
สมัยก่อนที่การแพทย์ยังไม่เจริญ เครื่องมือไม่ทันสมัยเท่าปัจจุบัน
ผู้หญิงมีท้อง (ที่ไม่ใช่ไขมันหน้าท้อง)ส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับการคลอด โดยเฉพาะท้องแรก
สภาวะจิตใจของผู้หญิงตั้งท้องอ่อนไหวมากเป็นพิเศษ หมอตำแยจึงมีบทบาทมากที่สุดค่ะ
หมอตำแยจะต้องได้รับวิชาในการทำคลอด บางคนได้รับสืบเป็นทอดๆในเชื้อสายของวงศ์ตระกูล
หากไม่มีสิ่งใดตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ ส่วนตัวแล้วก็ถือว่าไม่เป็นไร ไม่ทราบว่ามีใครเห็นต่างบ้างค่ะ?
ผู้หญิงตั้งท้องอ่อนๆ มักจะไปฝากท้องกันที่โรงพยาบาล แต่ส่วนหนึ่งก็ฝากกับหมอตำแยด้วย อันนี้สันนิษฐานว่า เพื่อความมั่นใจแบบดับเบิ้ล
หมอตำแยจะตรวจท้องเพื่อดูขนาดของอายุครรภ์ โดยการคลำหามดลูกแล้วกะขนาดอายุครรภ์ ชัวร์หรือไม่นั้นอยู่ที่ประสบกาณ์ของหมอแต่ละคน
หญิงตั้งท้องมักไปหาหมอตำแยทุกๆเดือน ควบคู่กับไปโรงพยาบาลเพื่อให้ตรวจท้อง โดยเฉพาะยามท้องแก่ใกล้คลอด สิ่งที่กลัวมากๆก็คือ
เด็กไม่กลับหัว ในทางการแพทย์ไม่ทราบเหมือนกันนะคะว่าแก้ไขอย่างไร ส่วนใหญ่ต้องทำคลอดโดยผ่าออกทางหน้าท้องอย่างเดียว
ในส่วนของหมอตำแย จะมีดุอาอ์ มีวิชา มีวิธีโกยท้องให้เด็กกลับหัวลง เพื่อให้เด็กคลอดออกมาในท่าปกติได้
ขณะโกยท้องหมอตำแยจะชโลมน้ำมันมะพร้าว เพื่อลดการเสียดสีท้อง ลดความเจ็บปวดได้
ในโรงพยาบาลตามต่างจังหวัด จะเชิญหมอตำแยส่วนใหญ่จะเป็นมุสลิม ไว้ประจำห้องคลอด เข้าช่วยในการคลอดในยามที่เด็กไม่กลับหัว
สิ่งสำคัญ...หญิงตั้งท้องต้องตั้งมั่นที่จะมอบหมายให้การคลอดเป็นไปด้วยความอนุมัติของอัลลอฮ์ตะอาลาค่ะ
สำหรับข้อตกลงที่หญิงตั้งท้องต้องทำกับหมอตำแยนั้น หากไม่มีส่วนตั้งภาคีกับอัลลอฮ์ก็ไม่มีข้อห้ามให้ทำนี่คะ หากว่ามีอยากให้นำเสนอค่ะ
ส่วนใหญ่หญิงตั้งท้องจะนำผ้าถุงพร้อมซอดาเกาะฮ์เงินจำนวนหนึ่งแล้วแต่สมัครใจจะให้หมอตำแย พร้อมเนียตตั้งใจว่าจะคลอดกับหมอตำแยคนนี้
ซื่งทางที่ดีแล้ว หญิงตั้งท้องควรเนียตว่า คลอดโรงพยาบาล หรือคลอดกับหมอตำแย ก็ได้ขอให้สะดวก ณ เวลานั้นๆ ด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์
เท่านี้คงไม่มีปัญหาซักเท่าไหร่ บางคนอยากคลอดกับหมอตำแย เวลาเจ็บท้องคลอด มีญาติพี่น้องมาให้กำลังใจกัน ทำให้อุ่นใจมากๆ
ยิ่งเวลาที่จวนจะคลอด ญาติพี่น้องช่วยกันเบ่งตามไปด้วย ลมเบ่งจะได้มาเร็วๆ ทีนี้น้องก็ออกมาเร็วๆเช่นกัน

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การคลอดกับหมอตำแยถือว่าเสี่ยงเช่นกัน ในรายที่ตกเลือด หรือคลอดไม่ออก ถือว่าเสี่ยงมากๆ
โรงพยาบาลจะดีที่สุดทั้งความสะอาดและอุปกรณ์ช่วยคลอด
การอาบน้ำ 7 เดือนไม่คุ้นหูเท่าไหร่ แต่ถ้าทำแล้วไม่ขัดกับหลักการศาสนาก็ทำได้เช่นกัน
หมอตำแยอาจทำน้ำดุอาอ์แล้วอาบให้แก่หญิงมีครรภ์ เพื่อให้คลอดง่าย หรือเป็นบารอกะฮ์ เพื่อให้สภาพจิตใจเข้มแข็งซัยตอนไม่รบกวน
อย่าลืมว่า สมัยก่อนบรรดาสิ่งโสมมมีมาก คนเล่นไสยศาสตร์ มนต์ดำเยอะ หญิงตั้งท้องจิตใจอ่อนไหว อาจโดนได้ง่าย จึงต้องมีการป้องกันด้วยกับดุอาอ์
การผ่ามะพร้าว เพื่อให้คลอดง่าย หากดูดีๆแล้ว ก็เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่หญิงท้องแก่นะคะ ให้เธอมีความมั่นใจในการคลอดมากกว่าเดิม
เมื่อท้องแก่ใกล้คลอด หมอตำแยจะเคี่ยวน้ำมันมะพร้าว ให้หญิงใกล้คลอดจิบทีละนิดจนคลอด
เชื่อกันว่า จะทำให้หัวเด็กลื่นคลอดง่าย ไม่เจ็บไม่ปวดทรมานมาก ดูไปแล้ว ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ขัดกับหลักการและภูมิปัญญาชาวบ้าน
ขั้นตอนต่างๆที่กล่าวมา หากเราทำด้วยความพอดี ไม่ตั้งภาคี ไม่สุรุ่ยสุร่าย (เช่นการทำบุญจัดเลี้ยง )น่าที่จะส่งเสริมให้สืบทอดต่อๆไป
วัลลอฮ์อะลัม
คิดออกจะมาต่ออีกนะคะ