[imgSA400022aa]http://[/img]
เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 ศูนย์ประสานงานภาคกลาง แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) จัดโครงการหามาตรการทางสังคม รณรงค์ ลด ละ เลิกสุราในชุมชน ณ ห้องประชุมวีไอพี มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย เขตสวนหลวง กทม. โดยมีผู้เข้าร่วมหามาตรการจากหน่วยราชการต่างๆ อาทิ สำนักงาน ปปส. สำนักอนามัย กทม. กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงสาธารณสุข ผู้นำชุมชน ผู้นำมัสยิด และผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 36 คน
งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คนในชุมชนทราบถึงข้อห้ามของการดื่มสุราตามหลักศาสนาอิสลามและทำให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของสุราและทำให้เกิดมาตรการในการลด ละ เลิกสุราในชุมชนในที่สุด เนื่องจากปัจจุบันพบว่า ในปี 2543 คนไทยดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นอันดับ 5 ของโลก และปี 2546 มีการดื่มเฉลี่ยสูงถึง 58 ลิตรต่อปี โดยสูญเสียเงินไปกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงปีละ 1.5 แสนล้านบาท และที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ การดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นชายที่มีอายุระหว่าง 11-19 ปีที่เริ่มดื่มกันมากขึ้น
การจัดโครงการหามาตรการทางสังคม รณรงค์ ลด ละ เลิกสุราในชุมชน จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดมาตรการลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับเยาวชนและประชาชนอีกทางหนึ่ง เพราะทำให้เยาวชนมีความรู้เท่าทันถึงพิษภัยของการดื่มสุราและไม่ยุ่งเกี่ยวกับสุราต่อไป
ในงานมีข้อเสนอต่างๆในการลดละเลิกสุราในชุมชน จะขอยกตัวอย่างบางส่วนมาเล่าสู่กันฟัง

คนแรก รศ.ดร.อิศรา ศานติศาสน์ ประธานมูลนิธิสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) กล่าวเปิดการประชุมว่า ปัจจุบันร้านค้าและห้างหลายแห่งมีการขายสุรา ไวน์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อื่นๆ โดยวางไว้ข้างขนมคบเคี้ยวหรือขนมของเด็ก ผมมองว่าเป็นการไม่ปกป้องเยาวชนของเรา
วันนี้แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) ทำการรณรงค์ชักชวนให้ชุมชนทำงานในเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง โครงการนี้จะล้มเหลวถ้าไม่เห็นชุมชนร่วมรณรงค์ต่อต้านโดยมีความร่วมมือร่วมใจจากทุกคนในชุมชนอย่างแท้จริง วันนี้ สสม.เริ่มทำโครงการหามาตรการทางสังคม รณรงค์ ลด ละ เลิกสุราในชุมชนเป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นที่ภาคกลางและต่อไปจะจัดทำในทุกภาคที่มีศูนย์ประสานของ สสม.อีก 5 แห่งคือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ตอนบน ตอนกลางและตอนล่าง
โดยจะเน้นให้ทุกฝ่ายร่วมกันทำทั้งมัสยิด บ้าน ชุมชนและโรงเรียน วันนี้มีนักวิจัยที่จะมาชี้ให้เห็นว่าสังคมมุสลิมในเรื่องของสุราเป็นอย่างนี้ แล้วสังคมไทยพุทธ คริสต์และศาสนิกอื่นๆ เป็นอย่างไรไปถึงไหนแล้ว ถ้าเราไม่ทำวันนี้แล้ววันหน้าผมคิดว่ารุนแรงกว่านี้อย่างแน่นอน”
ท่านต่อมา คือ อาจารย์ชาฟีอี นภากร อิมามมัสยิดมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในเรื่องนี้ต้องเน้นที่การให้การศึกษา การรณรงค์ในชุมชนและสถานศึกษาอย่างจริงจัง ส่วนแนวทางของการแก้ปัญหา การมีส่วนร่วมของครอบครัวและสังคม และการใช้มาตรการทางสังคมที่ทางศาสนากำหนดไว้ เช่น ประเทศมุสลิมบางประเทศ ที่เมื่อใครดื่มสุราฐานะความเป็นมุสลิมจะหมดไปและไม่สามารถเป็นวลีในการแต่งงานได้ ถึงแม้เป็นบิดาของฝ่ายเจ้าสาวก็ตาม และไม่สามารถเป็นพยานในงานสำคัญต่างๆ ได้
ส่วนคุณสมชาย เกิดอยู่ ตัวแทนหนังสือพิมพ์ทางนำ นำเสนอมาตรการทางสังคมไว้หลายข้อว่า
“ต้องเน้นย้ำในเรื่องการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ยังขาดความเข้มข้นในระดับชุมชน และในโรงเรียนบางแห่งครูยังไม่เป็นต้นแบบเท่าที่ควร ในโรงเรียนควรจัดให้มีการจัดนิทรรศการเรื่องพิษภัย
