ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องเหล้ากับมุสลิม  (อ่าน 1963 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ suksara

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 56
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
เรื่องเหล้ากับมุสลิม
« เมื่อ: ส.ค. 03, 2010, 04:35 PM »
0

             เมื่อวันที่  6 กรกฎาคม  2553 ศูนย์ประสานงานภาคกลาง แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) จัดโครงการหามาตรการทางสังคม รณรงค์ ลด ละ เลิกสุราในชุมชน ณ ห้องประชุมวีไอพี มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในงานนี้มีการเสนองานวิจัยเรื่องพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบของมุสลิมไทย โดยนางสาวกนกวรรณ ยีหวังเจริญ นักวิจัย สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งมีรายละเอียดหลายประการน่าสนใจ
   จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามที่ตอบแบบสอบถามว่า ตนเองบริโภคทั้ง 2 อย่างเป็นเปอร์เซนต์ที่มีนัยสำคัญ
   จากงานวิจัยโครงสร้างมุสลิมทั่วประเทศโดยแบ่งเป็น 7 ภูมิภาคตามลักษณะความเหมือนและความต่างกันของแต่ละพื้นที่ ตามลักษณะการสำรวจของสถิติแห่งชาติ ปี 2549 พบว่า ครัวเรือนมุสลิมทั่วประเทศมี จำนวน 761,000 ครัวเรือน จำแนกพื้นที่ที่มีครัวเรือนมุสลิมมากที่สุดอยู่ใน 4 จังหวัดภาคใต้ คิดเป็น 76% และครัวเรือนที่รวยที่สุดอยู่ใน กทม.และปริมณฑล คิดเป็น 23% ที่มีรายได้ต่อครัวเรือนอยู่ที่เดือนละ 29,500 บาทขึ้นไป
   ผลงานวิจัยครัวเรือนมุสลิมแต่ละภูมิภาค มีระดับการบริโภคที่ต่างกัน โดยมีการบริโภคทั้งในบ้านและนอกบ้าน ดังนี้
   บริโภคในบ้าน สำรวจ 14,000 ครัวเรือน ยอมรับว่ามีการดื่มในบ้าน 2,100 ครัวเรือน
   บริโภคนอกบ้าน สำรวจ 13,000 ครัวเรือน ยอมรับว่ามีการดื่มนอกบ้าน 2,800 ครัวเรือน
   จากข้อมูลล่าสุดพบว่า ประเทศไทยมีการดื่มสุราติดอันดับโลก และมีการดื่มมากกว่าประเทศฝรั่งเศส อเมริกาและญี่ปุ่น ทำให้ลักษณะสังคมมุสลิมซึ่งเป็นประชากรส่วนน้อยได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนประเภทของสินค้าแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่ม อันดับหนึ่งคือ เบียร์ รองลงมาคือ เหล้าขาวและสุราต่างๆ ของไทยตามลำดับ เป็นการบ่งบอกถึงรสนิยมการบริโภคของคนไทยในปัจจุบัน
   สำหรับรายได้จากภาษีบุหรี่และสุรา ปีละ 70,000-100,000 ล้านบาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายจ่ายของการรักษามากกว่าประมาณ 3-5 เท่า

 

GoogleTagged