
ต้องใช้การสันนิษฐาน ไม่รู้ว่าอัลกุรฺอานที่ใช้ เป็น รีซัมอุษมานียฺ หรือ รีซัมบัฆดาดียฺ
ถ้าเป็น รีซัมบัฆดาดียฺ ซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทย ตัวอักษรเล็ก ๆ ที่ขั้นระหว่าง คำอ่านมักจะเป็นเครื่องหมายวรรคตอน บ่งให้หยุดในลักษณะต่าง ๆ เช่น อักษร "ฏอ" หยุด มุฏลัก อักษร "มีม" หยุด ลาเซ็ม อัษร "ญีม" หยุด ญาอิซ อักษร "ลาม-อะลิฟ ห้ามหยุด เป็นต้น
ถ้าเป็นรีซัมอุษมานียฺ ตัวอักษรเล็ก ๆ มักจะเป็นตัวอักษรเพื่อช่วยให้เกิดเสียงยาว "มัดฏอบิอีย" เช่น อะลีฟ ตามหลังฟัตหะฮฺ ออกเสียงเหมือนสระอา "วาว" ตามหลัง ดอมมะฮฺ ออกเสียงเหมือน สระอู "ยา" ตามหลัง กัสเราะฮฺ ออกเสียงเหมือน สระอี
ในบางกรณีก็ช่วยในการออกเสียงตามหุก่ม ตัจญวีด เข่น อักษรมีม เขียนตามหลัง นูนสุกูน พบ อักษร บา ทำให้ต้องออกเสียงเป็นอักษรมีม
ถ้าอ่านมลายูได้ ท้ายเล่มของกุรอ่านแบบ บัฆดาดียฺ จะมีคำอธิบายเป็นภาษามลายู
ถ้าอ่านอาหรับได้ ท้ายเล่มของกุรฺอานแบบ อุษมานียฺ จะมีคำอธิบายเป็นภาษาอาหรับ
ถ้าอ่านไม่ได้ ต้องเอาไปให้คนที่อ่านได้อธิบายให้ฟังแล้วละครับ
วัสสลาม