มารยาทในการเดินทางเผยแผ่ศาสนา – ตับลีฆ
เมื่อผู้ศรทธาตัดสินใจที่จะร่วมเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาอิสลามที่เรียกกันว่า ตับลีฆ-การเผยแผ่ถึงประชาชน หรือดะวะฮฺ – การเชิญชวนสู่หลักธรรม เขาต้องปฏิตบัติดังต่อไปนี้
1.ให้กล่าวดุอาอฺว่าاللهم بك أصول وبك أسير
(คำอ่าน) อัลลอฮุมมะบีกะ อาศูลู วาบีกะ อะหูลูวะบีกะ อะซีรู
(ความหมาย)
“โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์รุกไล่ข้าศึกด้วยความช่วยเหลือจากพระองค์ ข้าพระองค์วางแผนงานด้วยความช่วยเหลือจากพระองค์ และข้าพระองค์เดินทางด้วยความช่วยเหลือจากพระองค์” การรุกไล่โจมตีข้าศึกในที่นี้ หมายถึง การขับไล่ศรัตรูที่มาทำร้ายเรา ทั้งที่เห็นตัวและไม่เห็นตัว เช่น จากมารร้ายชัยฏอน ที่ทำให้จิตของเราหันเหจากแนวทางที่ชอบธรรม
2.เมื่อออกจากบ้านให้กล่าวดุอาอฺ ดังนี้بسم الله توكلت على الله ولا حول ولا قوة إلا بالله
(คำอ่าน) บิสมิลลาฮี ตะวักกัลตู อะลัลลอฮิ วาลาเหาละวาลากูวะตะอิลลาบิลลาฮฺ
(ความหมาย)
“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ (ข้าพระองค์ออกเดินทาง) ข้าพระองค์มอบความไว้วางใจไว้กับอัลลอฮฺ ไม่มีพลังใดที่จะให้พ้นความชั่ว และไม่มีพลังใดที่จะให้ทำความดีนอกจากช่วยเหลือของอัลลอฮฺ” 3. ให้ตั้งหัวหน้ากลุ่มสำหรับการออกเดินทางตับลีฆ ซึ่งอาจเป็นคนอื่นๆจากหัวหน้า (อามีร) ของกลุ่มก็ได้ 4. เมื่อจะขึ้นยวดยานหรือขี่ม้าและสอดเท้าเข้าไปในโกลนแล้ว ให้กล่าว บิสมิลลาฮฺ เมื่อนั่งบนหลังม้าหรือสัตว์พาหนะอื่นๆ หรือยวดยาน ให้กล่าว อัลฮัมดูลิลลาฮฺ และให้กล่าวดุอาอฺต่อไปนี้سبحان الذي سخرلنا هذا وما كنّاله مقرنين وإنّا إلى ربنا لمنقلبون
(คำอ่าน) สุบหานัลลลาซีย์ ซัคคอรอละนา ฮะซา วามากุนนาลาฮู มุกเกาะรีนีน วาอินนา อีลาร็อบบีนา ลามุงกอลีบูน
(ความหมาย)
“มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ ผู้ได้ทรงทำให้พาหนะ* นี้อยู่ใต้อำนาจของเรา และเราไม่มีความสามารถที่จะบังคับมันได้ (ถ้ามิใช่ด้วยการช่วยเหลือจากพระองค์)
และแท้จริง (ในที่สุด)
เราต้องกลับไปสู่พระผู้อภิบาลของเราแน่นอน” (อัลกุรอาน 43: 13-14)
*ความเดิมของอายะนี้ใช้กับสัตว์พาหนะ หลังจากนั้นให้กล่าวว่า
อัลฮัมดูลิลลาฮฺ สามครั้ง และอัลลอฮูอักบั
ร สามครั้ง แล้วกล่าวอีกว่า
سبحنك إنّى ظلمت نفسى فاغفرلى فانه لايغفر الذنوب إلا أنت
(คำอ่าน) สุบหานะกะ อินนีย์ เซาะลัมตู นัฟสีย์ ฟัฆฟิรลีย์ ฟะอินนะฮู ลายัฆฟิรุซซุนูบะ อิลลาอันตา
(ความหมาย)
“มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ แท้จริง ข้าพระองค์ได้ประพฤติผิดแก่ตนเอง ขอพระองค์ได้ทรงโปรดอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด เพราแท้จริง ไม่มีผู้ใดที่อภัยความผิดได้นอกจากพระองค์เท่านั้น” 5. เมื่อขึ้นพาหนะแล้ว และเริ่มออกเดินทาง หรือตนเองเริ่มขะเดินเท้า ให้กล่าวว่าاللهم إنى أعوذ بك من وعثاء السفر وكابة المنقلب والحور بعد الكور ودعوة المظلوم وسوء المنظر فى الأهل والمال
(คำอ่าน) อัลลอฮุมมา อาอูซูบิกา มินวะอฺษาอิส สะฟะรี วะกาบะติล มุงเกาะละบิ วัลเหารี บะอฺดัล เการี วะดะอฺวะติลมัซลูมี วาสูอิล มันเซาะรี ฟิลอะอฺลี วัลมาลี
(ความหมาย)
“โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการเหนื่อยยากของการเดินทางนี้ และจากภยันตรายแห่งการเดินทางกลับของข้าพระองค์ และจากความล้มเหลวหลังจากได้รับความสำเร็จแล้ว และจากการวิงวินร้องทุกข์จากผู้ถูกกดขี่ และจากการพบเห็นความสูญเสียจากครอบครัว และทรัพย์สิน” 6. เมื่อขึ้นไปยังที่สูงให้กล่าว อัลลอฮูอักบัร และเมื่อลงสู่ที่ต่ำให้กล่าว
สุบหานัลลอฮฺ เมื่อผ่านที่โล่ง (เช่น สนามหญ้าหรือท้องนา) หรือลำน้ำ ให้กล่าวว่า
ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ และกล่าวอีกว่า
อัลลอฮูอักบัร 7. เมื่อจำเป็นต้องเดินเท้า ก็ให้เดินด้วยความเต็มใจ และควรสรรหาโอกาสเดินเท้าบ่อยๆด้วย เพราะเป้นการปฏิบัติตามจริยวัตร-สุนนะฮฺ-ของท่านรอซูลุลลอฮฺ (ซล) และสาวกของท่านด้วย กล่าวคือจะต้องฝึกฝนตนเองให้เคยชินต่อความยากลำบากในการเดินทาง ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะให้ได้รับความเมตตาและความโปรดปรานจากอัลลอฮฺในชีวิตหน้า อาคีเราะฮฺ
8. เมื่อลื่นหรือสดุด ให้กล่าวว่า
บิสมิลลาฮฺ 9. เมื่อถึงสนานีรถไฟ หรือสถานีขนส่ง ให้กล่าวว่าأعوذ بكلمات الله التامات من شر ما خلق
(คำอ่าน) อาอูซูบิกะลีมาติลลาฮิตตามมาตี มินชัรรีมาคอลัก
(ความหมาย)
“ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยพระดำรัส อันสมบูรณ์ทั้งหลายของอัลลอฮฺให้พ้น จากความชั่วร้ายของสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง (เช่น จากมารร้าย หรืออำนาจฝายต่ำของงตนเอง)
” 10. เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านหรือตัวเมือง ให้กล่าวดังนี้สามครั้งاللهم بارك لنا فيها
(คำอ่าน) อัลลอฮุมมา บาริกละนา ฟีฮา
(ความหมาย)
“โอ้อัลลอฮฺ ขอให้มีความจำเริญแก่เรา ณ ที่นี้ด้วยเถิด” และกล่าววิงวินต่อนี้
اللهم ارْزقنا جناها وحببنا إلى أهلها وحبب صالحىّ أهلها إلينا
(คำอ่าน) อัลลอฮุมมัรซุกนา ญะนาฮา วะหับบิบนา อิลาอะฮฺลิฮา วะหับบิบ ศอลิหี้ยฺ อะฮฺลิฮื อิลัยนา
(ความหมาย)
“โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงโปรดให้เราได้รับผลตอบแทน (ริซกีย์) ขอท้องที่นี้ด้วยเถิด และทรงให้เรามีความรักต่อชาวท้องที่นี้ด้วยเถิด และทรงให้คนดีทั้งหลายของท้องที่นี้รักเราด้วยเถิด” 11. จะต้องช่วยเหลือรับใช้ผู้ร่วมเดินทางให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้ถือว่า เป็นความภูมิใจอย่างยิ่ง เพราะมีกล่าวในฮะดิษว่า
“ผู้เป็นหัวหน้านั้น คือผู้รับใช้สหายเดินทางมากกว่าผู้อื่น ไม่มีผู้ใดในหมู่ผู้ร่วมเดินทางจะล้ำหน้าเขาผู้นั้นในกิจการใดๆได้ นอกจากการเสียชีวิต ในสนามรบเท่านั้น” จากมิซกาต