ผู้เขียน หัวข้อ: แปลตำรา الاسئلة المبسطة โดยสถาบัน المشاريع الخيرية الإسلامية  (อ่าน 5712 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
59. คำว่า “العلام” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายว่าอย่างไร ?

   คำว่า “ العلام  (อัล-อัลลาม)” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายว่า ผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง


60. คำว่า “الرحمن” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายว่าอย่างไร ?

   คำว่า “الرحمن” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายบ่งชี้ถึง ความเป็นพระผู้ทรงเมตตาของพระองค์ (الرحمة) ดังนั้นไม่อนุญาตให้ตั้งชื่อว่า “الرحمن” แก่บุคคลอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ตะอาลา


61. คำว่า “الرحيم” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายว่าอย่างไร ?

   คำว่า “الرحيم” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายบ่งชี้ถึง ความเป็นพระผู้ทรงเมตตาของพระองค์ (الرحمة) เช่นกัน


62. คำว่า “القادر” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายว่าอย่างไร ?

   คำว่า “القادر” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายบ่งชี้ถึงความมีอนุภาพแห่งอัลลอฮฺ ตะอาลา


63. คำว่า “العزيز” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายว่าอย่างไร ?

   คำว่า “العزيز” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งแห่งเดชานุภาพของพระองค์


64. คำว่า “السميع” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายว่าอย่างไร ?

   คำว่า “السميع” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายบ่งชี้ถึงการมีคุณลักษณะแห่งการได้ยินของพระองค์


ดู ตำรา الاسئلة المبسطة على شرح رسالة ابن عساكر หน้าที่ 22
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 21, 2010, 09:42 PM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
65. คำว่า “الواحد” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายว่าอย่างไร ?

   คำว่า “الواحد” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายบ่งชี้ถึงความเอกะแห่งอัลลอฮฺ ตะอาลา


66. คำว่า “الخالق” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายว่าอย่างไร ?

   คำว่า “الخالق” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายบ่งชี้ถึงความเป็นพระผู้ทรงสร้างของพระองค์


67. คำว่า “البصير” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายว่าอย่างไร ?

   คำว่า “البصير” เมื่อถูกขึ้นต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความหมายบ่งชี้ถึงความเป็นพระผู้ทรงเห็นของพระองค์


68. อะไรคือ หลักฐานที่บอกว่าการเรียกนามของอัลลอฮฺ ตะอาลา ว่า “ءاه” นั้น ไม่ถูกต้อง ?

   ถือว่าเป็นไปไม่ได้ สำหรับนามชื่อของอัลลอฮฺ ตาอาลา ที่จะแสดงให้เห็นถึงความบกพร่องต่อพระองค์ ดังนั้นถือว่าไม่ถูกต้องในการที่จะเรียกชื่อของพระองค์ว่า “ءاه” เสมือนกับที่คนบางกลุ่มได้วางรูปแบบเอาไว้ มีมากมายเหลือเกินจากซูฟีย์สายชาซุลียะฮฺที่เขาได้เชื่อเช่นนี้ (คือ เชื่อว่าเป็นหนึ่งจากพระนามของอัลลลอฮฺ ตะอาลา)

ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขาได้กล่าวไว้ในตำราของพวกเขาว่า แท้จริงหนึ่งจากพระนามแห่งอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น ก็คือ “ءاه” พร้อมกันนั้นแท้จริงแล้ว คำว่า “ءاه” นั้น เป็นถ้อยคำที่แสดงออกมาถึงความเจ็บปวดหรือร้องทุกข์ โดยการเห็นพ้องต้องกันของบรรดานักวิชาการสายลุเฆาะฮฺ และนักปราชญ์มัซฮับทั้ง 4 นั้น มีความเห็นว่า การกล่าวคำว่า “ءاه” ในละหมาดนั้น ถือว่าทำให้เสียละหมาด เป็นที่รู้กันดีว่าการซิกรุลลอฮฺนั้นจะไม่ทำให้เสียละหมาด ดังนั้น หากคำว่า “ءاه” เป็นหนึ่งในนามชื่อของออัลลอฮฺ ตะอาลา แล้ว มันจะทำให้เสียละหมาดได้อย่างไรกัน


ดู ตำรา الاسئلة المبسطة على شرح رسالة ابن عساكر หน้าที่ 23
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 22, 2010, 02:44 AM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
69. อะไรคือ หลักฐานจากอัลหะดีษที่บอกว่า แท้จริงคำว่า “ءاه” นั้นไม่ใช่นามหนึ่งของอัลลอฮฺ ตะอาลา ?

จากหะดิษที่ถูกบันทึกโดยท่านอิมาม อัต-ติรมิซีย์  ท่านรสูล (ซ.ล.) กล่าวว่า

إذا تثاءب أحدكم فليضع يده على فيه وإذا قال ءاه ءاه فإن الشيطان يضحك من جوفه
   
“เมื่อคนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่านหาว จงวางมือของเขาไว้บนปากของเขา  และเมื่ออ้าปากหาวว่า อาฮฺ อาฮฺ (ห้าวววววว) แท้จริงชัยฏอนจะหัวเราะออกมาจากท้องของเขา” คือ หากว่าเขาหาวแบบไม่ปิดปาก ชัยฏอนก็จะเข้าไปในปากของเขาและหัวเราะออกมาจากท้องของเขา


70. ซัยยิด กุตุบ ได้เรียกอัลลอฮฺ ตะอาลา ว่าอย่างไร ?

   ซัยยิด กุตุบ ได้เรียกอัลลอฮฺ ตะอาลา ว่า “العقل المدبر” (สติปัญญาแห่งการบริหารจัดการ) ดังนั้น นี่คือ กุฟุรชัดเจน  ขออัลลอฮฺทรงปกป้องเราจากสิ่งนี้

(หมายเหตุ : การหุก่มกาฟิรต่อท่าน ซัยยิด กุตุบ นี้ เป็นแค่ทัศนะส่วนตัวของปราชญ์ส่วนน้อยจากบางกลุ่มเท่านั้น ; ผู้แปล)


71. ท่านอิมาม อัล-อัชอะรีย์ ได้กล่าวถึงผู้ที่อธิบายคุณลักษณะของอัลลอฮฺ ตะอาลาว่ามีวิญญาณ ไว้อย่างไร ?

   ท่านอิมาม อัล-อัชอะรีย์ กล่าวว่า แท้จริงไม่อนุญาตให้อธิบายคุณลักษณะของอัลลอฮฺ ตะอาลา ว่ามีวิญญาณ เพราะแท้จริงวิญญาณนั้นเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา และอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้


72. จงกล่าวหลักฐานจากอัล-หะดีษ ที่บอกว่าแท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น มี 99 พระนาม ?

ท่านรสูล (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า

إن لله تسعة وتسعين اسما مائة إلا واحد من أحصاها دخل الجنة
   
“แท้จริงสำหรับอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น มี 99 พระนาม ไม่ถึงหนึ่งร้อย ผู้ใดก็ตามที่นับมันได้ครบ เขาจะได้เข้าสวรรค์” และในบางรายงานบอกว่า “ผู้ใดจดจำมันได้ครบ เขาจะได้เข้าสรรค์”


ดู ตำรา الاسئلة المبسطة على شرح رسالة ابن عساكر หน้าที่ 24
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 22, 2010, 02:45 AM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ hiddenmin

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2453
  • เพศ: ชาย
  • 404 not found
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
    • Ikhlas Studio
บังมุฟตีคึกจริงๆ ป่านนี้ยังไม่นอนอีก

บังช่วยขยายความข้อ 70 หน่อยสิ

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
73. อะไรคือ ความหมายจากอัล-หะดิษ ที่บอกว่า “من أحصاها دخل الجنة”

   หมายถึง ผู้ที่จดจำมันและเข้าใจความหมายของมัน (จากพระนามของอัลลอฮฺ ตะอาลา) เขาจะได้รับประกันไว้ซึ่งสวงสวรรค์


74. อะไรคือ ความหมายจากคำกล่าวของผู้แต่งที่บอกว่า “لا دافع لما قضى”

   หมายถึง ไม่มีผู้ใดที่จะห้าม ไม่ให้พระประสงค์ของอัลลอฮฺ ตะอาลา สำเร็จลุล่วงไปได้


75. อะไรคือ หลักฐานจากหะดิษอัล-กุดซีย์ ที่บ่งชี้ว่า แท้จริงไม่มีผู้ใดที่จะห้าม ไม่ให้พระประสงค์ของอัลลอฮฺ ตะอาลา สำเร็จลุล่วงไปได้ ?
   
ท่านรสูล (ซ.ล.) เล่าว่า อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า

إني قضيت قضاء فإنه لا يرد


76. อะไรคือ ความหมายจากหะดีษ อัล-กุดซีย์ ที่บอกว่า إني قضيت قضاء فإنه لا يرد
   
          หมายถึง แท้จริงเมื่อฉันประสงค์จะให้สิ่งใดสำเร็จลุล่วงแล้วละก้อ ดังนั้น แท้จริงมันจะไม่ถูกปฏิเสธ. คือ ไม่มีผู้ใดที่จะห้าม ไม่ให้พระประสงค์ของอัลลอฮฺ ตะอาลา สำเร็จลุล่วงไปได้


77. เราจะกล่าวอย่างไรต่อบางคนที่เชื่อว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น ทรงเปลี่ยนแปลงพระประสงค์ของพระองค์ เมื่อบ่าวของพระองค์ได้วิงวอนขอหรือเมื่อบ่าวคนหนึ่งยอมรับในสิ่งที่พระองค์ทรงอนุมัติ ?

   คนที่เชื่อว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น ทรงเปลี่ยนแปลงพระประสงค์ของพระองค์ เมื่อบ่าวของพระองค์ได้วิงวอนขอหรือเมื่อบ่าวคนหนึ่งยอมรับในสิ่งที่พระองค์ทรงอนุมัติ เขาคือ กาฟิร ถือว่าการเปลี่ยนใจนั้น ไม่เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับอัลลอฮฺ ตะอาลา เนื่องจากมันเป็นคุณลักษณะของมัคลูก


ดู ตำรา الاسئلة المبسطة على شرح رسالة ابن عساكر หน้าที่ 25
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
บังมุฟตีคึกจริงๆ ป่านนี้ยังไม่นอนอีก

บังช่วยขยายความข้อ 70 หน่อยสิ


ผู้ทำการอธิบายตำราได้กล่าวว่า ท่าน ซัยยิด กุตุบ ได้ทำให้อัลลอฮฺนั้น เป็นเหมือนกับสติปัญญาที่จะใช้ในการบริหารจัดการสิ่งต่างๆ ทั้งๆ ที่อัลลฮฺ ตะอาลา นั้น คือผู้สร้าง แต่สติปัญญานั้น คือ สิ่งที่ถูกสร้าง ซึ่งมันจะเหมือนกันได้อย่างไร การเอาสติปัญญาไปเทียบกับอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น ถือว่าไม่ถูกต้อง


วัลลอฮุ ตะอาลา อะอฺลาวะอะอฺลัม
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
78. จากที่ผู้แต่งได้กล่าวว่า “ولا مانع لما أعطى” ผู้แต่งได้เอาหลักฐานมาจากไหน ?

   นี่คือสิ่งที่มาจากความหมายในหะดีษที่ถูกบันทึกโดย ท่านอิมามบุคอรีย์และท่านอิมามมุสลิม ที่ว่า แท้จริงท่านรสูล (ซ.ล.) จะกล่าวหลังจากที่ได้ละหมาดเสร็จว่า

لا إله إلا الله وحده لا شريك له له الملك وله الحمد وهو على كل شىء قدير اللهم لا مانع لما أعطيت ولا
 معطي لما منعت ولا ينفع ذا الجد منك الجد
   
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาอัลอฮฺ พระผู้ทรงเอกะ ไม่มีภาคีใดๆสำหรับพระองค์ พระผู้ทรงกรรมสิทธ์ พระผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ และพระองค์ทรงมีอนุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง โอ้อัลเลาะฮ์ ไม่มีผู้ใดห้ามสิ่งที่พระองค์ทรงให้และไม่มีผู้ใดจะทำการให้ไปสิ่งที่ พระองค์ทรงห้าม  และความร่ำรวยของผู้ที่ร่ำรวยนั้นไม่สามารถให้ประโยชน์แก่ท่านได้หรอก (นอกจากอัลเลาะฮ์เท่านั้นคือผู้ให้  , ผู้ทรงไม่ให้, ผู้ทรงให้คุณประโยชน์)”


79. อะไรคือ ความหมายจากคำกล่าวของท่านรสูล (ซ.ล.) ที่ว่า “اللهم لا مانع لما أعطيت”

   หมายถึง เมื่อพระองค์ประสงค์จะให้บ่าวคนใดได้รับความโปรดปราน ดังนั้น มันก็จะเป็นไปตามนั้น โดยที่ไม่มีคนใดคนหนึ่งสามารถขัดขวางได้


80. อะไรคือ หลักฐานที่บ่งบอกว่า “เมื่อพระองค์ประสงค์จะให้บ่าวคนใดได้รับความโปรดปราน ดังนั้น มันก็จะเป็นไปตามนั้น โดยที่ไม่มีคนใดคนหนึ่งสามารถขัดขวางได้” ?

   หลักฐานในสิ่งนี้ คือ สิ่งที่ท่านอิมาม อัต-ติรมิซีย์และปราชญ์ท่านอื่นๆ ได้บันทึกเอาไว้ จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส (ร.ด.)  เล่าว่า แท้จริงท่านรสูล (ซ.ล.) กล่าวว่า

   يَا غُلاَمُ ، إِنِّيْ أُعَلِّمُكَ بِكَلِمَاتٍ : احْفَظِ اللهَ يَحْفَظْكَ، احْفَظِ اللهَ تَجِدْهُ تُجَاهَكَ، إِذَا سَأَلْتَ فَاسْأَلِ اللهَ، وَإِذَا اِسْتَعَنْتَ فَاسْتَعِنْ بِاللهِ، وَاعْلَمْ أَنَّ الأُمَّةَ لَوِ اجْتَمَعَتْ عَلَي أَنْ يَنْفَعُوْكَ بِشَيْءٍ لَمْ يَنْفَعُوْكَ إِلاَّ بِشَيْءٍ قَدْ كَتَبَهُ اللهُ لَكَ، وَاِنِ اجْتَمَعُوْا أَنْ يَضُرُّوْكَ بِشَيْءٍ لَمْ يَضُرُّوْكَ إِلاَّ بِشَيْءٍ قَدْ كَتَبَهُ اللهُ عَلَيْكَ، وَرُفِعَتِ الأَقْلاَمُ وَجَفَّتِ الصُّحُفُ

“โอ้หนุ่มน้อย  ฉันจะสอนหลายถ้อยคำแก่เจ้า  คือเจ้าจงรักษาไว้ซึ่ง(ข้อกำหนดต่างๆ ของ)อัลเลาะฮ์ แล้วพระองค์ก็จะทรงปกปักษ์รักษาเจ้า , เจ้าจงรักษาไว้ซึ่ง(ข้อกำหนดต่างๆ) ของอัลเลาะฮ์  เจ้าก็จะพบพระองค์อยู่ต่อหน้าเจ้า(ด้วยความช่วยเหลือและปกปักษ์รักษาเจ้า) , เมื่อเจ้าต้องการจะขอ  ก็จงขอต่ออัลเลาะฮ์ , เมื่อเจ้าต้องการขอความช่วยเหลือ  ก็จงขอความช่วยเหลือด้วยกับอัลเลาะฮ์ , และเจ้าจงรู้เถิดว่าแท้จริงประชาชาติหนึ่งนั้น  หากรวมตัวกันเพื่อให้คุณประโยชน์แก่เจ้า  พวกเขาจะไม่สามารถให้คุณประโยชน์ใด ๆ แก่เจ้าได้  นอกจากด้วยสิ่งหนึ่งที่อัลเลาะฮ์ได้ทรงบันทึกไว้สำหรับเจ้าแล้ว  และถ้าหากพวกเขารวมตัวกันเพื่อให้โทษแก่เจ้า  พวกเขาไม่สามารถทำให้เกิดโทษแก่เจ้าได้หรอก  นอกจากด้วยสิ่งหนึ่งที่พระองค์ได้ทรงบันทึกไว้สำหรับเจ้าแล้ว , บรรดาปากกาได้ถูกยกแล้ว  และบัญชีบันทึกได้แห้งแล้ว”  รายงานโดยอัตติรมีซีย์ , ฮะดีษนี้ฮะซันซอฮิห์


ดู ตำรา الاسئلة المبسطة على شرح رسالة ابن عساكر หน้าที่ 26
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ hiddenmin

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2453
  • เพศ: ชาย
  • 404 not found
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
    • Ikhlas Studio

อัลฮัมดุลิลละฮ

มาเกินครึ่งทางแล้ว

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
81. อะไรคือ ความหมายจากคำกล่าวของผู้แต่งที่บอกว่า “يفعل في ملكه ما يريد”

   หมายถึง แท้จริงเมื่อพระองค์ทรงปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งตั้งแต่เดิมหรือพระองค์ต้องการให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งบังเกิดขึ้นโดยพระประสงค์แห่งพระองค์มาแต่เดิมแล้ว ดังนั้น ก็จำเป็นบนสิ่งนั้นที่จะถูกบังเกิดมาตั้งแต่เดิมแล้ว โดยที่ไม่มีผู้ใดสามารถบังคับพระองค์ได้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง


82. อะไรคือหลักฐานที่บ่งชี้ว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงสร้างมันขึ้นมา ให้อยู่ในสภาพต่างๆ ตามที่พระองค์ทรงเลือก ?

               

และพระเจ้าของเจ้าทรง สร้างสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์และทรงเลือก สำหรับพวกเขาไม่มีสิทธิ์ในการเลือกมหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮ์ และพระองค์ทรงสูงส่งจากสิ่งที่พวกเขาตั้งภาคี”  ซูเราะฮฺ อัล-เกาะศ็อศ :68


83. อะไรคือความหมายจากคำกล่าวของผู้แต่งที่บอกว่า “ويحكم في خلقه بما يشاء”

   หมายถึง แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงห้ามในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงสั่งใช้ในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์


84. อะไรคือ ความหมายจากคำกล่าวของผู้แต่งที่บอกว่า “لا يرجو ثوابا ولا يخاف عقابا”

   หมายถึง แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้นไม่ได้หวังผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ใดๆ จากบ่าวของพระองค์ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า



   
“ข้าไม่ต้องการปัจจัยยังชีพจากพวกเขา และข้าก็ไม่ต้องการให้พวกเขาให้อาหารแก่ข้า”   ซูเราะฮฺ อัซ-ซาริยาต :57

   ดังนั้น อัลลอฮฺ ตะอาลา ไม่ได้บังคับพวกเขาให้ทำอิบาดะฮฺ  แต่เพราะในสิ่งนั้นมีผลตอบแทนให้แก่พวกเขา พวกเขาจะได้อยากทำอิบาอดะฮฺ และอัลลอฮฺ ตะอาลา ไม่ห้ามพวกเขาจากสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เป็นเพราะพวกเขากลัวจะเกิดความเดือดร้อนต่อตัวเองเขาเอง พวกเขาจึงละทิ้ง  แต่สำหรับอัลลอฮฺ นั้น พระองค์ไม่ต้องการผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น


ดู ตำรา الاسئلة المبسطة على شرح رسالة ابن عساكر หน้าที่ 27
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
85. อะไรคือ ความหมายจากคำกล่าวของผู้แต่งที่บอกว่า “ليس عليه حق يلزمه ولا عليه حكم”

   หมายถึง แท้จริงสำหรับอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น ไม่มีคำว่าวาญิบต้องที่จะต้องกระทำ (คือ ไม่มีข้อกำหนดว่า พระองค์จะต้องทำมัน) และไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดจะมาตัดสินต่อพระองค์ ดังนั้น ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดสามารถขัดขวางพระองค์ได้ และไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดสามารถสั่งใช้พระองค์ได้


86. คำว่า “النعمة” หมายถึงอะไร ?

   คำว่า “النعمة” หมายถึง “المنة” (ความโปรดปราน ,ความกรุณา)


87. อะไรคือ ความหมายจากคำกล่าวของผู้แต่งที่บอกว่า “وكل النعمة منه فضل”

   หมายถึง ไม่ได้มีข้อกำหนดชี้ขาดอะไรต่อพระองค์ว่าจะต้องให้ความโปรดปรานกับใครคนใดคนนึง แต่ทว่ามันคือ การรักใคร่และเป็นการให้เกียรติต่อบ่าวของพระองค์ ดังนั้น ถ้าหากว่าพระองค์จะไม่ทรงประทานความโปรดปรานแก่ผู้ใดสักคนหนึ่ง นั่นก็มิใช่การอธรรมใดๆ ทั้งสิ้น


ดู ตำรา الاسئلة المبسطة على شرح رسالة ابن عساكر หน้าที่ 28
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
88. อะไรคือหลักฐานที่บอกว่า แท้จริงถ้าหากว่าพระองค์จะไม่ทรงประทานความโปรดปรานให้กับใครสักคน นั่นก็มิใช่การอธรรมแต่อย่างใด ??

หลักฐานในสิ่งนี้ ดังคำตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า




“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! พวกเจ้าอย่าคิดตามทางเดินของชัยฎอน และผู้ใดติดตามทางเดิมของชัยฎอน แท้จริงมันจะใช้ให้ทำการลามกและความชั่ว และหากมิใช่ความโปรดปรานของอัลลอฮ์แก่พวกเจ้า และความเมตตาของพระองค์แล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดเลยหมู่พวกเจ้าบริสุทธิ์ แต่อัลลอฮ์ทรงให้ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์บริสุทธิ์ และอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้” ซูเราะฮฺ อัล-นูร :21


89. อะไรคือ ความหมายของคำว่า “النقمة”

   คำว่า “النقمة” หมายถึง “العقوبة” (การลงโทษ)


90. อะไรคือ ความหมายจากคำกล่าวของผู้แต่งที่บอกว่า “وكل نقمة منه عدل”

   หมายถึง "แท้จริงผู้ที่อัลเลาะฮ์ทรงให้ผลบุญแก่เขา  ก็ด้วยความโปรดปรานของพระองค์(มิใช่มาบังคับว่าพระองค์ต้องให้ผลบุญ)  และผู้ใดที่พระองค์ทรงลงโทษเขา(เนื่องจากกระทำการฝ่าฝืน) ก็ด้วยความยุติธรรมของพระองค์  และอัลเลาะฮ์ไม่ทรงอธรรมแก่ผู้ใดและไม่มีผู้ใดมาคัดค้านพระองค์ได้เลย  และจะไม่ถูกกล่าวกล่าวคัดค้านว่า  เหตุใดพระองค์ทำให้บรรดาเด็กและปศุสัตว์เกิดเจ็บปวด(เช่น เป็นไข้ไม่สบายและหิวโหย เป็นต้น)  และ(จะไม่กล่าวคัดค้านว่า)เหตุใดพระองค์ถึงทำให้พวกมันเหล่านั้นมีความหิว โหยทั้งที่พวกมันเหล่านั้นไม่มีบาป? และผู้ใดกล่าวเช่นนั้น  แท้จริงแล้วเขาได้คัดค้านอัลเลาะฮ์  แต่ถ้าหากว่าเขามีความประสงค์ที่จะขอให้พระองค์ทรงเปิดเผยถึงฮิกมะฮ์ในการทำ ให้เด็กๆ และปศุสัตว์ เกิดความเจ็บปวด  โดยกล่าวถามว่า เหตุใด(ฮิกมะฮ์ใด)พระองค์ถึงทำให้เกิดความเจ็บปวด(แก่มันเหล่านั้น)  เขาย่อมไม่กุฟุรแต่ประการใด"


91. อะไรคือ ความหมายของคำว่า “الظلم”

   คำว่า “الظلم” หมายถึง การขัดแย้งต่อคำสั่งใช้และคำสั่งห้าม ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้นั้น เป็นไปไม่ได้สำหรับอัลลอฮฺ ตะอาลา (เพราะสำหรับอัลลอฮฺ ตะอาลาแล้ว ไม่มีผู้ใดสั่งใช้หรือสั่งห้ามต่อพระองค์)


ดู ตำรา الاسئلة المبسطة على شرح رسالة ابن عساكر หน้าที่ 29
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
92. อะไรคือ ความหมายจากคำตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ตรัสว่า “لا يسئل عما يفعل وهم يسألون”

   หมายถึง จะไม่มีผู้ใดที่คัดค้านการกระทำต่างๆ ของพระองค์ พระองค์จะไม่ถูกถามว่า ทำไมพระองค์ถึงได้กระทำเช่นนั้น ส่วนบ่าวนั้นพวกเขาทั้งหลายจะถูกถาม (ถึงการกระทำทุกอย่างของพวกเขา) แท้จริงแล้วอัลลลฮฺ ตะอาลา นั้นเป็นผู้ทรงปกครองที่แท้จริงในทุกๆ สิ่ง และไม่มีผู้ใดเป็นหุ้นส่วนในการปกครองของพระองค์ พระองค์ทรงปกครองปวงบ่าวของพระองค์ และพระองค์ก็ทรงมีกรรมสิทธ์ในสิ่งที่บ่าวปกครอง พระองค์ทรงกระทำตามสิทธิของพระองค์ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ด้วยเหตุนี้เอง พระองค์จึงไม่มีรูปแบบแห่งการอธรรม แท้จริงพระองค์ทรงวิทยปัญญา พระองค์จะไม่ทรงกำหนดกิจการงานต่างๆ ในที่ซึ่งพระองค์ไม่พึงประสงค์


93. ผู้ใดที่มีรูปแบบแห่งการอธรรม ?

   ผู้ใดที่มีรูปแบบแห่งการอธรรม คือ ผู่ที่ถูกสั่งใช้ในกิจการงานต่างๆ แต่เขากลับปฏิเสธ อาทิเช่น บรรดาปวงบ่าวทั้งหลาย


94. อะไรคือ หลักฐานจากอัล-หะดีษ ที่บอกว่า แท้จริงบ่าวนั้นจะถูกถามถึงสิ่งที่เขาได้กระทำไป ?

แท้จริงท่าน รสูล (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า

لا تزول قدما عبد يوم القيامة حتى يسأل عن أربع عن عمره فيم أفناه وعن جسده فيم أبلاه وعن ماله من أين

اكتسبه وفيم أنفقه وعن علمه ماذا عمل به

   “เท้าของบ่าวนั้นจะไม่ขยับเขยื้อนไปไหนในวันกิยามะฮฺ จนกว่าเขาจะถูกถามจากสี่ประการด้วยกัน คือ เขาใช้อายุขัยของเขาให้หมดไปในทางใด เขาใช้ร่างกายของเขาไปในทางใดบ้าง เขาได้ขวนขวายทรัพย์สินทั้งหลายมาจากไหนและใช้มันให้หมดไปในทางใด และเขาได้ทำอะไรบ้างในสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มา”  บันทึกโดย ท่านอัต-ติรมิซีย์


95. อะไรคือ ความหมหายจากคำกล่าวของผู้แต่งที่บอกว่า “موجود قبل الخلق”

   แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้นมีมาแต่เดิมแล้ว พระองค์ทรงมีมาก่อนบรรดาสรรพสิ่งต่างๆ และอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้นทรงไร้ขอบเขต


ดู ตำรา الاسئلة المبسطة على شرح رسالة ابن عساكر หน้าที่ 30
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 28, 2010, 01:50 AM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
96. อะไรคือ หลักฐานจากอัล-กุรอานที่บอกว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น ไม่มีจุดเริ่มต้น ?

หลักฐานจากอัล-กุรอานที่บอกว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น ไม่มีจุดเริ่มต้น คือ



            
พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย และทรงเปิดเผยและทรงเร้นลับ และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง” ซูเราะฮฺ อัล-หะดีด : 3


97. นักอรรถาธิบายอัล-กุรอาน ได้อธิบายคำตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า “هو الأول” ไว้ว่าอย่างไร ?

   นักอรรถาธิบายอัล-กุรอาน ได้กล่าวอธิบายว่า ตรงคำตรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ตรงนี้นั้นให้ประโยชน์ในด้านการจำกัดขอบเขต โดยที่ คำว่า “هو” นั้น เป็นมุบตะดาอฺ และ คำว่า “الأول” นั้น เป็นเคาะบัร และทั้งสองคำนี้เป็นคำที่เฉพาะเจาะจง (المعرفة) ดังนั้น ตรงนี้จึงให้ความหมายว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้นไม่มีจุดเริ่มต้น คือ ไม่มีสิ่งใดที่ไร้ซึ่งจุดเริ่มต้น นอกจากอัลลอฮฺ ตะอาลา เท่านั้น


98. อะไรคือ หลักฐานจากอัล-หะดีษที่บอกว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น ปราศจากจุดเริ่มต้น ?

   หลักฐานจากอัล-หะดีษที่บอกว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น ปราศจากจุดเริ่มต้น คือ สิ่งที่ถูกรายงานมาจากท่าน อิมรอน บิน หุซ็อยน์ เล่าว่า แท้จริงท่านรสูล (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า


كان الله ولم يكن شىء غيره
   
“อัลลอฮฺนั้นมีมาแต่เดิมแล้ว และไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดนอกจากพระองค์”  บันทึกโดย ท่านอิมามอัล-บุคอรีย์ ,ท่านอิมามอัล-บัยหะกีย์ และท่านอื่นๆ


ดู ตำรา الاسئلة المبسطة على شرح رسالة ابن عساكر หน้าที่ 31
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
ถึงข้อที่เท่าไรครับถึงจะจบหมด
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Muftee

  • ทีมงานบอร์ด
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
ถึงข้อที่เท่าไรครับถึงจะจบหมด


137 ครับบ..
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

 

GoogleTagged