
สลาม
ก่อนอื่น ผมต้องขอมาอัฟต่อเพื่อนพี่น้องที่รักทุกท่าน หลังจากที่ผมได้อ่านกระทู้ที่ตั้งขึ้นมาเกี่ยวกับแนวทางของหลักตะเซาวุฟ กระผมเป็นคนหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเลื่อมใสต่อแนวทาง และปฏิบัติมาจวบจนทุกวันนี้
- ประเด็นที่อ้างถึงการทำซิเกรจนถึงระดับขั้นที่เรียกกันว่า ฟานา จนทำให้เกิดคำว่า “กูคืออัลลอฮ”จากตำราข้างต้น ตามหลักการถือว่าถึงขั้นแห่งการที่ได้ชื่อว่าหลงทาง เป็นอย่างมากเพราะ การที่คนใดคนหนึ่งได้พากเพียรพยามยามในการทำซิกิร จนถึงขั้นนั้น แล้วเผลอสดุดคำน้ำขึ้นมา แปลได้ว่าเขาผู้นั้นหลุดพ้นจากการใช้สติปัญญา หรือหลุดจากหลักชาริอัต เพราะไม่มีวันที่อัลลอฮ(ซ.บ)จะสถิตอยู่ในมนุษย์ผู้ต่ำต้อย เหมือนเช่นในศาสนาคริส ได้กล่าวว่าพระเจ้าได้สถิตพระองค์ในตัวพระบุตร เพราะจะได้ตระหนักถึงความระทมในการเป็นมนุษย์ หรือลิ้มลองการเป็นมนุษย์
- การกล่าวคำพรรณนาถึงแก่คนที่เรารัก มิใด้หมายความว่าเรานั้นจะต้องคร่ำครวญ จนเราลืมเสียว่าคนที่เราคร่ำครวญถึงนั้นคือพระผู้สร้าง จะเป็นการดียิ่งถ้าเราคร่ำครวน ในฐานะที่เป็นบ่าวอันต่ำต้อย ไร้ซึ่งน้ำยา ไร้ซึ่งความสามารถ เป็นแค่เพียงเศษเสี้ยวธุลี “อย่าประมาทในความสามารถของชัยตอนมารร้าย เพราะมันสามารถทำให้มนุษย์ที่ขึ้นชื่อว่าเข้มแข็งเกิดความพ่ายแพ้ เปรียบเสมือนกับเด็กที่กำลังกลิ้งฟุตบอลไปๆมาๆ”
- ต้องยอมรับว่าคนอาลิฟนั้นรับเกรียติจากอัลลอฮ(ซ.บ)โดยผ่าน อิลฮัม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอิลฮัมนั้นยังประเสริฐน้อยกว่า วาฮยู ที่อัลลอฮ(ซ.บ)ประทานให้แก่รอซูลและนาบี เฉกเช่นเดียวกัน คนที่ขึ้นว่าอาลิฟในหมู่บรรดาอุมัต อาจมิอาจเทียบเท่าได้เลยกับรอซูลและเหล่าบรรดาตอบีอีน อาจกล่าวได้ว่าความประเสริฐของเหล่าบรรดาอุมัตที่ขึ้นว่าประเสริฐที่สุดแล้ว จะน้อยกว่านบีถึงเจ็ดสิบเท่า อีกประการนึงเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอิลฮัมที่ได้มา จะไม่ขัดกับหลักชาริอัต ถ้าหากผู้นั้นไม่มีความรู้เกี่ยวหลักการในอัลกุรอ่านและอัลฮาดิษ
- หลักการ ชาฟาอัต นั้น ผู้หนึ่งผู้ใดไม่สามารถชาฟาอัตให้แก่บุคคลอื่นได้ นอกเสียจากการอนูมัติ จากอัลลอฮ(ซ.บ) ถ้าเรามามอง ในประวัติของท่านนบีอิบรอฮีม(อ.ฮ) จะเห็นได้ว่าท่านก็ไม่สามารถชาฟาอัตให้แก่บิดาของท่านได้เลยแม้แต่น้อย แม้นว่าท่านเพียรขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ จนน้ำตาใหลพราก และท่านนบีลูฏก็ไม่สามารถทำการชาฟาอัต ต่อภรรยาของท่านแม้นแต่น้อย เพราะภรรยาของท่านเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ให้การช่วยเหลือมุชริก แล้วท่านยังมัวคิดอีกหรือว่าแค่เพียงดุอาอ์คนอาลิฟคนนึง สามารถที่จะชาฟาอัตแก่ผู้หนึ่งผู้ใดได้ หรือแน่ใจหรือว่าเขาสามารถทำใบเบิกทางหรือพาสปอร์ต ให้แก่ผู้ใดก็ได้ โดยไม่ถูกทำการสอบสวน หรือ อาจกล่าวได้ว่าทำการคอรัปชั่นต่อมาลาอีกัต ในอลัมบัรซักหรือวันแห่งการใต่สวน(กิยามัต)
- การที่ท่านนบีคัยดิร ได้รับความรู้จากอัลลอฮ(ซ.บ)นั้นถือว่าเป็นอภิสิทธิพิเศษ แต่ถึงกระนั้นก็ตามท่านก็คือหนึ่งในบรรดานบี ที่คอยได้รับวาฮยู จากอัลลอฮ(ซ.บ) ท่านนบีมูซาได้รับอิลมู(วาฮยู)เกี่ยวกับปัจจุบัน แต่ท่านนบีคัยดีรได้รับอิลมู(วาฮยู)เกี่ยวกับเรื่องอนาคต
-การทำซิกิร ต่ออัลลอฮ(ซ.บ) เป็นการเปิดประตูในการที่บ่าวของอัลลอฮ(ซ.บ) จะรำลึกถึงพระองค์ ถึงแม้นว่าจะไม่ได้ผ่านครูหรือรับมูบาญิอะต์จากผู้หนึ่งผู้ใดก็ตาม ครูมูรชิตเปรียบได้ดั่งครูพี่เลี้ยงซึ่งคอยแนะนำต่อบรรดาสานุศิษย์ ในการปฎิบัติตนเพื่อเข้าไกล้อัลลอฮ เพราะฉะนั้น เราควรเคารพท่านเปรียบเสมือนครูบาอาจารย์ท่านหนึ่ง แต่เมื่อใดที่หลักคำสอนและหลักการปฏิบัติขัดกับหลักชาริอัตหรืออัลกุรอ่านและหลักฮาดิษ เราก็สมควรที่จะไม่ปฏิบัติตามท่าน
-หลักการตะเซาวุฟโดยแก่นแท้แล้วคือการควบคุมอารมณ์ไฝ่ต่ำของเราให้สามารถบังคับจิตใจให้ห่างจาก นัฟซูที่ทำให้ผู้หนึ่งเสื่อมเสีย เช่น ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความตระหนี่ ความโอ้อวด ความฟุ้งเฟ้อ(มูบัรซิร) โดยเอาสิ่งดีๆเข้ามาแทนที่ เช่นซุโกร อ่อนน้อมถ่อมตน เพียงพอ เข้ามาแทนที่ในจิตใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราอาจพบเจอในจิตใจเราทุกวี่วัน ทุกผู้คน
-หลังจากที่เราควบคุมอารมณ์ ได้ระดับนึง เราก็ควรที่จะเพิ่มบรรดาอามาลอีบาดัต พร้อมทั้งซิกร เพื่อเป็นการเพิ่มระดับอีหม่านของเรา ให้ทำกระทำอย่างขยันขันแข็ง หรืออิสติกอมะฮ ให้คงเส้นคงวา