า

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ

[5.67> ร่อซู้ลเอ๋ย ! จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระเจ้าของเข้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นจะทรงคุ้มกันเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงแนะนำพวกที่ปฏิเสธศรัทธา

ตอบ

ผมขอเรียนเสริมสักนิดว่า เราอัลอะชาอิเราะฮ์ ไม่ได้ปฏิเสธซีฟัต ที่อัลเลาะฮ์ทรงระบุเอาไว้ และเราก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่อง "ถ้อยคำ" ที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาเอาไว้  แต่ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า เราจะให้ความหมายมันอย่างไรกับซีฟัตอันสูงส่งของพระองค์อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ? การที่สะลัฟมอบหมายกับความหมายของซีฟัตสำหรับอัลเลาะฮ์นั้น ไม่ใช่หมายความว่าเขาไม่รู้ความหมาย แต่พวกเขา "ไม่ได้เจาะความหมายมันเอาไว้ต่างหาก" โดยมอบหมายความหมายซีฟัตเหล่านั้นไปยังผู้ที่กล่าวมัน คืออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) และท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.บ.)

ดังนั้น การที่สะลัฟไม่ได้เจาะจงความหมาย ก็ไม่ใช่หมายถึง ซีฟัต เหล่านั้น ไม่มีความหมายแบบฮะกีกัตตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) แต่สะลัฟแล้ว พวกเขาเชื่อว่ามันเป็นซีฟัตที่สูงส่งยิ่งนัก ดังนั้น ความอ่อนแอในความบ่าวที่มีต่ออัลเลาะฮ์   สะลัฟส่วนมากจึงไม่ทำการเจาะจงความหมายและก็ทำการมอบหมายความรู้ดังกล่าวให้ไปยังอัลเลาะฮ์  ส่วนรูปแบบวิธีการเป็นอย่างไรนั้นย่อมไม่ต้องพูดถึงแล้ว เพราะความหมายก็ได้มอบหมายไปแล้ว

การที่บรรดาสะลัฟส่วนมากที่ทำการมอบหมายในบางซีฟัต ที่มีข้อบ่งชี้ "มุตะชาบิฮาต" นั้น มันเป็นซีฟัตที่ไม่ได้เป็นเงื่อนไข ในการเป็นมุสลิมที่จะต้องรู้(ฟัรดู)   ไม่ใช่ว่าหากกาเฟรจะเข้าเป็นมุสลิมแล้ว ก็จำเป็นต้องรู้ความหมายซีฟัต ที่มีข้อบ่งชี้มะตะชาบิฮาตาเหล่านี้ ก็หาไม่!  ท่านนบี(ซ.ล.) ก็ไม่ได้สอนและเรียกรอ้งให้กาเฟรเข้ารับอิสลาม ด้วยการรู้ซีฟัตที่มีข้อบ่งชี้ มุตะชาบิฮาตเหล่านี้  , บรรดาซอฮาบะฮ์ก็ไม่ได้เผยแผ่อิสลาม โดยใช้ให้ผู้คนจำเป็นต้องรับรู้ความหมายซิฟัตที่มีข้อบ่งชี้ มุตะชาบิฮาต เหล่านี้  ดังนั้น การเป็นมุสลิมนั้น สะลัฟต่างมีมติสอดคล้องกันว่า ไม่จำเป็นต้องรู้ความหมายซีฟัต เหล่านี้ และการรับรู้ความหมายซีฟัตเหล่านี้ ก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการเป็นมุสลิม  เมื่อเป็นเช่นนี้  บรรดาสะละฟุศศอลิหฺ จึงทำการมอบหมายความหมายไปยังอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) โดยไม่พยายามกล่าวถึงมัน เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะกล่าวถึงมันครับ เมื่อเป็นเช่นนี้ "การประวิงเวลาในการอธิบาย จึงอนุญาติ เนื่องจากมันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายฮะกีกัตซีฟัตของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)"

และประเด็นที่บังอะสันนำเสนอทัศนะของตนเองจากวะฮาบีย์ หรือคุณ ijd ได้นำเสนอหลักการที่อุลามาอ์วะฮาบีย์มานั้น เราก็ทราบดีว่า คุณต้องเชื่อตามนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมก็ถึงถามว่า

แล้วสิ่งที่ผมได้นำเสนอไปละครับ มันไปสอดคล้องกับหลักการดังกล่าวตามทัศนะของวะฮาบีย์ไหมครับ ที่ผมได้กล่าวถามไปแล้วว่า

คำว่า اليد (ที่วะฮาบีย์แปลว่ามือหรือพระหัตถ์) ที่เป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)นั้น

วะฮาบีย์เข้าใจว่า

1- ความหมายเป็นที่รู้กัน معلوم المعنى

2- มีความหมายแบบคำตรง حقيقة

3- ตรงในเชิงภาษา وفق اللغة

4- เมื่อได้ยินแล้ว ความหมายแรกที่สมองคนเราเข้าใจ นั่นคือจุดมุ่งหมาย ما يسبق الى الذهن

เมื่อผมศึกษาดูแล้ว ปรากฏว่าความหมายคำว่า اليد ที่เป็นความหมายที่รู้กันดี มีความหมายแบบคำตรง ในเชิงภาษา ที่คนฟังแล้วเข้าใจเลยนั้น คือ "อวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่เป็นฝ่ามือและมีนิ้ว" แล้วจู่ๆ วะฮาบีย์ก็บอกว่า "แต่มันไม่เหมือนกับมัคโลค" ??? แล้วมือของมัคโลคที่รู้ความหมายกันดีแบบคำตรงที่สมองคนเราเข้าใจเลยนั้นมันเป็นอย่างไรกันหรือครับ?? แล้วคนเอาวามทั่วไป เขาจะเชื่อกันอย่างไรครับ? แล้วสะลัฟเขาเชื่อกันอย่างนี้หรือ?
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อ้างจากบังอะสัน

อิหม่ามอิบนุคุซัยมะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

...وزعم بعض الجهمية: أن معنى قوله: «خلق الله آدم بيديه» أي: بقوته، فزعم أن اليد هي القوة، وهذا من التبديل أيضًا، وهو جهل بلغة العرب، والقوة إنما تسمى الأيد بلغة العرب، لا اليد، فمن لا يفرق بين اليد والأيد= فهو إلى التعليم والتسليم إلى الكتاتيب أحوج منه إلى الترؤس والمناظرة، قد أعلمنا الله عز وجل أنه خلق السماء بأيدٍ، واليد واليدان غير الأيد، إذ لو كان اللهُ خلقَ آدمَ بأيدٍ كخلقه السماء -دون أن يكون الله خص خلق آدم بيديه- لما قال لإبليس: ﴿ما منعك أن تسجد لما خلقت بيدي﴾، ولا شك ولا ريب: أن الله عز وجل قد خلق إبليس عليه لعنة الله أيضا بقوته، أي إذا كان قويا على خلقه، فما معنى قوله: ﴿ما منعك أن تسجد لما خلقت بيدي﴾ عند هؤلاء المعطلة؟ والبعوض والنمل وكل مخلوق= فاللهُ خلقهم عنده بأيد وقوة

พวกญะฮมียะฮบางคน กล่าวอ้างว่า แท้จริงความหมายของ คำพูดของท่านนบีที่ว่า ?(อัลลอฮทรงสร้างอาดัม ด้วยสองพระหัตถ์ของพระองค์) หมายถึง พลังอำนาจของพระองค์ แล้ว เขาอ้างว่า แท้จริงคำว่า ?اليد ? คือ พลังอำนาจ และนี้คือ ส่วนหนึ่ง จากการเปลี่ยนความหมายของคำอีกเช่นกัน และเขาเอง ไม่เข้าใจ ภาษาของชาวอาหรับ และ คำว่า ?พลังอำนาจ?นั้น ความจริง มันถูกเรียกว่า ?الأيد ? ตามภาษาชาวอาหรับ ไม่ใช่คำว่า ?اليد ? ดังนั้น ผู้ใด ไม่แยกแยะระหว่างความหมายของคำ ว่า اليد (อัลยัด) และ คำว่า ?الأيد (อัลอัยดุ) ? ดังนั้นก็ให้เขาไปศึกษา และมอบตัว กับบรรดาโรงเรียนอนุบาล ซึ่งจำเป็นยิ่งกว่า ที่จะไปเป็นผู้นำและผู้โต้แย้ง , แท้จริงอัลลอฮ ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงสอนพวกเรา ว่า พระองค์ทรงสร้างฟากฟ้า ด้วยพลังอำนาจ และคำว่า اليد และ اليدان นั้น อื่นจากคำว่า الأيد (ที่แปลว่า พลังอำนาจ) เพราะหากปรากฏว่า อัลลอฮทรงสร้างอาดัม ด้วยพลังอำนาจ เหมื่อนที่ทรงสร้างฟากฟ้า โดยที่อัลลอฮ ไม่ได้เฉพาะเจาะจง การสร้าง อาดัม ด้วยสองพระหัตถ์ของพระองค์ - แน่นอน พระองค์จะไม่ตรัส แก่อิบลิสว่า (สิ่งใดหรือที่มายับยั้งไม่ให้เจ้าสุญูดแก่สิ่งที่ข้า สร้างมาด้วย สองพระหัตถ์ ของข้า) และไม่ต้องส่งสัย ไม่ต้อง คลางแคลงใจ ว่า แท้จริง อัลลอฮผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรง สูงส่ง ทรงสร้างอิบลิส (อะลัยฮิละอนะตุลลอฮ) ด้วยพลังอำนาจของพระองค์อีกเช่นกัน กล่าวคือใน เมื่อพระองค์ทรงมีพลังอำนาจเหนือ มัคลูคของพระองค์ ดังนั้นแล้วอะไรล่ะคือ ความหมายของคำตรัสของพระองค์ที่ว่า (สิ่งใดหรือที่มายับยั้งไม่ให้เจ้าสุญูดแก่สิ่งที่ข้า สร้างมาด้วย สองพระหัตถ์ ของข้า ) ตามทัศนะของพวกปฏิเสธ เหล่านี้?..
- ดูอัตเตาฮีด เล่ม 1 หน้า 99 ของอิบนุคุซัยยมะฮ


วิจารณ์

การยกคำอธิบายของท่านอิบนุคุซัยมะฮ์ จากหนังสือ อัตเตาฮีด ของท่านนั้น คือ ก่อนจากที่ท่านเตาบะฮ์ และเมื่อท่านได้ทำการเตาบะฮ์ กลับใจ จากหนังสือเตาฮีด ที่ท่านแต่งนี้ ก็ย่อมไม่มีค่าอันใด ที่การพาดพิงคำพูดถึงท่านอิบนุคุซัยมะฮ์

ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอัสมาอฺ วะ อัซซิฟาต ว่า อิบนุคุซัยมะฮฺ เสียใจในสิ่งที่เขาได้เคยกล่าวเอาไว้ ท่านหาฟิซ อัลบัยฮะกีย์ กล่าวว่า " ได้เล่ากับเรา โดยอบูอับดิลลาห์อัลหาฟิซฺ กล่าวว่า ฉันได้ยิน อะบูหะซัน อลี บิน อะหฺมัด อัลบูชันญีย์ เขากล่าวว่า ฉันได้เข้าไปหา อับดุรเราะหฺมาน บิน อบีหาติมอัรรอซีย์ ณ ที่เมืองร๊อยยฺ ดังนั้น ฉันได้เล่าให้เขาฟัง เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ที่ นัยซาบูร ระหว่างอบูบักร อิบนุ อัลคุซัยมะฮฺ และบรรดามิตรสหายของเขา ดังนั้น ท่านอิบนุอะบีย์ หาติม กล่าวว่า มีอะไรหรือสำหรับบิดาของฉันและอัลกะลาม (วิชา อัลกะลาม) ? แท้จริง ที่ดีเลิศแล้ว เขาต้องตั้งใจ อย่าให้เราพูดในสิ่งที่เราไม่ได้ร่ำเรียนมันมา (ตรงนี้เราจะเห็นได้ว่า อิบนุ อบีหาติมนั้น ไม่ชำนาญในวิชา อัลกะลาม ) แล้ฉันก็ออกมาจากเขา จนกระทั้งฉันได้เข้าไปหา อบีอับบาส อัลเกาะลาซินีย์ แล้วท่านอบีอับบาสกล่าวว่า เสมือนกับว่า ส่วนหนึ่งจากพวกอัลก๊อดดะรียะฮฺที่เป็นมุตะกัลลิมีน ได้พอใจกับมุฮัมัดบินอิสหาก(คืออิบนุคุซัยมะฮฺ) และคำพูดของเขา(อิบนุคุซัยมะฮฺ) เป็นที่ตอบรับ ตามทัศนะของส่วนหนึ่งของพวกเขา(คือพวกอัลก๊อดดะรียะฮฺ) หลังจากนั้น ฉันก็เข้าไปที่บุฆดาด โดยที่นั่นฉันไม่ได้เชิญชวนกับ นักวิชาการฟิกห์ หรือนักวิชากะลามคนใดเลย นอกจากทำการเสนอกล่าวกับปัญหาประเด็นต่างๆเหล่านั้น ดังนั้น ไม่มีคนใดจากพวกเขาเลย นอกจากเขาจะทำการตามคำพูดของท่านอบูอับบาส อัลเกาะลาซินีย์ และเศร้าสลด กับอบีบักร บิน อิสหาก (คือท่านอิบนุคุซัยมะฮฺ)ในสิ่งที่เขาทำการเปิดเผย ฉัน(คือท่านอัลบัยฮะกีย์)กล่าวว่า เรื่องของอิบนุคุซัยมะฮฺนั้นมันยาว ورجع محمد بن إسحاق إلى طريقة السلف وتلهف على ما قال والله أعلم และแท้จริงท่านมุฮัมมัด บิน อิสหาก (อิบนุคุซัยมะฮฺ)หวนกลับไปสู่แนวทางสะลัฟ และเสียใจต่อสิ่งที่เขาได้เคยกล่าวเอาไว้ วัลลอฮุอะลัม " ดู หนังสือ อัลอัสมาอฺ วะ อัซซิฟาต ของท่านอัลบัยฮะกีย์ หน้า 259 ตีพิมพ์ ครั้งแรก โดยมักตะบะฮฺ อัลอัซฮะรียะฮฺ ลิ อัตตุร๊อส และท่าน อัซซะฮะบีย์ ก็ได้กล่าวไว้เช่นกัน ใน หนังสือ ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 14 หน้า 374 - 376 และหน้าที่ 380

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมเป็นความประเสริฐของท่าน อิบนุ คุซัยมะฮ์ ที่ทำการเลิกจากทัศนะเดิมที่ผิดพลาดที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัตเตาฮีด ของท่าน โดยท่านเองก็ยอมรับว่า "ไม่มีความชำนาญในเรื่องเตาฮีด" และท่านอิมาม ฟัครุดดีน อัรรอซีย์ ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านว่า หนังสืออัตเตาฮีด ของท่านอิบนุคุซัยมะฮ์นี้ คือหนังสือ "ชิริก" ไม่ใช่เตาฮีด เพราะไปพรรณาอัลเลาะฮ์โดยมีความหมายที่คล้ายกับมัคโลค ที่กลุ่มวะฮาบีย์กำลังดำเนินอยู่ แต่ก็อัลหัมดุลิลลาห์ ที่ท่าน อิบนุคุซัยมะฮ์ ได้เตาบัตจากสิ่งดังกล่าวแล้ว
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ท่านอิบนุกะษีร กล่าวอธิบายคำว่า يد คือคำว่า بيد الله ในตัฟซีรของท่าน จากซูเราะฮ์ อาละอิมรอน อายะฮ์ 73 ว่า

قُلْ إِنَّ الْفَضْل بِيَدِ اللَّه يُؤْتِيه مَنْ يَشَاء " أَيْ الْأُمُور كُلّهَا تَحْت تَصَرُّفه

"จงกล่าวเถิดว่า แท้จริง ความโปรดปรานนั้น ด้วยกับการ(อำนาจ)การจัดการของอัลเลาะฮ์ ซึ่งพระองค์จะทำให้ความโปรดปรานกับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์"

ท่านอิบนุกะษีรกล่าวว่า หมายถึง "บรรดาประการทั้งหมดนั้น อยู่ภายใต้ อำนาจการจัดการของพระองค์ " ซึ่งท่านอิบนุกะษีรไม่ได้กล่าวว่า "ความโปรดปรานด้วยมือของพระองค์"

เป็นที่ทราบดีว่า ท่านอัลฟัยรูซฺอาบาดีย์ ได้อุลามาอ์ภาษาอาหรับท่านหนึ่ง ได้ทำการอธิบายภาษาอาหรับเอาไว้คือ คำว่า اليد หมายถึง القوة (พลัง) ด้วยเช่นกัน

ท่านฟัยรูซฺอาบาดีย์ กล่าวให้ความหมายของคำ اليد ต่อไปว่า

واليد : الجاه...........................والقوة، والقدرة، والسلطان، والملك......والنعمة

"คำว่า "اليد" ย่อมหมายถึง เกียรติ...และพลัง, และอำนาจ, และการปกครอง, และครอบครอง....และ เนี๊ยะมัต " ดู อัลกอมูส อัลมุฮีด เล่ม 4 หน้า 470 ตีพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิลมียะฮ์ ปี ค.ศ. 1995 และ ปี ฮ.ศ. 1415 / ดู มั๊วะญัม อัลอะระบีย์ อัลอะซาซีย์ หน้า 1341


เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมอยากถามว่า การกล่าวว่า คำว่า اليد หมายถึง القوة (พลัง) นั้น เป็นความหมายหนึ่งในภาษาอาหรับหรือไม่? หรือว่าท่านฟัยรูซฺอาบาดีย์ อธิบายผิดและกอมูสและมั๊วะญัมอื่นๆ ก็อธิบายผิดพลาด โดยที่มีวะฮาบีย์ปัจจุบันมาแก้ไขคำภาษาอาหรับที่อุลามาอ์ภาษาอาหรับในอดีตเข้าใจกัน

อ้างจากบังอะสัน

قال إسحاق بن راهويه : إنما يكون التشبيه إذا قال : يد مثل يدي أو سمع كسمعي فهذا تشبيه وأما إذا قال كما قال الله : يد وسمع وبصر فلا يقول : كيف ولا يقول : مثل فهذا لا يكون تشبيها قال تعالى : { ليس كمثله شيء وهو السميع البصير

อิสหาก บุตร รอหะวียะฮ กล่าวว่า " ความจริง จะเป็น การตัชบิฮ(การเปรียบเทียบอัลลอฮกับมัคลูค) เมื่อเขากล่าวว่า พระหัตถ์(ของพระองค์)เหมือนกับมือของฉัน หรือ การได้ยิน(ของพระองค์)เหมือนกับการได้ยินของฉัน นี้แหละคือ การเปรียบเทียบ และสำหรับ เมื่อเขากล่าว ดังเช่นที่ อัลลอฮทรงตรัส เช่น พระหัตถ์ ทรงได้ยิน และทรงเห็น แล้วเขาไม่ได้กล่าวว่า เป็นอย่างไร (ไม่ได้อธิบายวิธีการ) และไม่ได้กล่าวว่า เหมือนกับ... แบบนี้จะไม่เป็นการเปรียบเทียบ(ตัชบิฮ) อัลลอฮ ตรัสว่า
"ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และ พระองค์คือ ผู้ทรงได้ยิน ทรงเห็นยิ่ง"

วิจารณ์

คำกล่าวของท่าน อิสหาก บิน รอฮุวัยฮฺนี้คือหลักการของอัลอะชาอิเราะฮ์ครับบังอะสัน ไม่ใช่แนวทางของวะฮาบีย์ เป็นที่ทราบดีว่า สะลัฟนั้น เมื่อเขากล่าวคำว่า يد แบบทับศัพท์ที่อัลกุรอานได้กล่าวไว้นั้น พวกเขาไม่ได้หมายความถึง "คำตรง" (แบบฮะกีกัต ที่ทำให้ความหมายคล้ายคลึงกับมัคโลคตาม) ที่วะฮาบีย์เข้าใจ แต่เมื่อสะลัฟเขากล่าวคำว่า يد ก็เพราะกล่าวตามที่อัลกุรอานกล่าวไว้โดย ไม่ได้ให้ความหมายแบบคำตรง(ฮะกีกัต) แต่พวกเขากล่าวทับศัพท์คำว่า يد โดยอ่านผ่านมันไป โดยไม่เจาะจงความหมายและทำการมอบหมายความหมายของคำว่า يد ไปยังอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ไม่ใช่สะลัฟมาบอกว่า คำว่า يد มีความหมายหะกีกัตน่ะ แต่ไม่รู้วิธีการ ซึ่งแบบนี้สะลัฟเขาไม่พูดกันหรอกครับ

การที่สะลัฟไม่รู้วิธีการ الكيف ว่า ของคำว่า يد นั้น เนื่องจากพวกเขาไม่รู้ความหมายที่แท้จริง ณ อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขาจึงทำการอ่านผ่านมันไป โดยไม่เจาะจงความหมาย แล้วก็บอกว่า วิธีการ ( الكيف ) อย่างไร นั้น เราไม่รู้

ท่าน อิบนุกุ๊ดดามะฮ์ กล่าวถ่ายทอดจากคำกล่าวของอิมาม อะหฺมัด(ร.ฏ.) ว่า

"บรรดาหะดิษเหล่านี้(คือบรรดาหะดิษซีฟาต) เราศรัทธาและยอมรับด้วยกับมัน โดยที่ไม่มีวิธีการ และความหมาย (หมายถึงมอบหมายวิธีการและความหมาย) และเราจะไม่พรรณา(คุณลักษณะ)กับอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ให้มาก ไปกว่าสิ่งที่พระองค์ทรงพรรณาไว้ให้กับพระองค์เอง" (ดู ลุมอะฮ์ อัลเอี๊ยะติก๊อต หน้า 3)

ดังนั้น การที่สะลัฟส่วนมาก ไม่ทำการเจาะจงความหมาย ของคำว่า يد ไม่ว่าจะเจาะคงความหมาย "แบบคำตรง" หรือ "แบบเปรียบเปรย" นั้น เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่า ซีฟัต ของอัลเลาะฮ์นั้น มันยิ่งใหญ่นัก จึงทำการเจาะจงให้ความหมายแก่มัน และในขณะเดียวกันนั้น สะลัฟก็ไม่เชื่อและไม่ได้มีจุดมุ่งหมายว่า يد คือความหมาย"คำตรง"(ฮะกีกัต) ที่หมายถึง "อวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างที่มีฝ่ามือและนิ้ว"

คำว่า يد ตามทัศนะของ อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มีอยู่ 2 แนวทาง

1. อ่านผ่านมันไป ตามที่ถูกระบุมา โดยไม่เจาะจงความหมายและไม่รู้วิธีการ และมอบหมายความรู้นั้นให้กับอัลเลาะฮ์

2. ทำการตีความที่ตรงกับภาษาอาหรับ ที่อัลกุรอานได้ประทานลงตาม(ลิ้น)ภาษาพูดของพวกเขา โดยตีความด้วยความหมายที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ และก็มอบหมายกับความหมายที่ดีความนั้น

ดังนั้น หากผู้ใด กล่าวว่า อัลอะชาอิเราะฮ์ต้องตีความอย่างเดียวเท่านั้น ก็ย่อมเป็นการไม่เข้าใจและโกหกใส่อัลอะชาอิเราะฮ์

เมื่ออัลอะชาเราะฮ์ มี 2 นี้ เราก็จะพบว่า ท่านอิบนุกะษีรเอง ก็ยังทำการตีความ และทำการมอบหมาย ท่านอิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ ก็ทำการตีความและทำการมอบหมาย ซึ่งหลักการนี้ได้ระบุไว้ในตัฟซีรของพวกเขาอย่างไม่ต้องสงสัย และนั่นก็เป็นแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์ อัลฮัมดุลิลลาห์
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อ้างจากบังอะสัน

อัลฟารูกกล่าวว่า

คำว่า يد ตามทัศนะของ อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มีอยู่ 2 แนวทาง

1. อ่านผ่านมันไป ตามที่ถูกระบุมา โดยไม่เจาะจงความหมายและไม่รู้วิธีการ และมอบหมายความรู้นั้นให้กับอัลเลาะฮ์

2. ทำการตีความที่ตรงกับภาษาอาหรับ ที่อัลกุรอานได้ประทานลงตาม(ลิ้น)ภาษาพูดของพวกเขา โดยตีความด้วยความหมายที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ และก็มอบหมายกับความหมายที่ดีความนั้น
al-farook - www.sunnahstudents.com : IP : 82.201.219.
...........
ตอบ
อย่างนี้ เขาเรียกว่า double standard หรือ สองมาตรฐาน นะครับน้องบ่าว


วิจารณ์

ท่าน อิบนุกุ๊ดดามะฮ์ กล่าวถ่ายทอดจากคำกล่าวของอิมาม อะหฺมัด(ร.ฏ.) ว่า

"บรรดาหะดิษเหล่านี้(คือบรรดาหะดิษซีฟาต) เราศรัทธาและยอมรับด้วยกับมัน โดยที่ไม่มีวิธีการ และความหมาย (หมายถึงมอบหมายวิธีการและความหมาย) และเราจะไม่พรรณา(คุณลักษณะ)กับอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ให้มาก ไปกว่าสิ่งที่พระองค์ทรงพรรณาไว้ให้กับพระองค์เอง" (ดู ลุมอะฮ์ อัลเอี๊ยะติก๊อต หน้า 3)

ผมอยากถามเถอะว่า ท่านอิมามอะหฺมัด มีแนวทางเหมือนวะฮาบีย์ในการเจาะจงความหมายหรือไม่? แต่ที่แน่ๆ ท่านอิมามอะหฺมัด ไม่กล่าวถึงความหมายครับ ดังนั้น วิธีการจึงไม่ต้องพูดถึง

เรามาดูการตีความและมอบหมาย ซึ่งเป็น 2 มาตรฐานของท่านอิบนุญะรีร

อิบนุญะรีรได้กล่าวแบบมอบหมาย โดยไม่อธิบายคำ يد เลย ว่า

{ لِـما خَـلَقْتُ بِـيَدَيَّ } يقول: لـخـلق يديَّ يخبر تعالـى ذكره بذلك أنه خـلق آدم بـيديه، كما:

حدثنا ابن الـمثنى، قال: ثنا مـحمد بن جعفر، قال: ثنا شعبة، قال: أخبرنـي عبـيد الـمكتب، قال: سمعت مـجاهداً يحدّث عن ابن عمر، قال: خـلق الله أربعة بـيده: العرش، وعَدْن، والقلـم، وآدم، ثم قال لكلّ شي كن فكان.

แก่สิ่งที่ข้าสร้างด้วยสองพระหัตถ์ของข้า) พระองค์ทรงตรัสว่า ทรงสร้างด้วยสองพระหัตถ์ พระองค์(ซ.บ)ทรงบอกถึงการที่ทรงระบุมันด้วยดังกล่าวนั้น เพราะว่า แท้จริง พระองค์ทรงสร้างอาดัมด้วยสองพระหัตถ์ของพระองค์ ดังหะดิษ

อิบนุมุษันนา ได้เล่าเราว่า เขากล่าวว่า มุหัมหมัด บิน ญะอฺฟัร กล่าวว่า ชุอบะฮ ได้เล่าเราว่า เขากล่าวว่า อุบัยดอัลมักตับ กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยินมุญาฮิด รายงานจากอิบนุอุมัรว่า เขากล่าวว่า "อัลลอฮทรงสร้างสี่ประการด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ คือ อะรัช , อัดนุ(สวรรค์) , เกาะลัม และอาดัม หลังจากนั้นทรงตรัส แก่ทุกสิ่งว่า "จงเป็นขึ้นเถิด แล้วมันก็เป็นขึ้น - ตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ อธิบายอายะฮที่ 75 ซูเราะฮ ศอด

และท่านอิบนุญะรีร ได้ทำการตีความว่า

ท่านอิบนุ ญะรีร ได้ทำการอธิบาย อายะฮ์ ที่ 10 ของซูเราะฮ์ อัลฟัตหฺ ว่า

وفي قوله ( يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ ) وجهان من التأويل: أحدهما: يد الله فوق أيديهم عند البيعة, لأنهم كانوا يبايعون الله ببيعتهم نبيه صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم ; والآخر: قوّة الله فوق قوّتهم في نصرة رسوله صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم, لأنهم إنما بايعوا رسول الله صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم على نُصرته على العدو


ซึ่งท่านอิบนุอัลเญาซีย์ กล่าวรายงานอธิบายคำว่า يد الله ว่า

الرابع : قوة الله ونصرته فوق قوتهم ونصرتهم دكره ابن جرير وابن كيسان

คำกล่าวที่ 4 หมายถึง " อำนาจของอัลเลาะฮ์ และความช่วยเหลือของอัลเลาะฮ์ อยู่เหนืออำนาจของพวกเขาและอยู่เหนือการช่วยเหลือของพวกเขา ซึ่งทัศนะนี้ ได้กล่าว โดยท่าน อิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ และท่าน อัลกัยซานีย์" ดู ตัฟซีร ซาดุลมะซีร ฟี อิลมุตตัฟซีร ของท่านอิบนุเญาซีย์ เล่ม 7 หน้า 204 ตีพิมพ์ ดารุลกะตุบ อัลอิลมียะฮ์

สิ่งที่ผมได้นำเสนอ ทัศนะของท่านอิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ นั้น เราจะพบว่า ท่านอิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ มี 2 แนวทางเกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์ ซึ่งเหมือนกับแนวทางของอัลอะชาอิเราะอ์ ดังนั้น บังอะสันจะนำการมอบหมายของท่าน อิบนุญะรีร ในบางอายะฮ์มาสนับแนวทางของตนเองไม่ได้หรอกครับ เพราะท่านอิบนุญะรีร ไม่ได้มีแนวทางเหมือนวะฮาบีย์ ในการให้ความหมายแบบ"คำตรง" (ฮะกีกัต) และท่านอิบนุญะรีร นั้นก็ไม่ได้มีแนวทางเหมือนวะฮาบีย์ ซึ่งหากท่านอิบนุญะรีร มีแนวทางเหมือนวะฮาบีย์นั้น แน่นอนว่า ท่านอิบนุญะรีร ก็จะไม่ทำการตีความ(ตะวีล) ในอายะฮ์อื่นๆ ดังนั้น ท่านอิบนุญะรีรย่อมไม่มีแนวทางเหมือนวะฮาบีย์อย่างแน่นอนครับ

บังอะสันแปลว่า "พระหัตถ์" (มือ) ผมอยากถามบังอะสันสักนิดเถอะว่า คำว่า (พระหัตถ์ หรือ มือ ) ตามปทานุกรมภาษาไทยฉบับพระราชทาน นั้น มีความหมายว่าอย่างไร ??? และเรื่อง "ได้ยิน" กับ "มือ" นั้น ผมจะเข้ามาชี้แจงรายละเอียดในครั้งแต่ไป แต่บังอะสันน่าจะที่ชี้แจงคำถามที่ผมถามไปบ้าง เพื่อจะได้กระจาง ไม่ใช่มีอากิดะฮ์แบบหลบๆ ซ่อนๆ ปิดบังกันอยู่

แล้วท่านอิบนุญะรีรนี้ มี สอง มาตรฐาน ด้วยหรือเปล่าครับบังอะสัน....????

อ้างจากบังอะสัน

وقال أبو حنيفة: له يد ووجه ونفس كما ذكر تعالى في القرآن فهو له صفة بلا كيف ولا يقال إن يده قدرته ونعمته لأن فيه إبطال الصفة

และอบูหะนีฟะอกล่าวว่า "พระองค์ทรงมี พระหัตถ์ พระพักต์ และ ตัวตน ดังที่ทรงระบุในอัลกุรอ่าน ดังนั้น มันเป็น คุณลักษณะของพระองค์ โดยไม่มีวิธีการ(ว่าเป็นอย่างไร)และจะไม่ถูกกล่าวว่า แท้จริง พระหัตถ์ของพระองค์ คือ พลังนุภาพของพระองค์ และ ความกรุณาของพระองค์ เพราะว่า แท้จริง ในนั้น คือ การปฏิเสธสิฟัต
الفقه الأكبر لأبي حنيفة. نقلا عن شرح الطحاوية


วิจารณ์

คำกล่าวของท่านอิมามอบูหะนีฟะฮ์นี้ ต้นฉบับเดิม มาจากหนังสือ ฟิกหุลอักบัร ซึ่งหนังสือเล่มนี้ มีนักรายงาน ที่ชื่อว่า อบู มุเฏี๊ยะอฺ อัลบัลคีย์ ซึ่งฏออีฟ เพราะกุหะดิษ และการที่ท่านอบูหะนีฟะฮ์อย่างนั้น ก็เพื่อโต้ตอบพวก มั๊วะตะซิละฮ์ ที่ทำการ อธิบาย หรือ ตัฟซีร โดยจำกัดความหมาย ของคำว่า اليد คือ พลังอำนาจและเนี๊ยะมัตเพียงเท่านั้น ซึ่งการจำกัดความหมายเช่นนี้ ย่อมเป็นการปฏิเสธคำและซิฟัต ซึ่งแตกต่างกับอัลอะชาอิเราะฮ์ และท่านอิมามอบูหะนีฟะฮ์ ก็ไม่ได้หมายถึงคำว่า اليد คืออยู่ในความหมายของหะกีกัต ตามที่วะฮาบีย์ยึดมั่นในปัจจุบันเหมือนพวกอัลมุญัสสิมะฮ์ ก็หาไม่

และถ้าหากว่า การตีความ(ตะวีล) เป็นการปฏิเสธซีฟัตตามที่วะฮาบีย์เชื่อมั่นอยู่ ก็แสดงว่า ท่านอิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ และ ท่านอิบนุกะษีร ก็เป็นพวกปฏิเสธซิฟัต ด้วยซิครับ วัลอิยาซุบิลลาห์ หรือว่าพวกเขาเป็นมุนาฟิก ตามทัศนะของวะฮาบีย์ เพราะว่ามีสองมาตรฐานและสองจุดยืน วัลอิยาซุบิลลาห์ ขอให้คำๆพูดแบบนี้ กลับไปยังผู้ที่กล่าวด้วยเถิด ยาร๊อบ!
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อ้างจากบังอะสัน

อะกีดะฮตกขอบ ผิดตัว ผิดฝา อย่างอะชาอีเราะฮรุ่นหลัง เป็นอะกีดะฮมุนาฟิกที่ไร้จุดยืน เข้าใจหรือเปล่า (เมื่อไหรเว็บอะชาอีเราะฮ เสร็จล่ะ รออยู่นานแล้วนะครับ

วิจารณ์

พอบังอะสันรู้ว่า แนวทางอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มี 2 แนวทาง บังอะสันก็บอกว่ามันมุนาฟิก ไม่มีจุดยืน ผมก็ถามไปแล้วว่า แล้วท่าน อิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ นั้น เป็นมุนาฟิก หรือไม่ ที่ท่านได้ทำการมอบหมายและตีความในตัฟซีรของท่าน และท่านอิบนุกะษีร เป็นมุนาฟิก หรือไม่ ที่ท่านได้ทำการตีความและมอบหมายในตัฟซีรของท่าน

และท่านอิมาม อะหมัด บิน หัมบัล ไร้จุดยืน เป็นมุนาฟิก หรือไม่ ? เนื่องจากท่านอิมามอะหฺมัด ก็ทำการตีความ (ตะวีล) เช่นเดียวกัน

อิมาม อัลบัยฮะกีย์ ได้ไว้ใน มะนากิบ อิมามอะหฺมัด ว่า ได้เล่ากับเราโดย อัลหากิม เขากล่าวว่า เราบอกเล่ากับเราโดย อบูอัมร์ บิน ซัมมาค เขากล่าวว่า ได้บอกเล่าแก่เราโดย หัมบัล บิน อิสหาก เขากล่าวว่า ฉันได้ยิน น้าของฉัน อบูอับดิลลาห์ (คือท่านอิมามอะหฺมัด) กล่าวว่า " พวกเขาเหล่านั้น ได้อ้างหลักฐานกับฉัน ในวันนั้น - หมายถึงวันที่มีการสนทนาเกิดขึ้นในที่พำนักของอะมีรุลมุอฺมินีน - ดังนั้นพวกเขากล่าวว่า

تجىء سورة البقرة يوم القيامة وتجىء سورة تبارك، فقلت لهم إنما هو الثواب قال الله تعالى (وَجَاءَ رَبُّك) إنما تأتى قدرته وإنما القران أمثال ومواعظ .

วันกิยามะฮฺนั้น ซูเราะฮฺอัลบะกอเราะฮฺ และซูเราะฮฺตะบาร๊อกจะมา ดังนั้นฉันได้กล่าวกับพวกเขาว่า แท้จริง มันคือผลบุญ อัลเลาะฮฺทรงกล่าวว่า (وَجَاءَ رَبُّك) "และผู้อภิบาลของเจ้าได้มา" (หมายความว่า) تأتى قدرته แท้จริง อำนาจของพระองค์ได้มา และแท้จริงอัลกรุอานนั้นเป็น อุทาหรณ์และข้อเตือนใจ " ท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า (คำกล่าวของอิมามอะหฺมัด)นี้ มีสายรายงานที่ซอเฮี๊ยะหฺ โดยไม่มีฝุ่นเลย(คือสะอาด) " หนังสือ อัลบิดายะฮฺ วะ อันนิฮายะฮฺ เล่ม 10 หน้า 327

ดังนั้น บังอะสันอะสัน บอกว่า ท่านอิบนุญุรีร อัฏฏ๊อบรีย์ ท่านอิบนุกะษีร ท่านอิมามอะหฺมัด ไม่มีจุดยืน เป็นมุนาฟิก ล่ะก็ เราก็จะหยุดพูด แต่ถ้าบังอะสันไม่กล้าหุกุ่มล่ะก็ ให้บังอะสันเตาบัตซ่ะที่บังอะสันพูดว่า อัลอะชาอิเราะฮ์มุนาฟิกไร้จุดยืน!!! และบังอะสันจะตอบหรือไม่ตอบ เราก็จะรู้ล่ะครับว่าบังอะสันมุนาฟิกอย่างไร?

และท่านอิบนุญะรีร ได้ทำการตีความว่า

ท่านอิบนุ ญะรีร ได้ทำการอธิบาย อายะฮ์ ที่ 10 ของซูเราะฮ์ อัลฟัตหฺ ว่า

وفي قوله ( يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ ) وجهان من التأويل: أحدهما: يد الله فوق أيديهم عند البيعة, لأنهم كانوا يبايعون الله ببيعتهم نبيه صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم ; والآخر: قوّة الله فوق قوّتهم في نصرة رسوله صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم, لأنهم إنما بايعوا رسول الله صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم على نُصرته على العدو


ซึ่งท่านอิบนุอัลเญาซีย์ กล่าวรายงานอธิบายคำว่า يد الله ว่า

الرابع : قوة الله ونصرته فوق قوتهم ونصرتهم دكره ابن جرير وابن كيسان

คำกล่าวที่ 4 หมายถึง " อำนาจของอัลเลาะฮ์ และความช่วยเหลือของอัลเลาะฮ์ อยู่เหนืออำนาจของพวกเขาและอยู่เหนือการช่วยเหลือของพวกเขา ซึ่งทัศนะนี้ ได้กล่าว โดยท่าน อิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ และท่าน อัลกัยซานีย์" ดู ตัฟซีร ซาดุลมะซีร ฟี อิลมุตตัฟซีร ของท่านอิบนุเญาซีย์ เล่ม 7 หน้า 204 ตีพิมพ์ ดารุลกะตุบ อัลอิลมียะฮ์

เป็นยังไงบังอะสัน พอท่านอิบนุญะรีร ตีความ แล้วเงียบฉี่ไข่ซื่อ แต่เวลาอัลอิชาอิเราะฮ์ตีความ กลับบอกว่ามุนาฟิกไร้จุดยืน ฮ่า

อ้างอิงจากบังอะสัน

การตะวีล ของ น้องบ่าวคือ การตะหรีฟ(التحريف ) หมายถึง เปลียนความหมายของคำที่ปรากฏ ไปเป็นคำอื่น หรือความหมายอย่างอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับเหตุผล อันนี้ ไม่ถูกต้อง

ตอบ

บังอะสันพูออย่างนี้ พวกเราสรุปได้เลยว่า บังอะสันไม่เข้าใจแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์เลยแม้แต่น้อย บังอะสันเพียงแค่พูดตามอุลามาอฺวะฮาบีย์เท่านั้นเอง โดยที่บังอะสันไม่รู้ข้อเท็จจริงว่า สิ่งที่วะฮาบีย์พูดมาและสิ่งที่บังอะสันถ่ายทอดมาคือเนื้อแท้ของอัลอะชาอิเราะฮ์ ดังนั้น พอพวกเรา ทำการตีความ คำว่า يد الله เป็น قوة الله อะสันก็บอกว่า พวกเรา การตะหรีฟ(التحريف ) หมายถึง เปลียนความหมายของคำ แต่เวลาท่านอิบนุญะรีร ได้ตีความ คำว่า يد الله เป็น قوة الله บังอะสันบอกว่าเป็นการตัฟซีร ฮ้า ฮ้า คือพูดง่ายๆว่า ถ้าอัลอะชาอิเราะฮ์ ตีความ ตีความ คำว่า يد الله เป็น قوة الله ล่ะก็ บังอะสันบอกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงความหมาย แต่เวลาท่านอิบนุญะรีร ได้ตีความ คำว่า يد الله เป็น قوة الله บังอะสันบอกว่าเป็นการตัฟซีร ฮ้า แบบนี้เขาเรียกว่า ตูเกลียดอัลอะชาอิเราะฮ์ว่างั้นเถอะ คนอื่นตีความได้ แต่อัลอะชาอิเราะฮ์ตีความเมื่อไหร่ ตูถือเปลี่ยนแปลงความหมาย ??

ท่านอิบนุกะษีร ได้ตีความคำว่า بيد الله เป็น بتصرف الله แล้วบังอะสันก็พูดอะไรไม่ออกอีกตามเคย จะบอกว่ามุนาฟิกก็ไม่กล้า แต่ถ้าบอกว่าอัลอะชาอิเราะฮ์มุนาฟิกแล้ว บังอะสันชอบ เพราะตูเกลียดอัลอะชาอิเราะฮ์ !!!
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อ้างจากบังอะสัน

อบุลกอสิม อัลอัศบะฮานีย์ ที่ได้รับฉายาว่า ?เกาวามุสสุนนะฮ?(ผู้สนับสนุนอัสสุนนะอ)กล่าวว่า
والإيمان بما ورد في القرآن من صفات الله تعالى كاليد ، والإتيان ، والمجيء ، وإمرارها على ما جاءت ، لا تكيف ، ولا تتأول
และการศรัทธาต่อสิ่งที่ปรากฏในอัลกุรอ่าน จากคุณลักษณะของอัลลออ ผู้ทรงสูงส่ง เช่นคำว่า พระหัตถ์, นำมา และ ผู้ทรงมา และการปล่อยมันให้ผ่านไป ตามที่มันปรากฏ โดยไม่บอกวิธีการ(ว่าเป็นอย่างไร และไม่ มีการตีความ?

วิจารณ์

สิ่งที่บังอะสันยกอ้างอิงมานี้ ก็ไม่มีปัญหานี่ครับ พวกเราไม่ได้ปฏิเสธสิ่งที่บังอะสันยกอ้างอิงจากสิ่งดังกล่าวครับ แต่ประเด็นที่เราพูดกันนั้น คือ ความเข้าใจของคำว่า اليد ที่อยู่ในความหมายฮะกีกัต คำตรง (คือ อวัยวะส่วนหนึ่งของร่าง) ต่างหากล่ะครับ และสิ่งที่เราแตกต่างกันตรงคำว่า المجىء (ผู้ทรงมา) ซึ่งแนวทางแรกของอัลอะชาอิเราะฮ์ ก็ถือว่าให้ผ่านมันไป โดยไม่มีวิธีการว่าเป็นอย่างไร? แต่ทำไม วะฮาบีย์ถึงเชื่อว่า พระองค์ทรง"เคลื่อนย้าย" จากเบื้องบนมาสู่ฟากฟ้าเบื้องล่าง ซึ่งตรงนี้ต่างหากครับ ที่สะลัฟจริงๆ เขาไม่ได้อธิบายอย่างนั้น เนื่องจากพวกกล่าวว่า

أمروها كما جاءت بلا تفسير

"พวกท่านจงผ่านมันไปเหมือนกับที่มันได้มีระบุมา โดยไม่มีการอธิบาย"

แล้วมาอธิบายทำไมล่ะครับว่า اليد มีความหมายแบบฮะกีกัต คำตรง คือ "อวัยวะที่เป็นส่วนของร่าง เป็นฝ่ามือที่มีนิ้ว" (หากมีความหมายฮะกีกัตตามภาษาอาหรับอย่างอื่นก็บอกด้วยนะครับ) และมาอธิบายทำไมว่า อัลเลาะฮ์ทรงเคลื่อนย้าย إنتقال จากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง ?? ดังนั้น การที่บังอะสันเชื่อว่าตนเองสะลัฟ นั้น ผมจึงไม่ทราบว่าสะลัฟแบบใหนและสะลัฟท่านใดมายืนยันหลักการของวะฮาบีย์ที่บังอะสันยึดอยู่

อิมาม อัลบัยฮะกีย์ ได้ไว้ใน มะนากิบ อิมามอะหฺมัด ว่า ได้เล่ากับเราโดย อัลหากิม เขากล่าวว่า เราบอกเล่ากับเราโดย อบูอัมร์ บิน ซัมมาค เขากล่าวว่า ได้บอกเล่าแก่เราโดย หัมบัล บิน อิสหาก เขากล่าวว่า ฉันได้ยิน น้าของฉัน อบูอับดิลลาห์ (คือท่านอิมามอะหฺมัด) กล่าวว่า " พวกเขาเหล่านั้น ได้อ้างหลักฐานกับฉัน ในวันนั้น - หมายถึงวันที่มีการสนทนาเกิดขึ้นในที่พำนักของอะมีรุลมุอฺมินีน - ดังนั้นพวกเขากล่าวว่า

تجىء سورة البقرة يوم القيامة وتجىء سورة تبارك، فقلت لهم إنما هو الثواب قال الله تعالى (وَجَاءَ رَبُّك) إنما تأتى قدرته وإنما القران أمثال ومواعظ .

วันกิยามะฮฺนั้น ซูเราะฮฺอัลบะกอเราะฮฺ และซูเราะฮฺตะบาร๊อกจะมา ดังนั้นฉันได้กล่าวกับพวกเขาว่า แท้จริง มันคือผลบุญ อัลเลาะฮฺทรงกล่าวว่า (وَجَاءَ رَبُّك) "และผู้อภิบาลของเจ้าได้มา" (หมายความว่า) تأتى قدرته แท้จริง อำนาจของพระองค์ได้มา และแท้จริงอัลกรุอานนั้นเป็น อุทาหรณ์และข้อเตือนใจ " ท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า (คำกล่าวของอิมามอะหฺมัด)นี้ มีสายรายงานที่ซอเฮี๊ยะหฺ โดยไม่มีฝุ่นเลย(คือสะอาด) " หนังสือ อัลบิดายะฮฺ วะ อันนิฮายะฮฺ เล่ม 10 หน้า 327

แล้วท่านอิมามอะหฺมัด มีอะกีดะฮ์เหมือนกับท่าน อัสบะฮานีย์ หรือไม่? เนื่องจากท่าน อัลอัศบะฮาบีย์ไม่ตีความคำว่า المجىء แต่ท่านอิมามอะหฺมัดกลับทำการตีความ เป็น "พลังอำนาจของพระองค์ได้มา ไม่ใช่ซาตฺของพระองค์มา" และวะฮาบีย์มีอากิดะฮ์เหมือนกับท่านอิมามอะหฺมัดหรือเปล่า??

อ้างจากบังอะสัน

"แต่เราขออ่านผ่านมันไป โดยไม่เจาะจงความหมาย และมอบความรู้ถึงความหมายนั้นไปยังอัลเลาะฮ์"
وصرح ابن الجوزي بأن تأويل اليد بالقدرة تأويل المعتزلة وهو باطل(مجالس ابن الجوزي 7)

และอิบนุเญาซี ชี้แจงว่า แท้จริง การตีความ คำว่า يد ด้วยคำว่า قدرة (พลานุภาพ)นั้น เป็นการตีความของพวกมุอฺตะซิละฮ และมันไม่ถูกต้อง - มะญาลิสอิบนุเญาซีย/7


วิจารณ์

ใหนบังอะสันลองยกอ้างอิงคำพูดของท่าน อิมาม อิบนุ เญาซีย์ ที่เป็น النص คำพูดตรงๆ ของท่านอิบนุเญาซีย์ มาซิครับ ไม่ใช่ไปก๊อบคำพูดของวะฮาบีย์ในเวปอาหรับมา แบบนี้ตักลีดตาบอดนี่ครับ แต่ในทางตรงกันข้าม ท่านอิบนุเญาซีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า دفع شبه التشبيه بأكف التنزيه ว่า คำว่า يد หมายถึง القدرة ได้เช่นเดียวกัน

ท่านอิบนุอัลเญาซีย์ (ร่อฮิมะฮุลเลาะฮ์)(ตามเนื้อหาสำคัญ)ไว้ กล่าวว่า

واليد : القوة ، يقولون : ما لنا من الأمر من يد ، وقوله تعالى ( بل يداه مبسوطتان ) اى نعمته وقدرته

"คำว่า اليد นั้น คือ "พลังอำนาจ" อาหรับกล่าวว่า " ما لنا من الأمر من يد " "ไม่มี(يد)-ความสามารถ-ให้กับเราจากคำสั่งนี้ " และคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ตะอาลาที่ว่า ( بل يداه مبسوطتان ) "แต่ يداه ของพระองค์นั้นแผ่กว้าง" หมายถึง "เนี๊ยะมัตและพลังความสามารถของพระอง์(ที่แผ่กว้าง)"

وقوله : ( لما خلقت بيدىَّ ) اى بقدرتى ونعمتى ، وقال الحسن فى قوله تعالى : ( يد الله فوق أيديهم ) أى منته وإحسانه

"และคำกล่าวของพระองค์ที่ว่า ( لما خلقت بيدىَّ ) "ให้กับสิ่ง(นบีอาดัม)ที่เราสร้างมันด้วย بيدىَّ " หมายถึง "ด้วยพลังอำนาจของข้า และเนี๊ยมัตของข้า" ท่านอัลหะซัน(อัลบะซอรีย์) กล่าวว่า เกี่ยวกับคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า ( يد الله فوق أيديهم ) " يد الله อยู่เหนือบรรดามือของพวกเขา" หมายถึง "ความโปรดปรานของพระองค์และการให้ความดีงามของพระองค์"(ได้อยู่เหนือบรรดามือของพวกเขา)

قلت : هذا كلام المحققين

"ฉัน(คือท่านอิบนุ อัลเญาซีย์) ขอกล่าวว่า : คำกล่าวนี้ เป็นคำพูดของอุลามาอ์มีแน่นแฟ้นในวิชาความรู้."

وقال القاضى أبو يعلى : اليدان صفتان ذاتيتان تسميان باليدين. أهـ

"อัลกอฏี อบูยะลา กล่าวว่า : สองมือ คือ ซีฟัตที่อยู่ที่ซาต ที่ถูกเรียกว่า สองมือ(สองพระหัตถ์) (ท่านฏอฏีอบูยะลา นี้ คืออุลามาอ์มุญัสสิมะฮ์ที่อยู่ในมัซฮับหัมบาลีย์ที่วะฮาบีย์รับช่วงอุดมการณ์ในเรื่องอากิดะฮ์ ที่ท่านอิบนุอัลเญาซีย์ซึ่งอยู่ในมัซฮับหัมบาลีย์เช่นกันทำการคัดค้าน อบูยะลานี้ เป็นคนละคนกับท่านอบูยะลา อัลเมาซิลีย์ที่เป็นหนักหะดิษ)"

قلت : وهذا تصرف بالرأى لا دليل عليه . وقال إبن عقيل : معنى الأية لما خلقت أنا ، فهو كقوله ( ذلك بما قدمت يداك ) أى بما قدمت أنت

"ฉัน(คือท่านอิบนุอัลเญาซีย์)ขอกล่าวว่า : คำกล่าวของอบูยะลานี้ เป็นการกล่าวสรุปด้วยความเห็น โดยที่ไม่มีหลักฐานมายืนยัน และท่านอิบนุ อะกีล(ผู้อยู่ในมัซฮับหัมบาลี) กล่าวว่า "ความหมายของอายะฮ์ ( لما خلقت بيدىَّ ) "ให้กับสิ่ง(นบีอาดัม)ที่เราสร้างมันด้วย بيدىَّ " หมายถึง لما خلقت أنا "ให้กับสิ่ง(นบีอาดัม)ที่ฉันสร้างมา โดยฉัน" ดังนั้น ความหมายนี้ก็เหมือนกับคำตรัสของพระองค์ที่ว่า ( ذلك بما قدمت يداك ) หมายถึง بما قدمت أنت "นั้น เป็นเหตุเพราะสิ่งที่ท่านได้กระทำมันผ่านมาแล้ว"

وقال بعض البله : لو لم يكن لأدم عليه السلام مزية على سائر الحيوانات بخلقه باليد التى هى صفة لما عظمه بذكرها وأجله فقال (بيدىَّ) ولو كانت القدرة لما كانت له مزية ، فإن قالوا القدرة لا تثنى وقد قال (بيدىّ)

"ส่วนหนึ่งจากผู้โง่เขลาได้กล่าวว่า "หากอาดัม อะลัยฮิสลาม ไม่มีลักษณะพิเศษเหนือบรรดาสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการที่พระองค์ทรงสร้างด้วย اليد (มือ) ที่เป็นซีฟัตหนึ่ง แน่นอนว่า พระองค์ก็จะไม่ให้เกียรติด้วยการกล่าวมัน (คือاليد (มือ) ดังนั้น พระองค์ทรงตรัสว่า "ด้วยสองมือของฉัน" และถ้าหากว่าเป็นอัลกุดเราะฮ์(พลังอำนาจ) แน่นอนว่า ไม่มีคุณลักษณะพิเศษให้กับนบีอาดัม ดังนั้น หากแม้นว่าพวกเขากล่าวว่า อัลกุดเราะฮ์ นั้น จะถูกทำให้เป็นนามที่ชี้ถึงสอง โดยที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า "ด้วยสองมือของฉัน"

قلنا : بلى قالت العرب : ليس لى بهذا الأمر يدان ، أى ليس لى به قدرة ، وقال عروة بن عزام فى شعره
فقالا شفاك الله والله مالنا بما ضمنت منك الضلوع يدان

"ฉัน(คือท่านอิบนุอัลเญาซีย์) ขอกล่าวว่า : หาเป็นเช่นนั้นไม่ ชาวอาหรับกล่าวว่า ليس لى بهذا الأمر يدان "ดัวยกับคำสั่งนี้ ฉันไม่มี يدان (ความสามารถ)" และอุรวะฮ์ บิน อัซซาม ได้กล่าวไว้ในบทกวีของเขาว่า

"ดังนั้น ทั้งสองกล่าวว่า ขออัลเลาะฮ์ทรงทำให้ท่านหายป่วย ขอสาบานต่ออัลเลาะฮ์ว่า ให้กับเรานั้น ไม่มี يدان ความสามารถ ด้วยกับสิ่งที่บรรดาซี่โคลงได้มาประกันจากท่าน(คือไม่มีเยียวยามารักษาท่านแล้ว)"

وقولهم : ميزه بذلك عن الحيوان ، نفاه قوله عزوجل ( خلقنا لهم مما عملت أيدينا أنعاما) ولم يدل هذا على تمييز الأنعام على بقية الحيوان . قال تعالى : ( والسماء بنياها بأيد وإنا لموسعون) أى : القوة

และคำกล่าวของพวกเขาที่ว่า "อัลเลาะฮ์ทรงทำการแยกแยะนบีอาดัมด้วยสิ่งดังกล่าว(ด้วยการสร้างด้วยมือทั้งสองاليدان) จากบรรดาสัตว์ทั้งหลาย" ซึ่งคำกล่าวของพวกเขานั้นได้ถูกปฏิเสธโดยคำกล่าวของอัลเลาะฮ์ ตะอาลาที่ว่า ( خلقنا لهم مما عملت أيدينا أنعاما) "เราได้บันดาลปศุสัตว์ต่างๆ แก่พวกเขา จากสิ่งที่( أيدينا) (อำนาจของเรา)ได้ทำการสร้างมันขึ้นมา" ดังนั้น คำกล่าวของพระองค์นี้ ก็ไม่ได้แบ่งแยกบรรดาปศุสัตว์ออกจากบรรดาสัตว์อื่นๆที่เหลือ" และอัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า ( والسماء بنياها بأيد وإنا لموسعون) "และกับฟากฟ้านั้น เราได้สร้างมัน ด้วยبأيد และแท้จริง เรา เป็นผู้ที่มีความอนุภาพ" بأيد หมายถึง ด้วยอำนาจ " ดู หนังสือ ตัฟอุ ชุบฮะฮ์ อัตตัชบีฮ์ ของท่าน อิบนุ อัลเญาซีย์ หน้า 14 - 15 ตีพิมพ์ที่ อัลมักตะบะฮ์ อัลอัซฮะรียะฮ์ และหนังสือ ดัฟอฺ ชุบะฮิตตัชบีฮ์ หน้าที่ 114 - 116 ตีพิมพ์ที่ ดารุล อิมาม อันนะวาวีย์
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อ้างจากบังอะสัน

قال ابن عباس رضي الله عنهما: يد الله بالوفاء بما وعدهم من الخير فوق أيديهم.

อิบนุอับบาส (ร.ฎ)กล่าวว่า " พระหัตถ์ของอัลลอฮ ด้วยการทำตามสิ่งที่ทรงสัญญาไว้กับพวกเขา จากความดี เหนือมือของพวกเขา
وقال السدي: كانوا يأخذون بيد رسول الله صلى الله عليه وسلم ويبايعونه, ويد الله فوق أيديهم في المبايعة

อัสสุดดีย์ กล่าวว่า " พวกเขา(เศาะหาบะฮ) จับมือท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอลฯ และพวกเขาให้สัตยาบันต่อท่าน และพระหัตถ์ของอัลลอฮ อยู่เหนือมือของพวกเขา ในการทำสัตยาบัน - ตัฟสีรอัลบัฆวีย์


วิจารณ์

ผมไม่ทราบว่าบังอะสันยกอ้างคำคำตัฟซีรของท่านอิบนุอับบาสและท่านอัสสุดีย์มาเพื่ออะไร? ทั้งที่มันไม่ได้มาสนับสนุนหลักการของวะฮาบีย์ที่เข้าใจซิฟาตของอัลเลาะฮ์ เช่นคำว่า يد الله แบบคำตรง (ความหมายฮะกีกัต)เลยแม้แต่น้อย และยิ่งไปกว่านั้น ท่านอิบนุอับบาสเองก็ทำการตีความในบางซิฟาตของอัลเลาะฮฺ ซุบหานะฮ์ ดังนั้น การที่บังอะสันยกคำอธิบายของท่านอิบนุอับบาสและท่านอัสสุดดีย์ย่อมไม่มีผลในการมาสนับสนุนแนวทางของวะฮาบีย์ครับ

อ้างจากบังอะสัน

อิบนุกะษีรอธิบายว่า
يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ ) أي: هو حاضر معهم يسمع أقوالهم ويرى مكانهم، ويعلم ضمائرهم وظواهرهم، فهو تعالى هو المبايع بواسطة رسوله < 7-330 > صلى الله عليه وسلم كقوله : إِنَّ اللَّهَ اشْتَرَى مِنَ الْمُؤْمِنِينَ أَنْفُسَهُمْ وَأَمْوَالَهُمْ بِأَنَّ لَهُمُ الْجَنَّةَ يُقَاتِلُونَ فِي سَبِيلِ اللَّهِ فَيَقْتُلُونَ وَيُقْتَلُونَ وَعْدًا عَلَيْهِ حَقًّا فِي التَّوْرَاةِ وَالإِنْجِيلِ وَالْقُرْآنِ وَمَنْ أَوْفَى بِعَهْدِهِ مِنَ اللَّهِ فَاسْتَبْشِرُوا بِبَيْعِكُمُ الَّذِي بَايَعْتُمْ بِهِ وَذَلِكَ هُوَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ [التوبة : 111>

(พระหัตถ์ของอัลลอฮ อยู่เหนือมือของพวกเขา) หมายถึง พระองค์ มาอยู่พร้อมกับพวกเขา ทรงได้ยินคำพูดของพวกเขา ทรงเห็นสถานที่ของพวกเขา ทรงรู้ความลับของพวกเขา และ สิ่งเปิดเผยของพวกเขา แล้วพระองค์(ซุบฮานะฮูวะตาอาลา)คือ ผู้ทำสัตยาบัน โดย การเป็นสื่อกลางของรอซูลของพระองค์ ดังพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า "9.111> แท้จริงอัลลอฮ์นั้นได้ทรงซื้อแล้วจากบรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งชีวิตของพวกเขาและทรัพย์สมบัติของพวกเขา โดยพวกเขาจะได้รับสวนสวรรค์เป็นการตอบแทน พวกเขาจะต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์แล้วพวกเขาก็จะฆ่าและถูกฆ่า เป็นสัญญาของพระองค์เองอย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์เตารอฮ์ อินญีล และกรุอาน และใครเล่าจะรักษาสัญญาของเขาให้ดียิ่งไปกว่าอัลลอฮ์ ดังนั้น พวกท่านจงชื่นชมยินดีในการขายของพวกท่านเถิด ซึ่งพวกท่านได้ขายมันไป และนั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง" - ตัฟสีรอิบนิกะษีร อรรถาธิบายอายะฮ 10 ซูเราะฮ อัลฟัตห

วิจารณ์

บังอะสันยกคำอธิบายของท่านอิบนุกะษีร มาเพื่ออะไรกัน ทั้งที่คำอธิบายของท่านอิบนุกะษีรก็ไม่ได้มาสนับสนุนแนวทางของวะฮาบีย์ ที่เข้าใจซิฟาตของอัลเลาะฮ์ แบบคำตรง (ฮะกีกัต) เลยแม้แต่น้อย ดังนั้น การยกคำอธิบายของท่านอิบนุกะษีรนี้มันเป็นการสนับแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์ ไม่ใช่แนวทางของวะฮาบีย์ครับ

อ้างจากบังอะสัน

لما خلق الله آدم ومسح ظهره بيمينه.....
เมื่ออัลลอฮทรงสร้างอาดัม และพระองค์ทรงลูบหลังของเขา ด้วยมือขวาของพระองค์.....
أخرجه الترمذي في كتاب تفسير القرآن ، باب ومن سورة الأعراف ، برقم : 3001
..............................................
นายฮากีม ลองใช้สมองชั่วๆคิดหน่อยนะครับ


วิจารณ์

ไม่ทราบว่า ฮะดิษที่บังอะสันยกอ้างอิงมานี้ มันซอฮิหฺหรือเปล่า? ซึ่งหากว่ามันไม่ซอฮิหฺจริงๆ แล้วบังอะสันก็พยายามแอบอ้างยกมา เพื่อให้คนอื่นแปลซีฟัตของอัลเลาะฮ์ เพื่อให้ตรงกับแนวทางของวะฮาบีย์ ที่บังอะสันต้องการนั้น ไม่ทราบว่ามันจะชั่วกว่า ความคิดของคุณฮากิมหรือเปล่า? ทั้งที่ผมอะสันเองก็พยายามที่จะให้คุณฮากิมแปล คำว่า بيمينه เป็น "มือขวา" เพื่อจะให้ตรงกับสิ่งที่วะฮาบีย์ต้องการ ทั้งที่ "มือขวา" ในภาษาไทยนั้น มันหมายถึง "อวัยวะมือข้างขาวที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย" หรือว่ามันมีความหมายคำตรงแบบอื่นด้วย บังอะสันก็บอกผมด้วยนะครับ

และหะดิษที่บังอะสันยกอ้างมานี้ ผมไม่ทราบว่าซอฮิหฺหรือเปล่า? ที่ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้ทำการรายงานหะดิษจาก ท่านอุมัรอิบนุค๊อฏฏอบ ซึ่งสายรายงานนี้นั้น ได้รายงานจาก มุสลิม บิน ยะซาร อัลญุฮะนีย์ ซึ่งเขาไม่ได้พบกับท่านอุมัร และดังกล่าวนี้ ท่านอัลบัยฮะกีย์ก็ได้กล่าวกำกับไว้หลังจากรายงานหะดิษดังกล่าว --- ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 308 ตีพิมพ์ อัลมักตะบะฮ์ อัลอัซฮะรียะฮ์ ครั้งที่ 1

อ้างจากบังอะสัน

وذكر البيهقي أن مجيء صفة اليد بصيغة التثنية { مَا مَنَعَكَ أَن تَسْجُدَ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ} يُبطل التأويل بالنعمة والقدرة لأن نعم الله أكثر من أن تحصى

อัลบัยฮะกีย์ ได้ระบุว่า ความจริง การนำมาซึ่งสิฟัตยะดิ(พระหัตถ์)ด้วยสำนวนที่เป็นมุษันนา(ทวิพจน์ หมายถึงจำนวนสอง)ในอายะฮ(สิ่งใดหรือที่ยับยั้งเจ้าต่อการที่เจ้าจะสุญูดแก่สิ่งที่เราสร้างด้วยสองพระหัตถ์ของข้า) เป็นการปฏิเสธการตีความด้วยคำว่า เนียะมัต (ความกรุณา)และ กุดเราะอ(พลานุภาพ) เพราะว่า แท้จริง ความกรุณนาของอัลลอฮนั้น มากเกินกว่าที่จะคำนวนได้.
(الاعتقاد 88)
...............


วิจารณ์

ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวอธิบายอย่างนี้ มันก็ไม่ได้ไปสนับสนุนแนวทางของวะฮาบีย์ ตามทัศนะสะลัฟของท่านอัลบัยฮะกีย์เลยแม้แต่น้อย เพราะท่านอัลบัยฮะกีย์ กล่าวเริ่มต้น ในบทที่ว่าด้วยเรื่อง باب ما جاء ف إثبات اليدين ว่า

صفتين لا من حيث الجارحة

"ทั้งสองเป็นซิฟัต โดยที่ไม่ได้มาจาก อวัยวะ" ดู อัลอัศมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 298

ซึ่งคำกล่าวของท่านอัลบัยฮะกีย์นี้ แตกต่างกับแนวทางวะฮาบีย์ เนื่องจากวะฮาบีย์ ได้ให้ความหมายแบบฮะกีกัต แบบคำตรง ซึ่งมันหมายถึง "อวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งจากร่าง(ซาต)...." ซึ่งการให้ความหมายอย่างนี้นั้น มันไม่ได้อยู่ในแนวทางของสะลัฟและแนวทางของท่านอัลบัยฮะกีย์ ซึ่งท่านอัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวรายงานถึงท่าน ซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ ว่า

ما وصف الله تبارك وتعالى بنفسه فى كتابه فقراءته تفسيره ، ليس لأحد أن يفسره بالعربية ولا بالفارسية

"สิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาด้วยกับพระองค์เองในคำภีร์ของพระองค์นั้น การอ่าน(ผ่าน)มันก็คือการอธิบายมัน โดยที่ไม่อนุญาติให้คนใดคนหนึ่ง ทำการอธิบายมันด้วยภาษาอาหรับหรือภาษาเปอร์เซีย" ดู อัลอัศมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 298

คำกล่าวของท่านซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์นี้ ตรงกับคำกล่าวของท่านอิมามอะหฺมัดที่ว่า "เราศรัทธามัน ยอมรับมัน โดยไม่รู้วิธีการและไม่รู้ความหมาย" (คือไม่พิจารณาในความหมาย โดยอ่านผ่านมันไป) คือสะลัฟจริงๆ(ไม่ใช่เทียมๆ) จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความหมายของหะดิษซีฟาต ซึ่งนั่นก็คือแนวทางของสะละฟุศศอลิหฺ แต่สำหรับผู้ที่เข้าไปยุ่งความหมายซิฟาตของอัลเลาะฮ์ โดยเชื่อว่ามันมีความหมายคำตรงแบบฮะกีกัตนั้น พวกเขาย่อมไม่ได้อยู่ในแนวทางของสะละฟุศศอลิหฺเลยแม้แต่น้อย

และอย่างไรก็แล้วแต่ สะลัฟและคอลัฟ ก็เชื่อความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์จากการไปคล้ายคลึงกับซีฟัตของมัคโลค คือส่วนมากของสะลัฟจะยืนยันในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์ โดยทำการมอบหมาย และส่วนมากจากคอลัฟจะยืนยันในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์ โดยทำการตีความ แต่แนวทางของพวกอัลมุญัสสิมะฮ์นั้น พวกเขาจะให้ความหมายแบบตัวตรง ผิวเผิน แบบฮะกีกัต ซึ่งอันนี้เป็นแนวทางของพวกบิดอะฮ์ ที่มุสลิมปัจจุบันกำลังเผชิญกันอยู่

แต่กระนั้น ผมเสียดาย ที่บังอะสัน พยายามให้ผู้สนทนาแปลให้เป็นภาษาไทย เพื่อที่บังอะสันจะได้อธิบายมันให้เป็นไปตามหลักภาษาคำตรง(ฮะกีกัต)ตามที่วะฮาบีย์ต้องการ สงสัยสะลัฟไม่ได้บอกห้ามให้อธิบายแบบภาษาไทย บังอะสันเลยได้ใจ จึงให้คู่สนทนาแปลให้เป็นภาษาไทย

หากเราพิจารณาถึงทัศนะของท่าน อัลบัยฮะกีย์ เราก็จะพบว่า ท่านอัลบัยฮะกีย์เอง ก็มีอยู่สองแนวทาง (แบบมุนาฟิกตามทัศนะของบังอะสัน) คือทำการมอบหมาย และก็ทำการตีความ เช่นท่านอัลบัยฮะกีย์ไม่ทำการตีความในอายะฮ์ที่ว่า لما خلقت بيدىّ แต่หลักจากนั้นเล็กน้อย ท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า

وقد روينا ذكر اليد فى أخبار أخر إلا أن سياقها يدل على أن المراد بها الملك والقدرة والرحمة والنعمة....إلخ

"แท้จริง เราได้รายงานกับการกล่าว คำว่า اليد ในบรรดาหะดิษอื่นๆ อีก แต่ว่า สำนวนของมันนั้น ชี้ถึงว่า จุดมุ่งหมายของมัน คือ การปกครอง อำนาจ ความเมตตา และเนี๊ยะมัต..." ดู อัลอัสมาอฺ วะ อัสศิฟาต หน้า 302
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อ้างจากบังอะสัน

ท่านอิบนิเญาซีย์ ได้อธิบาย โดยไม่ได้ปฏิเสธ สิฟัตพระหัตถ์ เพราะฉนั้น สิ่งที่ท่านกล่าวข้างล่าง ไม่ได้ขัดกับคำที่อัลฟารุกอ้าง ข้างต้น
وصرح ابن الجوزي بأن تأويل اليد بالقدرة تأويل المعتزلة وهو باطل(مجالس ابن الجوزي 7)

และอิบนุเญาซี ชี้แจงว่า แท้จริง การตีความ คำว่า يد ด้วยคำว่า قدرة (พลานุภาพ)นั้น เป็นการตีความของพวกมุอฺตะซิละฮ และมันไม่ถูกต้อง - มะญาลิสอิบนุเญาซีย/7


วิจารณ์

บังอะสันครับ เราอัลอะชาอิเราะฮ์ก็ไม่ได้ปฏิเสธซีฟัตนี่ครับ (ซึ่งประเด็นนี้ผมจะชี้แจงต่อไป) และผมก็บอกบังอะสันแล้วว่า " ใหนบังอะสันลองยกอ้างอิงคำพูดของท่าน อิมาม อิบนุ เญาซีย์ ที่เป็น النص คำพูดตรงๆ ของท่านอิบนุเญาซีย์ มาซิครับ ไม่ใช่ไปก๊อบคำพูดของวะฮาบีย์ในเวปอาหรับมา แบบนี้ตักลีดตาบอดนี่ครับ แต่ในทางตรงกันข้าม ท่านอิบนุเญาซีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อว่า دفع شبه التشبيه بأكف التنزيه ว่า คำว่า يد หมายถึง القدرة ได้เช่นเดียวกัน

ท่านอิบนุอัลเญาซีย์ (ร่อฮิมะฮุลเลาะฮ์)(ตามเนื้อหาสำคัญ)ไว้ กล่าวว่า

واليد : القوة ، يقولون : ما لنا من الأمر من يد ، وقوله تعالى ( بل يداه مبسوطتان ) اى نعمته وقدرته

"คำว่า اليد นั้น คือ "พลังอำนาจ" อาหรับกล่าวว่า " ما لنا من الأمر من يد " "ไม่มี(يد)-ความสามารถ-ให้กับเราจากคำสั่งนี้ " และคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ตะอาลาที่ว่า ( بل يداه مبسوطتان ) "แต่ يداه ของพระองค์นั้นแผ่กว้าง" หมายถึง "เนี๊ยะมัตและพลังความสามารถของพระอง์(ที่แผ่กว้าง)"

وقوله : ( لما خلقت بيدىَّ ) اى بقدرتى ونعمتى ، وقال الحسن فى قوله تعالى : ( يد الله فوق أيديهم ) أى منته وإحسانه

"และคำกล่าวของพระองค์ที่ว่า ( لما خلقت بيدىَّ ) "ให้กับสิ่ง(นบีอาดัม)ที่เราสร้างมันด้วย بيدىَّ " หมายถึง "ด้วยพลังอำนาจของข้า และเนี๊ยมัตของข้า" ท่านอัลหะซัน(อัลบะซอรีย์) กล่าวว่า เกี่ยวกับคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า ( يد الله فوق أيديهم ) " يد الله อยู่เหนือบรรดามือของพวกเขา" หมายถึง "ความโปรดปรานของพระองค์และการให้ความดีงามของพระองค์"(ได้อยู่เหนือบรรดามือของพวกเขา)

قلت : هذا كلام المحققين

"ฉัน(คือท่านอิบนุ อัลเญาซีย์) ขอกล่าวว่า : คำกล่าวนี้ เป็นคำพูดของอุลามาอ์มีแน่นแฟ้นในวิชาความรู้." (1)
(1)ดู หนังสือ ตัฟอุ ชุบฮะฮ์ อัตตัชบีฮ์ ของท่าน อิบนุ อัลเญาซีย์ หน้า 14 - 15 ตีพิมพ์ที่ อัลมักตะบะฮ์ อัลอัซฮะรียะฮ์ และหนังสือ ดัฟอฺ ชุบะฮิตตัชบีฮ์ หน้าที่ 114 - 116 ตีพิมพ์ที่ ดารุล อิมาม อันนะวาวีย์

อ้างจากบังอะสัน

แต่สิ่งที่อัลฟารุกอ้างนั้น สงสัยอยู่เหมือนกัน เพราะในตัฟสีรของท่าน มีข้อความดังนี้
قال الزجاج: وقد ذهب قومٌ إِلى أن معنى &laquo;يد الله&raquo;: نعمته، وهذا خطأ ينقضه { بل يداه مبسوطتان }
فيكون المعنى على قولهم: نعمتاه، ونعم الله أكثر من أن تحصى. والمراد بقوله: بل { يداه مبسوطتان }: أنه جواد ينفق كيف يشاء وإِلى نحو هذا ذهب ابن الأنباري. قال ابن عباس: إِن شاء وسَّع في الرزق. وإِن شاء قتَّر.

อัซซุญาจญ กล่าวว่า "และกลุ่มหนึ่ง(จากนักวิชาการ)มีทัศนะว่า แท้จริง ความหมายคำว่า(يدالله )คือ เนียะมัต(ความกรุณา)ของพระองค์ และทัศนะนี้ ผิดพลาด โองการที่ว่า(หามิได้ พระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ ได้ถูกแบออกต่างหาก) ทำให้มัน(ทัศนะดังกล่าวนี้)ตกไป (คือไม่มีน้ำหนัก) แล้วปรากฏว่าความหมาย ตามทัศนะของพวกเขาคือ สองเนียะมัตของพระองค์ ทั้งๆที่ เนียะมัต(ความกรุณา)ของอัลลอฮนั้น มากกว่าที่จะคำนวนได้ แต่ความมุ่งหมาย ของคำดำรัสของพระองค์ที่ว่า (พระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ได้ถูกแบออก) คือ แท้จริง พระองค์ทรงมี ความกรุณา ทรงจ่ายให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และ อิบนุอันบารีย์ ก็มีทัศนะเช่นนี้ และอิบนุอับบาสกล่าวว่า " หากพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็ทรงให้กว้างขวางในริซกี(ปัจจัยยังชีพ)และหากทรงประสงค์ ก็ทรงให้มันฝืดเคือง. - ซาดุลมะสีร ฟีอิลมิตตัฟสีร อรรถาธิบาย อายะฮ ที่ 64 ซูเราะฮอัลมาอิดะฮฺ

วิจารณ์

ท่านอิบนุเญาซีย์ ได้ทำการนำเสนอ ทัศนะของท่าน อัซซัจยาจ الزجاج เท่านั้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ยกอ้างอิงมาไว้ในตัฟซีรของท่าน คือ ทัศนะที่ท่านอิบนุอัลเญาซีย์ยอมรับให้น้ำหนัก บังอะสันก็อย่าตัดลีส ตบตาผู้อ่านเลยครับ และเราทราบดีว่า การอธิบายของท่าน อัซซัจยาจ الزجاج นั้น เป็นการอธิบายและอิจญฺฮาดในเรื่องของอากิดะฮ์ ที่ไม่นำไปสู่การตัชบีฮ์(เข้าใจแบบคล้ายคลึง) หรือ ตัจญฺซีม (เข้าใจในเชิงรูปร่าง) และเข้าใจแบบความหมายฮะกีกัต ตามทัศนะของวะฮาบีย์ แต่อย่างใดเลยครับ และการอิจญฺฮาดของท่าน อัซซัจยาจ الزجاج นั้น ไม่นำไปสู่การตัชบีฮ์ และตัจญฺซีม อันนี้เราสามารถยอมรับและให้เกียรติในการเข้าใจอย่างนี้ครับ เนื่องจากหนทางในวินิจฉัยของท่าน อัซซัจยาจ الزجاج นั้น ก็เป็น مذهب (แนวทาง) ในการอ้างหลักการที่นำไปสู่การเชื่อในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ จากการไปคล้ายคลึงและเหมือนกับมัคโลค

จุดประเด็นที่ท่าน อัซซัจยาจ الزجاج ได้ให้หลักการตามทัศนะของท่านนั้น ก็คือ "แล้วปรากฏว่าความหมาย ตามทัศนะของพวกเขาคือ สองเนียะมัตของพระองค์ ทั้งๆที่ เนียะมัต(ความกรุณา)ของอัลลอฮนั้น มากกว่าที่จะคำนวนได้" คือคำว่า يداه มีความหมายที่เป็นนามที่ชี้ถึง "จำนวนสอง" เมื่อเราตีความว่า "เนี๊ยะมัต" ก็จะให้ความหมายที่ว่า نعمتان (สองเนี๊ยมัต) ทั้งที่อุลามาอ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์นั้น ก็ตีความหมาย เพียงคำว่า "نعمة" เท่านั้น ไม่ได้กล่าวว่า نعمتان แต่อย่างใดเลย และก็ไม่ได้ให้ความหมายว่า "สองเนี๊ยะมัต"ด้วย เพราะอะไรถึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะคำว่า يداه ในภาษาอาหรับนั้น ก็หมายถึง ความ"อานุภาพ" (อัลกุดเราะฮ์)(ที่ชี้ถึง เอกพจน์) ถึงแม้นว่าอาหรับจะใช้คำว่า يداه ในรูปของ"คำที่ชี้ถึงจำนวนสอง" ก็ตาม ซึ่งท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ เองก็ได้ทำการ วินิจฉัย อิจญฺฮาด เอาไว้ว่า

وقال بعض البله : لو لم يكن لأدم عليه السلام مزية على سائر الحيوانات بخلقه باليد التى هى صفة لما عظمه بذكرها وأجله فقال (بيدىَّ) ولو كانت القدرة لما كانت له مزية ، فإن قالوا القدرة لا تثنى وقد قال (بيدىّ)

"ส่วนหนึ่งจากผู้โง่เขลาได้กล่าวว่า "หากอาดัม อะลัยฮิสลาม ไม่มีลักษณะพิเศษเหนือบรรดาสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการที่พระองค์ทรงสร้างด้วย اليد (มือ) ที่เป็นซีฟัตหนึ่ง แน่นอนว่า พระองค์ก็จะไม่ให้เกียรติด้วยการกล่าวมัน (คือاليد (มือ) ดังนั้น พระองค์ทรงตรัสว่า "ด้วยสองมือของฉัน" และถ้าหากว่าเป็นอัลกุดเราะฮ์(พลังอำนาจ) แน่นอนว่า ไม่มีคุณลักษณะพิเศษให้กับนบีอาดัม ดังนั้น หากแม้นว่าพวกเขากล่าวว่า อัลกุดเราะฮ์ นั้น จะถูกทำให้เป็นนามที่ชี้ถึงสอง โดยที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า "ด้วยสองมือของฉัน"

قلنا : بلى قالت العرب : ليس لى بهذا الأمر يدان ، أى ليس لى به قدرة ، وقال عروة بن عزام فى شعره
فقالا شفاك الله والله مالنا بما ضمنت منك الضلوع يدان

"ฉัน(คือท่านอิบนุอัลเญาซีย์) ขอกล่าวว่า : หาเป็นเช่นนั้นไม่ ชาวอาหรับกล่าวว่า ليس لى بهذا الأمر يدان "ดัวยกับคำสั่งนี้ ฉันไม่มี يدان (ความสามารถ)" และอุรวะฮ์ บิน อัซซาม ได้กล่าวไว้ในบทกวีของเขาว่า

"ดังนั้น ทั้งสองกล่าวว่า ขออัลเลาะฮ์ทรงทำให้ท่านหายป่วย ขอสาบานต่ออัลเลาะฮ์ว่า ให้กับเรานั้น ไม่มี يدان ความสามารถ ด้วยกับสิ่งที่บรรดาซี่โคลงได้มาประกันจากท่าน(คือไม่มีเยียวยามารักษาท่านแล้ว)" ดู หนังสือ ตัฟอุ ชุบฮะฮ์ อัตตัชบีฮ์ ของท่าน อิบนุ อัลเญาซีย์ หน้า 14 - 15 ตีพิมพ์ที่ อัลมักตะบะฮ์ อัลอัซฮะรียะฮ์ และหนังสือ ดัฟอฺ ชุบะฮิตตัชบีฮ์ หน้าที่ 114 - 116 ตีพิมพ์ที่ ดารุล อิมาม อันนะวาวีย์

ดังที่ผมได้ชี้แจงมานั้น เราจะพบว่า มีอุลามาอ์แห่งโลกอิสลาม ได้ทำการอธิบายวินิจฉัยที่แตกต่างกันเป็น"สอง"แนวทาง เช่น ท่านอัซซัจยาจ الزجاج และท่าน อิบนุ อัลเญาซีย์ แต่ทั้งสองนั้น มีจุดมุ่งหมายเดียวกันก็คือ "เพื่อยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์ (ซุบหานะฮ์)จากการไปคล้ายคลึงและเหมือนกับมัคโลค"
ซึ่งแตกต่างกับวะฮาบีย์ ที่พยายามเข้าใจซีฟัตของอัลเลาะฮ์ในอยู่ในเชิงภาษาคำตรง ที่ทำให้เข้าใจถึง การมีอวัยวะของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮูวะตะอาลา

อ้างจากบังอะสัน

อัลบัฆวีย์อธิบายว่า
{ بَلْ يَدَاهُ مَبْسُوطَتَانِ } ، ويد الله صفةٌ من [صفاته> كالسمع، والبصر والوجه، وقال جلّ ذكره:
{ لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ }
[ص: 75>، وقال النبيّ صلى الله عليه وسلم: " كلتا يديه يمين ". والله أعلم بصفاته، فعلى العباد فيها الإيمان والتسليم.

หามิได้ พระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ถูกแบออกต่างหาก) และ พระหัตถ์ของอัลลอฮ เป็นสิฟัตหนึ่ง จากบรรดาสิฟาตของพระองค์ เช่นเดียวกับ คำว่า ทรงได้ยิน ,ทรงเห็น และพระพักต์ และพระองค์ ผู้ซึ่ง การกล่าวถึงพระองค์นั้นสูงส่งยิ่ง ได้ตรัสว่า (แก่สิ่งที่ข้าได้สร้างด้วยสองพระหัตถ์ของข้า) และท่านนบี ศอลฯ กล่าวว่า "ทั้งสองนั้น คือ สองพระหัตถ์ของพระองค์ด้านขวา" และอัลลอฮนั้นทรงรอบรู้ยิ่ง ด้วยบรรดาคุณลักษณะ(สิฟาต)ของพระองค์ ดังนั้น หน้าที่ของบ่าว ต้องศรัทธาและยอมรับ ในมัน - ตัฟสีรอัลบัฆวัย์ อรรถาธิบาย อายะฮ ที่ 64 ซูเราะฮอัลมาอิดะฮ

วิจารณ์

เมื่อผมอ่านคำแปลของบังอะสันแล้ว มันเป็นการสนองอากิดะฮ์ ของวะฮาบีย์ โดยให้ความหมายที่ ท่าน อัลบะฆอวีย์ ไม่ได้เชื่ออย่างนั้น เช่นใช้ความหมายที่ว่า "พระหัตถ์(มือ)" ซึ่งภาษาไทยนั้นหมายถึง "อวัยวะหนึ่งของร่าง" แต่ท่านอัลบะฆอวีย์ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างนั้นเลยแม้แต่น้อย จนกระทั้งบังอะสันนำคำพูดของท่าน อัลบุฆอวีย์ มาสนับสนุนแนวทางของวะฮาบีย์นั้น ถือว่าผิดครับ เนื่องจากท่าน อัลบะฆอวีย์ไม่ได้เข้าใจเหมือนกับวะฮาบีย์ เนื่องจากท่าน อัลบะฆอวีย์ นี้ เข้าใจเรื่องซีฟัตของอัลเลาะฮ์ แบบสะลัฟ ซึ่งเป็นการเข้าใจที่อยู่ในแนวทางที่ 1 ของอัลอะชาอิเราะฮ์ คือท่านอัลบะฆอวีย์ได้เข้าใจซีฟัตแบบมอบหมาย(ตัฟวีฏ) ทั้งความหมายและวิธีการแบบเสร็จสรรพเลยทีเดียว ซึ่งไม่เหมือนกับวะฮาบีย์ที่ให้ความหมายแบบเชิงภาษาคำตรง "คือความหมายเป็นอวัยวะ(แม้จะกล่าวว่าไม่เหมือนกับมัคโลคก็ตาม)" ซึ่งอย่างนี้ ไม่ใช่หนทางของสะลัฟ เนื่องจากสะลัฟนั้น มอบหมายแบบสุดหัวใจอันบริสุทธิ์ โดยไม่ไปแตะต้องของสูงที่สติปัญญาคิดไปไม่ถึง

ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวรายงานถึงท่าน ซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ ว่า

ما وصف الله تبارك وتعالى بنفسه فى كتابه فقراءته تفسيره ، ليس لأحد أن يفسره بالعربية ولا بالفارسية

"สิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาด้วยกับพระองค์เองในคำภีร์ของพระองค์นั้น การอ่าน(ผ่าน)มันก็คือการอธิบายมัน โดยที่ไม่อนุญาติให้คนใดคนหนึ่ง ทำการอธิบายมันด้วยภาษาอาหรับหรือภาษาเปอร์เซีย" ดู อัลอัศมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 298

ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานถึง ท่าน เกาะตาดะฮ์ ว่า

عن قتادة قوله : ( وما قدروا الله حق قدره والأرض جميعا قبضته يوم القيامة والسموات مطويات بيمينه) لم تفسر

ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวรายงานว่า " คำตรัสของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ที่ว่า

( وما قدروا الله حق قدره والأرض جميعا قبضته يوم القيامة والسموات مطويات بيمينه)

ท่านเกาะตาดะฮ์ ไม่เคยทำการอธิบายมันเลย" ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 312

คือหมายถึงว่า ท่านเกาะตาดะฮ์ ปล่อยว่างเอาไว้ ไม่ได้ทำการแตะต้องกับการอธิบายมันเลย คือผ่านมันไป โดยไม่ได้ให้ความหมายแบบวะฮาบีย์ที่อยู่ในเชิงภาษาแต่อย่างใด

ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานถึง ท่านอัลฏอลิกอนีย์ ว่า

سمعت سفيان بن عيينة يقول : كل ما وصف الله تعالى من نفسه فى كتابه فتفسيره تلاوته . والسكوت عليه

"ฉันได้ยิน ท่านซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ กล่าวว่า ทุกๆสิ่ง(ซีฟัต)ที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาจากพระองค์เอง ในคำภีร์ของพระองค์นั้น การอธิบายมัน ก็คือการอ่านมันไป และทำการนิ่งเฉยต่อมัน" ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 312
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อ้างจากบังอะสัน

อยากถาม นักศึกษาอะชาอีเราะฮว่า ท่านนบี เป็นพวกวะฮบีย์ หรือเปล่า พวกคุณหวังจะทำลาย อิหม่ามมุหัมหมัด และอิบนุตัยมียะฮ ตามใบสั่งอาจารย์เลวๆ ของพวกคุณ ผมเคยขอร้องว่า อย่าเอาสิฟัตอัลลอฮมาโต้กันเลย พวกคุณไม่ฟัง ผมก็ต้องชี้แจง ตามล้าง ตามเช็ด อยู่อย่างนี้ อาจจะพูดรุนแรงไปบ้าง แต่..ยอมรับว่า ไม่พอใจมากๆ ที่ไม่ยอมหยุดการเอาชนะเรื่องนี้

วิจารณ์

ได้โปรดอดทนครับบังอะสัน การสนทนาหาความสัจจะธรรมนั้น ต้องอดทน อย่าพูดจากล่าวหา หรือพูดตามอารมณ์ของตน

อ้างจากบังอะสัน

การอรรถาธิบายอายะฮข้างต้น ก็ยังยืนยันในการรับรองสิฟัต اليدين ของอัลลอฮ
และต่อไปนี้เป็นหะดิษซึ่งท่านนบี ก็ยอมรับในความเป็นพระหัตถ์ของอัลลอฮ คือ
قال ابن عمر : رأيت رسول الله قائماً على المنبر فقال : " إن الله تعالى إذا كان يوم القيامة جمع السموات والأرض في قبضته ثم قال هكذا ومد يده وبسطها ثم يقول أنا الله الرحمن
อิบนุอุมัรกล่าวว่า ?ข้าพเจ้าได้เห็นท่านรซูลุ้ลลอฮ ยืนบนมิมบัร แล้วกล่าววว่า ?แท้จริงอัลลอฮ ซุบฮานะฮูว่าตะอาลา นั้น เมือปรากฏวันกิยามะอ พระองค์ ได้ทรงรวบรวม บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน ใน กำมือของพระองค์ หลังจากนั้นท่านนบีกล่าวว่า ? อย่างนี้ พร้อมกับได้ยื่นมือของท่านออกมาและได้แบมันออก (แล้วท่านนบีกล่าวว่า) ต่อมาพระองค์(อัลลอฮ)ได้ตรัสว่า ?ข้าคือ อัลลอฮ ผู้ทรงเมตตากรุณายิ่ง .
رواه البيهقي في الأسماء والصفات وله شاهد في صحيح مسلم بنحوه

วิจารณ์

คำว่า اليدين ที่เป็น ซีฟัต ของอัลเลาะฮ์ นั้น เราไม่ได้คัดค้านอะไรนี่ครับ แต่ที่เราคัดค้านนั้น คือ การที่วะฮาบีย์ให้ความหมายแบบคำตรง(ฮะกีกัต) ที่อยู่ในความหมายของ "อัลเลาะฮ์ทรงมีอวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งของร่าง(ซาตฺ)"

อ้างจากบังอะสัน

[ص: 75>، وقال النبيّ صلى الله عليه وسلم: " كلتا يديه يمين ". والله أعلم بصفاته، فعلى العباد فيها الإيمان والتسليم
และท่านนบี ศอลฯ กล่าวว่า "ทั้งสองนั้น คือ สองพระหัตถ์ของพระองค์ด้านขวา" และอัลลอฮนั้นทรงรอบรู้ยิ่ง ด้วยบรรดาคุณลักษณะ(สิฟาต)ของพระองค์ ดังนั้น หน้าที่ของบ่าว ต้องศรัทธาและยอมรับ ในมัน - ตัฟสีรอัลบัฆวัย์ อรรถาธิบาย อายะฮ ที่ 64 ซูเราะฮอัลมาอิดะฮ

วิจารณ์

เมื่อผมอ่านคำแปลของบังอะสันแล้ว มันเป็นการสนองอากิดะฮ์ ของวะฮาบีย์ โดยให้ความหมายที่ ท่าน อัลบะฆอวีย์ ไม่ได้เชื่ออย่างนั้น เช่นใช้ความหมายที่ว่า "พระหัตถ์(มือ)" ซึ่งภาษาไทยนั้นหมายถึง "อวัยวะหนึ่งของร่าง" แต่ท่านอัลบะฆอวีย์ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างนั้นเลยแม้แต่น้อย จนกระทั้งบังอะสันนำคำพูดของท่าน อัลบุฆอวีย์ มาสนับสนุนแนวทางของวะฮาบีย์นั้น ถือว่าตัดลีส ตบตาผู้อ่านครับ

เมื่อเราพิจารณาควาหมายของคำว่า يمين (ที่วะฮาบีย์ให้ความหมายว่า มือขวา) นั้น อุลามาอ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ได้มีการเข้าใจ อยู่สองแนวทาง ที่ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อที่จะยืนยันความบริสุทธิ์กับคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ ที่ไม่คล้ายคลึงกับมัคโลค คือ

1. ทำการมอบหมาย (ตัฟวีฏ)

2. ทำการตีความ (ตะวีล)

ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้นำเสนอ เกี่ยวกับหลักการมอบหมายแบบอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ อัลอะชาอิเราะฮ์ว่า

ได้กล่าวรายงานถึงท่าน ซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ ว่า

ما وصف الله تبارك وتعالى بنفسه فى كتابه فقراءته تفسيره ، ليس لأحد أن يفسره بالعربية ولا بالفارسية

"สิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาด้วยกับพระองค์เองในคำภีร์ของพระองค์นั้น การอ่าน(ผ่าน)มันก็คือการอธิบายมัน โดยที่ไม่อนุญาติให้คนใดคนหนึ่ง ทำการอธิบายมันด้วยภาษาอาหรับหรือภาษาเปอร์เซีย" ดู อัลอัศมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 298

ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานถึง ท่าน เกาะตาดะฮ์ ว่า

عن قتادة قوله : ( وما قدروا الله حق قدره والأرض جميعا قبضته يوم القيامة والسموات مطويات بيمينه) لم تفسر

ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวรายงานว่า " คำตรัสของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ที่ว่า

( وما قدروا الله حق قدره والأرض جميعا قبضته يوم القيامة والسموات مطويات بيمينه)

ท่านเกาะตาดะฮ์ ไม่เคยทำการอธิบายมันเลย" ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 312

คือหมายถึงว่า ท่านเกาะตาดะฮ์ ปล่อยว่างเอาไว้ ไม่ได้ทำการแตะต้องกับการอธิบายมันเลย คือผ่านมันไป โดยไม่ได้ให้ความหมายแบบวะฮาบีย์ที่อยู่ในเชิงภาษาแต่อย่างใด

ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานถึง ท่านอัลฏอลิกอนีย์ ว่า

سمعت سفيان بن عيينة يقول : كل ما وصف الله تعالى من نفسه فى كتابه فتفسيره تلاوته . والسكوت عليه

"ฉันได้ยิน ท่านซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ กล่าวว่า ทุกๆสิ่ง(ซีฟัต)ที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาจากพระองค์เอง ในคำภีร์ของพระองค์นั้น การอธิบายมัน ก็คือการอ่านมันไป และทำการนิ่งเฉยต่อมัน" ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 312

ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้กล่าวนำเสนอการตีความว่า

وقوله " لأخذنا منه باليمين . أى بالقوة والقدرة

" คำตรัสของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ที่ว่า لأخذنا منه باليمين "แน่แท้ว่า เราจะจับเขาด้วย ยะมีน " หมายถึง ด้วยกับพลังอำนาจและอานุภาพ

ท่านอัล-ฟัรรออฺ กล่าวว่า

فى قوله :( أخذنا باليمين ) بالقدرة والقوة

"ในคำตรัสของพระองค์ที่ว่า " لأخذنا منه باليمين "แน่แท้ว่า เราจะจับเขาด้วย ยะมีน " หมายถึง ด้วยกับพลังอำนาจและอานุภาพ

وأما قوله : كلتا يديه يمين . فإنه أراد بذلك التمام والكمال ، وكانت العرب تحب التيامن وتكره التياسر لما فى التياسر من النقصان وفى التيامن من التمام

"สำหรับคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ที่ว่า "ทุกทั้งสอง يديه ของพระองค์นั้น คือ يمين " ดังนั้น จุดมุ่งหมายของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ด้วยกับสิ่งดังกล่าวก็คือ ความสมบูรณ์นั่นเอง โดยที่ชาวอาหรับนั้นรักการกับทำข้างขวาและพวกเขารักเกียจกับการกระทำข้างซ้าย เพราะว่าในข้างซ้ายนั้น มาจากการบกพร่อง และในข้างขวานั้น มาจากความสมบูรณ์" สรุป จากหนังสือ อัลอัสมาอ์ วะ อัศศิฟาต ของท่านอัลบัยฮะกีย์ หน้า 313

สิ่งที่ได้นำเสนอไปนั้น เราจะพบว่า มีอุลามาอ์ได้ทำการมอบหมาย และตีความ ซึ่งอุลามาอ์ทั้งสองแนวทางนี้ เราอัลอะชาอิเราะฮ์ ได้ให้เกียรติทัศนะแนวทางของพวกเขาทั้งหมด เนื่องจากพวกเขามีจุดมุ่งหมายเดียวกันก็คือ "เพื่อที่จะยืนยันความบริสุทธิ์กับคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ ที่ไม่คล้ายคลึงกับมัคโลค"

ซึ่งแตกต่างกับวะฮาบีย์ ที่ได้เข้าใจซีฟัตของอัลเลาะฮ์ ที่อยู่ในความหมายคำเดิม คำตรงในเชิงภาษา ที่อยู่ในความหมายของ"อวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ที่ซาตฺ" ซึ่งแนวทางนี้ไม่ได้เป็นแนวทางของสะละฟุศศอลิหฺ แต่เป็นแนวทางของกลุ่มอัลมุญัสสิมะฮ์ครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อ้างจากบังอะสัน

จากคำอธิบายข้างต้น แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่นักศึกษาไคโรอะชาอีเราะฮ นอกคอก นำเสนอนั้น ไม่ถูกต้องอย่างสิ้นเชิง เพราะพวกเขาปฏิเสธสิฟาต يد ที่อัลกุรอ่านระบุไว้โดยการเปลี่ยนความหมายเสียใหม่

วิจารณ์

ความโง่เขลาและการตักลีดวะฮาบีย์ของบังอะสัน ทำให้ตาใจของบังอะสันมืดบอด โดยไม่เปิดใจในการเข้าใจแนวทางอื่นจากวะฮาบีย์ และยิ่งไปกว่านั้น บังอะสันยังยกอ้างคำกล่าวของนักปราชญ์ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องในหลักความเชื่อของวะฮาบีย์ เพื่อจะผสมโรง คลุกเคล้าให้ท่านผู้อ่านเชื่อว่า คำกล่าวของพวกนั้นแหละคือแนวทางของวะฮาบีย์ ทั้งที่บรรดานักปราชญ์เหล่านั้น หาอยู่ในแนวทางของวะฮาบีย์ไม่!

เป็นที่ทราบดีว่า อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มีอยู่ในแนวทางเกี่ยวกับ เรื่องซิฟาต คือทำการมอบหมายตามแนวทางของสะละฟุศศอลิหฺ (ไม่ใช่แนวทางของวะฮาบีย์) หรือ ทำการตีความหมาย ที่เหมาะสมยิ่งในความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ อีกทั้งสอดคล้องกับภาษาอาหรับที่อัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ ทรงประทานอัลกุรอานลงมาตามภาษาของพวกเขา ซึ่งการมอบหมายและการตีความนี้ ล้วนมาหลักฐานจากสะลัฟทั้งสิ้น

การสนทนาของเรานั้น จะอยู่ในสองแง่มุมด้วยกัน คือ

1. เมื่อวะฮาบีย์พยายามอ้างตนเองว่า แนวทางของตนนั้น มอบหมาย (ตัฟวีฏ) โดยที่การมอบหมายของวะฮาบีย์นั้น ไม่ได้อยู่ตามแนวทางของสะลัฟ แต่อยู่ในแนวทางของพวกอัลมุญัสสิมะฮ์ ดังนั้น เราจึงพยายามชี้แจงแนวทางสะลัฟอย่างแท้จริง ที่อัลอะชาอิเราะฮ์ดำเนินอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงพูดในเรื่องการมอบหมาย เพราะการดังกล่าวนี้

2. เราจะพูดเรื่องการตีความหมาย(ตะวีล) ด้วย อันเนื่องจากวะฮาบีย์สืบทอดและรับมรดกการตักลีดความไม่เข้าใจและกล่าวหาว่า การตีความ(ตะวีล)ของอัลอะชาอิเราะฮ์ นั้น เป็นการปฏิเสธซิฟัต เป็นการเปลี่ยนแปลงความหมาย ซึ่งมันเป็นการกล่าวหาของวะฮาบีย์ที่สืบมรดกกันมา ว่าหากพูดถึงอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น ต้องพูดอย่างนี้ ต้องเข้าใจอย่างนี้ ซึ่งหากเข้าใจแนวทางที่แท้จริงของอัลอะชาอิเราะฮ์แล้ว แน่นอนว่า อัลอะชาอิเราะฮ์ก็จะเป็นแนวทางที่ถูกต้องโดยปริยาย และแนวทางของวะฮาบีย์นั้นผิด ดังนั้น วะฮาบีย์จึงพยายามไม่เข้าใจอัลอะชาอิเราะฮ์ โดยพยายามทำการความเข้าใจแนวทางอัลอะชาอิเราะฮ์ โดยผ่านความเข้าใจจากอุลามาอ์วะฮาบีย์ก่อนเท่านั้น และไม่ยอมทำการเข้าใจจากอุลามาอ์อัลอะชาอิเราะฮ์โดยตรง นี่คือพฤติกรรมของวะฮาบีย์ครับ

บังอะสันครับ พวกเราอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น ไม่ได้ปฏิเสธ ซีฟัต يد ของอัลเลาะฮ์เลย หมายถึง พวกเรายังคงยืนยัน إثبات คำนี้ไว้อยู่เสมอ แต่ประเด็นที่เราคุยกัน มันอยู่ที่ความหมายของชีฟัต يد ต่างหาก ไม่ว่าเราจะให้ความหมายว่า اليد ว่า القوة "พลังอำนาจ" หรือบางอายะฮ์หมายถึง النعمة "เนี๊ยะมัต" หรือ القدرة "อานุภาพ" ก็ตาม นั้นย่อมมาจาก คำเปรียบเปรยمجاز ที่คนอาหรับเขาใช้กัน ในการเข้าใจอัลกุรอานที่ถูกประทานมาตามภาษาของพวกเขา

<<< ดังนั้น หากว่าเราเชื่อว่า คำว่า الفوة หรือคำว่า القدرة เป็นความหมายคำเดิม(ฮะกีกัต)ของคำว่า اليد แล้ว แน่นอนว่า มันเป็นการเปลี่ยนแปลงความหมายอย่างไม่ต้องสงสัย แต่อัลอะชาอิเราะฮ์ไม่ได้มีจุดยืนอย่างนั้น เพราะพวกเขาตีความหมาย(ตีวีล)เพราะเป็นความหมายเปรียบเปรย(มะญาซฺ) >>>

ซึ่งแตกต่างกับมั๊วะตะซิละฮ์ ที่บางครั้ง ทำการตีความโดยเปลี่ยนความหมาย ซึ่งถือว่าเป็นการบิดเบือนความหมาย(ตะหฺรีฟ) คำกล่าวของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ ที่ว่า

الى ربها ناظرة

"ไปยังพระผู้อภิบาลของมันนั้น จะได้จ้องมอง" ซูเราะฮ์ อัลกิยามะฮ์ อายะฮ์ที่ 23

แต่มั๊วะตะซิละฮ์ ได้ให้ความหมายคำว่า الى (ซึ่งแปลว่า ไปยัง) หมายถึง النعمة คือ "ไปยังเนี๊ยะมัตของพระผู้อภิบาลนั้น จะได้จ้องมอง(ในวันกิยามะฮ์)" นี่และครับ เขาเรียกว่า การเปลี่ยนความหมาย โดยทำการตีความที่ขัดกับหลักการ คือเปลี่ยนจากคำว่า "ไปยัง" ไปเป็น "เนี๊ยะมัต" ดังนั้น เมื่อบังอะสันจนตรอกในบางประเด็น ก็อย่าพูดแบบวะฮาบีย์ที่เขาสอนมาแบบไม่เข้าใจอัลอะชาอิเราะฮ์ว่า "พวกเขาปฏิเสธซิฟัตและเปลี่ยนแปลงความหมาย" ทั้งที่บรรดากนักปราชญ์มากมายที่ไม่ได้เข้าใจอย่างนั้น

แต่เมื่อเรากลับมาพิจารณาแนวทางของพวกอัลมุญัสสิมะฮ์ เราจะพบว่า พวกเขาทำการ إثبات ยืนยันในซิฟัตของอัลเลาะฮ์ที่สูงส่งยิ่งแบบเลยเถิด จนกระทั้งเชื่อว่า ซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้นเข้าใจแบบคำตรงในเชิงภาษา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เข้าใจความหมายแบบฮะกีกัต ซึ่งการเข้าใจอย่างนี้ มันจะทำให้เข้าใจความหมายซีฟัตของอัลเลาะฮ์ในรูปแบบของรูปร่าง แม้พวกอัลมุญัสสิมะฮ์จะพยายามบอกว่า "แต่มันไม่เหมือนกับมนุษย์" ซึ่งอันนี้ก็ย่อมไม่พ้นจากการ "ตีชบีฮ์" การทำให้ความเข้าใจคล้ายคลึงในเรื่องซีฟัตระหว่างอัลเลาะฮ์และมนุษย์ เช่นพวกอัลมุญัสสิมะฮ์เชื่อว่า ซีฟัต اليد นั้น มีความหมายแบบคำตรงในเชิงภาษา (คือแบบฮะกีกัต) ซึ่งหากเราไปพิจารณาดูความหมายในเชิงภาษานั้น ก็คือ "อวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย" หากเข้าใจตามพวกอัลมุญัสสิมะฮ์แล้ว ก็หมายถึง <<ซีฟัตพระหัตถ์ของอัลเลาะฮ์นั้น คือคุณลักษณะที่เป็นส่วนอวัยวะหนึ่งที่มีอยู่ที่ซาตฺของพระองค์ โดยไม่เหมือนกับมนุษย์>> ซึ่งแนวทางของกลุ่มอัลมุญัสสิมะฮ์นี้ ก็เป็นแนวทางของวะฮาบีย์ในปัจจุบันที่ได้รับสืบทอดต่อๆกันมาครับ

หมายเหตุ

หากตรงใหนที่ผมยืนยันถึงแนวทางของวะฮาบีย์ผิดพลาดไป ก็ได้โปรดชี้แนะด้วยครับ เผื่อว่าจะมีวะฮาบีย์ตัวจริงที่มีความเข้าใจแนวทางวะฮาบีย์มากกว่าที่ผมศึกษาและเข้าใจได้ชี้แนะแก่ผม

อ้างอิงจากบังอะสัน

อ้างอิงจากอัล-ฟารุก อะชาอีเราะฮ
ได้กล่าวรายงานถึงท่าน ซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ ว่า

ما وصف الله تبارك وتعالى بنفسه فى كتابه فقراءته تفسيره ، ليس لأحد أن يفسره بالعربية ولا بالفارسية

"สิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาด้วยกับพระองค์เองในคำภีร์ของพระองค์นั้น การอ่าน(ผ่าน)มันก็คือการอธิบายมัน โดยที่ไม่อนุญาติให้คนใดคนหนึ่ง ทำการอธิบายมันด้วยภาษาอาหรับหรือภาษาเปอร์เซีย" ดู อัลอัศมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า
................
ตอบ
กู่ไม่กลับแล้วละน้องบ่าวเอ๋ย แล้วตรงใหนหรือครับที่ท่านซุฟยาน บอกว่า แปลความหมายไม่ได้ แล้วคำว่า?اليد? อธิบาย ภาษาอาหรับว่า القدرة แบบนี้เขาเรียกว่า อธิบายเป็นภาษาอาหรับหรือเปล่าจ้ะน้อง รู้สึกว่า น้องบ่าวอ้างคำพูดของท่านซุฟยานข้างต้น เพื่อจะล้มช้าง แต่ก็สะดุดขาตัวเองเสียแล้ว


ตอบ

บังอะสันอย่าหลงประเด็นครับ อย่าเอาทัศนะแนวทางของการ ตีความ (ตะวีล) และ การมอบหมาย(ตัฟวีฏ) ของอัลอิชาอิเราะฮ์มารวมกัน การตีความ(ตะวีล) ของอัลอะชาอิเราะฮ์ ก็มีหลักการและกฏเกนฑ์ และการมอบหมายของอัลอะชาอิเราะฮ์ ก็มีหลักการและกฏเกนฑ์ตามที่สะละฟุศศอลิหฺได้ให้ทัศนะเอาไว้

การตีความ(ตะวีล)นั้น ก็มีหลักฐานของสะละฟุศศอลิหฺ เช่นท่าน อิบนุอับบาส น้ำหมึกแห่งประชาชาติอิสลาม โดยทำการตีความให้สอดคล้องกับภาษาอาหรับที่ชัดเจน และให้สอดคล้องกับหลักฐานตัวบทที่ชัดเจน المحكمات โดยมอบหมายการตีความไปยังอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)

เมื่อเป็นเช่นนี้ บังอะสันจะเอาหลักการมอบหมาย(ตัฟวีฏ)ของอัลอะชาอิเราะฮ์ มาหักล้าง หลักการตีความ(ตะวีล)ของอัลอิชาอิเราะฮ์ แล้วก็มาสรุปแบบคนไม่เข้าใจถ้อยความว่า "น้องบ่าวอ้างคำพูดของท่านซุฟยานข้างต้น เพื่อจะล้มช้าง แต่ก็สะดุดขาตัวเองเสียแล้ว" ซึ่งคำๆ นี้ เป็นคำพูดที่บังอะสันไม่รู้จะหาอะไรมาอ้างแล้ว ก็พูดออกมาแบบคนไม่รู้เรื่องและไม่เข้าใจ

บังอะสันจะพูดว่า "เราสะดุดขาตนเองได้" ก็เมื่อ อัลอะชาอิเราะฮ์ ไม่ยอมรับและปฏิเสธการมอบหมาย โดยยึดการตีความเพียงอย่างเดียว และการที่บังอัลฟารูก ได้อ้างอิงคำกล่าวของท่าน ซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์นั้น เพื่อที่จะมาอธิบายถึงหลักการในการ "มอบหมาย" ตัฟวีฏ ที่ถูกต้องหากบังอะสันยังลุ่มหลงตัวเอง ว่าตามสะละฟุศศอลิหฺ ทั้งที่สะละฟุศศอลิหฺนั้น ไม่ยุ่งเกี่ยวเลยกับแนวทางของวะฮาบีย์

ดังนั้น บังอัลฟารูกได้อธิบายว่า อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มีสองแนวทาง คือ 1 มอบหมาย โดยอธิบายว่าการมอบหมายนั้น เป็นอย่างนั้น มีหลักการอย่างนี้ และ 2 การตีความ ก็มีหลักการอย่างนั้น มีหลักการอย่างนี้ ก็ให้เลือกเอา เพราะทั้งสองแนวทางนี้ ก็มีจุดมุ่งหมายเดียว ตามที่บังอัลฟารูกได้อธิบายมาแล้ว แต่บังอะสันก็แปลก ที่บอกว่า "การมอบหมาย(ตัฟวีฏ) คือการไม่อธิบาย แล้วทำไม(บังอัลฟารูก) "ต้องตีความ(ตะวีล)" อธิบายเป็น القدرة ซึ่งมันคนละเรื่อง คนละประเด็นกัน แล้วมากล่าวได้อย่างไรว่า "สะดุดเท้าตนเอง"

แต่ถ้าจะสะดุดเท้าของตนเองนั้น ก็ต้องอย่างนี้ "การมอบหมาย(ตัฟวีฏ) คือ การไม่อธิบาย แล้วทำไม(บังอัลฟารูก) "ต้องมอบหมาย(ตัฟวีฏ)" โดยอธิบายเป็น القدرة " ซึ่งอย่างนี้แหละ เขาเรียกว่า สะดุดขาตนเอง โดยที่ความจริงนั้น พวกเราพ้นจากการกล่าวหาอย่างไร้สติของบังอะสัน

แต่ที่แน่ๆ นั้น วะฮาบีย์ อธิบายว่า ความหมายซีฟัตของอัลเลาะฮ์ คือคำตรงในเชิงภาษาแบบฮะกีกัต "คือเป็นอวัยวะที่ส่วนส่วนจากซาตฺ" ซึ่งแบบนี้ ไม่ใช่สะลัฟและไม่ใช่แนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

อ้างอิงจากบังอะสัน

มีคำพูดของอีหม่ามชาฟิอี อยู่ประโยคหนึ่งน่าสนใจคือ

لاحجة في قول أحد دون رسول الله صلى الله عليه وسلم وان كثروا

ในคำพูดของบุคคลหนึ่ง บุคคลใด อื่นจากท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น เอามาเป็นหลักฐานไม่ได้ แม้ว่าพวกเขาจะมีจำนวนมากก็ตาม - มีซานอัล-กุบรอ ของท่านอัชชะอฺรอนีย์ เล่ม 1 หน้า 60


ตอบ

เก่งจริงก็ยกคำกล่าวของอิมามอัช-ชาฟิอีย์มาให้หมดซิครับบังอะสัน หมกเม็ดหลอกลวงอย่างนี้ ถือว่าเป็นการกระทำไม่ดีนะครับ ไม่สมเลยที่อุตสาห์ยกยอตนเองว่าเป็น "ช้าง" ผมคงไม่ขี้ตามช้างหรือครับ ? เฮอะๆ

เป็นทราบกันดีว่า พอเวลาพูดเรื่องซิฟัต บังอะสันก็จะยกอ้างคนโน้น คนนี้ มาเป็นพรวนแล้วครับ คือยกอ้างอิงเพื่อที่จะมาสนับสนุนแนวทางของตน พอบังอัลฟารูก ได้ทำการอธิบายตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนมากและจับไต๋วะฮาบีย์ได้ บังอะสันก็แก้ต่างอะไรได้ เลยอ้างว่า "คำกล่าวของคนอื่นไม่สามารถเป็นหลักฐานได้ นอกจากท่านนบี(ซ.ล.) " แล้วคำอธิบายที่ว่า "ให้เชื่อคุณลักษณะซีฟาตของอัลเลาะฮ์ ด้วยคำตรงตามหลักภาษาแบบฮะกีกัตนั้น ไปเอามาจากใครครับบังอะสัน"

อ้างอิงจากบังอะสัน

นี่คือ อาการของคนที่กำลังจะเสียสติ เพราะไม่สามารถล้มช้างได้ ทั้งๆที่ พยายามยั่วยุให้มาชนกันเรื่องสิฟาตอัลลอฮ โดยกระยิ่มใจว่า กูจะเอาให้มันหลับคาตีน อุตสาห์ติ้วเข้มมาจาก ปรมาจารย์อะชาอิเราะฮนอกคอก (อบูหาซัน ไม่เกี่ยว)

ตอบ

ใจเย็นๆ ครับบังอะสัน ได้โปรดสนทนาอย่างคนมีสติ อย่าไปเปรียบเทียบว่าตัวเองเหมือนช้างเพื่อตบตาผู้อ่าน หากเป็นช้างจริงๆ บังอะสันก็คงไม่จำเป็นต้องออกอาการแบบไร้สติ แล้วเอาอารมณ์เข้ามาปะปนคลุกเคล้ากับการสนทนา เช่นกล่าวว่า "พยายามยั่วยุให้มาชนกัน" เช่นกล่าวว่า "โดยกระยิ่งใจว่ากูจะเอาให้หลับคาตีน" หรือ "อุตสาห์ติ้วเข้มมาจากปรมาจารย์อะชาอิเราะฮ์นอกคอก" หรือกล่าวว่า "พวกคุณหวังจะทำลาย อิหม่ามมุหัมหมัด และอิบนุตัยมียะฮ ตามใบสั่งอาจารย์เลวๆ"

นี้ก็คงเป็นการด่ากล่าวหา ที่เป็นหลักการสุดท้ายแล้วซิครับ ที่บังอะสันใช้ทำการสนทนา งั้นก็

โชคดีสำลีโป๊ะหัวครับ ฮ่า ฮ่า

----------------------

คุณแนะนำครับ วะฮาบีย์จะไปมีอายะฮ์มุตะชาบิฮาดทำไมล่ะครับ ในเมื่อวะฮาบีย์เขารู้ความหมายและไม่ได้มอบหมายความหมาย แต่มอบหมายเพียงแค่วิธีการ เมื่อเป็นเช่นนี้ วะฮาบีย์จึงรู้ความหมายหมดแหละครับ คือรู้ว่ามันมีความหมายแบบฮะกีกัต มืออัลเลาะฮ์ ก็คืออวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งจากซาติ นิ้วของอัลเลาะฮ์ก็คือซีฟัตที่เป็นส่วนหนึ่งจากนิ้ว เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว วะฮาบีย์จะไปมีอายะฮ์มุตะชาบิฮาตทำไม?

แต่อัลอะชาอิเราะฮ์ถือว่า อายะฮ์ทางอายะฮ์ที่กล่าวถึงซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้น มุตะชาบิฮาด ไม่มีผู้ใดรู้นอกจากอัลเลาะฮ์(ตามแนวทางของสะลัฟส่วนมาก)และบรรดานักปราชญ์ที่แน่แฟ้นในความรู้ด้วย(ตามแนวทางของคอลัฟ) ดังนั้น มื่อตามแนวทางของสะลัฟถือว่าไม่มีผู้ใดรู้ความหมายอย่างแท้จริงนอกจากอัลเลาะฮ์ พวกเขาจึงมอบหมายถึงความหมายและวิธีการ แต่วะฮาบีย์เขารู้ดีครับ ว่า มืออัลเลาะฮ์ ก็คืออวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งจากซาติ นิ้วของอัลเลาะฮ์ก็คือซีฟัตที่เป็นส่วนหนึ่งจากนิ้ว เป็นต้น
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อ้างอิงจากบังอะสัน

โอ้..มาอีกแล้วรึ..น้องบ่าวไข่นุ้ยของบังอะสัน น้องบ่าวครับ คำตรงแบบหะกีกัต นั้นเอามาจากผู้ที่อัลลอฮส่งมาทำหน้าที่อธิบายอัลกุรอ่าน โดยตรง ครับ ท่านอิหม่ามอะหมัด (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

وكما صح الخبر عن رسول الله أنه قال : وكلتا يديه يمين ، والإيمان بذلك ، فمن لم يؤمن بذلك ، ويعلم أن ذلك حـــق كما قال رسول الله فهو مكذب لرسول الله ) [ طبقات الحنابلة : 1/313

และดังที่คำบอกเล่า(หะดิษ)ที่เศาะเฮียะจากท่านรซูลลุ้ลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าแท้จริงท่านกล่าวว่า "และทั้งสองคือพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ ด้านขวา" และให้ศรัทธาด้วยดังกล่าวนั้น แล้วผู้ใด ไม่ศรัทธาด้วยดังกล่าวนั้น ทั้งๆที่เขารู้ว่าดังกล่าวนั้น เป็นความจริง ดังที่ท่านรซูลุ้ลลอฮกล่าวไว้ ดังนั้นเขาคือ ผู้โกหกต่อท่านรซูลุ้ลอฮ - เฏาะบะกอตอัลหะนาบะละฮ เล่ม 1 หน้า111
..........
มีหลายหะดิษที่ท่านรซูลลุ้ลลอฮ กล่าวถึงพระหัตถ์ของอัลลอฮ ไม่ทราบว่า ทำไม่ท่านจึง ไม่กลัวว่า คนรุ่นต่อมาจะเข้าใจผิดว่า อัลลอฮเหมือนมัคลูค เหมือนอะชาอีเราะฮ ที่กล่าวหาผู้อื่นที่ไม่ตีความ ทั้งนี้ ก็เพราะท่านรซูลย่อมรู้ว่า คนมีปัญญาเขาไม่เข้าใจว่าอัลลอฮเหมือนมัคลูคแน่นอน เพราะอัลลอฮได้ตรัสไว้แล้วว่า
﴿لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ البَصِيرُ﴾[الشورى:11>.
ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็นยิ่ง -อัชชูรอ/11

ตอบ

บังอะสันอย่ายกเมฆมาว่า ท่านนบี(ซ.ล.)และท่านอะหฺมัด เชื่อในความหมายแบบหะกีกัต ที่วะฮาบีย์กล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงมีอวัยวะมือที่เป็นส่วนหนึ่งของซาตฺและมีนิ้วที่เป็นส่วนหนึ่งของมือ ความเชื่ออย่างนี้ มันไม่ใช่จุดมุ่งหมายของท่านนบี(ซ.ล.)และท่านอิมามอะหฺมัดแน่นอนครับ และคำกล่าวของท่านอะหฺมัดคือ ไม่ใช่หมายถึงให้เชื่อว่า ความหมายที่ว่า อัลเลาะฮ์ทรงมีอวัยวะมือที่เป็นส่วนหนึ่งของซาตฺและมีนิ้วที่เป็นส่วนหนึ่งของมือ และท่านอะหฺบอกว่า หากมีหะดิษซอฮิหฺ และระบุคำๆ ใดก็ให้เชื่อโดยยืนยันยอมรับคำๆนั้น ไม่ใช่ยอมรับถึงหมายแบบที่วะฮาบีย์จะเอา เนื่องจากความหมายนั้น อัลเลาะฮ์คือผู้รู้ที่สุดและท่านร่อซูลก็คือผู้ที่รู้จุดมุ่งหมายนั้น แต่ไม่ใช่รู้แบบวะฮาบีย์ เพราะท่านอะหฺกล่าวไว้ว่า

ท่าน อิบนุกุ๊ดดามะฮ์ กล่าวถ่ายทอดจากคำกล่าวของอิมาม อะหฺมัด(ร.ฏ.) ว่า

"บรรดาหะดิษเหล่านี้(คือบรรดาหะดิษซีฟาต) เราศรัทธาและยอมรับด้วยกับมัน โดยที่ไม่มีวิธีการ และความหมาย (หมายถึงมอบหมายวิธีการและความหมาย)และเราจะไม่พรรณนา (คุณลักษณะ) กับอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ให้มาก ไปกว่าสิ่งที่พระองค์ทรงพรรณนาไว้ให้กับพระองค์เอง" (ดู ลุมอะฮ์ อัลเอี๊ยะติก๊อต หน้า 3)

ดังนั้น ท่านอะหฺมัดก็รู้ดีว่า จะมีพวกวะฮาบีย์ที่อ้างตนเองว่าอยู่ในแนวทางของอิมามอะหฺมัด ท่านจึงกล่าวกันเอาไว้อย่างนั้น

และอัลเลาะฮ์ก็ทรงรอบรู้ดีว่า จะมีชนกลุ่มหนึ่งที่ให้ความหมายเกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์ โดยไปคล้ายคลึงกับมัคโลค พระองค์จึงทรงตรัสกันไว้เลยว่า

﴿لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ البَصِير

ไม่มีสิ่งใดมาคล้ายเหมือนพระองค์ และพระองค์ ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็นยิ่ง -อัชชูรอ/11

และการแปลเป็นไทยนั้น ก็ไม่แปลกหรอก แต่สำหรับวะฮาบีย์นั้น พอแปลแล้วก็จะติดโรคตัชบีย์ คือให้ความหมายตรงตัว คืออัลเลาะฮ์มีอวัยวะที่เป็นมือที่เป็นส่วนหนึ่งของร่าง ซึ่งหากแปลแล้วเชื่อควาหมายอย่างนี้ ย่อมเป็นบิดอะฮ์แน่นอนครับ


วะฮาบีย์หลายท่านที่นำเสนอหลักการของตนเอง ซึ่งมีการค้านกันเองพอสมควร จึงไม่ทราบว่า วะฮาบีย์แต่ละคนนั้น เข้าแนวทางของตนที่กำลังยึดถือกันอยู่หรือเปล่า บางคนบอกว่ามอบหมายกับความหมายด้วย วะฮาบีย์หลายคนบอกว่ามอบหมายแค่วิธีการ เท่านั้น อันนี้คือการสรุปของผม เนื่องจากผมไม่อยากจะทำการอ้างอิงทีละจุดๆ เพราะมันจะกินเนื้อความเยอะ แต่ผมจะอ้างอิงจุดเปลี่ยน ระหว่างวะฮาบีย์กับอัลอะชาอิเราะฮ์ ครับ


อ้างอิงจากบังอะสัน

มันไปไม่ได้ที่ท่านรซูลลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะละเลยจากการอธิบายในสิ่งที่จะสร้างความคลุมเครือในเรื่องอะกิดะฮ และ ในเรื่องการปฏิบัติ ตามหลักการที่ว่า
تأخيرالبيان عند وقت الحاجة لايجوز
การประวิงการอธิบายเมื่อถึงเวลาจำเป็นจำเป็น นั้น ย่อมไม่อนุญาต
ในอัลกุรอ่าน ซูเราะฮอัลมาอิดะฮ/67 ระบุไว้ว่า

يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ
[5.67> ร่อซู้ลเอ๋ย ! จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระเจ้าของเข้า และถ้าเจ้ามิได้ปฏิบัติ เจ้าก็มิได้ประกาศสารของพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นจะทรงคุ้มกันเจ้าให้พ้นจากมนุษย์ แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงแนะนำพวกที่ปฏิเสธศรัทธา

ตอบ

ผมขอเรียนเสริมสักนิดว่า เราอัลอะชาอิเราะฮ์ ไม่ได้ปฏิเสธซีฟัต ที่อัลเลาะฮ์ทรงระบุเอาไว้ และเราก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องคำที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาเอาไว้ แต่ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า เราจะให้ความหมายมันอย่างไรกับซีฟัตอันสูงส่งของพระองค์อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ? การที่สะลัฟมอบหมายกับความหมายของซีฟัตสำหรับอัลเลาะฮ์นั้น ไม่ใช่หมายความว่าเขาไม่รู้ความหมาย แต่พวกเขา "ไม่ได้เจาะความหมายมันเอาไว้ต่างหาก" โดยมอบหมายความหมายซีฟัตเหล่านั้นไปยังผู้ที่กล่าวมัน คืออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) และท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.บ.) แต่ซอฮาบะฮ์และสะลัฟบางท่านก็เข้าใจซีฟัตเหล่านั้น โดยเป็นไปตามหลักภาษาอาหรับที่ชัดเจนถูกต้อง ( فصيح ) โดยไม่ได้ให้ความหมายแบบ ตัชบีฮ์ คล้ายคลึงระหว่างอัลเลาะฮ์และมัคโลคแต่อย่างใด
ดังนั้น การที่สะลัฟไม่ได้เจาะจงความหมาย ก็ไม่ใช่หมายถึง ซีฟัต เหล่านั้น ไม่มีความหมายแบบฮะกีกัตตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) แต่สะลัฟแล้ว พวกเขาเชื่อว่ามันเป็นซีฟัตที่สูงส่งยิ่งนัก ดังนั้น ความอ่อนแอในความบ่าวนั้น สะลัฟส่วนมากจะไม่ทำการเจาะจงความหมายและก็ทำการมอบหมายความรู้ดังกล่าวให้ไปยังอัลเลาะฮ์ ส่วนวิธีการเป็นอย่างไรนั้นย่อมไม่ต้องพูดถึงแล้ว เพราะความหมายก็ได้มอบหมายไปแล้ว

การที่บรรดาสะลัฟส่วนมากที่ทำการมอบหมายในบางซีฟัต ที่มีข้อบ่งชี้มะตะชาบิฮาตนั้น มันเป็นซีฟัตที่ไม่ได้เป็นเงื่อนไข ในการเป็นมุสลิม ที่จะต้องรู้ ไม่ใช่ว่า หากกาเฟรจะเข้าเป็นมุสลิมแล้ว ก็จำเป็นต้องรู้ความหมายซีฟัต ที่มีข้อบ่งชี้มะตะชาบิฮาตาเหล่านี้ ก็หาไม่! ท่านนบี(ซ.ล.) ก็ไม่ได้สอนและเรียกรอ้งให้กาเฟรเข้ารับอิสลาม ด้วยการรู้ซีฟัตที่มีข้อบ่งชี้ มุตะชาบิฮาตเหล่านี้ บรรดาซอฮาบะฮ์ก็ไม่ได้เผยแผ่อิสลาม โดยให้ผู้คนจำเป็นต้องรับรู้ความหมายซิฟัตที่มีข้อบ่งชี้ มุตะชาบิฮาต เหล่านี้ ดังนั้น การเป็นมุสลิมนั้น สะลัฟต่างมีมติสอดคล้องกันว่า ไม่จำเป็นต้องรู้ความหมายซีฟัต เหล่านี้ และการรับรู้ความหมายซีฟัตเหล่านี้ ก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการเป็นมุสลิม เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสะละฟุศศอลิหฺ จึงทำการมอบหมายความหมายไปยังอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) โดยไม่พยายามกล่าวถึงมัน เนื่องจากในสมัยนั้น ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะกล่าวถึงมันครับ เมื่อเป็นเช่นนี้ "การประวิงเวลาในการอธิบาย จึงอนุญาติ เนื่องจากมันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายฮะกีกัตซีฟัตของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)"

และประเด็นที่บังอะสันนำเสนอทัศนะของตนเองจากวะฮาบีย์ หรือคุณ ijd ได้นำเสนอหลักการที่อุลามาอ์วะฮาบีย์มานั้น เราก็ทราบดีว่า คุณต้องเชื่อตามนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมก็ถึงถามว่า

แล้วสิ่งที่ผมได้นำเสนอไปละครับ มันไปสอดคล้องกับหลักการดังกล่าวตามทัศนะของวะฮาบีย์ไหมครับ ที่ผมได้กล่าวถามไปแล้วว่า

คำว่า اليد (ที่วะฮาบีย์แปลว่ามือหรือพระหัตถ์) ที่เป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)นั้น

วะฮาบีย์เข้าใจว่า

1- ความหมายเป็นที่รู้กัน معلوم المعنى

2- มีความหมายแบบคำตรง حقيقة

3- ตรงในเชิงภาษา وفق اللغة

4- เมื่อได้ยินแล้ว ความหมายแรกที่สมองคนเราเข้าใจ นั่นคือจุดมุ่งหมาย ما يسبق الى الذهن

เมื่อผมศึกษาดูแล้ว ปรากฏว่าความหมายคำว่า اليد ที่เป็นความหมายที่รู้กันดี มีความหมายแบบคำตรง ในเชิงภาษา ที่คนฟังแล้วเข้าใจเลยนั้น คือ "อวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่เป็นฝ่ามือและมีนิ้ว" แล้วจู่ๆ วะฮาบีย์ก็บอกว่า "แต่มันไม่เหมือนกับมัคโลค" ??? แล้วมือของมัคโลคที่รู้ความหมายกันดีแบบคำตรงที่สมองคนเราเข้าใจเลยนั้นมันเป็นอย่างไรกันหรือครับ?? แล้วคนเอาวามทั่วไป เขาจะเชื่อกันอย่างไรครับ? แล้วสะลัฟเขาเชื่อกันอย่างนี้หรือ? ถ้าหากว่าวะฮาบีย์คิดว่าตนเองคือสะลัฟอย่างแท้จริงนะครับ

ซึ่งสิ่งที่ผมนำเสนอหลักการของวะฮาบีย์เกี่ยวกับ ซีฟัต اليد ไปนั้น มันไปตรงกับประเด็นที่ 1 หรือเปล่า??? โปรดชี้แจงด้วยครับ จักขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง และขออัลเลาะฮ์ทรงชี้นำเราทุกคนครับ ยาร๊อบ..


กลุ่มวะฮาบีย์แอบอ้างว่า

ولذلك قال بعض أئمة الحديث وهو أبو بكر الخطيب البغدادي الشافعي صاحب تاريخ بغداد: يُقال في الصفات ما يُقال في الذات سلباً وإيجاباً، فكما أننا نثبت الذات ولا ننفيها، فإن هذا النفي هو الجحد المُطلق .كذلك نقول في الصفات نثبتها و لا ننفيها ، ولكننا كما لا نكيف الذات لا نكيف الصفات
1. ด้วยเหตุนี้อิหม่ามหะดีษบางท่าน เช่น อัลคอตีบอัลบัฆดาดีย์ จึงกล่าวว่า "การพูดในเรื่องของซีฟาตเช่นเดียวกับการพูดในเรื่องของซาต ทั้งด้านลบและด้านบวก ดังนั้นเช่นเดียวกับที่เรายอมรับ(อิษบาต)ในซาตของอัลลอฮฺและเราไม่ปฏิเสธมัน เราก็กล่าวเช่นเดียวกันต่อซิฟาตว่าเรายอมรับและไม่ปฏิเสธ และในเมื่อเราไม่ถามหาถึงวิธีการ(กัยฟิยะฮฺ) ของซาตอัลลอฮฺ เราก็ไม่จำเป็นต้องถามหาถึงวิธีการและรูปแบบของซิฟาตอัลลอฮฺเช่นเดียวกัน

ตอบ

ผมไม่รู้วะฮาบีย์ เขาแอบอ้างคำกล่าวของท่าน อัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์ แบบสรุปคำพูดของท่านตามหลักการตัดลีส อำพรางอุลามาอ์ของวะฮาบีย์ ที่วะฮาบีย์ก๊อบมาอีกทีไม่อิโหน่อิเหน่ และตาบอดเหมือนที่ชอบกระทำอยู่อีกหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ครับ? เพราะวะฮาบีย์พยายามยกอ้างคำของอุลามาอ์ บางตอนแบบท่อนๆ เพื่อมาสนับแนวทางของตน ซึ่งหากยกมาเต็มๆส่วนที่เหลือ ก็จะไม่เป็นการสามารถต้มตุ๋นชาวบ้านได้แบบนั้นหรือเปล่า ผมก็จะไม่จะวิจารณ์ไปมากกว่านั้นนะครับ

ท่านอัซฮะบีย์ได้กล่าว ทัศนะของท่าน อัลคอฏีบ อัลบุฆดาดีย์ ตอนหนึ่งว่า

مذهبُ السلف إثباتها ، وإجراؤها على ظواهرها ونفي الكيفية والتشبيه عنها وقد نفاها قوم فأبطلوا ما أثبته الله، وحققها قوم من المثبتين فخرجوا في ذلك إلى ضرب من التشبيه والتكييف،

"มัซฮับสะลัฟนั้น ก็ยอมรับด้วยกับบรรดาซีฟาต และทำการดำเนินผ่านมันไปบนบรรดาความผิวเผิญของมัน โดยปฏิเสธวิธีการและการตัชบีฮ์(การคล้ายคลึงจากมัน) -- และแท้จริงได้ปฏิเสธกับมันโดยกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นเท่ากับเขาได้ทำการให้โมฆะกับสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงยืนยันเอาไว้ และได้ทำให้เด่นชัดกับมัน(บรรดาซิฟาต)โดยกลุ่มหนึ่งจากบรรดาผู้ยอมรับมัน แล้วพวกเขาก็ออก(เลยเถิด)ในเรื่องดังกล่าว(การให้การยอมรับเรื่องซีฟาต) ไปประเภทหนึ่งจากการตัชบีฮ์และมีวิธีการ --- ดูหนังสือ ตัซฺกิเราะตุลหุฟฟาซฺ ของท่านอัซซะฮะบีย์ เล่ม 3 หน้า 114

และความเข้าใจอีกท่อนหนึ่งจากคำกล่าวของท่าน อัลคอฏีบ อัลบุฆดาดีย์ ที่วะฮาบีย์ไม่ยอมนำมาเสนอนั้น มีต่อว่า

وإذا كان معلوم أن إثبات رب العالمين إنما هو إثبات وجود لا إثبات تحديد وتكييف، فإذا قلنا : لله يَدُ وسمع وبصر فإنما هي صفات أَثْبَتَها الله تعالى لنفسه، ولا نقول إن معنى اليد القدرة، ولا أن معنى السمع والبصر : العلم ، ولا نقول إنها جوارح، ولا نشبهها بالأيدي والأسماع والأبصار التي هي جوارح وأدوات للفعل

"เมื่อเป็นที่ทราบกันว่า แท้จริง การทำการยอมรับของพระผู้อธิบายแห่งสากลโลกนั้น คือการยืนยันถึงการมี(ซีฟัต) โดยไม่ใช่มีการทำการจำกัด(ความหมาย)และวิธีการ ดังนั้น เมื่อเรากล่าวว่า สำหรับอัลเลาะฮ์นั้น มีซีฟัต يد มีซีฟัต سمع และมีซีฟัต بصر แท้จริงมันก็คือ บรรดาซีฟัตที่อัลเลาะฮ์ทรงยืนยันมันเอาไว้ให้กับพระองค์เอง โดยที่เราไม่กล่าวว่า แท้จริงความหมายของคำว่า يد นั้น คืออานุภาพ(กุดเราะฮ์) (สี่คือแนวทางของสะลัฟครับ) และไม่กล่าวว่า แท้จริง การเห็นและได้ยินนั้น คือความรอบรู้ และเราไม่กล่าวว่า يد นั้นคือ อวัยวะ(แต่วะฮาบีย์กล่าวว่ามันคืออวัยวะครับ และเมื่อไม่กล่าวว่าเป็นอวัยวะนั้นท่านอัลคอฏีบก็กล่าวว่า) และเราไม่นำซีฟัตاليد มาคล้ายคลึงกับบรรดามือ(เพราะมือนั้นมันคืออวัยวะและวะฮาบีย์ก็เชื่อว่ามือของอัลเลาะฮ์ก็คืออวัยวะ ซึ่งตรงนี้ถือว่ายืนยันก็คล้ายคลึงตามทัศนะของท่านอัลคอฏีบครับ) และ(เราไม่ทำการคล้ายคลึง)บรรดาการได้ยินและการเห็นซึ่งคล้ายกับ บรรดาอวัยวะและเครื่องมือของการกระทำ(แต่ท่านอิบนุตยมียะฮ์บอกไว้ในหนังสืออัตตัดมุรียะฮ์ที่วะฮาบีย์นำมาตีพิมพ์ว่า มือของอัลเลาะฮ์เป็นเครื่องมือในการกระทำ) " ดู หนังสือ ตัซฺกิเราะตุลหุฟฟาซฺ ของท่านอัซซะฮะบีย์ เล่ม 3 หน้า 114

เราลองมาสังเกตุคำกล่าวของท่านอัลคอฏีบที่ขัดกับการหลักการของวะฮาบีย์ครับ

ท่านอัลคอฏีบกล่าวว่า

"และทำการดำเนินผ่านมันไปบนบรรดาความผิวเผิญของมัน"

คือผ่านมันไปบนความผิวเผิญ โดยไม่มีการอธิบายและไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไปเป็นการที่เข้าใจแบบ อวัยวะجوارح ที่อยู่ในความหมายแบบเชิงภาษาฮะกีกัต ที่วะฮาบีย์กำลังเชื่อเข้าใจความหมายกันอยู่อย่างนั้น ดังนั้น การที่วะฮาบีย์ยกสรุปคำกล่าวทัศนะของอัลคอฏีบ แบบท่อนที่อุลามาอ์วะฮาบีย์จะเอานั้น มันก็เป็นการตบตาหลอกลวงวะฮาบีย์เมืองไทยที่ทำการก๊อบมาอ้างอิงเชื่อกันแบบตายใจเหมือนกับที่วะฮาบีย์กำลังทำกันอย่างนี้นี่นะหรือ???
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged