ผู้เขียน หัวข้อ: ไฟล์เสียงสอนหนังสือ ตัฟซีรอายาตุลอะฮฺกาม  (อ่าน 2027 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด

salam


ลองฟังกันดูนะคะ  น้อง bashir  เค้าบอกว่า การสอนออกแนววัยรุ่นไปบ้าง เอ๊ะ...ยังงัยกัน  ;D



ตัฟซีรตัฟซีรอายาตุลอะฮฺกาม โดย...ท่าน bashir  

<a href="http://www.4shared.com/embed/336054005/37df42a4" target="_blank" class="new_win">http://www.4shared.com/embed/336054005/37df42a4</a>      






ตัฟซีรอายาตุลอะฮฺกาม1 โดย...ท่าน bashir

<a href="http://www.4shared.com/embed/336086944/79fc8083" target="_blank" class="new_win">http://www.4shared.com/embed/336086944/79fc8083</a>    
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 12, 2010, 08:44 PM โดย al-firdaus~* »

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
Re: ไฟล์เสียงสอนหนังสือ โดย... ท่าน bashir
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ค. 12, 2010, 08:00 PM »
0
^^

นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
อันนี้เป็นเนื้อหาคร่าวๆที่กล่าวไว้ ก็เคยตั้งกระทู้ไว้แล้วครับhttphttp://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=5097.0

แต่เอามาผนวกไว้ให้เข้ากับเรื่อง ตามการต้องการของก่ะฟิรเดาที่บอกมานะครับ

และจะเขียนต่ออินชาอัลลอฮฺให้จบบทเรื่องการอ่านฟาติฮะฮฺ



قول فى البسملة  

ทัศนะในบัสมะละฮฺ(บัสมะละฮฺคือ คำย่อของ บิสมิลลาฮิรเราะหฺมานิรเราะฮีม)

{ بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ }

อุลามาอฺมีความเห็นพร้องกันว่า บัสมะละฮฺนั้น เป็นบางอายะฮฺของ ซูเราะตุลนัมลฺ แต่ บรรดา กุรรอฺ(นักอ่าน) และอุลามาอฺ มีความเห็นที่แตกต่างกันในบัสมะละฮฺ ว่า เป็นอายะฮฺหนึ่งของ

อายะฮฺแรกในซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ หรือไม่? และเป็นอายะฮฺแรกของทุกๆซูเราะฮฺหรือไม่?

และเราจะกล่าวถึงทัศนะต่างๆที่แตกต่างกัน และการยึดหลักฐานของทุกกลุ่ม.

ได้มีการเขียน(อัลกุรอ่าน)มุฮัฟอัลอีหม่ามและได้มีการเขียนบัสมะละฮฺในตอนเริ่มซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ และในทุกการเริ่มซูเราะฮฺเว้นแต่ซูเราะฮฺบะรออะฮฺ

และได้มีการเขียนบัสมะละฮฺเช่นกันในมะซอฮิฟ อัลอัมซอร ที่ได้นำมาจากมุซฮัฟอัลอีหม่าม และได้มีการเขียนกันอย่างตะวาตุร(อย่างมาก)ในการเขียนบัสมะละฮฺในการเริ่มซูเราะฮฺ

พร้อมกับความรู้ที่ว่าพวกเขานั้นจะไม่เขียนสิ่งใดในมุสฮัฟในสิ่งที่ไม่ใช่อัลกุรอ่าน และปรากฏว่าพวกเขาแน้นหนักในสิ่งนั้น จนกระทั้งว่าพวกเขาได้ห้ามการเขียนชื่อของซูเราะฮฺต่างๆ

และด้วยกับสาเหตุนี้แหละที่ท่านอิหม่ามชาฟิอีรอดิยัลลอฮุอันฮู

และผู้มีความเห็นตรงกับท่านนั้น ถือว่า { بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ }

เป็นอายะฮฺหนึ่งของซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺและทุกๆซูเราะฮฺที่ได้มีการเขียนบัสมะละฮฺไว้ และท่านก็ได้ยึดแน่นกับทัศนะนี้ด้วยกับหลักฐานจากหะดีษต่างๆที่บ่งบอกว่าบัสมะละฮฺนั้นเป็นอายะฮฺหนึ่งของ

อัลฟาติฮะฮฺ และเราถือว่าเพียงพอที่จะนำเสนอบางส่วนเท่านั้น

روى عبد الحميد بن جعفر ، عن نوح بن أبى بلال ، عن سعيد المقبرى عن أبى هريرة عن النبى صلى الله عليه وسلم أنه كان يقول: {الْحَمْدُ للّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ } سبع آيات إحداهن{ بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ }.

มีรายงานจาก อับดุลฮามีด บิน ยะอฺฟัร จากนูฮฺ บินอะบี บิลาล

จากซะอีด อัลมักบะรี่ จาก อะบีฮุรอยเราะฮฺ จากท่านนบี ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ปรากฏว่าว่าแท้จริงท่านได้กล่าวว่า

{الْحَمْدُ للّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ }  
เจ็ดอายะฮฺหนึ่งในนั้นก็คือ{ بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ }.

وأخرج ابن خزيمة فى صحيحه عن  أم سلمة أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قرأ البسملة فى أول الفاتحة فى الصلاة وغيرها آية ، فى أسناده عمر بن هارون البلخى وفيه ضعف ، وحديث أبي هريرة المتقدم  روى مرفوعا وموقوفا وفيه اضطراب فى السند وفى رفعه إلى رسول الله صلى الله عليه وسلم

และท่านอิบนุคุซัยมะฮฺได้รายงานไว้ในซอฮีฮฺของท่าน จากอุมซะละมะฮฺ แท้จริงท่านรอซูลลุลอฮฺ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อ้านบัสมะละฮฺเป็นอายะฮฺหนึ่งในตอนเริ่มฟาติฮะฮฺ

ในการละหมาดหรืออื่นจากการละหมาด .

ในสายรายงานนี้มี อุมัร บินฮารูน อัลบัลคี ซึ่งเขานั้นอ่อน

และหะดีษอบีฮุรอยเราะฮฺที่ผ่านมา มีการรายงานที่ มัรฟูอฺ และมัวกูฟ และมีการอิดติรอบในสายรายงาน และได้มาการยกไปยังท่านรอซูลลุลลอฮฺ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

 وروى الترمذي وأبوداود عن ابن عباس رضى الله عنهما أنّ رسول الله صلى الله عليه وسلم كان يفتتح الصلاة ب{ بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ }. قال ترمذي : وليس إسناده بذالك.

และได้มีรายงานของท่านติรมีซี และอบูดาวุด จากอิบนุอับบาส รอดิยัลลอฮฺอันฮุมา แท้จริงท่านรอซูลลุลลอฮฺ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เริ่มการละหมาด ด้วยกับ { بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ }

ท่านติรมีซีได้กล่าวว่า สายรายงานไม่ได้เป็นเช่นนั้น

وأخرج البخاري عن أنس رضى الله عنه أنه سئل عن قراءة رسول الله
صلى الله عليه وسلم  فقال : كانت قراءته مدا . ثم قرأ : بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ {1} الْحَمْدُ للّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ {2} الرَّحْمـنِ الرَّحِيمِ {3} مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ {4} وقال دارقطنى : إسناده صحيح .

ท่านบุคอรีได้รายงานไว้จากท่านอนัส รอดิยัลลอฮุอันฮู  ว่าท่านอนัสได้ถูกถามถึงการอ่านของท่านรอซูลุลลอฮฺ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วท่านอนัสก็กล่าวว่า

การอ่านของท่านนบีได้อ่านยาว

แล้ะท่านอนัสก็อ่าน بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ {1} الْحَمْدُ للّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ {2} الرَّحْمـنِ الرَّحِيمِ {3} مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ {4}

ดารุกุตนีกล่าวว่า สายรายงานซอฮีฮฺ

และด้วยกับสิ่งนั้น จำเป็นที่ผู้นำท่านอื่นๆจะต้องกล่าวเหมือนอิหม่ามชาฟิอี และสิ่งนั้นเป็นแนวทางของชาวกุรอ่านที่ได้รับรู้ในระหว่างสองด้านของมุซฮัฟ(อัลกุรอ่าน)

ว่านี้คืออายะฮฺนี้ของซูเราะฮฺนี้ และนั้นจากนั้น.

แต่ทว่า อิหม่ามมาลิก รอฮิมะฮุลลอฮฺ ได้รับรู้ถึงทัศนะของชาวมะดีนะฮฺ ว่า พวกเขาไม่อ่านบัสมะละฮฺ ในการละหมาดของพวกเขาในมัสยิดมะดีนะฮฺ และการกระทำนั้นได้ดำเนินมาในสมัย

ของท่านนบีซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จนถึงในสมัยของอิหม่ามมาลิก รอฮิมะฮุลลอฮฺ พร้อมกับการที่ท่านได้ยกหลักฐานถึงการวายิบที่จะต้องอ่านฟาติฮะฮฺในการละหมาด

 ซึ่งถ้าหากว่าบัสมะละฮฺเป็นอายะหนึ่งของฟาติฮะฮฺก็จำเป็นที่เขาจะต้องอ่านพร้อมกับฟาติฮะฮฺในละหมาด.

และได้ถูกทำให้แข็งแรงในทัศนะของอิหม่ามมาลิกจากหลายๆหะดีษ

ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าบัสมะละฮฺไม่ใช่อายะฮฺหนึ่งของฟาติฮะฮฺ

หรือเป็นอายะแรกของซูเราะฮฺต่างๆ เราขอนำเสนอให้กับท่านบางส่วนจากหะดีษต่างๆ.

ได้มีมาในซอฮีฮฺมุสลิมจากท่านหญิงอาอิชะฮฺรอดิยัลลอฮุอันฮา นางได้กล่าวว่า ปรากฏว่าท่านรอซูลลอฮฺ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้เปิดการละหมาดด้วยกับการตักบีร

และอ่านด้วยกับ الْحَمْدُ للّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ  .

และในซอฮีฮฺทั้งสอง จากท่านอนัสได้กล่าวว่า ฉันได้ละหมาดหลังท่านนบีซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และอบูบักร และ อุมัร และ อุษมาน

ซึ่งพวกเขาได้เปิดการละหมาดด้วยกับ الْحَمْدُ للّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ.

และรายงานโดยมุสลิมด้วยคำว่า

”พวกเขาไม่กล่าวว่า بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ

ในตอนเริ่มอ่านหรือในตอนท้ายของการอ่าน.

และจากหลักฐานที่ว่าบัสมะละฮฺไม่ใช่อายะฮฺหนึ่งของซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺ حديث سفيان بن عيينة عن العلاء بن عبد الرحمن عن أبيه عن أبي هريرة أن النبي صلى الله عليه وسلم قال : قال الله تعالى : (( قسمت الصلاة بينى

 وبين عبدى نصفين ، فنصفها لى ونصفها لعبدى ما سأل ، فإذا قال : الْحَمْدُ للّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ ،  قال : حمدني عبدي ، وإذا قال : الرَّحْمـنِ الرَّحِيمِ ، قال مجدني عبدى، وإذا قال مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ ،قال فوض إلى عبدى، وإذا قال : إِيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ

 نَسْتَعِينُ ، قال: هذا بيني وبين عبدي ولعبدي ماسأل، فيقول عبدى  اهدِنَــــا الصِّرَاطَ المُستَقِيمَ   إلى أخرها، قال لعبدى ما سأل.

หะดีษจากท่านซุฟยาน บิน อุยัยนะฮฺ จากท่าน อะลาอฺ บิน อับดุรเราะฮฺมาน จากพ่อของเขา จากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ

แท้จริงท่านนบีซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า อัลลอฮฺตะอาลากล่าวว่า ฉันได้แบ่งการละหมาดระหว่างฉัน และบ่าวของฉันอย่างละครึ่ง ครึ่งนึงเป็นของฉัน และอีกครึ่งนึงแก่บ่าวของฉัน

 และสำหรับบ่าวของฉันก็ตามแต่ที่เขาขอ

และหากบ่าวกล่าวว่า الْحَمْدُ للّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

พระองค์ก็ได้กล่าวว่า บ่าวของฉันได้สรรเสริญฉัน

และหากบ่าวกล่าวว่า  الرَّحْمـنِ الرَّحِيمِ

พระองก็ได้กล่าวว่า บ่าวของฉันได้มอบหมายแก่ฉัน

และหากบ่าวกล่าวว่า  إِيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِين

พระองค์ก็ได้กล่าวว่า นี่คือระหว่างฉันและบ่าวของฉัน และสำหรับบ่าวของฉันตามแต่ที่เขาขอ

และบ่าวของฉันก็กล่าวว่า اهدِنَــــا الصِّرَاطَ المُستَقِيمَ  จนกระทั้งจบ

พระองค์ก็ได้กล่าวว่า สำหรับบ่าวของฉันตามที่เขาขอ.

เช่นนั้นแหละที่อิหม่ามมาลิก รอฮิมะฮุลลอฮฺ ได้เข้าใจหะดีษต่างๆนี้ว่า บัสมะละฮฺไม่ได้เป็นอายะฮฺหนึ่งของฟาติฮะฮฺ และเขาตีความว่า การเขียนในตอนเริ่มของซูเราะฮฺต่างๆนั้น เป็นไปตาม

คำสั่ง ในการขอให้เขียนบัสมะละฮฺ และเป็นการเริ่มในทุกๆการงาน และก็คือแม้ว่าจะมีการเขียนกันอย่างตะวาตุร(มากมาย)ในตอนเริ่มของซูเราะฮฺต่างๆ

แต่ก็ไม่ได้ตะวะตุรว่าบัสมะละฮฺนั้นเป็นกุรอ่านในตอนเริ่มต้นของซูเราะฮฺต่างๆ.


ส่วนทัศนะของมัซฮับฮะนะฟีนั้น พวกเขาถือว่าบัสมะละฮฺที่เขียนอยู่ในมุซฮัฟนั้นบ่งบอกถึงอัลกุรอ่าน

 แต่ไม่ได้บ่งบอกถึงว่าเป็นบางส่วนของซูเราะฮฺ  

ส่วนหะดีษต่างๆที่บ่งบอกว่าไม่ต้องอ่านบัสมะละฮฺในละหมาดแบบเสียงดังตอนที่อ่านพร้อมฟาติฮะฮฺ

 บ่งบอกให้เห็นว่าบัสมะละฮฺนั้นไม่ใช่อายะฮฺหนึ่งของฟาติฮะฮฺ

ซึ่งพวกเขาได้ตัดสินว่าบัสมะละฮฺนั้นคืออายะฮฺหนึ่งของอัลกุรอ่านอย่างสมบูรณ์อื่นจากซูเราะฮฺนัมล ถูกส่งลงมาเพื่อแยกระหว่างซูเราะฮฺต่างๆ

และด้วยเหตุนี้จึงมีหะดีษที่ได้บ่งบอกซึ่งรายงานจาก อบูดาวุด ด้วยกับสายรายงานที่ซอฮีฮฺ จาก อิบนุอับบาส รายงานว่า

 ปรากฎว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่รู้การแบ่งระหว่างซูเราะฮฺ จนกระทั้ง بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ ได้ถูกประทานมายังท่าน

และท่านอิหม่ามหากิมได้รายงานหะดีษนี้ไว้ในมุสตัดร็อก.

และนี้คือทัศนะที่ใกล้เคียง(เป็นทัศนะที่มุอัลลิฟ ผู้เขียน ได้ตัรยีฮฺ)

และได้มีความแตกต่างถึงหุกุมในการอ่านบัสมะละฮฺในละหมาด

อิหม่ามมาลิกรอฮิมะฮุลลอฮฺถือว่าห้าม(แบบมักรูฮฺ)อ่านในละหมาดมักตูบะฮฺ(ละหมาดฟัรดู)ทั้งเสียงดังและเสียงเบา ไม่ต้องอ่านในตอนเริ่มฟาติฮะฮฺ

หรือตอนอ่านซูเราะฮฺด้วยเช่นกัน

แต่อนุญาติให้อ่านในละหมาดนาฟิละฮฺ(ละหมาดสุนัดทั้วไป)

ส่วนอิหม่ามอบูหะนีฟะฮฺถือว่าให้อ่านบัสมะละฮฺแบบเบาๆพร้อมกับการอ่านฟาติฮะฮฺในทุกรอกะอะฮฺ

 และได้ถูกรายงานว่าท่านนั้นอ่านเฉพาะรอกะอะฮฺแรกเท่านั้น

ส่วนทัศนะของอิหม่ามชาฟิอีและอิหม่ามอะฮฺหมัดนั้นวายิบที่ต้องอ่านในละหมาด  ในการอ่านเสียงดัง(ส่งเสริม)ให้อ่านเสียงดัง

 และเสียงเบาก็(ส่งเสริม)ให้อ่านเสียงเบา.

ส่วนสาเหตุที่มีความแตกต่าง ดังที่เราได้กล่าวมาแล้วว่า

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ เป็นอายะฮฺหนึ่งของอายะฮฺหนึ่งของการเริ่มต้นฟาติฮะฮฺ และการเริ่มต้นของการเริ่มต้นทุกซูเราะฮฺหรือไม่

และอีกสิ่งหนึ่งก็คือความแตกต่างของอาษาร(หะดีษ)ในเรื่องนี้

แล้วใครก็ตามที่ถือว่าบัสมะละฮฺเป็นอายะฮฺหนึ่งของฟาติฮะฮฺ และทุกๆซูเราะฮฺ เช่นอิหม่ามชาฟิอี  ก็ถือว่าจำเป็น(วายิบ)ที่จะต้องอ่านพร้อมกับฟาติฮะฮฺ
 
และใครก็ตามที่ถือว่าบัสมะละฮฺนั้นไม่ใช่อายะฮฺหนึ่งของฟาติฮะฮฺ พร้อมกับยึดหะดีษต่างๆ ที่บ่งบอกว่าไม่มีการอ่านบัสมะละฮฺในละหมาด

 เขาถือว่าห้ามที่จะอ่านในละหมาด เช่นอิหม่าม มาลิก

และใครที่เห็นว่า บัสมะละฮฺนั้น ไม่ได้เป็นอายะฮฺหนึ่งของฟาติฮะฮฺ

แต่ว่าเขานั้นถือว่าได้มีหะดีษต่างๆศอฮีฮสำหรับพวกเขาที่บ่งบอกว่ามีการอ่านบัสมะละฮฺ แบบเบาๆ

เขาจึงถือว่าต้องอ่านบัสมะละฮฺ แบบเบาๆ เช่น อิหม่าม อะบูหะนีฟะฮฺ รอฮิมะฮุลลอฮฺ.

فأماالآثار التى تدل على إسقاط البسملة

ส่วนอาษาร ที่บ่งบอกถึงการไม่นับบัสมะละฮฺ ส่วนหนึ่งก็คือจากหะดีษ อิบนุ มุฆอฟฟัล กล่าวว่า “พ่อของฉันได้ยิน ว่าฉันอ่าน بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ

แล้วพ่อของฉันก็กล่าวว่า  โอ้ลูกของฉัน เจ้านั้นต้องระวังการอุตริ เพราะว่าแท้จริงแล้ว

ฉันได้ละหมาดพร้อมกับท่านรอซุลลอฮฺ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และอบูบักร และอุมัร  แล้วฉันไม่เคยได้ยินคนใดที่อ่านบัสมะละฮฺ”

ท่านอบูอุมัรบินอับดิลบัรกล่าวว่า ((อิบนุ มุฆอฟฟัล เป็น ผู้ชายที่ไม่ถูกรู้จักمجهول))

และบางส่วนจากอาษาร ในรายงานของมาลิก จากหะดีษ อะนัส เขานั้นได้กล่าวว่า ฉันได้ลุกขึ้นหลัง อบูบักร อุมัร อุสมาน รอฎิยัลลอฮุอันฮุม

 ซึ่งพวกเขาทุกคนเมื่อเริ่มละหมาดไม่ได้อ่าน بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ    .

อบูอุมัรกล่าวว่า แท้จริงอะฮฺลุลฮะดีษกล่าวถึงหะดีษอนัสนี้ว่า การนำรายงานนั้นมุดตอริบمضطرب  เป็นมุดตอริบที่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้

ก็เนื่องจากว่า บางครั้งเขารายมัรฟูอฺไปยังท่านนบีซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

และบางครั้งรายงานไม่ได้มัรฟูอฺ และบางครั้ง มีอุษมาน และบางครั้งไม่มีอุษมาน และจากพวกเขากล่าวว่า

 พวกเขาอ่านبِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ และจากพวกเขากล่าวว่า พวกเขาไม่อ่าน بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ

และจากพวกเขาได้รายงานด้วยกับคำที่ว่า พวกเขาไม่อ่านเสียงดังด้วยกับبِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ

ส่วนหะดีษที่ค้านกับหลักฐานนี้ คือหะดีษของท่านนะอีม บิน อับดุลลอฮฺ อัลมุจยมัร ซึ่งกล่าวว่า “ฉันได้ละหมาดหลังอบีฮุรอยเราะฮฺ

แล้วเขาก็อ่าน بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ ก่อนการอ่านอุมมุลกุรอ่าน(ฟาติฮะฮฺ) และก่อนอ่านซูเราะฮฺ และทำการตักบีรเมื่อก้มลง และลุกขึ้น  

และกล่าวว่า ฉันนั้นใกล้เคียงกับท่านรอซูลุลลอฮฺในการละหมาด มากกว่าพวกท่าน.

และจากอะษารหนึ่ง หะดีษที่รายงานโดย อิบนุอับบาส ว่าปรากฎว่าท่านรอซูลุลลอฮฺได้อ่านเสียงดังด้วยกับبِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ

และอีกหะดีษหนึ่ง เป็นหะดีษของอุม ซะละมะฮิ นางได้กล่าวว่า ประกฎว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ซอลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

ได้อ่าน بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ
الْحَمْدُ للّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ  .



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 13, 2010, 12:11 AM โดย bashir »
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=5279.0حكم قراءة فاتحة الكتاب في الصلاة
หุกุมว่าด้วยการอ่านซูเราะฟาติฮะฮฺในละหมาด

มีความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างอุลามาอฺในการอ่านซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺในละหมาด

บางท่านถือว่าวายิบต้องอ่านฟาติฮะฮฺ
และบางท่านถือว่าไม่วายิบต้องอ่านฟาติฮะฮฺ แต่วายิบต้องมีการอ่านเฉยๆ(ไม่เจาะจงต้องเป็นฟาติฮฺ)  

และจากบางส่วนที่กล่าวเช่นนี้ ก็คืออิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ  และปรากฎว่า สานุศิษย์ของท่าน ได้จำกัดขอบเขตของการอ่าน

ดังนั้นพวกเขาจึงกล่าวว่า ที่วายิบนั้นก็คือสามอายะฮฺสั้นๆ หรืออายะฮฺเดียวที่ยาว

และบรรดาผู้ที่กล่าวว่าวายิบต้องอ่านฟาติฮะฮฺในละหมาดนั้นมีความเห็นที่แตกต่างกัน

ส่วนหนึ่งกล่าวว่า วายิบในทุกๆรอกะอะฮฺ  และ(قيل)ทัศนะอ่อนลงมาถือว่า วายิบต้องอ่านในส่วนมากของ(รอกะอะฮฺใน)การละหมาด

และจากผู้ที่กล่าวในทัศนะแรกคือ อิหม่ามชาฟิอี และอิหม่ามมาลิกจากริวายะฮฺที่เรื่องลือ(أشهر)

 และได้มีบางรายงานจากอีหม่ามมาลิกว่า “หากอ่านฟาติฮะฮฺ ในสองรอกะอะฮฺ จากสี่รอกะอะฮฺ ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว”

และอิหม่ามหะซันอัลบัศรี่ถือว่า การอ่านฟาติฮะฮฺในรอกะอะฮฺเดียวของการละหมาด ก็นับว่าใช้ได้แล้ว.

และสาเหตุของความแตกต่างนี้ มาจาก อาษาร (ฮะดีษ)ที่ขัดแย้งระหว่างกัน และขัดแย้งกับ ซอฮิร ของกิตาบ(อัลกุรอ่าน).

ส่วนอาษาร ที่บ่งบอกว่า วายิบต้องอ่านฟาติฮะฮฺ คือหะดีษของ อิบาดะฮฺ บิน ซอมิต

คือ คำกล่าวของท่านรอซูลุลลอฮฺ อะลัยฮิซซอลาตุวัสสลาม
 “لا صلاة لمن لم يقرأ فيها بفاتحة الكتاب”

“ไม่มีการละหมาดสำหรับผู้ที่ไม่อ่านฟาติฮะติลกีตาบ(ซูเราะฟาติฮะฮฺ)”

และจากหะดีษอะบีฮุรอยเราะฮฺ
(من صلى صلاة لم يقرأ فيها بفاتحة الكتاب فهى  
خداج فهى خداج فهى خداج )

แท้จริงท่านรอซูลลุลลอฮฺกล่าวว่า “ใครละหมาดโดยที่ไม่อ่านอุมมุลกีตาบ(ฟาติฮะฮฺ) การละหมาดนั้นคิดาจ

การละหมาดนั้นคิดาจ การละหมาดนั้นคิดาจ (บกพร่อง).

ส่วนหะดีษที่บ่งบอกถึงบ่งบอกถึงการไม่วายิบที่จะต้องอ่านฟาติฮะฮฺ แต่ต้องอ่านอายะฮฺที่ง่ายๆจากอัลกุรอ่าน

ก็คือหะดีษ ของท่านอบีหุรอยเราะฮฺاقرأ ما تيسر معك من القرآن จงอ่านอายะฮฺง่ายๆที่ท่านมีจากอัลกุรอ่าน(มุสลิม)

ส่วนหลักฐานจากอัลกุรอ่าน ก็คือคำกล่าวของอัลลอฮฺตะอาลาฮฺفَاقْرَؤُوا مَا تَيَسَّرَ مِنْهُ   ด้วยกับหลักฐานนี้ที้บ่งบอกว่า

การอ่านที่วายิบก็คือการอ่านอายะฮฺที่ง่ายๆจากอัลกุรอ่าน ซึ่งไปค้านกับหะดีษชองอิบาดะฮฺ และยึดด้วยกับหะดีษของอบีฮุรอยเราะฮฺ

หะดีษที่ผ่านมาอันสุดท้าย ก็เพราะว่าอายาตในเรื่องของการอ่านในละหมาดเป็นหลักฐาน คำกล่าวของพระองค์ที่ว่า ‏ إِنَّ رَبَّكَ يَعْلَمُ أَنَّكَ تَقُومُ أَدْنَى مِن ثُلُثَيِ اللَّيْلِ

“แท้จริงพระเจ้าของเจ้าทรงรู้ดียิ่งว่า เจ้ายืนละหมาดเกือบสองในสามของกลางคืน” จนถึงอายะฮฺفَاقْرَؤُوا مَا تَيَسَّرَ مِنَ الْقُرْآنِ  

 “ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัลกุรอ่านตามแต่สะดวก” (มุซซัมมิล20)

และประชาชาติไม่มีความเห็นแตกต่างว่าเรื่องนี้คือการละหมาดในเวลากลางคืน

และแท้จริงมาลิกี่ยะฮฺ และชาฟิอียะฮฺได้ยึดหะดีษอิบาดะฮฺ

 لا صلاة لمن لم يقرأ فيها بفاتحة الكتاب

ไม่มีการละหมาดสำหรับผู้ที่ไม่อ่านฟาติฮะฮฺ และถือว่าการปฏิเสธตรงนี้(คำว่าلا)คือปฏิเสธฮะกีเกาะคือไม่มีการละหมาด

เหมือนกับว่าพวกเขามองว่าอายาตนั้นคลางแคลง แต่ฮะดีษนั้นเจาะจง และการคลางแคลงนั้นแบบรับการเจาะจง

ส่วนหะนะฟียะฮฺ เขามองว่า อายาตนั้นให้ประโยชน์ในการเลือก ไม่ใช่ในแง่ของการบอกเฉยๆ

 เพราะว่าความหมายคำว่า تيسر  (ง่ายๆ) นั้นหมายถึงสิ่งใดที่ง่ายๆ ซึ่งอายาตนั้นบ่งบอกถึงการให้เลือก

และหากมีการเจาะจงหลังจากนั้นก็ถือว่าเป็นการناسخا   ยกเลิกของที่ผ่านมา แต่ว่าตรงนี้ไม่ถือว่าเป็นการยกเลิกของที่ผ่านมา

พวกเขากล่าวว่าเพราะได้มีหะดีษ ของท่านอะบีฮุรอยเราะฮฺ ในการท่านท่านรอซูลได้ทำการสอนผู้ชายให้ละหมาด

(แล้วกล่าวว่าจงอ่านอะยะฮฺง่ายๆที่ท่านมีอยู่)และยึดอย่างเหนียวแน่นดังที่เราได้บอกไปแล้ว

ส่วนหะดีษอิบาดะฮฺบินซอมิต เขาถือว่า การปฏิเสธตรงนี้ คือปฏิเสธความสมบูรณ์ของกาละหมาด

เหมือนกับฮะดีษที่บอกว่า ((لا صلاة لجار المسجد إلا فى المسجد))
“ไม่มีการละหมาดสำหรับผู้ที่อยู่ใกล้มัสยิดเว้นแต่จะละหมาดที่มัสยิด”(หมายถึงไม่เป็นการละหมาดที่สมบูรณ์แต่การละหมาดก็นับว่าใช้ได้)

และส่วนหะดีษที่ว่า فهي خداج

บ่งบอกว่าการบกพร่องตรงนี้ คือความขาดไม่สมบูรณ์ และสิ่งนี้บ่งบอกว่าอนุญาติพร้อมกับความบกพร่อง

 ซึ่งหากว่าไม่อนุญาตินั้นก็ไม่สามารถที่จะกล่าวว่าบกพร่อง ก็เพราะว่าการยืนยันถึงความบกพร่องนั้นปฏิเสธความเป็นโมฆะ

เนื่องจากว่าไม่อนุญาติให้บอกถึงคุณลักษณะว่าบงพร่องโดยไม่มีสิ่งใดมั่นคงเหลือยอยู่เลย.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 13, 2010, 12:10 AM โดย bashir »
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

 

GoogleTagged