ผู้เขียน หัวข้อ: รบกวนสอบถามเรื่องละหมาดวันศุกร์หน่อยครับ  (อ่าน 1907 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ yunus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 166
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

 :salam:

ผมเป็นคน หมู่บ้าน ก  แต่ไปทำงานที่ต่างจังหวัดและสร้างบ้านอาศัยอยู่ที่จังหวัดนี้
แต่ การเนียตของผมผมยังคิดว่าตนเองเป็นคนหมู่บ้าน ก อยู่  แต่ผมก็ไปละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดที่ผมทำงานนั่นแหละ แต่อยากทราบว่าผมเข้าข่ายมุสาเฟร หรือมุสเตาติน ครับ
คือมีปัญหายังงี้ครับ มัสยิดที่ผมละหมาดอยู่ อิมามไม่ค่อยมีความน่าเชื่อถือเท่าไหร่
แต่ อีกหมู่บ้านนึงใกล้ ๆ กัน มีมัสยิดอีกลูกนึง ผมจะไปละหมาดวันศุกร์ที่นั่นเป็นประจำ
แต่มีวันนี้มี คนนึงทักขึ้นมาว่าผมจะมาละหมาดที่นี่ไม่ได้ ต้องไปละหมาดที่ที่ผมสร้างบ้านอยู่
เพราะผมไม่ได้เป็นคนมุสาเฟรแล้ว

ปล. ตั้งคำถามในหมวด ถามตอบปัญหาศาสนาแล้ว แต่มันไม่เห็น เลยมาตั้งในหมวดนี้
เพื่อพี่น้องท่านอื่น จให้คำตอบได้เร็วขึ้น

ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ ฮุ้นปวยเอี๊ยง

  • رَبِّ زدْنِيْ عِلْماً
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 994
  • เพศ: ชาย
  • وَارْزُقْنِيْ فَهْماً
  • Respect: +116
    • ดูรายละเอียด

بسم الله الرحمن الرحيم                                      

اللهم صل وسلم على سيدنا محمد عبدك ورسولك النبي الأمي و على آله وصحبه وبارك وسلم
  
ท่านอีหม่ามนาวาวีย์กล่าวไว้ในหนังสือ منهاج الطالبين ในบทที่เกี่ยวกับละหมาดวันศุกร์ว่า

الرابع " من الشروط " الجماعة وشرطها كغيرها وأن تقام بأربعين مكلفا حرا ذكرا مستوطنا لا يظعن شتاء ولا صيفا إلا لحاجة

        และประการที่ 4 จากเงื่อนไขของการเซาะห์ละหมาดวันศุกร์คือการญามาอะห์ จะต้องประกอบไปด้วยสี่สิบคนบรรลุศาสนภาวะที่เป็นอิสระชนและเป็นสุภาพบุรุษและวายิบต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในถิ่นฐานของเขาโดยที่เขาไม่ได้ออกเดินทางในฤดูหนาวและฤดูร้อนนอกเสียจากจะมีเหตุจำเป็น

ท่านอีหม่ามคอฏีบชัรบีนีย์ได้ขยายความคำพูดของท่านอีหม่ามนาวาวีย์ในหนังสือของท่านไว้ว่า

  شتاء ولا صيفا إلا لحاجة  كتجارة وزيارة فلا تنعقد بالكفار ولا بالنساء والخناثى وغير المكلفين ومن فيهم رق لنقصهم ولا بغير المستوطنين كمن أقام على عزم عوده إلى وطنه بعد مدة ولو طويلة كالمتفقه والتجار لعدم التوطن ولا بالمتوطنين خارج محل الجمعة وإن سمعوا النداء لعدم الإقامة بمحلها.


คำว่าเหตุจำเป็นหรือมีความต้องการตรงนี้คือ การออกไปค้าขาย ออกไปเยี่ยมเยียน ดังนั้นไม่ใช่เพราะเหตุว่ามีข้อผูกมัด สัญญากับบรรดาศาสนิกอื่นเพื่อที่จะบรรลุจุดประสงค์ โดยมีการละทิ้งละหมาดวันศุกร์ และไม่ตกวายิบสำหรับสุภาพสตรีและกระเทย(มีอวัยวะสืบพันธุ์สองเพศ) และก็ไม่วายิบตกหนักบนผู้ที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ และผู้ที่เป็นทาส และไม่วายิบอีกเช่นกันต่อผู้ที่ไม่ได้อยู่อาศัยในถิ่นฐานของเขาเอง เสมือนกับบุคคลที่มาอาศัยในถิ่นฐานใดถิ่นฐานหนึ่ง(มุกีม)โดยมีความตั้งใจว่าเขาจะกลับไปยังบ้านเกิดเมืองนอนของเขา ถึงแม้ว่าใช้เวลายาวนานหลายปีก็ตาม เช่น ครู อาจารย์ และผู้ค้าขาย ในต่างถิ่น และผู้ที่อยู่ในถิ่นฐาน(มุสเตาฏิน)นั้น ถือว่าจะยังออกไปจากสถานที่ของตัวเอง ที่มีการละหมาดวันศุกร์ยังไม่ได้ หากพวกเขาเหล่านั้นได้ยินเสียงการอาซานแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการ อีกอมัตเพื่อละหมาดก็ตาม

มุฆนีย์อัลมั๊วะห์ตาจญ์ เล่ม 1 หน้า 388-389 ดารุลกุตุบอิลมียะห์

ในกรณีของบัง yunus  น่าจะอยู่ในกลุ่ม  مقيم (ผู้มาอาศัยชั่วคราว)ไม่ใช่มุสเตาฏินและมุซาฟิร เพราะบังมีเหนียตว่าจะกลับบ้านและยังมีใจเป็นคนในถิ่นเดิมอยู่

ผิดถูกยังไงก็ขอมาอัฟกับคำตอบและคำแปลด้วยครับ งงๆกับสำนวนกีตาบ อิอิ  party:

ออฟไลน์ yunus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 166
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ญะซะกัลลอฮุค็อยร็อน

บังก็รู้มาเช่นนี้เหมือนกัน

อยากถามต่ออีกสักนิดนึงว่า  ความหมายของคำว่า คนมุสเตาฏิน มันเป็นยังไง

เช่น อาศัยอยู่ดั้งเดิม เพิ่งมาอาศัยแต่เหนียตว่าจะอยู่และตายฝังที่นี้  หรือ ผู้เดินทางตั้งใจมาพักที่นี้อย่างน้อย 4 วัน

พอจะให้ความหมายได้ไหมครับ 


ออฟไลน์ amad 254

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 176
  • Respect: +48
    • ดูรายละเอียด
ญะซะกัลลอฮุค็อยร็อน

บังก็รู้มาเช่นนี้เหมือนกัน

อยากถามต่ออีกสักนิดนึงว่า  ความหมายของคำว่า คนมุสเตาฏิน มันเป็นยังไง

เช่น อาศัยอยู่ดั้งเดิม เพิ่งมาอาศัยแต่เหนียตว่าจะอยู่และตายฝังที่นี้  หรือ ผู้เดินทางตั้งใจมาพักที่นี้อย่างน้อย 4 วัน

พอจะให้ความหมายได้ไหมครับ 



 :salam: ครับ 

คนมุสเตาฏิน  นั้นหมายถึง ผู้ที่เหนียตจะตั้งถิ่นฐาน หรือ อาศัยอยู่ถาวร โดยไม่ต้องการย้ายไปที่อยู่ที่อื่นๆ ถึงแม้จะวันเดียวแต่เราเหนียตที่จะตั้งถิ่นฐานและไม่ย้ายไปไหนก็เป็น มุสเตาฎิน ของหมู่บ้านนั้น แต่ถ้า กรณีเราออกไปเที่ยวต่างจังหวัด 3-4 วัน ตรงนี้เรียกผู้เดินทาง หรือ มูซาเฟร ไม่วายิบ ละหมาดวันศุกร์ ถ้าไม่ได้ยินเสียงอาซาน ถ้าได้ยินเสียงอาซานก็ วายิบละหมาดวันศุกร์ในที่เราหยุดพักแล้วได้ยิน เสียงอาซาน ของ การละหมาดวันศุกร์  และ มูซาเฟร นั้น ก็อนุญาติให้ละหมาด ย่อ และ รวมได้ แต่ไม่เกิน 4 วัน กรณีที่หยุดพักในที่ๆ เดียว

สำหรับ ท่าน yunus นั้น จะเป็น คนมูเก็ม หรือ ผู้ที่หยุดพัก ซึ่ง วายิบ ละหมาดวันศุกร์ในที่ๆที่มีเสียงอาซาน ที่เราหยุดพักอยู่ แต่เราสามารถไปละหมาดวันศุกร์ มัสยิดไหนก็ได้ เพราะไม่ใช่ มุสเตาฎิน หรือ ผู้ที่เหนียตจะตั้งถิ่นฐานอยู่ถาวร แลผู้ที่เป็น มูเก็มนั้นจะไม่เป็น กฎเกณร์ในการนับ 40 คนเพื่อ เซาะห์ (ใช้ได้)ในการละหมาดวันศุกร์
            แต่จะ ฮารอม ต่อเมื่อ ผู้ที่เป็น มุสเตาฎิน ละทิ้ง มูเก็มของตนเอง แล้ว มูเก็มของตนเองไม่ครบ จำนวนตามที่เป็น กฎเกณร์ในการ(40คน) เซาะห์ ละหมาดวันศุกร์ ทำให้มูเก็มของตนเองไม่เซาะห์ ที่จะทำการละหมาดวันศุกร์ 

   ฉะนั้น บังยูนุส ก็สามารถไปละหมาดได้ตามสะดวกที่จะเลือกมัสยิด ที่รู้สึกว่า ดีกว่า สำหรับตัวเอง   ใครก็ตามนั้น ถึงจะอยู่เป็น 10 ปี 20 ปี แต่ไม่เหนียตจะอยู่ถาวรหรือตั้ง ถิ่นฐานอยู่และไม่ย้ายไปไหนอีก ก็เป็น คนมูเก็ม เท่านั้น (อยู่ที่เหนียต) เช่น ผู้ที่เรียนหนังสือ ตามปอเนาะต่างๆ ถึงแม้เขาจะอยู่ ถึง 20 ปีก็ตาม ก็เป็นแค่คนมูเก็มเท่านั้น(อยู่ที่เหนียต)                 
                             หนังสือ อ้างอิง بغية الطلاب (ภาษามาลายู) ของ เซค ดาวุด บิน อับดุลเลาะห์ ฟาตอนี   วัสลาม

 

ออฟไลน์ yunus

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 166
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
วะอะลัยกุมุสลาม

ญะซะกัลลอฮุค็อยร็อน

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
จากความเข้าใจของผมนะ จุดกำหนดว่าคนๆ หนึ่งจะเป็น "มุสเตาฏีน" (ผู้อาศัยถาวร) หรือ "มุกีม" (ผู้อาศัยไม่ถาวร) นั้นอยู่ที่ "นียะฮ์" (การตั้งเจตนา) ของบุคคลคนนั้นว่า เขาตั้งใจจะอาศัย ณ สถานที่นั้นอย่างถาวรหรือไม่ ซึ่งระยะเวลาความยาวนานที่เขาได้อยู่ ณ สถานที่นั้นจะไม่ได้เป็นจุดกำหนดว่าเขาจะเป็นสถานะใดสถานะหนึ่งจากทั้งสองข้างต้นนั้นแต่อย่างใด, ผิดถูกยังงัยก็ท้วงติงได้ครับ - วัลลอฮุอะอ์ลัม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

 

GoogleTagged