
หากย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์ของท่านนบีอีซา(อ.ฮ) ท่านได้ทำการเผยแผ่ ศาสนาได้ไม่นานประมาณ 5-6 ปี และได้ถูกต่อต้านอย่างหนักจากบรรดาบาทหลวงชาวยาฮูดี เหตุเพราะท่านได้ทำการต่อต้านพวกเขาเหล่านั้น จากการกดขี่ข่มเหงคนยากคนจน บาทหลวงเหล่านั้นไม่ใช่แค่เพียงเผยแพร่สิ่งที่มีอยู่ในเตารอตแต่ได้ทำการแอบแฝงเพื่อผลประโยชน์เข้าหาตนเอง
ท่านนบีอีซาพร้อมด้วยเหล่าบรรดาสาวก”ฮาวารียน” ก็ได้หนีไปในที่ต่างๆเพื่อทำการเผยแพร่ศาสนาที่มาจากอัลลอฮ(ซ.บ) จนกระทั่งจนมุมและหนีเข้าไปในถ้ำจนกระทั่ง ชาวคริสต์เชื่อว่าท่านถูกจับและถูกตรึงไม้กางเขน แต่เราอิสลามเชื่อมั่นว่าท่านถูกอัลลอฮ(ซ.บ)ยกขึ้นไปบนสวรรค์
ซุเราะฮอาลีอิมรอน
55. จงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮ์ตรัสว่า โอัอีซา ! ข้าจะเป็นผู้รับเจ้าไปพร้อมด้วยชีวิตและร่างกายของเจ้า และจะเป็นผู้ยกเจ้าขึ้นไปยังข้าและจะเป็นผู้ทำให้เจ้าบริสุทธิ์ พ้นจากบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธา และจะเป็นผู้ให้บรรดาที่ปฏิบัติตามเจ้าเหนือผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย จนกระทั่งถึงวันกิยามะฮ์ แล้วยังข้านั้นคือการกลับไปของพวกเจ้า แล้วข้าจะตัดสินระหว่างพวกเจ้า ในสิ่งที่พวกเจ้าขัดแย้งกัน
หลังจากนั้นบรรดาสาวกของนบีอีซาที่ยังหลงเหลืออยู่ก็เผยแพร่แนวทางของท่าน และรวบรวมคัมภีร์ขึ้นมา ชื่อว่า อินญีล และในเนื้อหาของอินญีลนั้นจะตั้งชื่อตามคนรายงาน เช่น บทแห่ง mathius,injil johanna,injil lukas,injil banamas, และอีกมากมาย สายรายงานที่รวบรวมขึ้นมานั้น บางคนเป็นสาวกคนสนิทของนบีอีซา แต่บางคนไม่เคยที่จะพบกับท่านเลย จนกระทั่งทำให้สายรายงานแต่ละสายนั้นมีความแตกต่างในหลักความเชื่อ เช่น บางความเชื่อคิดว่านบีอีซานั้นคือนบีและรอซูลเท่านั้น บางความเชื่อเข้าใจว่านบีอีซาคือลูกของอัลลอฮ บางความเชื่อก็คิดว่ามาลาอีกัตญิบรีลคืออัลลอฮ บางความเชื่อคิดว่านบีอีซาคืออัลลอฮที่แปลงกายลงมาในร่างมนุษย์ บางความเชื่อก็คิดว่าพระเจ้ามีสามองค์ พระพ่อ พระแม่(นางมาเรียม) พระบุตร(นบีอีซา) จวบจนกระทั่งขัดแย้งกันเอง จนทำให้เกิดสงครามนองเลือดกันเรื่อยมา จนกระทั่งอัลลอฮ(ซ.บ)ประทานศาสดาองค์สุดท้ายลงมาคือนบีมูฮัมมัด(ซ.ล)พร้อมทั้งอัลกุรอ่านนุลการีม
ซุเราะฮอัลนิซาอ
171. อะฮ์ลุลกิตาบทั้งหลาย (*1*) จงอย่าปฏิบัติให้เกินขอบเขต (*2*) ในศาสนาของพวกเจ้า และจงอย่ากล่าวเกี่ยวกับอัลลอฮฺ นอกจากสิ่งที่เป็นจริงเท่านั้น (*3*) แท้จริง อัล-มะซีฮ์ อีซาบุตรของมัรยัมนั้น เป็นเพียงร่อซูลของอัลลอฮฺ และเป็นเพียงดำรัสของพระองค์ที่ได้ทรงกล่าวมันแก่มัรยัม (*4*) และเป็นเพียงวิญญาณหนึ่งจากพระองค์ (*5*) เท่านั้น ดังนั้นจงศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และบรรดาร่อซูลของพระองค์เถิด (*6*) และจงอย่ากล่าวว่าสามองค์เลย (*7*) จงหยุดยั้งเสียเถิด มันเป็นสิ่งดียิ่งแก่พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺคือผู้ควรได้รับการเคารพสักการะแต่เพียงองค์เดียวเท่านั้น พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากการที่จะทรงมีพระบุตร (*8*) สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้า และสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้นเป็นสิทธิของพระองค์ทั้งสิ้น และเพียงพอแล้วที่อัลลอฮฺเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้คุ้มครองรักษา (*9*)
(1) หมายถึงทั้งพวกยิวและคริสต์
(2) คือขอบเขตที่ศาสนาได้กำหนดไว้ เช่น ทำการอิบาดะฮ์จนไม่มีเวลาประกอบอาชีพ เป็นต้น
(3) เช่นพูดว่าพระองค์องค์เดียวเท่านั้นที่ควรได้รับการสักการะ ไม่มีภาคีใด ๆ แก่พระองค์ และพระองค์ไม่ทรงมีพระบุตร
(4) คือทรงกล่าวแก่นางว่า “จงมีบุตรชายคนหนึ่ง” แล้วนางก็ตั้งครรภ์และคลอดมาเป็นชายได้ชื่อว่า อีซา ด้วยเหตุนี้ท่านนะบีอีซาจึงถือว่าเป็นดำรัสของพระองค์
(5) คือท่านนะบีอีซาเกิดขึ้นจากวิญญาณหนึ่งที่มาจากพระองค์โดยตรง มิใช่ผ่านชายใด ด้วยเหตุนี้ท่านนะบีอีซาจึงเกิดขึ้นโดยไม่มีบิดา
(6) รวมถึงศรัทธาต่อท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ด้วย
(7) คืออย่ากล่าวว่า อัลลอฮฺ แบ่งภาคออกเป็นสามองค์ คือ พระบิดา พระบุตร และพระจิต โดยที่แต่ละองค์เป็นพระเจ้าโดยสมบูรณ์ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วก็เป็นพระเจ้าองค์เดียว ดังกล่าวนี้เป็นความเข้าใจผิดของคริสต์ชน
(

คือทรงบริสุทธิ์เกินกว่าที่จะถือเอานะบีอีซา เป็นพระบุตรของพระองค์ เพราะพระองค์ไม่ทราบต้องพึ่งพาอาศัยใครซึ่งแตกต่างกับมนุษย์ที่จำต้องมีบุตรที่จะได้ช่วยเหลือพ่อแม่ยามชรา
(9) คือทำหน้าที่คุ้มครองรักษากิจการงานต่าง ๆ ของพวกเขา
ซูเราฮอัตเตาบัต
30. “และชาวยิวได้กล่าวว่า อุซัยร์(*1*)เป็นบุตรของอัลลอฮ์ และชาวคริสต์ได้กล่าวว่า อัล-มะซีห์(*2*)เป็นบุตรของอัลลอฮ์ นั่นคือถ้อยคำที่พวกเขากล่าวขึ้นด้วยปากของพวกเขาเอง ซึ่งคล้ายกับถ้อยคำของบรรดาผู้ที่ได้ปฏิเสธการศรัทธามาก่อน ขออัลลอฮ์ทรงละอ์นัต(*3*)พวกเขาด้วยเถิด พวกเขาถูกหันเห(*4*)ไปได้อย่างไร?
(1) คือนักปราชญ์ยิวส ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมบัญญัติแห่งคัมภีร์เตารอตจากบรรดาชาวยิวที่จดจำไว้ แล้วรวบรวมเป็นเล่มขึ้นทั้งนี้หลังจากที่ต้นฉบับได้สูญหายไป ด้วยเหตุเขาจึงได้รับการเคารพนับถือ จนกระทั่งถูกเข้าใจว่าเป็นพระบุตรของอัลลอฮ์
(2) หมายถึงท่านนะบีอีซา
(3) ละอ์นัตคือการขับไล่ให้ออกความเอ็นดูเมตตาของอัลลอฮ์ การขอให้อัลลอฮ์ทรงละอ์นัต จึงหมายถึงขอให้อัลลอฮ์ทรงขับไล่ให้ออกจากความเอ็นดูเมตตาของพระองค์ อนึ่ง พึงสังเกตด้วยว่าข้อความของอัล-กุรอ่านที่ว่า นั้นเป็นประโยค ดุอาอ์ หมายถึงขอให้อัลลอฮ์ทรงละอ์นัต
(4) คือหันเหออกจากความจริง
31. “พวกเขาได้ยึดเอาบรรดานักปราชญ์ของพวกเขา และบรรดาบาดหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้า(*1*)อื่นจากอัลลอฮ์ และยึดเอาอัล-มะซีห์บุตรของมัรยัมเป็นพระเจ้าด้วย(*2*) ทั้ง ๆที่พวกเขามิได้ถูกใช้นอกจากเพื่อเคารพสักการะผู้ทีสมควรได้รับการเคารพสักการะ(*3*) แต่เพียงองค์เดียว ซึ่งไม่มีผู้ใดควรได้รับการเคารพสักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาให้มีภาคีขึ้น”
(1) เนื่องจากพวกเขาได้ยึดถือคำแนะนำของนักปราชญ์และบาดหลวงแทนบัญญัติของพระเจ้า จึงเท่ากับว่าพวกเขาถือเอานักปราชญ์และบาดหลวงเป็นพระเจ้า
(2) เนื่องจากท่านนะบีอีซาเกิดมาโดยไม่มีบิดาจึงเข้าใจผิดว่าพระองค์แบ่งภาคมาเกิด เลยถือว่าท่านเป็นพระเจ้า
(3) หมายถึงอัลลอฮ์ ซุบห์ฯ
--อัลกุรอ่านสอนให้เราตอบโต้ต่ออุมัตนัสรอนีอย่างชาญฉลาดและหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ในการโต้แย้งต่อพวกเขาเหล่านั้นเพราะในวันกิยามัตนั้นอัลลอฮจะทรงตอบแทนต่อพวกเขาเอง
ซูเราะฮอัลนะฮลุ
125. จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า(*1*) แท้จริงพระเจ้าของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในทางที่ถูกต้อง(*2*)
(1) คือด้วยเหตุผลและหลักฐาน ด้วยความอ่อนโยนและสุภาพ
(2) เจ้าไม่มีหน้าที่ฮิดายะฮ์พวกเขา หน้าที่ของเจ้าคือเรียกร้องเชิญชวน และเรา(พระองค์) มีหน้าที่สอบสวนและลงโทษพวกเขา
126. และหากพวกเจ้าจะลงโทษ(ฝ่ายปรปักษ์)(*1*)ก็จงลงโทษเยี่ยงที่พวกเจ้าได้รับโทษ และหากพวกเจ้าอดทน แน่นอน มันเป็นการดียิ่งสำหรับบรรดาผู้อดทน
(1) ผู้ที่อธรรมต่อพวกเจ้าและทำร้ายพวกเจ้า ก็จงปฏิบัติเยี่ยงที่พวกเขากระทำต่อพวกเจ้า อย่าทำให้มากกว่า
127. และจงอดทนเถิด และการอดทนของเจ้าจะมีขึ้นไม่ได้ เว้นแต่ด้วย(การเตาฟีกของ) อัลลอฮ์(*1*) และอย่าเศร้าโศกต่อพวกเขา และอย่าคับใจในสิ่งที่พวกเขาวางกลอุบาย
(1) จงอดทนต่อสิ่งที่เจ้าได้รับจากการทำร้ายในทางของอัลลอฮ์ เจ้าจะไม่บรรลุสู่ตำแหน่งอันสูงส่งนี้ได้ นอกจากด้วยการช่วยเหลือและการเตาฟีกของอัลลอฮ์
128. แท้จริง อัลลอฮฺทรงอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ยำเกรง (*1*) และบรรดาผู้กระทำความดี (*2*)
(1) โดยให้ความช่วยเหลือและได้รับความสำเร็จ
(2) ด้วยการปกปักษ์รักษาให้พ้นจากการวางแผนของผู้วางแผน