ผู้เขียน หัวข้อ: มือน้อย ๆ ค่อยบรรจง (ของเด็กน้อยวัยแรกเกิด)  (อ่าน 2529 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด


มือน้อย ๆ ค่อยบรรจง



สาระสำคัญว่าด้วยการเรียนรู้บนพื้นฐานสมอง (Brain Base Learning) มักย้ำกันเพื่อไม่ให้โอกาสทองของชีวิตผ่านเลยไป นั่นก็คือ ในช่วงแรกเกิดถึงประมาณ 6 ขวบ เซลล์ประสาทจะเจริญเติบโตและเชื่อมต่อกันได้ดีในอัตราสูงกว่าวัยอื่น ๆ ดังที่สถาบันเพื่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ในสหรัฐอเมริกา (The Institues for Achievement of Human Potential) และกูรูด้านการพัฒนาเด็กบอกกล่าวเอาไว้ให้ผู้ใหญ่ได้ตระหนักเพื่อเกื้อกูลหนุนเด็กแต่เล็กแต่น้อย

...แรกเกิดเลยทีเดียวที่สมองของเด็กจะกระหายการเรียนรู้ในอัตราพุ่งแรงสุด มีความสามารถในการเรียนรู้สูง และสามารถจดจำความรู้นั้นได้ตลอดไป ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่อยู่คู่กับสติปัญญาที่เติบโตไปพร้อมกับเซลล์สมองของแต่ละคน แล้วก็อย่าลืมว่า ความสามารถในการเรียนรู้นี้จะเริ่มมีอัตราลดลงเมื่ออายุ 6 ปีขึ้นไป

สมองของเด็กพัฒนาได้จาการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก หากในช่วงนี้เด็กได้รับการฝึกฝนทักษะการใช้มือและนิ้ว จะทำให้สมองสร้างเครือข่ายใยสมอง และจุดเชื่อมต่อเซลล์สมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กก็จะพัฒนา ทำให้เกิดทักษะความคล่องตัวในการทำงานของกล้ามเนื้อในส่วนนั้น ๆ ด้วย

พัฒนาการของเด็กในช่วงขวบแรก ส่วนใหญ่จะเป็นด้านร่างกายและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor) เด็กจะค่อย ๆ ขยับมือและยื่นมือออกไปข้างหน้าได้ทีละข้างในช่วง 2 เดือนแรก และเริ่มเอื้อมมือไปคว้าสิ่งของได้ในช่วงประมาณ 4 เดือน ผลการวิจัยบอกว่าการกระตุ้นประสาทการมองเห็นของเด็กในระยะ 4 เดือนแรก มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก ภาพที่เด็กมองเห็นตั้งแต่เล็ก ๆ จะค่อย ๆ สะสมเป็นประสบการณ์ทีละนิด ๆ และเป็นบันไดรากฐานการเรียนรู้เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่วัยเรียน การรับรู้และความเข้าใจจะ เร็วกว่าเด็กที่ไม่เคยถูกกระตุ้นให้ดูภาพต่าง ๆ ในช่วงแรก ๆ ของชีวิต

ในช่วง 9 เดือน ถึง 18 เดือน เด็กจะมีการเคลื่อนไหวของมือที่ละเอียดขึ้น มีการประสานการมองเห็น ได้ยิน รับรู้ และมีการเคลื่อนไหวได้มากขึ้น  เรียกว่าเป็นช่วงของการรับรู้และการประสานงานระหว่างการเห็นกับการเคลื่อนไหว (Sensory Motor Coordination) ส่วนพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor) เช่น มือ นิ้วมือ จะเริ่มพัฒนาหลังจากนั้น (ราว ๆ 18 เดือนขึ้นไป) จะสังเกตว่าในช่วงนี้ เด็กจะเริ่มใช้มือจับดินสอหรือสีแท่งโต ๆ ขีดเขียนได้

การที่เด็ก ๆ ขีด ๆ เขียน ๆ เป็นการสั่งของสมองไปถึงมือ มือทำตามสมองสั่งนั่นเอง ครั้งแล้วครั้งเล่านับไม่ถ้วน ซึ่งก็มีผลทำให้สมองพัฒนาขึ้น มือแข็งแรงขึ้น


สำหรับเด็กเล็กนั้น การขีดเส้นเพียงเส้นเดียวลงบนกระดาษ ถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะถ้าเส้นนั้นเป็น "เส้นแรก" ในชีวิตของเด็ก ก็ยิ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่า เด็กได้พัฒนาสติปัญญาจากความคิดที่เป็นนามธรรมมาสู่การสร้างสรรค์เป็นรูปธรรมได้แล้ว

เด็กเล็ก 2-3 ขวบ อาจใช้ดินสอสีขีดวนไปเรื่อย ๆ โดยไม่สนใจว่าเป็นรูปอะไร ซึ่งมักเป็นพฤติกรรมที่พบโดยทั่วไป และเมื่อลากเส้นมาได้ระยะหนึ่ง ก็อาจะเปลี่ยนเป็นระบายดินสอไปมาอยู่กับที่ในลักษณะของการแรงเงา นี่ก็นับได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์ในทางที่ก้าวหน้าขึ้นมาอีกระดับแล้ว!

เด็กที่อายุไม่ถึง 5 ขวบ การใช้กล้ามเนื้ออันซับซ้อนจะยังไม่ถนัด ทั้ง ๆ ที่เห็นชัดว่า เด็กสามารถวิ่งหรือกระโดดโลดเต้นได้ดี แต่นั่นเป็นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ได้แก่ แขน ขา และลำตัว เป็นต้น ส่วนการใช้กล้ามเนื้อที่ละเอียด เช่น ฝ่ามือ นิ้วมือ และการประสานงานระหว่างตาและมือยังไม่เจริญเต็มที่ หากมีการฝึกฝนจะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการในด้านนี้ได้ดี


ในเด็กเล็ก กล้ามเนื้อมือและนิ้วจะยังไม่แข็งแรงเหมือนแขน ขา และลำตัว กระดูกข้อมือยังอ่อน กล้ามเนื้อยังขาดกำลังที่จะทำงานละเอียด การเตรียมความพร้อมของร่างกายด้วยการให้เด็กหัด "ขีดเขียน" และ "วาดเขียน" จึงเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นฐานไปสู่การเขียนและเรียนรู้หนังสือในเวลาต่อไป


---------------------------------------------
คัดลอกมาจาก: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. การ์ตูน : มหัศจรรย์แห่งการพัฒนาสมองและการอ่าน. (กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก, 2553), หน้า 25-28.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ต.ค. 06, 2010, 10:30 AM โดย as-satuly »

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด

พอดีไปอ่านและค้นคว้าเจอมาในหนังสือเล่มอ้างอิงดังกล่าว ซึ่งถึงแม้ว่าเนื้อหาสาระจะมาจากหนังสือทั่วไปก็ตาม แต่หากว่ามันมีเนื้อหาที่ดีและสาระน่ารู้ เหมาะแก่การนำมาเป็นบรรทัดฐานแก่การสร้างกระบวนการพัฒนาการของเด็ก ๆ ตัวน้อย ๆ นั่นเอง เพราะวัยช่วงแรกเกิดนี่แหละ เป็นช่วงวัยที่สำคัญแก่บรรดาพ่อแม่ทั้งหลายต่อการฝึกฝนและฝึกหัดบนพื้นฐานต่าง ๆ ให้แก่ลูกน้อยนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ฝึกให้เด็กเรียกพวกเขาผู้ให้กำเนิดว่า "พ่อ" กับ "แม่" "ป๊ะ" กับ "ม๊ะ" "อบี" กับ "อุมมี" เป็นต้น...วัสสลามุอะลัยกุม

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
ตัวเล็กตอนนี้ 3 เดือน
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

ออฟไลน์ AUZULODEEN

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 625
  • เพศ: ชาย
  • ทุกๆชีวิตต้องได้ลิ้มรสแห่งความตาย
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
ตรงนี้ต้องให้คนมีประสบการณ์เล่า
แท้จริงเราเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และเราจะต้องกลับคืนไปสู่พระองค์

 

GoogleTagged