เงื่อนไขหรือข้อกำหนด เรื่องการแต่งกายของสตรีมุสลิม
1.เงื่อนไขประการแรกคือ ขอบเขตและสัดส่วนของร่างกายที่ต้องปกปิดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่สวมใส่อยู่นั้น จะต้องปกปิดทุกส่วนสัดของร่างกาย เว้นไว้แต่บางส่วนที่อนุญาตให้เปิดเผยได้ ดังความของอัลกุรอ่าน
" โอ้มุฮัมมัด เจ้าจงกล่าวแก่ศรัทธาชนทั้งหลาย เพื่อประกาศกันให้ทราบโดยกันทั่วว่า พวกเขาจงลดสายตาลงทอดต่ำ อย่าสอดส่ายมองแต่สิ่งที่ต้องห้ามตามศาสนาบัญญัิติ แม้นบังเอิญสายตา ได้ประสบกับสิ่งต้องห้ามโดยไม่ตั้งใจ ก็จงรีบหันเหออกจากสิ่งนั้นโดยเร็ว และพวกเขา จงป้องกันอวัยวะเพศของตัวเองไว้ อย่าให้กระทบต่อการกระทำ อันอนาจารต่างๆ ที่ขัดต่อศาสนบัญญัติ และต้องปิดบังมันไว้ให้พ้นจากการมองเห็นผู้อื่นใด การกระทำเช่นนั้นแหละเป็นความบริสุทธิ์ยิ่งสำหรับพวกเขา โดยพ้นจากความระแวงสงสัยของผู้ใด แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์ทรงตระหนัก ถึงสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้เป็นอันดี"ซูเราะห์นูร :30

" และโอ้มุฮัมมัด เจ้าจงกล่าวกับหญิงผู้มีศรัทธาทั้งหลายว่า พวกนางจะต้องลดสายตาของพวกนางลงต่ำ อย่าได้มองส่วนของร่างกายผู้อื่นที่ต้องห้ามตามศาสนบัญญัิติ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นชายหญิงก็ตาม ส่วนตัองห้ามที่กล่าวมานั้นก็คือ ส่วนที่อยู่สะดือและหัวเข่า และหากพวกนางจะมองส่วนอันเกินไปจากนั้น ถ้าด้วยความกำหนัดก็ถือเป็นสิ่งต้องห้าม แต่ถ้าปราศจากความกำหนัดก็ไม่เป็นไร แต่การลดสายไม่มองไปที่คนต่างเพศ ซึ่งอยู่ในฐานะที่แต่งงานกันได้นั้น ย่อมจะเป็นผลดีแก่ตัวนางเอง และพวกนางต้องรักษาอวัยวะเพศของตนเองให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ อย่าได้ล่วงละเมิดต่อบทบัญญิติของศาสนา ด้วยการประพฤติผิดทางเพศเป็นอันขาด และจะต้องปกปิดให้มิดชิด และพวกนางอย่าได้เปิดเผยร่างกาย ที่อนุมัติให้เปิดเผยร่างกายที่มักส่วมใส่สิ่งประดับต่างๆ ต่อสายตาของบุคคลอื่นๆ ยกเว้่นบางส่วนของร่างกายที่อนุมัติให้เปิดเผยจากมันได้ คือใบหน้าและฝ่ามือ และพวกนางจะต้องใช้ผ่าคลุมศรีษะคลุมคอเสื้อของนางให้มิดชิด โดยให้ผ้าที่คลุมศรีษะนั้นทำความยาวลงมาถึงส่วนคอเสื้อ และคลุมส่วนนั้นไว้มิให้ลำคอและหน้าอกเปิดเผยต่อสายตาผู้อื่น และพวกนางอย่าเปิดเผยร่างกายส่วนที่มักสวมใส่สิ่งประดับของพวกนาง อันนอกจากใบหน้าและฝ่ามือต่อสายตาของผู้ใดทั้งสิ้น นอกจากสามีของนาง หรือบิดาของนาง หรือลูกๆของนาง หรือลูกๆของสามี หรือพี่น้องของนาง หรือลูกๆของพี่น้องชายของนาง หรือลูกๆพี่น้องหญิงของนาง หรือบรรดาสตรีด้วยกัน หรือนางทาสที่ได้ถือกรรมสิทธิปกครอง หรือบรรดาผู้ชายผู้ติดตามคอยรับอาหารเหลือๆ ซึ่งเป็นผู้ปราศจากความต้องการทางเพศต่อผู้หญิงใดๆ หรือเป็นเด็กที่ไม่เดียงสาต่อวัยวะเพศหญิง เขาไม่มีความรู้สึกทางเพศเพราะยังเด็ก แม้จะได้มองว่าเห็นว่าร่างกายหรืออัวยวะบางส่วนของหญิงก็ตาม และนางทั้งหลาย อย่ากระทืบเท้าของนางให้เกิดเสียงดัง จากกำไลที่นางสวมใส่ เพื่อผู้อื่นจะได้ทราบว่า นางมีสิ่งประดับ เช่นกำไลเท้าที่นางสวมใส่โดยซ่อนเร้น ณ อวัยวะเพศที่นางต้องปิดบังให้มิดชิด คือข้อเท้าของนาง ซึ่งการกระทำเช่นนั้น เป็นการยั่วยวน เพศตรงข้ามให้สนใจต่อนาง และหญิงบางคนนั้นมักจะติดกระดิ่งไว้ที่กำไล เพื่อจะได้เกิดเสียงเวลาเดิน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ไม่บังควรอย่างยิ่ง และพวกเจ้าทั้งหลายพึงสารภาพผิดโดยพร้อมเพรียงกันเถิด โอ้ชนผู้มีศรัทธาทั้งหลาย เพื่อเจ้าทั้งหลายจะได้สมหวังโดยได้รับการอภัยโทษ และได้เข้าสวรรค์ในที่สุด" ซูเราะห์นูร :31
มีสิ่งอื่นๆอีกหลายเรื่องที่ได้อรรถาอธิบายไว้ในโองการ อัลกุรอ่านข้างต้น แต่สองสิ่งที่สำคัญซึ่งควรพิจารณาในที่นี่คือ
1.ไม่เป็นการบังควรแก่สตรีมุสลิมที่จะเปิดเผยโฉม และความสวยมีเสน่ห์ที่มาจากสัดส่วนที่น่าพิศมัยของนางเอง หรือได้มาจากการใช้เครื่องสำอาง และเครื่องประดับประดาบนเรือนร่างกายก็ตาม เว้นไว้แต่ส่วนที่พึงอนุญาตให้เปิดเผยได้ คำว่า " ซีนะต์ زينة " นั้นมีความหมายสองแง่ แง่แรกนั้นหมายถึงของในกาย คือความงาม ความสวย และความมีเสน่ห์ ที่เป็นธรรมชาติโดยของผู้หญิงโดยทั่วไป เช่น ผมดำ ลำคอยาว แขนเล็กเรียว และสะโพกอันกลมกลึง เป็นต้น ส่วนอีกแง่นั้นหมายถึง ความงามหรือความสวยที่ผู้หญิงไปแสวงหามาได้ ซึ่งเป็นของนอกกาย อย่างเช่น แหวน สร้อย และเป็นเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวมใส่ เป็นต้น
อะไรคือ " ซีนะต์ زينة" ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปกปิด มีคำอธิบายไว้เป็นสองประการได้ดังต่อไปนี้
ก. อธิบายว่าเป็นหน้าและมือ นี่เป็นความคิดเห็นของนักปราชน์ฟิกห์ส่วนใหญ่ ทั้งในอดีตและแม้แต่ในปัจจุับันก็ตาม
การตีความเช่นนี้ได้ยืนยันจากฮิจมะห์ หรือการลงมติว่าในช่วงการทำฮัจญ์ และในเวลาละหมาดนั้น สตรีมุสลิมจะต้องใช้อาภรณ์ปกปิดทุกส่วนของร่างกาย เว้นไว้แต่หน้าและมือเท่านั้น นั้นก็หมายความว่า สตรีมุสลิมจะต้องปกปิดส่วนที่เป็น " เอาเราะฮ์ " นั้นเอง ซึ่งการตีความมาจากเช่นนี้ มีรากฐานมาจากอัลฮาดิษ ที่ท่านศาสดา (ซ.ล.) ทรงมีวจนะว่า
" เมื่อผู้หญิงมุสลิมโตเป็นสาวเป็นนาง จนกระทั้งบรรลุซึ่งศาสนภาวะแล้วก็ไม่สมควรที่จะเผยส่วนใดของร่างกาย
นอกจาก.......นี่แล้ว ท่านศาสดาก็ชี้ไปที่หน้าและมือของท่าน"
ข. อธิบายว่ากรณีที่ไม่ต้องปกปิดนั้น เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยไม่สามารถยับยั้งได้ เช่นลมกรรโชกแรงจนทำให้กระโปรงเปิด หรือกำไลมือห้อยลงมาอยู่ที่มือ หรือเสื้อผ้าอาภรณ์ชั้นนอกที่สุด เป็นต้น.
2. ผ้าคลุมศรีษะหรือคุมุร นั้นควรจะให้ยาวพอที่จะปิดลำคอหรือญูยุบ ให้มิดชิด " คุมุุร " เป็นศัพท์พหูพจน์ของ " คิมัร " ในภาษาอาหรับซึ่งแปลว่า อาภรณ์ที่ใช้คลุมศรีษะ
" ญูยุบ " เป็นศัพท์พหูพจน์ของ " ไญยุบ " ในภาษาอาหรับซึ่งหมายถึง " คอเสื้อ " สรุปความได้ว่า อาภรณ์ที่ใช้คลุมศรีษะหรือคิมัรนั้น ไม่เพียงแต่ใช้คลุมผมอย่างเดียว แต่จะต้องให้ยาวถึงคอเสื้อ และยาวพอเพียงเพื่อคลุมบริเวณทรวงอกด้วย
2.เสื้อผ้าที่ส่วมใส่ต้องหลวมและไม่รัดรูปเงื่อนไขประการที่สองก็คือ สตรีมุสลิมจะต้องสวมเสื้อผ้าที่หลวมพอสัณฐานประมาณ เพื่อมิให้เกิดการเน้นที่สัดส่วนของร่างกาย หรือเพื่อมิให้เรือนร่างที่เว้าๆ นูนๆ ปรากฏชัดขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลกุรอ่านในซูเราะห์นูร อายะต์ที่ยกมาอ้างข้างต้นนี้ได้บัญญัติเอาไว้ และเป็นสิ่งทีมีความสำคัญยิ่งยวดในการปกปิด " ซีนะต์ زينة " ไม่ให้ใครเห็น เสื้อผ้าที่หลวมเพียงพอสัณฐานประมาณที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไป ถึงแม้จะเป็นเสื้อผ้าอาภรณ์ แต่กระนั้นก็ดี ยังบอกภาพพจน์ได้ถึงสัดส่วนของสตรีที่ส่วมมันอยู่นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัดส่วนที่มักจะชวนให้เป็นที่วาบหวามใจ แก่บุรุษเพศ เช่น หน้าอกหรือปทุมถัน เอว สะโพก และช่วงขา ถ้าหากสิ่งเหล่านี้มิใช่ความงามที่เรือนร่างของสตรีหรือ " ซีนะต์ زينة" แล้ว อะไรคืองามที่เรือนร่างของสตรีหรือ " ซีนะต์ زينة" กันเล่า
ครั้งหนึ่งที่ท่านศาสดา (ซ.ล.) ได้รับของขวัญเป็นผ่้าอาภรณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งได้ท่านได้มอบไปให้แก่อุสามะห์ บินเซด แต่เซดกับเอาผ้านั้นไปให้ภรรยาของเขาอีกทอดหนึ่ง อยู่ต่อมาวันหนึ่งท่านศาสดาจึงได้ถามถึงเหตุผล ที่เซดไม่ได้สวมเสื้อผ้าอาภรณ์ชิ้นนั้น เซดจึงตอบว่า เขาได้ให้อาภรณ์ของเขานั้นแ่กภรรยาของเขาไปแล้ว ท่านศาสดาจึงได้กล่าวแก่เซดว่า " ท่านจงบอกภรรยาของท่านใช้ฆอลาละห์ใต้เสื้อผ้าอาภรณ์ชิ้นนั้นด้วย เพราะฉันหวั่นใจว่า ถ้าภรรยาของท่านเอาไปสวมใส่ อาจทำให้เกิดภาพพจน์ บรรยายได้ถึงขนาดของกระดูกผู้ส่วมใส่มันที่เดียว " ฮาดิษนี้มีบันทึกใน มุสนัด อะหมัด , อัลบัยฮากี
(คำว่า " ฆอลาละห์ " หมายถึง อาภรณ์หนาๆชิ้นหนึ่งที่สวมใส่ใต้ชุดเสื้อด้านนอก ป้องกันมิให้เห็นสัดส่วนของร่างกายได้)วิธีที่ดีที่สุดในการปกปิดของสัดส่วนของร่างกาย ก็คือการส่วมเสื้อผ้าคลุมทับอีกชั้นหนึ่ง ท่านศาสดา(ซ.ล.) ได้ทรงวจนะว่า
" ย่อมเป็นการพอเพียงแก่สตรีผู้ส่วมอาภรณ์โดยไม่ได้ใช้เสื้อคลุม หากอาภรณ์ชิ้นนั้น มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลัีกการของอิสลาม
ถึงแม้ว่านางจะไปละหมาดก็ตาม " อ้างอิงในหนังสือ ซัยยิด ซาบิค
3.เสื้อผ้าต้องหนาเงื่อนไขประการที่สาม ชุดที่มุสลิมะห์สวมใส่อยู่นั้นจะต้องมีความหนาพอ ที่จะไม่สามารถมองทะลุไปเห็นเนื้อหนังมังสาที่อยู่ใต้อาภรณ์นั้นได้ อีกทั้งจะต้องหนาพอเพื่อซ่อนซัดส่วน หรือสัดส่วนของร่างกายที่จำเป็นต้องปกปิดอีกด้วย
จุดมุ่งหมายของอายะฮ์นี้ (ซูเราะฮ์นูร :31) ก็เพื่อที่จะให้ปกปิดเรือนร่างของสตรีมุสลิมทั้งหมด ยกเว้นหน้าและมือ ดังนั้นจึงเห็นได้แน่ชัดว่าเราจะไปให้ถึงจุดมุ่งหมายปลายทาง ที่อรรถาอธิบายไว้ในอัลกุรอ่านได้อย่างไร ถ้าหากว่าเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สตรีมุสลิมสวมใส่อยู่นั้น ยังบางพอที่จะมองทะลุเห็นเนื้อหนังมังสาได้ หรือไม่ก็บางพอที่จะเห็นสัดส่วน หรือสัดส่วนของเรือนร่างได้ หรือบางทีก็บางพอที่จะเห็นความงามในเรือนร่างนั้นได้ สิ่งเหล่านี้ได้มีอรรถาอธิบายไว้แจ้งชัดมาก
จากวจนะของท่านศาสดา (ซ.ล.) ว่า
" ในพวกรุ่นหลังจากอุมมะต์ของฉัน จะมีสตรีที่สวมใส่เสื้อผ้าอาภรณ์แต่ว่าเปลีือย บนศรีษะของหล่อนก็จะมีอะไรคล้ายโหนกอูฐอยู่ สาปแช่งเถอะ
เพราะแท้จริงพวกนั้นถูกสาปแช่งแล้ว "
ในอีกวัจนะหนึ่งของท่านศาสดา (ซ.ล.) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า
" จะไม่มีโอกาสได้เข้าสวรรค์ หรือแม้กระทั้งโอกาสที่จะเชยชมกลิ่นไอของสวรรค์ " อัต ฏอบรอนี และซอเฮี้ยะมุสลิม
ครั้งหนึ่งอัสมะ (บุตรสาวของอบูบักร.) ได้ไปเยี่ยมเยียนพี่สาวของหล่อนถึงบ้่าน คือบ้านของนางอาอิชะห์ ซึ่งเป็นภรรยานางหนึ่งของท่านศาสดา (ซ.ล.)
เมื่อท่านศาสดา (ซ.ล.) ได้มองเห็นว่าอาภรณ์ที่อัสมะสวมใส่อยู่นั้นไม่หนาพอ ท่านก็เบือนหน้าหนีด้วยความไม่พอใจทีเดียว พร้อมกับพูดขึ้นว่า
" เมื่อผู้หญิงแตกเนื้อสาวจนบรรลุศาสนภาวะแล้ว ไม่เป็นการบังควรที่เธอจะเผยส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายให้ใครเห็น นอกจาก...... "
และท่านก็ได้ชี้ไปที่หน้าและมือของท่าน
4.ข้อกำหนดประการที่สี่ ก็คือ ลักษณะที่ปรากฏบนเครื่องแต่งกายโดยทั่วไปลักษณะที่ว่านี้คือ ชุดหรืออาภรณ์ที่ใช้การแต่งกายของสตรีมุสลิมจะต้องไม่เย้ายวน หรือเรียกร้องความสนใจให้บุรุษเพศหันมาชื่นชมกับความงามของตน อัลกุรอ่านได้จารึกไว้อย่างชัดแจ้ง เกี่ยวกับอาภรณ์ำการแต่งกายของสตรีมุสลิม ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกปิดซ่อนเร้น " ซีนะต์ " ไว้ให้อยู่ใต้อาภรณ์ที่สวมใส่อยู่เท่านั้น ด้วยสาเหตุนี้จากสตรีสวมเสื้อผ้าอาภรณ์ ที่ดึงดูดของบุรุษเพศได้แล้ว " ซ๊นะต์ " ที่อัลกุรอ่านได้ให้อรรถาอธิบายไว้จะถูกปกปิดซ่อนเร้นได้อย่างไรกัน
อัลกุรอ่านได้กล่าวถึงบรรดาภรรยาของท่านศาสดา (ซ.ล.) ในฐานะตัวอย่างสตรีของสตรีมุสลิมทั้งมวลว่า
" จงอย่าได้แต่งตัวประดับประดาแห่งกาลสมัยอนารยะชน " อัลอะห์ซาบ (33) : 33
ข้อกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อกำหนดที่สำคัญทั้งสี่หัวข้อแล้ว ซึ่งได้มีถูกบ่งบอกและอรรถาอธิบายไว้อย่างแจ่มชัด แล้วก็ยังมีข้อกำหนดอื่นๆ ที่แปรผันไปตามกาละเทศะ ซึ่งได้แก่
1.อาภรณ์ผู้หญิงที่ใช้สวมใส่จะต้องไม่ใช่ชุดที่ผู้ชายสวมใส่กัน จนเป็นที่รู้ว่าเป็นชุดของผู้ชาย ท่าน อิบนิ อับบาส ได้เล่าว่า " ท่านศาสดา (ซ.ล.) ทรงสาปแช่งผู้ชายที่ดูเหมือนผู้หญิง และผู้หญิงที่ดูเหมือนผู้ชาย " อัลบุคอรีย์ อบูดาวุด อะหมัด และอัดดาริบี
2.จะต้องไม่ใช่ชุดที่รู้่กันว่า เป็นชุดของผู้ทรยศ หรือผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) ข้อกำหนดนี้่มาจากหลักชารีอะห์ทั่วๆไป ที่ต้องการให้มุสลิมมีมติเอกลักษณะของตนเอง ที่แตกต่างจากการปฏิบัติ หรือต่างจากของกาฟิร
3. จะต้องไม่ใช่ชุดที่ฟู่ฟ่าพิสดาร หรูหรา และตกแต่งประดับมากเกินไป อีกทั้งมากจนแลเห็นความหยิ่งยะโสจากเสื้อผ้านั้นเอง ในทางตรงกันข้าม อิสลามก็ไม่ได้ใช้ให้เลิกสนใจกับการแต่งตัว ถึงขนาดที่เอาเสื้อผ้าเก่ามอซอ หรือผ้าขี้ริ้วมาใช้ โดยหวังให้มีคนชมเชยว่า ตนช่างเป็นคนที่สมถะโดยแท้ การแต่งตัวในลัษณะแบบแรกหรือแบบหลัง ไม่อยู่ในมาตรฐานการแต่งตัวของมุสลิม ตามครรลอง ของศาสนาอิสลาม
หนังสือ... ชูรูต ลิ้ลเมาดั๊วะ ลับซะ อาลามุสลิม
ผู้เขียน... ญะมาล อิบนุ บาดาวี
แปลไทย...พรคัมภีร์