คำว่า เหียม และ หม..ม (พยัญชนะและสระบางตัวขาดหายไป) อาจเป็นคำพวกเดียวกันซึ่งหมายถึง ‘กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่’ (ตรงกับคำว่า ‘มหาราช’, ‘กษัตราธิราช’ หรือ ‘ผีฟ้า’) มากกว่าจะมีความหมายอย่างอื่น (ใน ‘ศัพทาธิบาย’ ให้ความหมายคำว่า เหียม ว่า เพราะเหตุ, มูลเหตุ, เพราะ, เหตุ) ยกเว้นคำนี้ที่ไปปรากฏในบริบทอื่นๆ ปัจจุบันพระราชาธิบดีของมาเลเซียเรียกว่า ‘ยังดิ เปอรฺตวน อากง’ (Yang di-Pertuan Agong) และยังปรากฏในคำสวดวิงวอนพระเจ้าวันละห้าเวลาของชาวมุสลิมมาเลย์ (มาเลเซีย) และมุสลิมปักษ์ใต้ (ไทย) เรียกว่า ‘ซัมบะหฺยัง’ (sembahyang) แปลว่า ไหว้ (ยัง) หมายถึง ไหว้พระเจ้า (อัลเลาะห์) แต่ในสมัยโบราณตั้งแต่ก่อนสมัยศรีวิชัย คำว่า sembahyang เป็นได้ตั้งแต่การกราบไหว้เทวรูป พระพุทธรูป หรือไหว้ ผีบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า nenek moyang (เนเนะโมยัง)
อนึ่ง คำว่า wayang (วายัง) หรือหนังตลุงของพวกมลายู-ชวามีวัตถุประสงค์ในการเล่นก็เพื่ออัญเชิญ ‘เงา’ (bayang = wayang) ในที่นี้หมายถึงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ (nenek moyang) มาแสดงธรรมหรือจริยธรรมในการดำเนินชีวิตแก่ลูกหลานเหลนลื่อด้วยเรื่องราวต่างๆ โดยผ่านรูปเงา (bayang) ของตน จะเห็นได้ว่า คำว่า bayang (เงา) เองมีความหมายที่แสดงถึงความเร้นลับ สิ่งเร้นลับ เงา วิญญาณหรือผี คำนี้คือคำว่า 'บัง' ในภาษาไทย โปรดดู
bayang> ba(ya)ng (‘เงา’) > bang โดยเสียง /y/ ถูกกลืนหายไป
คำว่า ‘บัง’ (bang) ในภาษาไทยยังเกี่ยวกับศาสตร์เร้นลับต่างๆ เช่น ‘บังฟัน’ คือการใช้เวทมนตร์ไปทำร้ายผู้อื่น มักใช้ดาบไปฟันสิ่งที่สมมติแทนตัวผู้ที่ตนต้องการทำร้าย มีผลทำให้ผู้ที่ถูกสมมุติถูกฟันทำร้ายจริงๆ เหมือนที่สมมุติไว้ หรือคำว่า ‘บังไพร’ คือการเสกกิ่งไม้ถือบังตัวให้สัตว์ร้ายเห็นป่าไม่เห็นคน ใช้ในการคล้องช้างป่าในสมัยโบราณ เป็นต้น
การพัฒนาการทางภาษามันเชื่อมโยงต่อกับความเชื่อ ความศรัทธาของคนมลายู
ปัจจุบันยังมีคนมลายูอีกเยอะที่ยังอยู่ในความไม่รู้ ยังมีความเชื่อที่ผิดๆหลงเหลือให้เห็นในหลายๆหมู่บ้าน
มีการผสมผสานระหว่างศาสนาอิสลามกับประเพณีความเชื่อดั้งเดิม
เช่น การรักษาด้วยการทรงเจ้าเข้าผี(โดยการอ้างถึงตูฮัน) การมีเครื่องรางของขลัง(ชิ้นผ้าที่คลุมกะบะห์) เป็นต้น
แหลมมลายูก่อนการมาถึงของอิสลามก็คงไม่ต่างจาก "มักก๊ะห์"ยุคญาฮีลียะห์
เมื่อท่านรซูลลุลลอฮนำแสงสว่างจากอิสลามมาขับไล่ความมืดมนที่ปกคลุมโลกนี้ให้สลายหายไป
ทุกสิ่งสว่างจ้า ชัดเจน ไม่คลุมเคลือ
สิ่งสำคัญที่สุดที่ท่านรซูลลุลลอฮสอนไว้คือ ความรู้ต้องมาก่อนความศรัทธา
เมื่อความรู้มาทีหลังความศรัทธา นั้นคือที่มาของความต่างอิสลามในบ้านของเรา
วัลลอฮุอาลัม วัสลามูอาลัยกม