ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุใดมีสองอิมซากในเดือนรอมดอน  (อ่าน 2597 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

บัลลูมีย์

  • บุคคลทั่วไป


ที่รู้มาก็คือเวลาอิมซากนั้นหมดเมื่อเวลาเข้าละหมาดซุบฮฺ  แต่เหตุใดปฏิทินระบุเวลาอิมซากก่อนละหมาดซุบฮฺประมาณสิบกว่านาที?

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: เหตุใดมีสองอิมซากในเดือนรอมดอน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ย. 08, 2010, 05:19 PM »
0

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَالصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلَى أَشْرَفِ الأَنْبِيَاءِ وَالْمُرْسَلِيْنَ وَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ...وَبَعْدُ

ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์กล่าวว่า

وَقْتُ السَّحُوْرِ بَيْنَ نِصْفِ اللَيْلِ وَطُلُوْعِ الْفَجْرِ

“เวลาสะหูรนั้นอยู่ระหว่างเที่ยงคืนกับแสงอรุณขึ้น” อันนะวาวีย์, อัลมัจญ์มั๊วะอฺ, เล่ม 6 หน้า 379.

สำหรับเวลาอิมซาก คือช่วงเวลางดการกินการดื่มและร่วมหลับนอนกับภรรยา  ซุนนะฮ์(สมควร)ให้งดก่อนแสงอรุณขึ้นเล็กน้อยประมาณ 4 นาที  เพื่อทำการแปรงฟัน อาบน้ำละหมาด  และทำการอ่านอัลกุรอานก่อนที่จะเวลาซุบฮิ์  สำหรับช่วงเวลาวาญิบ(จำเป็น)ที่ต้องอิมซากนั้น  เมื่อแสงอรุณจริงขึ้น

1. ช่วงเวลาที่วาญิบต้องอิมซาก  มีอัลกุรอานได้ระบุยืนยันไว้ว่า

وَكُلُواْ وَاشْرَبُواْ حَتَّى يَتَبَيَّنَ لَكُمُ الْخَيْطُ الأَبْيَضُ مِنَ الْخَيْطِ الأَسْوَدِ مِنَ الْفَجْرِ ثُمَّ أَتِمُّواْ الصِّيَامَ إِلَى الَّليْلِ

"และท่านทั้งหลายจงกินและจงดื่ม  จนกว่าเส้นด้ายสีขาว  จากเส้นด้ายสีดำ  ของแสงอรุณจะปรากฏแก่พวกท่าน  จากนั้นให้พวกท่านจงถือศีลอดให้ครบถึงกลางคืนเถิด" อัลบะกอเราะฮ์ 187

คำ ว่าเส้นด้ายสีขาว  คือแสงอรุณจริงของกลางวัน  คำที่ว่าเส้นด้ายสีดำ  คือความมืดของเวลากลางคืน,  คำว่าแสงอรุณ  หมายถึง: แสงอรุณที่ขอบฟ้าที่บ่งบอกว่าสิ้นสุดเวลากลางคืนและเริ่ม เข้าสู่กลางวัน  ดังนั้นเมื่อแสงอรุณจริงขึ้นแล้ว แสดงว่าเข้าเวลาช่วงกลางวันแล้ว  เราจึงไม่ควรทำเบาความในเรื่องการถือศีลอดที่เป็นหนึ่งจากรุ่กุ่นหลังของอัลอิสลาม

2. ช่วงเวลาที่ซุนนะฮ์อิมซาก หมายถึง: ไม่จำเป็นต้องอิมซากแต่สมควรอิมซาก

รายงานจากท่านอะนัส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุความว่า

أَنَّ نَبِيَّ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَزَيْدَ بْنَ ثَابِتٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ تَسَحَّرَا فَلَمَّا فَرَغَا مِنْ سَحُورِهِمَا قَامَ نَبِيُّ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِلَى الصَّلَاةِ فَصَلَّى فَقُلْنَا لِأَنَسٍ كَمْ كَانَ بَيْنَ فَرَاغِهِمَا مِنْ سَحُورِهِمَا وَدُخُولِهِمَا فِي الصَّلَاةِ قَالَ قَدْرُ مَا يَقْرَأُ الرَّجُلُ خَمْسِينَ آيَةً

“แท้จริงศาสนทูตของอัลเลาะฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมและท่านซัยด์ บิน ษาบิต ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ได้ทานสะหูร  เมื่อท่านศาสนทูตและท่านซัยด์ได้เสร็จสิ้นจากการทานสะหูรแล้ว  ท่านศาสนทูตของอัลเลาะฮ์ได้ทำการละหมาด  ดังนั้นพวกเราจึงถามท่านอะนัสว่า  ระยะเวลาเท่าไหร่สะหว่างที่ทั้งสองได้เสร็จสิ้นการทานสะหูรกับเวลาที่ทั้งสองเข้าไปละหมาด  ท่านอะนัสตอบว่า  ขนาดช่วงเวลาที่ชายคนหนึ่งได้อ่านอัลกุรอาน 50 อายะฮ์” รายงานโดยอัลบุคอรีย์ ฮะดีษเลขที่ 576 , อัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร, ฟัตหุลบารีย์, เล่ม 2 หน้า 54.   

ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวว่า

وَاسْتَدَلَّ الْمُصَنِّفُ بِهِ عَلَى أَنَّ أَوَّلَ وَقْت الصُّبْح طُلُوع الْفَجْر لِأَنَّهُ الْوَقْت الَّذِي يَحْرُمُ فِيهِ الطَّعَام وَالشَّرَاب ، وَالْمُدَّة الَّتِي بَيْن الْفَرَاغ مِنْ السُّحُور وَالدُّخُول فِي الصَّلَاة - وَهِيَ قِرَاءَة الْخَمْسِينَ آيَةً أَوْ نَحْوهَا - قَدْرِ ثُلُثِ خُمُسِ سَاعَةٍ

“ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์ได้อ้างอิงหลักฐานด้วยกับฮะดีษนี้ว่า  ช่วงเวลาแรกของเวลาซุบฮิ์คือแสงอรุณขึ้นเพราะเป็นช่วงเวลาที่ห้ามกินและดื่ม, และช่วงเวลาระหว่างเสร็จสิ้นจากการทานสะหูรกับเวลาขึ้นละหมาด(ซุบฮิ์) – คืออ่านอัลกุรอาน 50 อายะฮ์ เป็นต้นนั้น- ประมาณ 4 นาที” อิบนุฮะญัร, ฟัตหุลบารีย์, เล่ม 2 หน้า 55. 

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged