ผู้เขียน หัวข้อ: หลากหลายมุมมองในหนังสือการบริหารจัดการซะกาตในสังคมมุสลิมยุคใหม่  (อ่าน 1332 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ suksara

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 56
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด

หลากหลายมุมมองในหนังสือการบริหารจัดการซะกาตในสังคมมุสลิมยุคใหม่

นี่เป็นหนังสืออีกเล่มของแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทยที่ผลิตงานวิชาการดีๆออกมาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเกี่ยวกับซะกาต อีกเล่มหนึ่งก็คือหนังสือรายงานวิชาการกองทุนซะกาต ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะทางแผนงานฯมีบทบาทค่อนข้างสูงในการพยายามผลักดันพระราชบัญญัตซะกาตให้กำเนิดขึ้นในประเทศไทย โดยในหนังสือเล่มนี้จะเป็นการนำมุมมองของนักวิชาการหลายท่านเกี่ยวกับการบริหารจัดการซะกาตในยุคปัจจุบันของแต่ละประเทศมานำเสนอ
คนแรกคือ ดร.ซาฮีดีน ซาฮิม จากประเทศตุรกี ดร.ซาฮีดีนได้ตีความซะกาตในแง่มุมด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันไว้ว่า
1.  เพื่อเพิ่มผลผลิตและความยืดหยุ่นในรายได้
2. จัดสรรครายได้เพื่อผู้ยากไร้
3. กำจัดการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยของผู้มั่งมี
4. เพิ่มการลงทุน
5. บริหารจัดการเงินซะกาต
6. สร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ยากไร้
7. กระตุ้นค่าเฉลี่ยความต้องการ
และในตอนท้ายดร.ซาฮีดีนยังได้กล่าวอีกว่า นโยบายการเงินที่วางอยู่บนรากฐานของซะกาตเป็นหลัก จะมีบทบาทสำคัญการกำจัดความยากจน และปรับปรุงแบบแผนในการกระจายรายได้อย่างเสมอในสังคมอิสลาม
   คนต่อมาคือ ซัยอุดดีน อะห์หมัด ผู้บริหารสถาบันเศรษฐศาสตร์อิสลามนานาชาติ ณ กรุงอิสลามมาบัด ได้สรุปถึงผลกระผลของการประเมิน รวบรวมและจัดสรรรายได้ในประเทศร่วมสมัย เป็นข้อๆดังนี้
1. นอกจากซะกาตจะเป็นตัวเพิ่มความต้องการในการบริโภคโดยการจัดสรรรายได้จากคนรวยสู่คนจน ซะกาตยังเป็นมาตารการตรวจสอบการกักตุนเงิน ซึ่งก่อให้เกิดการลงที่ทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นสินค้าและบริการต่างๆก็เพิ่มขึ้น
2. ซะกาตยังเป็นตัวเบี่ยงเบนการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยของคนมั่งมีไปสู่ภาคการบริโภคของคนยากไร้
3. เพื่อยกระดับรายได้ของคนยากไร้
เขาได้เน้นถึงการวางแผนทางในการแจกจ่ายซะกาต เพื่อนำมาซึ่งงวัตถุประสงค์ด้านสังคมที่กกำหนดไว้และการชี้ขาดของนักวิชาในเรื่องนี้ (การนำเงินซะกาตอัดฉีดเพื่อพัฒนาสาธารณประโยชน์) ก็ยังไม่ปรากกฎอย่างชัดเจน ซึ่งตามทัศนะของ อิหม่ามฮานาฟี เห็นว่า ผู้มีสิทธิ์ได้ซะกาตอาจไม่ได้ผลานิสงค์จากโครงการดังกล่าว และตามทัศนะท่านอื่นๆ เห็นว่าโครงการดังกล่าวไม่อยู่ใน 8จำพวก (ผู้มีสิทธิ์ในซะกาต)
จากข้อสรุปของซัยอุดดีนมีข้อวิจารณ์ว่า เป็นไปไม่ได้ที่โครงการเหล่านี้จะก่อให้เกิดอรรถประโยชน์แก่ผู้มีสิทธิ์ในซะกาตเพียงอย่างเดียว ดังนั้นควรที่นำเอารายได้รัฐ (นอกจากซะกาต) มาอัดฉีดกับโครงการดังกล่าว
และยังมีคำแนะนำอีกว่า ควรมีการรวมทรัพย์สินที่ต้องจ่ายซะกาตของบุคคลหนึ่ง (ถ้าหากคิดรายละเอียดอาจต่ำกว่าพิกัด) โดยตีราคาตามท้องตลาด หากเกินพิกัดก็ต้องจ่ายซะกาตโดยเทียบพิกัด ทอง หรือ เงิน
เขายังเรียกร้องให้มีการจ่ายซะกาตด้วยความสมัครใจกับทรัพย์ตายและทรัพย์เพื่ออุปโภคบริโภค หรือสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ทั้งที่เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่สวัสดิการสังคม นอกจากนั้นผู้เขียนยังเน้นถึงการกำหนดแนวทางเพื่อพิจารณาถึงขนาดระดับความเป็นอยู่ของครอบครัวโดยทั่วไปเพื่อที่จะกำหนดการแจกจ่ายซะกาต ให้กับผู้ที่สิทธิ์ซึ่งจำนวนที่แจกจ่ายควรจะลดลงที่ละน้อยจนกระทั่งไม่มีเลย (ตามระดับ)
ความเห็นต่อมาคือ เชากี อิสมาแอล ชีตาฮา ได้บอกกล่าวถึงข้อกำจัดในการใข้เงินทุนซะกาตเพื่อพัฒนาสาธารณประโยชน์ภายในสังคมไว้ดังนี้
- ต้องแยกบัญชีซะกาตออกจากบัญชีอื่นๆ
- ไม่ควรใช้เงินซะกาตเพื่อพัฒนาสาธารณาประโยชน์ โดยไม่พิจารณาผู้ใดจะรับลานิสงค์
- ไม่ควรแจกจ่ายซะกาตให้กับคนรวย หรือ ผู้มีความสามารถหาเลี้ยงชีพได้ ยกเว้น เขาเป็นผู้ที่รวบรวมซะกาต นักรบและผู้เผยแพร่อิสลาม
- ควรแจกจ่ายซะกาตให้กับท้องที่ที่รวบรวมมาได้
มีการเสนอแผน 5 ปี และงบประมาณซะกาตรายปี อีกทั้งการตั้งสมาพันธ์นานาชาติองค์กรซะกาตต่างๆ หรือ องค์ซะกาโลกอิสลาม โดยประสานกับทางองค์กรการประชุมโลก (OIC)
ส่วนศาสตราจารย์มูฮำหมัดฮาชิม อาววัต จากประเทศซูดาน ให้ความเห็นว่าแม่แบบโครงสร้างภาษีของระบบเศรษฐกิจอิสลามจะต้องประกอบไปด้วยซะกาตและภาษีซึ่งระบบดังกล่าวรวมไปถึงการลงทุนภาครัฐ การบริจาค หนี้ดอกเบี้ย หุ้นบุคคล องค์กรที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการและการบริจาคให้กับโครงการสวัสดิการรัฐ
ซะกาตนั้นจะเป็นศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจโดยที่ภาษีระบบอื่นๆ จะเป็นตัวเสริมบทบาทและวัตถุประสงค์ของซะกาต เพื่อให้ได้มาเพื่อประสิทธิภาพและรายได้ ในขณะเดียวกัน ก็จะเป็นตัวเพิ่มกองทุนเพื่อการบริการและเป้าหมายทางด้านการเงินอื่นๆ  หากซะกาตเพียงลำพังมีไม่เพียงพอ (ซึ่งที่มาและเป้าหมายของซะกาตนั้นถูกกำหนดไว้แล้วและไม่สามารถเปลี่ยนได้)
และเรื่องการจัดการซะกาตโดยองค์กรกึ่งรัฐบาล โดยท่าน ฟูอาด อับดุลเลาะห์ อัลอุมัร จากคูเวต ซึ่งหัวข้อนี้เอ่ยถึงปูมหลังของสำนักงานซะกาตคูเวต ซึ่งรวมถึงสถานะในปัจจุบัน นโยบาย โครงสร้างขั้นตอนการดำเนินงาน และแผนการต่างๆในอนาคต
   บทบาทหนึ่งที่สำคัญของซะกาตก็คือการกำหนดแนวทางของเศรษฐกิจอิสลามว่าจะเคลื่อนตัวไปในทางใด เป้าหมายของอิสลามคือการแบ่งปันทรัพย์คนรวยให้คนจน เพื่อให้คนจนประทังชีวิตได้เช่นเดียวกันอิสลามต้องการเห็นการอยู่ดีกินดีในสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรรอย่างคุ้มค่าที่สุด และนำมาซึ่งเกียรติยศศักดิ์ศรีของคนจน ดังนั้น  ซะกาตไม่เป็นเพียงองค์กรหนึ่งเพื่อจุนเจือผู้ยากไร้ แต่ยังมีส่วนในการกำจัดความทุกข์ อันเนื่องมาจากความจนโดยอย่างน้อยก็ให้พวกได้อยู่รอดอย่างศักดิ์ศรี
   เป้าหมายระดับชาติขององค์กรซะกาต คือ การแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งระดับสังคมและปัจเจกบุคคล ดังนั้นจึงมีคำถามขึ้นว่าจะกำจัดความยากจนให้หมดไปอย่างไร ซึ่งอิสลามไม่ได้ตีกรอบเฉพาะการอยู่ดีกินดีของคนในสังคมหนึ่งเท่านั้น แต่หมายถึงประชาชาติอิลามทั้งหมดถึงเวลาแล้วที่เราจะตระหนักถึง ความมั่นคงและสวัสดิการของมุสลิมทั่วโลก ซึ่งอาจเป็นไปได้โดยการตั้งองค์กรซะกาตส่วนกลาง  ซึ่งมีนโยบายเพื่อสังคมอย่างชัดเจน จากนั้นทำการควบคุมการแจกจ่ายซะกาตจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ในด้านทรัพยากรและสภาพการในประเทศต่างๆ ในการธนาคารเพื่อพัฒนาอิสลาม ภายใต้การชี้นำขององค์กรสันนิบาตมุสลิม  อาจเข้ามามีบทบาทอย่างเต็มที่
   นี่คือเนื้อหาส่วนหนึ่งจากหนังสือเล่มนี้
   

 

GoogleTagged