ชื่อของซูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์
1. (فَاتِحَةُالْكِتَابِ หรือ اَلْفَاتِحَةُ ) เหตุผลคือ ชื่อดังกล่าวได้ถูกใช้เปิดหรือเริ่มในทุกๆคำภีร์หรือสิ่งพิมพ์ , การเรียนการสอน ,ทุกๆ การอ่าน, และอ่านในละหมาด หรือซูเราะห์นี้เป็นซูเราะห์แรกในการประทานอัลกุรอานตามบางสายรายงาย หรือเป็นซูเราะห์แรกที่มีการบันทึกในแท่นจารึก
( اَللَّوْحُ الْمَحْفُوْظُ )
2. (سُوْرَةُ الْحَمْدِ ) เหตุผลคือ การเริ่มซูเราะห์นี้ด้วยคำว่า ( اَلْحَمْدُ)
3. ( أُمُّ الْقُرْآنِหรือأُمُّ الْكِتَابِ ) เหตุผลคือ ซูเราะห์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงแง่มุมที่เป็นพื้นฐานของคัมภีร์อันทรงเกียรตินี้ กล่าวคือ ในซูเราะห์นี้มีการสรรเสริญต่อเอกองค์อัลลอฮ์ ซุบฯ มีการยืนยันถึงอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดแห่งความเป็นเจ้าของพระองค์ ( اَلرُّبُوْبِيَّةُ ) ในซูเราะห์นี้กล่าวถึง การปฏิบัติอิบาดะห์ตามพระประสงค์ของพระองค์อัลลอฮ์ ซุบฯ และสนองตอบคำสั่งห้ามของพระองค์ มีการวิงวอนขอทางนำจากพระองค์ และยืนยันถึงการอีหม่าน และอื่นๆ อีกหลายๆ เรื่องฯ
4. (اَلسَّبْعُ الْمَثَانِىْ ) เหตุผลคือ ซูเราะห์นี้มี เจ็ด อายะห์โดยจะถูกอ่านซ้ำในการละหมาด กล่าวคือผู้ทำละหมาดจะต้องอ่านซูเราะห์ อัลฟาตีหะฮ์ ทุกๆรอกาอะห์ในละหมาด และมีรายงานจากมวลซอฮาบะห์ว่าพวกเขาได้ทำการอธิบายคำดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ ซูบฯ ที่ว่า
قَالَ اللهُ تَعَالَى ﴿ وَلَقَدْآتَيْنَاكَ سَبْعًامِنَ الْمَثَانِىْ وَالْقُرْآنَ اْلعَظِيْمَ ﴾
โดยเป้าหมายของคำว่า (اَلسَّبْعُ الْمَثَانِىْ ) คือ ซูเราะห์อัลฟาติหะฮ์ เพราะว่า ซูเราะห์นี้มี เจ็ด โองการตามมติของนักอ่านและปวงปราชญ์
5. ( القرآن العظيم ) เหตุผลคือ ซูเราะห์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมหลายๆ ความหมายที่อยู่ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ท่านอีหม่าม อัลกุรตูบี่ (القرطبى ) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ? การที่ซูเราะห์นี้ ( อัลฟาติหะฮ์ ) ถูกกล่าวนามดังกล่าว
( القرآن العظيم ) อันเนื่องจากซูเราะห์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมวิชาการหลายๆ แขนงด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ซูเราะห์นี้ได้กล่าวครอบคลุมถึงการสรรเสริญต่อพระองค์อัลลอฮ์ ซุบฯ กับคุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์และสูงส่ง , ซูเราะห์นี้ได้กล่าวครอบคลุมถึงเรื่องของการปฏิบัติศาสนกิจ( العبادات ) และความบริสุทธ์ใจต่อการปฏิบัติ , ซูเราะห์นี้ยังกล่าวถึงการยอมรับถึงความไม่สามารถต่อดำรงอยู่ด้วยสิ่งอื่นๆ นอกเสียจากจะต้องอยู่ในการบริหารและการดูแลของพระองค์ ,ซูเราะห์นี้ได้กล่าวครอบคลุมถึงการวิงวอนขอทางสว่างที่นำไปสู่แนวทางที่เที่ยงตรงจากพระองค์ และซูเราะห์นี้ยังได้อธิบายครอบคลุมถึงบั้นปลายของบรรดาผู้ซึ่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของพระองค์ ?
6. ( الصلاة ) เหตุผลคือ การละหมาดจะยังใช้ไม่ได้ นอกเสียจากจะต้องอ่านซูเราะห์นี้
7. ( الوافية) หมายถึง ครบสมบูรณ์ เหตุผลคือ ซูเราะห์นี้ จะไม่เป็นที่ยอมรับหากมีการแบ่งส่วนเกิดขึ้น โดยที่ซูเราะห์อื่นๆในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน หากมีการอ่านครึ่งหนึ่งในร่อกาอะห์แรก และอ่านอีกครึ่งหนึ่งในร่อกาอะห์ต่อมาถือเป็นที่อนุญาต ต่างกับซูเราะห์อัลฟาติหะฮ์ซึ่งไม่เป็นที่อนุญาตในการแบ่งส่วนดังกล่าว
8. (الشفاء ) หมายถึง การรักษาหรือการเยียวยา เหตุผลคือ ท่านดาริมี่ (الدارمى ) ได้รายงานมาจากท่าน อับดุ้ลมาลิกบุตรอุมัยร์ ( عبدالمالك بن عمير ) ท่านได้กล่าวว่า ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลฯ กล่าวว่า
فاتحةالكتاب شفاءمن كل داء ﴾ ﴿
ความว่า ? ฟาติหะตุ้ลกิตาบ ( ซูเราะห์ อัลฟาติหะฮ์ ) เป็นสิ่งที่รักษาได้ทุกๆ โรค ?
9. (الكافية ) หมายถึง ความพอเพียง เหตุผลคือ การละหมาดจะพอเพียง ( ใช้ได้ ) แล้ว เมื่ออ่านซูเราะห์นี้ โดยไม่ต้องอ่านซูเราะห์อื่นๆ
10. ( الأساس ) หมายถึง รากฐาน เหตุผลคือ ซูเราะห์นี้ถือเป็นรากฐานของอัลกุรอานและเป็นซูเราะห์แรกในอัลกุรอาน
11. ( الدعاء ) หมายถึง การวิงวอนขอ เหตุผลคือ ซูเราะห์นี้ได้ครอบคลุมในเรื่องการวิงวอนขอ ดังที่ปรากฏในอายะห์ที่ 6 ของซูเราะห์( ตามการนับของนักอ่านและปวงปราชญ์ที่มีทัศนะว่า บิสมิ้ลลาห์ เป็นอายะห์หนึ่งของซูเราะห์อัลฟาติหะฮ์ ) ว่า اهدناالصراط المستقيم﴾ ﴿
มิฟตาห์ไคโร