ผู้เขียน หัวข้อ: สติปัญญากับจิตใจ  (อ่าน 1926 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Beechern

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1228
  • เพศ: ชาย
  • What is the Perfect method to save our Akhirah?
  • Respect: +28
    • ดูรายละเอียด
สติปัญญากับจิตใจ
« เมื่อ: ส.ค. 09, 2010, 08:30 PM »
0

สติปัญญากับจิตใจ

วิทยปัญญา "ปัญญา่ของคนเราจะสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อได้เผชิญกับเหตุการณ์และเรียนรู้กับมัน ทฤษฎีที่เรียนรู้มาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สติปัญญาสมบูรณ์ฺได้"
 --> แก้ไขเป็น "ปัญญา่ของคนเราจะสามารถสมบูรณ์ขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อได้ฝึกฝนจิตใจ ได้เผชิญกับเหตุการณ์และเรียนรู้กับมัน ทฤษฎีที่เรียนรู้มาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สติปัญญาสมบูรณ์ฺได้"

ประสบการณ์ "ปัญหาของคุณคือปัญหาของคุณ ปัญหาของฉันคือปัญหาของฉัน ฉันไม่สนว่าคุณจะเดือดร้อนหรือไม่ แต่ฉันต้องการจะทำแบบนี้"

กล่าวคือ เป็นลักษณะของบุคคลที่มีความต้องการต่างกัน แต่ด้วยความต้องการดังกล่าวผลักดันทำให้กระทำการอย่างใดๆโดยที่ิิอิงตัวเองเป็นหลัก โดยที่ไม่สนใจว่าจะกระทบกับคนอื่นอย่างไร

ประสบการณ์ครั้งแรก ที่การไว้ใจ แต่เนื่องจากมีเป้าหมายที่เกียรติยศอำนาจ จึงทำให้เกิดภาวะสร้างความคลุมเคลือในกิจการงานร่วม ทำให้อีกฝ่ายได้รับผลกระทบ โดยที่ไม่ใช่ผลกระทบต่อตัวเอง ครั้งนี้นับเป็นประสบการณ์ครั้งใหญ่

ประสบการณ์ครั้งต่อๆมา เมื่ออำนาจวาสนาลดลง ความนับถือจึงลดลง ประกอบกับภาวะแวดล้อมรอบข้างที่เข้ามากับผู้คนกลุ่มใหญ่ และจากผู้มีอำนาจ ทำให้การทำงานเริี่่มมีจุดขัดข้อง ต้องอาศัยอำนาจจากผู้มีอำนาจจริงเท่านั้น งานถึงจะเดิน แต่งานจะไม่เดินด้วยกับหน้าที่และความไว้ใจและความรู้สึกร่วมของทีม

ใช้ความรู้สึกพยายามเข้าใจในช่วงหนึ่ง ถึงบททดสอบต่างๆที่ถาโถมเข้ามา (ช่วงนี้นานพอสมควร) ช่วงดังกล่าวนั้นก็ยังคงมีอะไรต่างๆถาโถมเข้ามา โดยเฉพาะจากผู้มีอำนาจ ทำให้จิตใจขาดความมั่นใจไป แน่นอนว่ามันเป็นบททดสอบ และอัลเลาะฮ์ตะอาลาจะไม่ทดสอบเกินความสามารถของคนๆนั้น อัลฮัมดุลิลละฮ์ บททดสอบเรื่องบุคคลดังกล่าวข้างต้นก็เริ่มหยุดหายไป หลังจากนั้น ..! แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญ..!

วันนี้มาอีกแล้ว หลังจากภาวะจิตใจได้รับการื้อฟื้นขึ้นมาอีกหลายระดับ อัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ส่งบททดสอบดังกล่าวเข้่ามาอีก คล้ายกับว่าเป็นโอกาสจากพระองค์เพื่อให้เราได้ฝึกฝนสติปัญญากับภาวะจิตใจ และแน่นอนว่ากระทบในช่วงแรกของเวลาที่ประสบปัญหา แต่หลังจากนั้นไม่นาน หลังจากได้สะสางงานสำคัญของเราที่ถูกมองเห็นว่าไม่สำคัญของอีกฝ่าย และได้ขบคิดถึงปัญหา ทำให้รับรู้ได้ทันทีว่า นี่ เป็นโอกาสจากพระองค์อัลเลาะฮ์ตะอาลา ส่งผ่านบททดสอบของพระองค์ เพื่อให้เราได้รับความเมตตาจากพระองค์

insha Allah ครั้งหน้า เราจะสามารถรู้ได้ในทันทีที่ปัญหาประสบ ไม่ใช่ต้องรอเวลาสักพัก ...

ดังนั้น การพบเจอบททดสอบปัญหาเดิม แต่อาจเปลี่ยนลักษณะโจทย์ไปบ้าง แต่ได้พบปัญหาลักษณะนี้ซ้ำ แล้วเราไม่ได้มองข้าม ทำให้เราได้เรียนรู้ จึงเป็นที่มาของวิทยปัญญาที่ว่า :
"ปัญญา่ของคนเราจะสามารถสมบูรณ์ขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อได้ฝึกฝนจิตใจ ได้เผชิญกับเหตุการณ์และเรียนรู้กับมัน ทฤษฎีที่เรียนรู้มาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สติปัญญาสมบูรณ์ฺได้"

สรุปได้อีกว่า "เราต้องมองเห็นว่าบททดสอบคือโอกาสจากพระองค์ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะมองออกหรือไม่ว่าโอกาสนั้นคืออะไร ดังนั้น บททดสอบจึงอาจจำเป็นต้องมีซ้ำๆไปเพื่อให้เราได้เรียนรู้" วัลลอฮุอะอ์ลัม

การมองเห็นโอกาสนั้นออก ไม่ใช่มองเห็นได้ด้วยเพียงรับรู้ด้วยสติปัญญา แต่หมายถึงจิตใจต้องรับรู้ และซึมซับปัญหาดังกล่าว ทำให้เกิดภาวะสติปัญญามาควบคุมจิตใจ และจิตใจเกิดความสงบ ไม่กระทบกระเทือนกับปัญหาดังกล่าว

อัลเลาะฮ์ทรงรู้ดีที่สุด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 09, 2010, 11:22 PM โดย beechern »
hidayah seeker . . .

ออฟไลน์ Beechern

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1228
  • เพศ: ชาย
  • What is the Perfect method to save our Akhirah?
  • Respect: +28
    • ดูรายละเอียด
Re: สติปัญญากับจิตใจ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ส.ค. 09, 2010, 08:54 PM »
0
เข้าใจเพิ่มขึ้นมาอีกว่า หากใครเขาเข้ามาขอบคุณ หรือเข้ามาขอโทษ นั่นคือคนที่ไม่เข้าอยู่ในบุคคลด้งกล่าวข้างบน ดังนั้น จงรับในสองคำพูดดังกล่าวไว้ ...

สงสัยเพิ่มขึ้นมาอีกว่า ถ้าหากการทำวิริดมีมากขึ้น จิตใจจะสงบมากขึ้นหรือไม่ ..??
hidayah seeker . . .

ออฟไลน์ ItQan

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 177
  • Reflection
  • Respect: +50
    • ดูรายละเอียด
Re: สติปัญญากับจิตใจ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ส.ค. 09, 2010, 11:13 PM »
0
เข้าใจเพิ่มขึ้นมาอีกว่า หากใครเขาเข้ามาขอบคุณ หรือเข้ามาขอโทษ นั่นคือคนที่ไม่เข้าอยู่ในบุคคลด้งกล่าวข้างบน ดังนั้น จงรับในสองคำพูดดังกล่าวไว้ ...

สงสัยเพิ่มขึ้นมาอีกว่า ถ้าหากการทำวิริดมีมากขึ้น จิตใจจะสงบมากขึ้นหรือไม่ ..??

วิริด คือการซิกรุลเลาะฮ์้เช้าเย็น การซิกรุลเลาะฮ์มากๆ ทำให้หัวใจสงบ ดังที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

"ألا بذكر الله تطمئن القلوب"

พึงทราบเถิดว่า การซิกรุลเลาะฮ์นั้นทำให้หัวใจสงบ"

ดังนั้น หากมีการซิกรุลเลาะฮ์มาก หัวใจก็จะสงบมากตามลำดับ
أللهم اخرجنا من ظلمات الوهم وأكرمنا بنور الفهم ... آمين يارب العالمين
โอ้อัลเลาะฮ์ ขอพระองค์ทรงให้เราออกห่างจากความมืดมนแห่งความคิดคลุมเครือ  และให้เกียรติเราได้วยรัศมีแห่งความเข้าใจ... อามีน ยาร็อบ

ออฟไลน์ Beechern

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1228
  • เพศ: ชาย
  • What is the Perfect method to save our Akhirah?
  • Respect: +28
    • ดูรายละเอียด
Re: สติปัญญากับจิตใจ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ส.ค. 09, 2010, 11:28 PM »
0
เข้าใจเพิ่มขึ้นมาอีกว่า หากใครเขาเข้ามาขอบคุณ หรือเข้ามาขอโทษ นั่นคือคนที่ไม่เข้าอยู่ในบุคคลด้งกล่าวข้างบน ดังนั้น จงรับในสองคำพูดดังกล่าวไว้ ...

สงสัยเพิ่มขึ้นมาอีกว่า ถ้าหากการทำวิริดมีมากขึ้น จิตใจจะสงบมากขึ้นหรือไม่ ..??

วิริด คือการซิกรุลเลาะฮ์้เช้าเย็น การซิกรุลเลาะฮ์มากๆ ทำให้หัวใจสงบ ดังที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

"ألا بذكر الله تطمئن القلوب"

พึงทราบเถิดว่า การซิกรุลเลาะฮ์นั้นทำให้หัวใจสงบ"

ดังนั้น หากมีการซิกรุลเลาะฮ์มาก หัวใจก็จะสงบมากตามลำดับ

พอกลับถึงบ้าน ก็เข้าใจได้ในอายะฮ์อัลกุรอานข้างบน...
ทำให้เข้าใจถึงอีกฮิกัมเล่มแรกได้มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ เข้าใจเลยว่าทุกวันนี้โลกจับอยู่ในหัวใจของเราเยอะ

jazakillah สำหรับอายะฮ์อัลกุรอาน

คงต้องซิกรุลลอฮ์มากกว่านี้ --"
hidayah seeker . . .

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: สติปัญญากับจิตใจ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พ.ย. 17, 2013, 06:29 PM »
0
ยามเมื่อเราหมกมุ่นต่อสิ่งใด สิ่งนั้นจะจับแน่นที่จิตใจเรา
และเมื่อเราปล่อยให้การหมกมุ่นต่อสิ่งนั้นอยู่กับเรานานๆ จากวันเป็นเดือน
จากเดือนเป็นปี จากปีก็กลายเป็นหลายปี สิ่งดังกล่าวก็จะยิ่งจับแน่นอยู่ ณ หัวใจเรา
ยากจะเอาออกไปได้ อาจทำให้เรากลายเป็นคนย้ำคิดย้ำทำอยู่กับสิ่งนั้นๆ...

และเมื่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺแทรกเข้ามา อะไรที่เรากำลังหมกมุ่นอยู่ก็จะหายไป(เพียงชั่วขณะนั้น)
แล้วต่อมาเมื่อเรากลับไปหมกมุ่นกับมันอีก มันก็จะมาเกาะกุมจิตใจเราอีก...
แต่เมื่อเรารำลึกถึงอัลลอฮฺอีก มันก็จะจากเราไปอีก...

ดังนั้น...ไม่ว่าอะไรที่เข้ามาทำให้จิตใจเราหมกมุ่นอยู่กับมัน และมันได้ทำให้หัวใจเราขุ่นมัว
หรือทำให้จิตใจเรากระวนกระวาย วิธีแก้ไขก็คือ พยายามรำลึกถึงอัลลอฮฺ...
ยิ่งบ่อยเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งลดการหมกมุ่นนั่นน้อยลงเท่านั้น...
เนื่องจากในทุกๆวัน เราอยู่กับดุนยา อยู่กับผู้คน อยู่กับกิจการงานต่างๆ
ทุกๆอย่างนี้จะเป็นส่วนที่คอยบดบังเรา ยิ่งเวลาละหมาดสามารถพิสูจน์ได้ชัดเจนเลยว่า
ภาพที่เราเห็น มักจะเป็นภาพดุนยา...โดยที่ยากจะเอาภาพนั้นๆออกไปได้...
ซึ่งภาพเหล่านั้นจะเป็นกำแพงปิดเราจากการเข้าหาอัลลอฮฺ...

เพราะเมื่อเราซูหยูด แทนที่เราจะรำลึกถึงอัลลอฮฺ จดจ่ออยู่กับอัลลอฮฺ เนื่องจากเรากำลังทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ
มันก็ไม่บังควรเลยที่เราจะนึกถึงสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ
แต่ด้วยความหมกมุ่น และด้วยความอ่อนแอของเราจากภายใจ จึงทำเรากลับนึกไปถึงว่า
วันน้ีเราจะกินอะไรดี จะทำอาหารอะไรให้พ่อแม่กินดีนะ หรือเราจะใส่ชุดอะไรไปข้างนอก...
งานที่ทำค้างไว้จะมีปัญหาอีกรึเปล่า พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร ญาติคนนั้นหายป่วยรึยัง ฯลฯ
สารพัดจะนึกไป...

ที่กล่าวไปนั้น ใช่ว่าตัวข้าน้อยจะทำเช่นนั้นได้อย่างสม่ำเสมอนะคะ
แต่ที่กล่าวไปเพราะว่า เป็นคนชอบหมกมุุ่นค่ะ แล้วก็มักย้ำคิดย้ำทำเป็นประจำ
จนทำให้จิตใจหม่นมัว แต่เมื่อไหร่ที่ได้รำลึกถึงอัลลอฮฺ ความหม่นมัวดังกล่าวก็หายไป(แบบชัั่วขณะ)
และมันจะกลับมาอีก เมื่อเรากลับไปจดจ่อและหมกมุ่นกับมันต่อ...

จึงรู้เท่าทันตัวเองว่า...จะทำอย่างไรกับตัวเองดี...


ปล.สติปัญญาจะทำให้เราแยกแยะผิดชอบชั่วดีได้โดยอัตโนมัติ
ผู้ที่ไม่อาจแยกแยะผิดชอบชั่วดีได้นั้น ย่อมแสดงว่า สติปัญญาของเขากำลังมีปัญหา
หรืออาจเกิดจากเขานั้นกำลังขาดสติ...ต่อให้ใครต่อใครจะมองคนๆหนึ่งซึ่งเห็นผิดเป็นชอบว่าเป็นคนฉลาด
แต่หากว่าการบริหารสมองของเขาเป็นไปในทางที่ไม่ดี ก็มีแต่จะทำให้จิตใจของเขามีจุดดำจับ

หากต้องการให้จิตใจสว่าง เราก็ต้องฝึกให้สติปัญญาของเราได้รู้จักผิดชอบชั่วดี
และแยกแยะสิ่งที่ดีและสิ่งที่ดีกว่าและดีที่สุดให้ได้เสียก่อน เมื่อแยกได้ จิตใจเรายอมรับ
การกระทำโน้มตาม แสงสว่่างก็จะค่อยๆบดบังจุดดำได้...ความหม่นก็จะค่อยๆหายไป
และเขาจะกลายเป็น "ผู้มีปัญญา"


ตอนเรียน อาจารย์เคยบอกว่า หากจะมองใครว่าจิตใจเป็นเช่นไร ให้มองดวงตา
เพราะ ณ ที่นั่น คือหน้าต่าง...คนจิตใจดี ดวงตาจะสว่างใส
และผู้มีปัญญา ดวงตาของเขาจะเข้มและสว่างด้วยรัศมี...

ที่คนเฒ่าคนแก่เวลาเจอใคร ท่านมักจะพูดว่า คนมีแววตาเช่นนี้แลคือคนมีปัญญา
ก็ยังเคยนึกๆอยู่ว่า ดวงตามันเกี่ยวอะไรกับปัญญา ในเมื่อปัญญามันขึ้นอยู่กับ
ความฉลาดทางสมองมิใช่หรือ...

แต่เมื่อเจอผู้คนมากขึ้น จึงได้เข้าใจว่า ผู้มีสมองอันชาญฉลาด
กับผู้มีปัญญา หาใช่ว่าจะเหมือนกัน...

เพราะส่วนประกอบสำคัญของผู้มีปัญญานั้น...คือ มาจาก

ความเฉลียวฉลาดทางสมอง บวกกับ ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์

คือ ผู้บริหารสมองได้ดี และยังบริหารอารมณ์ได้ดี ย่อมเป็นผู้มีปัญญา
แล้วมันจะฉายแสงออกมาทางดวงตา...

ซึ่งผู้จะมีปัญญาได้ จำเป็นที่จะต้องเป็นหนึ่งในบรรดาผู้มีความรู้...
เพราะความรู้เป็นบ่อเกิดปัญญา...และความรู้ที่แท้จริงจะก่อให้เกิดความดีงาม
ผู้ที่มีความรู้ที่แท้จริง จึงเป็นอีกหนึ่งคนที่มีศีลธรรมจรรยาที่ดีงามตามมา...


ประมาณนั้นน่ะค่ะ...

^^

จากการอ่านประวัติท่านรอซุลุ้ลลอฮฺ จึงอดยอมรับไม่ได้เลยว่า
ท่านเป็นผู้มีปัญญาและมีอีหม่านระดับสูงอย่างแท้จริง...
ยากที่ใครจะเลียนแบบได้เสมอเหมือน...ท่านคือต้นแบบที่ดีเลิศ...

วัสลาม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 17, 2013, 06:36 PM โดย nada-yoru »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged