ผู้เขียน หัวข้อ: การสวมเสื้อผ้าชุดสีดำในขณะที่มีการเสียชีวิตนั้น หุก่มว่าอย่างไร ??  (อ่าน 2255 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด

การสวมเสื้อผ้าชุดสีดำในขณะที่มีการเสียชีวิตนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากบัญญัติอิสลามหรือไม่ ??  โดย เชค อะลีย์ ญุมอะฮฺ  มุฟตีย์ใหญ่แห่งอียิปต์


ตอบ..

   การสวมเสื้อผ้าชุดสีดำในขณะที่มีการเสียชีวิตนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากบัญญัติอิสลาม เพราะว่าแท้จริงแล้วมันคือ การไว้ทุกข์  โดยผู้หญิงนั้นต้องไม่ใส่เครื่องหอม ,ใส่ชุดสีดำ ,ไม่ใส่เครื่องประดับใดๆ ทั้งสิ้น และกลับเข้าบ้านของนางก่อนเข้าเวลามักริบ นี่คือขอบเขตรูปแบบการไว้ทุกข์ของภรรยาต่อสามีที่เสียชีวิตไป  ส่วนในกรณีที่คนอื่นเสียชีวิตซึ่งไม่ใช่สามีของนาง คือ ไม่ใส่เครื่องหอม ,ใส่ชุดสีดำ และไม่ใส่เครื่องประดับใดๆ แค่นั้นก็เพียงพอ


ดู ตำรา الدين والحياة الفتاوى العصرية اليومية โดย เชค อะลีย์ ญุมอะฮฺ มุฟตีใหญ่แห่งอียิปต์ ในหมวดที่ว่าด้วยเรื่อง หลักการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเสียชีวิต หน้าที่ 146
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 20, 2012, 11:04 PM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
 :salam:


ข้อมูลสนับสนุนเพิ่มเติม...

السلام عليكم ورحمة الله تعالى وبركاته

ท่านพี่น้องทราบไม่ว่า อิสลามได้จำกัดการไว้อาลัยไว้อย่างไรบ้าง ?

ก่อนที่เราจะรู้ถึงข้อชี้ขาดของการไว้อาลัย เราควรที่จะรู้เสียก่อนว่า "การไว้อาลัยคืออะไร"

การไว้อาลัยคือ การละทิ้งการแต่งตัวด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม ด้วยกับสีผ้าที่ฉูดฉาด การใส่เครื่องประดับที่เงางาม การละทิ้งการใส่ยาตา การใส่ของหอม หรืออื่นๆที่มีลักษณะคล้ายกับสิ่งเหล่านี้

อิสลามจำกัดการไว้อาลัยไว้แก่ผู้ตายไม่เกิน 3 วัน 3 คืน ซึ่งหากเกินกว่าที่อิสลามได้กำหนดไว้นั้น ถือเป็นสิ่งต้องห้ามตามบัญญัติอิสลาม ยกเว้นสตรีที่ผู้ตายเป็นสามีของนาง ดังนั้นสตรีที่สามีตาย อิสลามได้กำหนดให้นางไว้อาลัยแก่เขา 4 เดือน 10 วัน โดยถือเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) แก่นาง หรือจะเรียกการไว้อาลัยของสตรีที่สามีตายว่า "การครองอิดดะห์"

แน่นอนสิ่งที่กล่าวมา ย่อมจะขาดมิได้เลยซึ่งหลักฐาน

อัลลอฮ์ได้ทรงบัญชาใช้แก่สตรีที่สามีตายไว้ว่า

وَالَّذِينَ يُتَوَفَّوْنَ مِنْكُمْ وَيَذَرُونَ أَزْوَاجا ً يَتَرَبَّصْنَ بِأَنفُسِهِنَّ أَرْبَعَةَ أَشْهُر ٍ وَعَشْرا

"และบรรดาผู้ที่ถึงแก่กรรมจากพวกเจ้า โดยพวกเขาได้ทิ้งบรรดาคู่ครอง (บรรดาภรรยา) ไว้ พวกนางจะต้องรอคอยตัวของนางเองถึง 4 เดือน 10 วัน"(บากอเราะห์ / 234)

และแน่นอนหลักฐานที่ได้มากำกับการไว้อาลัยแก่ผู้ตายไว้เพียง 3 วัน 3 คืน นั้นมาจากวจนะของท่านร่อซู้ล (ศ็อลลั้ลลอฮู่อะลัยฮิว่าซัลลัม) ที่ว่า

لا يحل لامرأة تؤمن بالله واليوم الآخر أن تحد (أى تترك الزينة) على ميت فوق ثلاث إلا على زوج فإنها تحد عليه أربعة أشهر وعشرا

"ไม่อนุญาตให้สตรีผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันอาคิเราะห์ไว้อาลัยแต่ผู้ตายคนใดเกิน 3 วัน นอกจาก (ไว้อาลัย) แก่ผู้เป็นสามี เพราะแท้จริงนางจะต้องไว้อาลัย (หรือครองอิดดะห์) ต่อสามี ถึง 4 เดือน 10 วัน"

สาเหตุที่อิสลามได้บัญญัติห้ามการไว้อาลัยเกิน 3 วัน 3 คืนนั้น ก็เพื่อไม่ต้องการให้บ่าวผู้ศรัทธาในอัลลอฮ์ต้องจมปักอยู่กับความโศกเศร้า ละทิ้งความโปรดปรานของอัลลอฮ์  เพราะนั้นเป็นการปิดกั้นตัวเองจากพระเมตตาของอัลลอฮ์

ในอดีตกาล ผู้เป็นภรรยาของท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุ่อะลัยฮิว่าซัลลัม) และสาลัฟซอและห์จะไม่ไว้อาลัยแก่ผู้ใดเกินระยะที่อิสลามได้บัญญัติไว้ เพราะกลัวจากบาปที่จะเกิดขึ้นจากขัดต่อบัญญัติอิสลาม

พระนางอุมมุ่ฮาบีบะห์ (อุมมุ้ลมุมินิน บุตรีของท่านอบีซุฟยาน) ได้ทำการไว้อาลัยแก่บิดาของนาง เมื่อหมดระยะการไว้อาลัยที่อิสลามได้กำหนดไว้ นางจึงใช้น้ำหอมซุฟระห์ (ใช้ในขณะอยู่ในหมู่สตรีด้วยกันหรือใช้ในกลุ่มผู้เป็นมะฮ์รัมของนาง) ในวันที่สาม พร้อมกับกล่าวขึ้นว่า "ฉันเพียงพอแล้วจากนี้ หากแม้นว่าฉันไม่ได้ยินท่านนะบี(ศ็อลลัลลอฮุ่อะลัยฮิว่าซัลลัม)กล่าวว่า "ไม่อนุญาตให้สตรีผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันอาคิเราะห์ไว้อาลัยแต่ผู้ตายคนใดเกิน 3 วัน ..."

ส่วนผู้ชายนั้น อิสลามไม่ได้กำหนดให้พวกเขาทำการไว้อาลัยแต่อย่างใด แม้แต่ช่วงระยะเวลาสั่นๆก็ตาม แน่นอนการไว้อาลัยนั้นถูกกำหนดให้แก่สตรีเท่านั้น
 
والله أعلم


อิสลามจำกัดการไว้อาลัยไว้อย่างไรบ้าง  

ออฟไลน์ hiddenmin

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2453
  • เพศ: ชาย
  • 404 not found
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
    • Ikhlas Studio

 

GoogleTagged