ผู้เขียน หัวข้อ: บังอะสันในเว็บมรดก: "เมื่ออาชาอีเราะฮร่วมมือกับชีอะฮ กล่าวหาเช็คอัลบานีย์"  (อ่าน 4032 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด

ก็มีเพื่อนส่งลิ้งค์นี้มาให้อ่านดูนะ จากเว็บมรดกอิสลาม แกไม่สบาย อยากให้ผู้รู้ทั้งหลายช่วยกันชี้แจงหน่อย เพราะบังอะสันได้ตอบโต้บังอัลอัซฮะรีย์เรื่องที่บังเค้านำเสนอว่า "อิมามอัลบุฅอรีย์ตีความศิฟัตอัลลอฮฺ" มาดูรายละเอียดกัน ข้างล่างนี้เลย
_______________________________

บังอะสันกล่าวและนำเสนอว่า

อาจารย์อัลอัชารีย์อ้างว่า

อิมามบุคอรีย์ได้ทำการตีความไว้ในบทว่าด้วยเรื่อง ตัฟซีรซูเราะฮฺ อัลเกาะซ๊อซว่า

كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ إِلَّا مُلْكَهُ

ความว่า"ทุกๆ สิ่งนั้นพินาจสิ้น นอกจาก وَجْهَهُ พระพักตร์ของพระองค์(อิมามบุคคอรีย์ตีความว่า)นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์"

แต่อัลาบานีย์บอกว่า การตีความ(ของท่านอัลบุคอรีย์)อย่างนี้ ผู้ไม่ใช่มุสลิมได้กล่าวกัน??

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=22.0

...................

คุณครูอัลอัชอารีย์ พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะ การตีความข้างต้น ไม่ใช่อิหม่ามบุคอรี เป็นผู้ตีความ แต่ท่านได้รายงานมาจากคำพูดของผู้อื่นอีกที่ คือ รายงานจาก ผู้มีนามว่า มุอฺมัร และ มุอฺมัร ถูกระบุในรายงาน อัลนุสฟีย์ ดังที่ท่านหาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวว่า

قوله : إلا وجهه : إلا ملكه . في رواية النسفي وقال معمر فذكره ، ومعمر هذا هو أبو عبيدة بن المثنى ، وهذا كلامه في كتابه مجاز القرآن لكن بلفظ إلا هو ، كذا نقله الطبري عن بعض أهل العربية ، وكذا ذكره الفراء

คำตรัสของพระองค์ที่ว่า “ นอกจากพระพักต์ของพระองค์” หมายถึง นอกจากอำนาจปกครองของพระองค์ ในรายงานหนึ่งของ อัลนุสฟีย์ ระบุว่า "และ มุอฺมัรได้ กล่าว" แล้วเขา(นุสฟีย)ได้ระบุมัน และ มุอฺมัรคนนี้ คือ อบูอุบัยดะฮ บิน อัลมุษันนา และนี้คือคำพูดของเขา ในหนังสือของเขา คือ “คำอุปมาอุปมัยในอัลกุรอ่าน” แต่ ด้วยถ้อยคำที่ว่า “ยกเว้น พระองค์” ในทำนองเดียวกัน อัฏอ็บรีย์ ได้รายงานมันจาก ชาวอาหรับบางคน และในทำนองนั้น อัลฟะเราะฮอฺ ได้ระบุมันไว้ – ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 8 หน้า 505

อิหม่ามอิบนุกะษีร กล่าวว่า

وَقَالَ مُجَاهِدٌ وَالثَّوْرِيُّ فِي قَوْلِهِ : ( كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ ) أَيْ : إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُهُ وَحَكَاهُ الْبُخَارِيُّ فِي صَحِيحِهِ كَالْمُقَرِّرِ لَهُ

และมุญาฮิด และอัษเษารีย์ กล่าวในคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า(ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์) หมายถึง เว้นแต่ สิ่งที่ถูกให้มีจุดประสงค์ เพื่อพระพักต์ของพระองค์ด้วยมัน และ อัลบุคอรีย์ได้รายงานมันในเศาะเฮียะของเขา เสมือนหนึ่งว่า เป็นผู้ยอมรับมัน – ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 6 หน้า 262

…………….

ท่านอิบนุกะษีร ได้รายงานว่า อิหม่ามบุคอรี ยอมรับ ความหมายที่ว่า “إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُه จึงแสดงให้เห็นว่า ท่านยอมรับในสิฟัต الوجه แก่อัลลอฮ
และท่านอิหม่ามบุคอรี ยังได้ นำหะดิษ ที่ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า أعوذ بوجهك ) .) ฉันขอความคุ้มครอง ด้วยพระพักต์ของพระองค์ท่าน มาประกอบคำอธิบายอายะฮอัลกุรอ่านอายะฮดังกล่าวด้วย ดังรายละเอียดข้างล่าง
ท่านอิหม่ามบุคอรี กล่าวว่า

باب قول الله تعالى { كل شيء هالك إلا وجهه } / القصص 88
حدثنا قتيبة بن سعيد حدثنا حماد بن زيد عن عمرو عن جابر بن عبد الله قال لما نزلت هذه الآية { قل هو القادر على أن يبعث عليكم عذابا من فوقكم } . قال النبي صلى الله عليه وسلم ( أعوذ بوجهك ) . فقال { أو من تحت أرجلكم } . فقال النبي صلى الله عليه وسلم ( أعوذ بوجهك ) . قال { أو يلبسكم شيعا } . فقال النبي صلى الله عليه وسلم ( هذا أيسر )

บทว่าด้วยคำตรัสของอัลลอฮ ตะอาลาที่ว่า(ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์) อัลเกาศอศ/88 กุตัยบะฮ บินสะอีด ได้เล่าเราว่า หัมมาด บินเซด จากอัมริน จาก ญาบีร บิน อับดุลลอฮ ได้กล่าวขณะที่อายะฮนี้ลงมา( จงกล่าวเถิด พระองค์คือ ผู้ทรงสามารถส่งการลงโทษจาก จากเบื้องบนของพวกเจ้า ) ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า (ฉันขอความคุ้มครอง ด้วยพระพักต์ของพระองค์ท่าน) แล้วเขากล่าว(ถึงอายะฮดังกล่าวต่อไปว่า) หรือจากใต้เท้าของพวกเจ้า ) แล้วท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (ฉันขอความคุ้มครอง ด้วยพระพักต์ของพระองค์ท่าน) เขากล่าว(อายะฮดังกล่าวต่อไปว่า) “หรือ ให้พวกท่านปนเปกันโดยมีหลายพวกเจ้า”แล้วท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ นี้ มันเบาที่สุด” – เศาะเฮียะอัลบุคอรีย์ หะดิษหมายเลข 6971 ว่าด้วยเรื่อง อรรถาธิบายอัลกุรอ่าน
…………..


หาฟีซอิบนุหะญัร กล่าวว่า

قال ابن بطال : في هذه الآية والحديث دلالة على أن لله وجها وهو من صفة ذاته ، وليس بجارحة ولا كالوجوه التي نشاهدها من المخلوقين ، كما نقول إنه عالم ولا نقول إنه كالعلماء الذين نشاهدهم
อิบนุบัฏฏอ็ล กล่าวว่า “ ในอายะฮนี้และอัลหะดิษ เป็นหลักฐานแสดงบอกว่า อัลลอฮ ทรงมีพระพักต์ และมันคือ คุณลักษณะ ของซาตของพระองค์ และมันไม่ใช่อวัยวะ และ ไม่ใช่ดังเช่น บรรดาใบหน้า ทีเราเห็นมัน จากบรรดามัคลูค ดังสิ่งที่เรากล่าวว่า แท้จริงทรงเป็นผู้รู้ และเราจะไม่กล่าวว่า ดังเช่น บรรดาผู้รู้ที่เราเห็นพวกเขา (หมายถึง ทรงมีสิฟัตรู้ แต่ไม่เหมือนสิฟัตการรู้ของมัคลูค) - ฟัตหุลบารีย์ เล่ม เดียวกัน

อิหม่ามอิบนุญะรีร อธิบายว่า

يَقُولُ تَعَالَى ذِكْرُهُ : وَلَا تَعْبُدُ يَا مُحَمَّدُ مَعَ مَعْبُودِكَ الَّذِي لَهُ عِبَادَةُ كُلِّ شَيْءٍ مَعْبُودًا آخَرَ سِوَاهُ . وَقَوْلُهُ : ( لَا إِلَهَ إِلَّا هُوَ ) يَقُولُ : لَا مَعْبُودَ تَصْلُحُ لَهُ الْعِبَادَةُ إِلَّا اللَّهُ الَّذِي كَلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ

อัลลอฮ ผู้ซึ่ง การสรรเสริญพระองค์สูงส่งยิ่ง ตรัสว่า “ และ โอ้มุหัมหมัด เจ้าอย่าง เคารพภักดี(อิบาดะฮ) ผู้ที่ถูกเคารพภักดีอื่นๆจากพระองค์ พร้อมกับ ผู้ที่เป็นมะอฺบูด(ผู้ที่ถูกเคารพภักดี)ของเจ้า ผู้ซึ่ง ทุกสิ่งเคารพภักดีต่อพระองค์ และคำตรัสของพระองค์ที่ว่า( ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์) หมายถึง พระองค์ตรัสว่า “ ไม่มีผู้ถูกเคารพภักดีใดๆ ที่สมควรอิบาดะฮ ต่อ เขา ยกเว้น อัลลอฮ ผู้ซึ่ง ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์ – ดูตัฟสีร อัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ 88 ซูเราะฮอัลเกาะศอศ
.................
เช็คอัลบานีย์ ไม่เชื่อว่า จะเป็นการตีความของอิหม่ามบุคอรีโดยตรง แต่ท่านรายงานจากผู้อื่น ท่านไม่ได้กล่าวว่า อิหม่ามบุคอรีย์ ไม่ใช่มุสลิมอย่างที่ชีอะฮและ ครูอัลอัชอารีย์ ใส่ร้ายท่าน
ดูการใส่ร้ายของชีอะฮ ต่อเช็คอัลบานีย์ในเรื่องเดียวกัน ตามลิงค์ข้างล่างนี้

http://www.alameli.net/books/index.php?id=1486

__________________________

ฝากผู้รู้ช่วยชี้แจงด่วนนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 26, 2010, 03:40 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
บังอะสันนำเสนอต่อว่า


อัลดุลวาฮิด อัตตัยมีย์(เสียชีวิตปี ฮ.ศ 410 ) กล่าวว่า

"ومذهب أبي عبد الله أحمد بن حنبل رضي الله عنه: أن لله عز وجل وجهاً لا كالصور المصورة، والأعيان المخططة، بل وجه وصفة له بقوله "كل شيء هالك إلا وجهه" ومن غير معناه فقد ألحد عنه، وذلك عنده وجه في الحقيقة دون المجاز ، ووجه الله باق لا يبلى، وصفة له لا تفنى. ومن أدعى أن وجهه نفسه فقد ألحد، ومن غير معناه فقد كفر، وليس معنى وجه معنى جسم عنده ولا صورة ولا تخطيط، ومن قال ذلك فقد ابتدع"

มัซฮับอบีอับดุลลอฮ อะหมัด บิน หัมบัล (ร.ฎ) คือ แท้จริง อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง ทรงมีพระพักต์ (الوجه ) ไม่เหมือนบรรดารูป ที่ถูกทำให้เป็นรูปร่าง และ ไม่เหมือนบรรดาตาที่ถูกวาดขึ้น แต่พระพักต์ และ คุณลักษณะของพระองค์ ด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า "ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์" และผู้ใดเปลี่ยนความหมายของมัน แน่นอนเขาได้ปฏิเสธมัน และดังกล่าวนั้น เป็น พระพักต์ของพระองค์จริงๆ ไม่ใช่อุปมาอุปมัย และพระพักต์ของอัลลอฮทรงดำงอยู่ตลอดไป ไม่เสียหาย และคุณลักษณะของพระองค์นั้น ไม่เสียหาย และ ผู้ใดอ้าง ว่า พระพักต์ของพระองค์ คือ ตัวตนของพระองค์ แน่นอนเขาได้ปฏิเสธมัน และผู้ใดเปลี่ยนความหมายมัน แน่นอน เขาเป็นกุฟุร และ ความหมายพระพักต์ ไม่ได้มีความหมายว่า เป็นรูปร่างของพระองค์ และไม่ใช่(เหมือน)รูปภาพ และไม่ใช่(เหมือน)การวาดรูป และผู้ใดกล่าวดังกล่าว แน่นอนเขาได้อุตริบิดอะฮ - มุอฺตะกิดอิหม่าม อะหมัด หน้า 33

___________________________________

ฝากผู้รู้ช่วยชี้แจงหน่อย
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

บังอะสันกล่าวและนำเสนอว่า

อาจารย์อัลอัชารีย์อ้างว่า

อิมามบุคอรีย์ได้ทำการตีความไว้ในบทว่าด้วยเรื่อง ตัฟซีรซูเราะฮฺ อัลเกาะซ๊อซว่า

كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ إِلَّا مُلْكَهُ

ความว่า"ทุกๆ สิ่งนั้นพินาจสิ้น นอกจาก وَجْهَهُ พระพักตร์ของพระองค์(อิมามบุคคอรีย์ตีความว่า)นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์"

แต่อัลาบานีย์บอกว่า การตีความ(ของท่านอัลบุคอรีย์)อย่างนี้ ผู้ไม่ใช่มุสลิมได้กล่าวกัน??

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=22.0

...................

คุณครูอัลอัชอารีย์ พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะ การตีความข้างต้น ไม่ใช่อิหม่ามบุคอรี เป็นผู้ตีความ แต่ท่านได้รายงานมาจากคำพูดของผู้อื่นอีกที่ คือ รายงานจาก ผู้มีนามว่า มุอฺมัร และ มุอฺมัร ถูกระบุในรายงาน อัลนุสฟีย์ ดังที่ท่านหาฟิซอิบนุหะญัร กล่าวว่า

قوله : إلا وجهه : إلا ملكه . في رواية النسفي وقال معمر فذكره ، ومعمر هذا هو أبو عبيدة بن المثنى ، وهذا كلامه في كتابه مجاز القرآن لكن بلفظ إلا هو ، كذا نقله الطبري عن بعض أهل العربية ، وكذا ذكره الفراء

คำตรัสของพระองค์ที่ว่า “ นอกจากพระพักต์ของพระองค์” หมายถึง นอกจากอำนาจปกครองของพระองค์ ในรายงานหนึ่งของ อัลนุสฟีย์ ระบุว่า "และ มุอฺมัรได้ กล่าว" แล้วเขา(นุสฟีย)ได้ระบุมัน และ มุอฺมัรคนนี้ คือ อบูอุบัยดะฮ บิน อัลมุษันนา และนี้คือคำพูดของเขา ในหนังสือของเขา คือ “คำอุปมาอุปมัยในอัลกุรอ่าน” แต่ ด้วยถ้อยคำที่ว่า “ยกเว้น พระองค์” ในทำนองเดียวกัน อัฏอ็บรีย์ ได้รายงานมันจาก ชาวอาหรับบางคน และในทำนองนั้น อัลฟะเราะฮอฺ ได้ระบุมันไว้ – ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 8 หน้า 505
ฝากผู้รู้ช่วยชี้แจงด่วนนะครับ

ทำไมคุณอะสันเขาไม่ยอมอ่านการชี้แจงขอกระผมในเว็ปนี้ให้หมดก่อนล่ะ  แล้วค่อยอ้างอิงส่วนสำคัญที่ได้ชี้แจงไป หลังจากนั้นก็ค่อยคัดค้านและกล่าวหาว่าผมบิดเบือน  

ประเด็นการตีความนี้  น้องบาชิร ก็เคยถามผมแล้ว  ซึ่งผมชี้แจงไปว่า


كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ إِلَّا مُلْكَهُ وَيُقَالُ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ وَقَالَ مُجَاهِدٌ فَعَمِيَتْ عَلَيْهِمْ الْأَنْبَاءُ الْحُجَجُ
الشرح‏:‏
قوله‏:‏ ‏(‏سورة القصص - بسم الله الرحمن الرحيم‏)‏ سقطت ‏"‏ سورة البسملة ‏"‏ لغير أبي ذر والنسفي‏.‏
قوله‏:‏ ‏(‏إلا وجهه‏:‏ إلا ملكه‏)‏ في رواية النسفي ‏"‏ وقال معمر ‏"‏‏:‏ فذكره‏.‏
ومعمر هذا هو أبو عبيدة بن المثنى، وهذا كلامه في كتابه ‏"‏ مجاز القرآن ‏"‏ لكن بلفظ ‏"‏ إلا هو ‏"‏ وكذا نقله الطبري عن بعض أهل العربية، وكذا ذكره الفراء‏.

อัสลามุอะลัยกุมครับบังอัซฮะรี่
ในซอฮีฮฺบุคอรี นั้น คำว่าอิลลาวัจฮะฮู ที่ท่านตะวีลว่าอิลลามุลกุฮู
เพื่อนผมวะฮะบีบอกว่า ไม่ใช่คำพูดของอิหม่ามบุคอรี แต่เป็นคำพูดของมะอฺมัร
แล้วผมลองหาในฟัตฮุลบารีปรากฏว่า เจอประโยคนี้  
قوله‏:‏ ‏(‏إلا وجهه‏:‏ إلا ملكه‏)‏ في رواية النسفي ‏"‏ وقال معمر ‏"‏‏:‏ فذكره
ตรงนี้เราจะแปลว่าอย่างไรครับ
แล้วท่านมะอฺมัร ท่านนี้อยู่ในยุคไหนครับ ก่อนหรือหลังอิหม่ามบุคอรี
แล้วเราจะตอบพวกเขาอย่างไรคับ

ท่านมะมัรเกิดก่อนท่านอัลบุคอรีครับ

อิมามบุคอรีย์ได้ทำการตีความไว้ในบทว่าด้วยเรื่อง ตัฟซีรซูเราะฮฺ อัลเกาะซ๊อซว่า

كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ : إِلَّا مُلْكَهُ

ความว่า  "ทุกๆ สิ่งนั้นพินาจสิ้นนอกจาก وَجْهَهُ (พระพักตร์)ของพระองค์"  (อิมามบุคคอรีย์ตีความว่า) "นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์"  หนังสือฟัตฮุลบารีย์ 8/364

ดังนั้นในหนังสือซอฮิห์อัลบุคอรีย์ที่ฉบับที่ถูกยึดถือส่วนมาก  ได้ระบุว่า  ท่านอัลบุคอรีได้ทำการตีความ وَجْهَهُ "อำนาจการปกครองของพระองค์"  แต่ในรีวายะฮ์ของท่านอันนะซะฟีย์  ได้กล่าวว่า บอกว่าเป็นคำกล่าวของ ท่านมะมัร ซึ่งเขาเป็นปราชญ์สะลัฟทางด้านภาษาอาหรับ เสียชีวิตในปีที่ 208 ฮ.ศ. (ส่วนท่านบุคอรีเกิดปี 194 ฮ.ศ. - เสียชีวิต ปี 256 ฮ.ศ.)  แต่การที่ท่านอิบนุฮะญัรและท่านอื่น ๆ ได้ยืนยันการตีความดังกล่าวไว้ในซอฮิห์บุคอรีและเป็นคำพูดของท่านบุคอรีย์นั้น  เพราะว่าเมื่อไปดูจากหนังสือ "มะญาซุลกุรอาน" ของท่านมะมัรเอง  ก็ไม่ได้กล่าวถ้อยคำตีความที่ว่า إِلَّا مُلْكَهُ แต่กลับกล่าวตีความว่า إلا هو ครับ

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม  การตีความ وَجْهَهُ เป็น "อำนาจการปกครองของพระองค์" นั้นล้วนเป็นการตีความของปราชญ์สะลัฟ  ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าการตีความเป็นสิ่งที่อนุญาตด้วยเช่นกันนั่นเองครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
อิหม่ามอิบนุกะษีร กล่าวว่า

وَقَالَ مُجَاهِدٌ وَالثَّوْرِيُّ فِي قَوْلِهِ : ( كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ ) أَيْ : إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُهُ وَحَكَاهُ الْبُخَارِيُّ فِي صَحِيحِهِ كَالْمُقَرِّرِ لَهُ

และมุญาฮิด และอัษเษารีย์ กล่าวในคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า(ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์) หมายถึง เว้นแต่ สิ่งที่ถูกให้มีจุดประสงค์ เพื่อพระพักต์ของพระองค์ด้วยมัน และ อัลบุคอรีย์ได้รายงานมันในเศาะเฮียะของเขา เสมือนหนึ่งว่า เป็นผู้ยอมรับมัน – ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร เล่ม 6 หน้า 262

…………….

ท่านอิบนุกะษีร ได้รายงานว่า อิหม่ามบุคอรี ยอมรับ ความหมายที่ว่า “إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُه จึงแสดงให้เห็นว่า ท่านยอมรับในสิฟัต الوجه แก่อัลลอฮ
และท่านอิหม่ามบุคอรี ยังได้ นำหะดิษ ที่ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า أعوذ بوجهك ) .) ฉันขอความคุ้มครอง ด้วยพระพักต์ของพระองค์ท่าน มาประกอบคำอธิบายอายะฮอัลกุรอ่านอายะฮดังกล่าวด้วย ดังรายละเอียดข้างล่าง
ท่านอิหม่ามบุคอรี กล่าวว่า

باب قول الله تعالى { كل شيء هالك إلا وجهه } / القصص 88
حدثنا قتيبة بن سعيد حدثنا حماد بن زيد عن عمرو عن جابر بن عبد الله قال لما نزلت هذه الآية { قل هو القادر على أن يبعث عليكم عذابا من فوقكم } . قال النبي صلى الله عليه وسلم ( أعوذ بوجهك ) . فقال { أو من تحت أرجلكم } . فقال النبي صلى الله عليه وسلم ( أعوذ بوجهك ) . قال { أو يلبسكم شيعا } . فقال النبي صلى الله عليه وسلم ( هذا أيسر )

บทว่าด้วยคำตรัสของอัลลอฮ ตะอาลาที่ว่า(ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์) อัลเกาศอศ/88 กุตัยบะฮ บินสะอีด ได้เล่าเราว่า หัมมาด บินเซด จากอัมริน จาก ญาบีร บิน อับดุลลอฮ ได้กล่าวขณะที่อายะฮนี้ลงมา( จงกล่าวเถิด พระองค์คือ ผู้ทรงสามารถส่งการลงโทษจาก จากเบื้องบนของพวกเจ้า ) ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า (ฉันขอความคุ้มครอง ด้วยพระพักต์ของพระองค์ท่าน) แล้วเขากล่าว(ถึงอายะฮดังกล่าวต่อไปว่า) หรือจากใต้เท้าของพวกเจ้า ) แล้วท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (ฉันขอความคุ้มครอง ด้วยพระพักต์ของพระองค์ท่าน) เขากล่าว(อายะฮดังกล่าวต่อไปว่า) “หรือ ให้พวกท่านปนเปกันโดยมีหลายพวกเจ้า”แล้วท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ นี้ มันเบาที่สุด” – เศาะเฮียะอัลบุคอรีย์ หะดิษหมายเลข 6971 ว่าด้วยเรื่อง อรรถาธิบายอัลกุรอ่าน
ฝากผู้รู้ช่วยชี้แจงด่วนนะครับ

ถ้อยคำเต็มๆ ในหนังสือซอฮิห์อัลบุคอรีย์มีดังนี้ครับ

ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า

كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ : إِلَّا مُلْكَهُ وَيُقَالُ إِلَّا مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ وَقَالَ مُجَاهِدٌ  

"ทุกสิ่งพินาศสิ้นจากนอกจาก วัจญ์ฮฺ وَجْهُ  ของอัลเลาะฮ์" (ท่านอิหม่ามอัลบุคอรีย์กล่าวว่า) หมายถึง "นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์" (หลังจากท่านอัลบุคอรีย์ได้ทำการเล่ารายงานทัศนะปราชญ์ท่านอื่นๆ ความว่า) และถูกกล่าวว่า  นอกจากสิ่งที่ถูกมีเจตนาเพื่อ วัจญ์ฮฺ ของอัลเลาะฮ์  และท่านมุญาฮิดก็ได้กล่าวไว้" หนังสือฟัตฮุลบารีย์ 8/364

พี่น้องชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อาจจะตั้งคำถามว่า  وَجْهُ اللهِ  หมายถึงอะไร?  คำตอบคือ  สิ่งที่คุณอะสันได้ปกปิดมันเอาไว้และไม่ยอมอ้างอิง  เพราะมันไปขัดกับสิ่งที่คุณอะสันต้องการ

ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวต่อไปว่า

وَقَالَ اِبْن التِّين قَالَ أَبُو عُبَيْدَة : إِلَّا وَجْهه أَيْ جَلَاله

"ท่านอิบนุอัตตีนได้กล่าวว่า  ท่านอะบูอุบัยดะฮ์กล่าวว่า  : นอกจากวัจญ์ฮฺ وَجْهُ  ของพระองค์นั้น หมายถึง  นอกจากความยิ่งใหญ่ของพระองค์" ฟัตหุลบารีย์

ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวเช่นกันว่า

وَقِيلَ الْمُرَاد بِالْوَجْهِ الْقَصْد ، أَيْ يَبْقَى مَا أُرِيدَ بِهِ وَجْهه . قُلْت : وَهَذَا الْأَخِير نُقِلَ عَنْ سُفْيَان وَغَيْره

"ถูกกล่าวว่า  จุดมุ่งหมาย  อัลวัจญ์ฮฺ وَجْهُ  คือ จุดมุ่งหมาย  หมายถึง  (ทุกสิ่งมลายสิ้น) คงเหลืออยู่สิ่งที่ถูกเป็นจุดมุ่งหมายเพื่อพระองค์" ฟัตหุลบารีย์

ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร กล่าวอธิบายเช่นกันว่า

وَقَالَ الْبَيْهَقِيُّ : تَكَرَّرَ ذِكْر الْوَجْه فِي الْقُرْآن وَالسُّنَّة...وَفِي بَعْضهَا بِمَعْنَى الرِّضَا كَقَوْلِهِ ( يُرِيدُونَ وَجْهه ) إهـ

"ท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า  มีการกล่าว อัลวัจญ์ฮฺ وَجْهُ ซ้ำไปซ้ำมาในอัลกุรอานและซุนนะฮ์...และในบางส่วนมีความหมายว่า อัรรอฎอ (ความพึงพอพระทัย)  เช่น คำตรัสของอัลเลาะฮ์ที่ว่า "พวกเขามีเจตนาเพื่อ(วัจญ์ฮฺ وَجْهُ  )ความพึงพอพระทัยของพระองค์" ฟัตหุลบารีย์

ท่านอิหม่ามญะรีร อัลเฏาะบะรีย์  กล่าวอธิบายว่า

وَاخْتُلِفَ فِيْ مَعْنَى قَوْلِهِ:( إِلا وَجْهَهُ ) فَقَالَ بَعْضُهُمْ: مَعْنَاهُ: كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إلاَّ هُوَ.وَقَالَ آخَرُوْنَ: مَعْنَى ذَلِكَ: إلاَّ مَا أُرِيْدَ بِهِ وَجْهُهُ

"ได้ถูกขัดแย้งในความหมายคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า (นอกจากวัจญ์ฮฺ وَجْهُ )  ปราชญ์(สะลัฟ)บางส่วนกล่าวว่า  ความหมายก็คือ "ทุกสิ่งพินาศสิ้นนอกจากพระองค์เท่านั้น"  และปราชญ์(สะลัฟ)ท่านอื่นๆ กล่าวว่า  ความหมายสิ่งดังกล่าว  ก็คือ "(ทุกสิ่งพินาศสิ้น)นอกจากสิ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายเพื่อพระองค์" ตัฟซีรอัลเฏาะบะรีย์ 19/643

ท่านอิหม่าม อิบนุ ญะรีร อัลเฏาะบะรีย์กล่าวว่า

عَنْ مُجَاهِدٍ فِيْ قَوْلِ اللهِ عَزَّ وَجَلَّ:(فَأَيْنَمَا تُوَلُّوْا فَثَمَّ وَجْهُ اللهِ) ، قَالَ: قِبْلَةُ اللهِ

"จากท่านมุญาฮิด  ในคำตรัศของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า : "ไม่ว่าพวกเจ้าจะหันไปใหน  ณ ที่นั่น  คือวัจญ์ฮฺ وَجْهُ ของอัลเลาะฮ์" ท่านมุญาฮิดกล่าวว่า  หมายถึง กิบลัตของอัลเลาะฮ์" ตัฟซีรอัฏเฏาะบารีย์ 2/534
 
ต่อมา  เราลองมาพิจารณาถึงคำพูดของท่านอิบนุกะษีรที่ว่า

 وَحَكَاهُ الْبُخَارِيُّ فِي صَحِيحِهِ

"ท่านอัลบุคอรีย์ได้เล่ารายงานมันไว้ในซอฮิห์ของท่าน"

หมายถึงท่านอัลบุคอรีย์ได้รายงานทัศนะของอุลามาอฺท่านอื่นๆ ไว้ในซอฮิห์ของท่านด้วย  ซึ่งตรงนี้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า  ท่านอัลบุคอรีย์ยอมรับทั้งการให้ความหมาย "นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์" และความหมาย "นอกจากสิ่งที่ถูกเจตนาเพื่ออัลเลาะฮ์" และยังเป็นการบ่งชี้ว่าท่านอัลบุอครีย์ยังยอมรับการตะวีล(ตีความ)ในบางตัวบทและไม่ตีความอีกบางตัวบท  

ซึ่งมีหลักฐานมากมายว่า สะลัฟศอลิห์นั้นมีทั้งต่ีความและไม่ตีความ
  

สรุปความหมาย ของซีฟัต وَجْهُ  ของอัลเลาะฮ์ตามทัศนะของสะลัฟนั้นมีดังนี้

1. หมายถึง ความยิ่งใหญ่

2. หมายถึง พระองค์เอง

3. หมายถึง เจตนาหรือจุดมุ่งหมาย

4. หมายถึง ความพึงพอพระทัย

5. หมายถึง กิบลัต

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด


บังอะซัน เค้าไม่แวะมาพูดในนี้ละ...เห็นเมื่อก่อนมาประจำ..
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บังอะสันนำเสนอต่อว่า

อัลดุลวาฮิด อัตตัยมีย์(เสียชีวิตปี ฮ.ศ 410 ) กล่าวว่า

"ومذهب أبي عبد الله أحمد بن حنبل رضي الله عنه: أن لله عز وجل وجهاً لا كالصور المصورة، والأعيان المخططة، بل وجه وصفة له بقوله "كل شيء هالك إلا وجهه" ومن غير معناه فقد ألحد عنه، وذلك عنده وجه في الحقيقة دون المجاز ، ووجه الله باق لا يبلى، وصفة له لا تفنى. ومن أدعى أن وجهه نفسه فقد ألحد، ومن غير معناه فقد كفر، وليس معنى وجه معنى جسم عنده ولا صورة ولا تخطيط، ومن قال ذلك فقد ابتدع"

มัซฮับอบีอับดุลลอฮ อะหมัด บิน หัมบัล (ร.ฎ) คือ แท้จริง อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิ่ง ทรงมีพระพักต์ (الوجه ) ไม่เหมือนบรรดารูป ที่ถูกทำให้เป็นรูปร่าง และ ไม่เหมือนบรรดาตาที่ถูกวาดขึ้น แต่พระพักต์ และ คุณลักษณะของพระองค์ ด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า "ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์" และผู้ใดเปลี่ยนความหมายของมัน แน่นอนเขาได้ปฏิเสธมัน และดังกล่าวนั้น เป็น พระพักต์ของพระองค์จริงๆ ไม่ใช่อุปมาอุปมัย และพระพักต์ของอัลลอฮทรงดำงอยู่ตลอดไป ไม่เสียหาย และคุณลักษณะของพระองค์นั้น ไม่เสียหาย และ ผู้ใดอ้าง ว่า พระพักต์ของพระองค์ คือ ตัวตนของพระองค์ แน่นอนเขาได้ปฏิเสธมัน และผู้ใดเปลี่ยนความหมายมัน แน่นอน เขาเป็นกุฟุร และ ความหมายพระพักต์ ไม่ได้มีความหมายว่า เป็นรูปร่างของพระองค์ และไม่ใช่(เหมือน)รูปภาพ และไม่ใช่(เหมือน)การวาดรูป และผู้ใดกล่าวดังกล่าว แน่นอนเขาได้อุตริบิดอะฮ - มุอฺตะกิดอิหม่าม อะหมัด หน้า 33

___________________________________

ฝากผู้รู้ช่วยชี้แจงหน่อย

ก่อนอื่น  ผมต้องขอชี้แจงก่อนครับว่า  ซีฟัต وَجْهُ  ของอัลเลาะฮ์ตะอาลานั้น  เราอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ไม่เคยปฏิเสธ  แต่ประเด็นคือเรื่องของการให้ความหมาย  แบบฮะกีกัต(คำแท้) หรือแบบ มะญาซฺ (อุปมา)  หรือทำการมอบหมายการรู้ความหมายไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา ซึ่งการมอบหมายนั้นคือแนวทางของสะลัฟส่วนมาก แต่ก็มีสะลัฟส่วนน้อยที่ทำการตีความ

ซึ่งแนวทางหลักของอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มอบการรู้ความหมายไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา  เพราะเราเป็นบ่าวที่ต่ำต้อยไม่สามารถล่วงรู้ถึงแก่นแท้ซีฟัตอันยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ตะอาลาได้อย่างแท้จริง  ดังนั้นการมอบหมายจึงเป็นสิ่งที่สมควรยิ่งของผู้ที่เป็นบ่าวของพระองค์  

ท่านอิมามอะหฺมัดจึงกล่าวว่า

هَذِهِ الأَحَادِيْتُ نُؤْمِنُ بِهَا وَنُصَدِّقُ ، لاَ كَيْفَ وَلاَ مَعْنىَ ، وَلاَ نَصِفُ اللهَ تَعَالَى بِأَكْثَرَ مِمَّا وَصَفَ بِهِ نَفْسَهُ

"บรรดาหะดิษเหล่านี้ เราได้ศรัทธาและยอมรับ โดยที่ไม่มีรูปแบบวิธีการว่าเป็นอย่างไร และไม่มีความหมาย(ที่เจาะจง) และเราไม่พรรณากับคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ ให้มากไปกว่าสิ่งที่พระองค์ทรงพรรณาไว้กับพระองค์เอง" ดู หนังสือ ลุมอะฮ์ อัลเอี๊ยะติก๊อต ของท่าน อิบนุ กุดามะฮ์ หน้า 3

คือมอบหมายการรู้ความหมายที่แท้จริงไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา  นี่คือทัศนะที่ถูกต้องของอิหม่ามอะห์มัด ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู




ومن غير معناه فقد ألحد عنه، وذلك عنده وجه في الحقيقة دون المجاز

และผู้ใดเปลี่ยนความหมายของมัน แน่นอนเขาได้ปฏิเสธมัน และดังกล่าวนั้น เป็น พระพักต์ของพระองค์จริงๆ ไม่ใช่อุปมาอุปมัย

เราต้องเข้าใจระหง่างการยืนยันถ้อยคำแบบฮะกีกัตและยืนยันความหมายแบบฮะกีกัต

คำว่า  وجه في الحقيقة  "วัจญ์ฮฺ ฟิฮะกีกัต" นั้นหมายถึง  การยืนยันหรือเรียกซีฟัตของอัลเลาะฮ์ตะอาลาด้วยถ้อยคำฮะกีกัต(ไม่ใช่ให้ความหมายแบบฮะกีกัตคำแท้ที่หมายถึงอวัยวะ) คือใช้ยืนยันเรียกซีฟัต يَدٌ  ก็คือ يَدٌ  ไม่ไปเรียกแบบคำมะญาซฺว่า قُدْرَةٌ กุดเราะฮ์(อำนาจ) หรือ قُوَّةٌ กุวะฮ์(พลัง)

เช่นเดียวกัน  ซีฟัต وَجْهٌ  ซึ่งสะลัฟจะเรียกและยืนยันถ้อยคำแบบฮะกีกัตว่า وِجْهٌ  ตามที่อัลเลาะฮ์ได้ทรงยืนยันไว้แก่พระองค์เอง  แต่ความหมายของ وَجْهٌ ล่ะ?

ความหมายของซีฟัต وَجْهُ  ของอัลเลาะฮ์ตามทัศนะของสะลัฟนั้นตีความได้ดังนี้

1. หมายถึง ความยิ่งใหญ่

2. หมายถึง พระองค์เอง

3. หมายถึง เจตนาหรือจุดมุ่งหมาย

4. หมายถึง ความพึงพอพระทัย

5. หมายถึง กิบลัต

ดังนั้น 5 ความหมายนี้  ผมอยากถามว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงความหมายซีฟัต وَجْهٌ ของอัลเลาะฮ์หรือไม่? และการให้ความหมายทั้ง 5 นี้เป็นมุสลิมตามทัศนะของอัลบานีย์หรือไม่?

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

บังอะซัน เค้าไม่แวะมาพูดในนี้ละ...เห็นเมื่อก่อนมาประจำ..

แกชอบโต้คนเดียว  คือเสวนาแบบเผยเดียว เวลาคนอื่นเสวนาด้วย  แกจะหลงประเด็น  ไม่ชอบฟังใคร  และไม่ยอมทำความเข้าใจกับฝ่ายผู้เสวนา  
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

somwang

  • บุคคลทั่วไป
ในเว็บ อนุรักษ์มรดกอิสลาม ของ ฟาริด เฟ็นดี้
มีหนึ่งในสมุนของเขา ตั้งฉายา บัง al-azhary ของพวกเราว่า "อุลามาอ์ในรูปู" ด้วย
พวกนี้ ช่างไม่ให้เกียรติกันบ้างเลย ทั้งๆ ที่เราก็ไม่เคยไปว่าเขา
แต่แช เองก็ขอดุอาให้อัลลอฮ์ทรงเมตตาเขา

ออฟไลน์ As-Zaleek

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 804
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +33
    • ดูรายละเอียด
มีหนึ่งในสมุนของเขา ตั้งฉายา บัง al-azhary ของพวกเราว่า "อุลามาอ์ในรูปู" ด้วย

บัง al-azhary สอนอยู่ที่มัสยิดหน้ารามฯ ทุกวันศุกร์ก่อนละหมาดญุมอะฮ์  ใครอยากจะไปเจอก็ไปซิครับ  
الأيام تمضى       والعمر يزيد         ولكن الحب بالقلب أكيد

ออฟไลน์ As-Zaleek

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 804
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +33
    • ดูรายละเอียด
ตามหลักอะกีดะฮ์ของวะฮาบี  พวกเขาเชื่อว่า  ซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้น พวกเขารู้ถึงความหมายแบบฮะกีกัต  ไม่รู้ว่าความหมายฮะกีกัตแบบวะฮาบีนั้น  มีความหมายอย่างไรตามหลักภาษาอาหรับ?
الأيام تمضى       والعمر يزيد         ولكن الحب بالقلب أكيد

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 :salam:

เมื่อคนเราถูกผู้ที่หัวใจถูกปิดกั้นจากอัลเลาะฮ์  ได้ตั้งฉายาให้ แล้วเราต้องรู้สึกเป็นทุกข์ร้อน ผมว่าอย่าเป็นร็อบบานีย์เลย 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
พวกเขาจัดค่ายร็อบบานีนะ 555
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ As-Zaleek

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 804
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +33
    • ดูรายละเอียด
พวกเขาจัดค่ายร็อบบานีนะ 555

แบบนี้แสดงว่าร็อบบานีแต่ชื่ือล่ะซิ
الأيام تمضى       والعمر يزيد         ولكن الحب بالقلب أكيد

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
อันนั้นมันแน่นอนอยู่แล้ว เหมือนกับซุนนะห์นั่นแหละ ซุนนะห์แต่ชื่อ
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
ผมพอที่จะมองสาเหตุได้แล้วว่า ทำไมเมื่อมีสองฝ่าย หรือมากกว่านั้นอ้างตำราเล่มเดียวกัน แต่ทำไมอีกฝ่ายเจอข้อมูลนี้ แต่อีกฝ่ายไม่เจอข้อมูลเดียวกันนี้ ผมก็คิดสงสัยมานาน แต่เมื่อได้ไปอินโด ไปร้านหนังสือ ก็เริ่มจะมองสาเหตุออก เช่น
 
        (๑) ตำราฉบับย่อ กล่าวคือ ได้มีหนังสือหลายเล่มที่อุละมาอ์บางท่าน (โดยเฉพาะอุละมาอ์วะฮาบีย์) นั้น มักจะเอาไปทำการย่อสรุป ด้วยเหตุผลที่ว่า เพราะต้นฉบับนั้น เต็มไปด้วยหะดีษเฎาะอีฟ หะดีษเมาฎู้อฺ สายรายงานอิสรออีลิยาต เรื่องปรัมปรา สิ่งที่ไม่ตรงกับแนวทางของอะฮ์ลุสุสสนนะฮ์วัลจมาอะฮ์ และรวมถึงทัศนะที่เลยเถิดของผู้แต่งตำราเล่มนั้น ดังนั้น พวกเขาจึงทำหน้าที่ในการกรองสิ่งเหล่านั้นออก เพื่อให้ตำรานั้นเกิดความบริสุทธิ์จากสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่อิสลามตามทัศนะของพวกเขา แต่การกระทำข้างต้น ดูผิวเผินก็เป็นสิ่งที่ดีอยู่ แต่หากมองลึกๆ แล้ว ถือเป็นการลดความน่าเชื่อถือของตำรา หรืออุละมาอ์ท่านนั้นทั้งทางอ้อม หรือทางตรงอย่างไม่เป็นธรรมเอาเสียเลยด และที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือ มีไม่น้อย ที่นักวิชาบางท่านที่ไม่ทราบหรืออย่างไรผมก็ไม่ทราบว่า ตำราบางเล่มนั้นได้ผ่านการย่อสรุปมาแล้ว แต่ด้วยความไม่มีจรรยาบรรณของผู้จัดพิมพ์บางแห่ง ไม่ยอมระบุให้ชัดเจนว่านั่นเป็นฉบับย่อ ทำให้ผู้อ่าน หรืออ้างอิงไม่ทราบ และคิดว่านั้นเป็นต้นฉบับ ดังนั้น เมื่อตนพบผู้อื่นที่อ้างอิงตำราเดียวกับที่ตนอ้างอิงปรากฏข้อมูลที่ไม่มีในฉบับที่ตนเองมีอยู่ ก็จะเกิดการกล่าวหาอีกฝ่ายว่าจงใจเพิ่มเติมเนื้อหา หรือบิดเบือนตำราเล่มนั้น ด้วยเหตุที่ว่า "ฉันหามาแล้ว แต่ไม่เจอ" ความเขลาในเรื่อง บางทีก็ไม่น่าเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นได้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว แล้วก็เกิดหลายครั้งแล้วด้วย

        (๒) ตำรามีหลายสายรายงาน กล่าวคือ ตำราบางเล่มมีหลายสายรายงาน และผู้รายงานแต่ละสายนั้น ก็มีความน่าเชื่อถือต่างกัน และบางเล่มก็รายงานแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย หรือบางเล่มก็แตกต่างกันสิ้นเชิง สาเหตุนี้ดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่พอสมควร ซึ่งต้องอาศัยวิธีการตรวจสอบประวัติผู้รายงานตำราเล่มนั้นๆ กันอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพราะมันจะส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อถือของผู้อ่านที่มีต่อตำราเล่มนั้น และปัญหาก็เกิดขึ้นอย่างดาษดื่น และมีการถกเถียงกันอย่างใหญ่โตและบ่อยครั้ง

         (๓) การพิมพ์ตก กล่าวคือ บางสำนักพิมพ์นั้นไม่มีความละเอียดถี่ถ้วนในการตรวจสอบความถูกต้องของตำราที่ถูกพิมพ์ออกไป จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ทำให้ผู้อ่าน หรือผู้อ้างอิงบางคนพบข้อมูลที่แตกต่างกัน ทั้งที่เป็นตำราเล่มเดียวกัน แต่อาจพิมพ์ต่างสถานที่ หรือต่างวาระ ฉะนั้น จรรยาบรรณของผู้จัดพิมพ์ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน และปัญหาเช่นนี้ก็มีให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ

          (๔) และอื่นๆ - วัลลอฮุอะอ์ลัม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

 

GoogleTagged