ไม่นานมานี้ญาติดิฉันได้บ่นว่า
เวลาฟังเพลงๆนึงแล้วรู้สึกแย่
ฟังเพลงๆนี้ทีไรต้องร้องไห้ทุกที
ดิฉันจึงคิดได้ว่า....เพลงนี้ช่างมีอิทธิพลเสียจริงๆ
มันทำให้คนเราสามารถหัวเราะและร้องไห้ไปกับเพลงได้ทีเดียว
และนึกไปถึงเพลงที่ชื่อว่าเพลงGloomy Sunday เมื่อปี ค.ศ. 1933 บทเพลงมรณะชื่อดัง
ซึ่งเป็นเพลงที่ห้ามเปิดในประเทศฮังการี อังกฤษ และสถานีบีบีซี
เพราะเป็นเพลงที่ก่อให้เกิดกระแสการฆ่าตัวตายนับร้อยคน
เช่นที่กรุงเบอร์ลิน เยอรมันนี
ชายหนุ่มคนหนึ่งได้ขอให้วงดนตรีเล่นเพลงกลูมมี่ซันเดย์ให้ฟัง หลังจากนั้น
เขากลับบ้านและระเบิดศีรษะด้วยปืนรีวอลเวอร์หลังจากบ่นกับญาติๆว่าเขารู้สึกกดดันอย่างรุนแรงกับท่วงทำนองเพลงที่เขาไม่อาจลบมันออกไปได้
สัปดาห์ต่อมาที่กรุงเบอร์ลินสาวผู้ช่วยร้านขายของแขวนตัวตายอยู่ในแฟลตที่พัก
พบบทเพลงกลูมมี่ซันเดย์อยู่ที่ห้องของเธอด้วย
สองวันหลังจากนั้น เลขานุการิณีในนิวยอร์กได้ฆ่าตัวตายด้วยแก๊ส
ในจดหมายลาตายได้ขอร้องให้เล่นเพลงนี้ในงานศพของเธอด้วย
สัปดาห์ถัดมา ชาวนิวยอร์กอีกรายเป็นชายวัย 82
ได้กระโดดหน้าต่างอพาร์ตเมนท์ชั้น 7 ลงมาตาย โดยก่อนตายเขาได้เล่นเพลงนี้
ในเวลาไล่เลี่ยกัน
วัยรุ่นกรุงโรมก็กระโดดสะพานฆ่าตัวตายหลังจากที่ได้ฟังเพลงมรณะนี้เช่นเดียวกัน
ไม่นานนักเจ้าหน้าที่รัฐบาลผู้หนึ่งก็ได้ยิงตัวตายหลังจากที่ได้อ่านเนื้อเพลงนี้
รายต่อมาเป็นเด็กหญิงคนหนึ่งที่พยายามกินยาพิษเมื่อได้ยินเพลงนี้จากเครื่องเล่นแผ่นเสียง
ที่ภัตตาคารแห่งหนึ่งในกรุงบูตาเบส
ชายคนหนึ่งก็ไดยิงตัวตายในขณะที่เพลงนี้กำลังบรรเลงอยู่
และรายอื่นๆอีกมากมาย...
แม้กระทั่งคนประพันธ์เพลงนี้เองก็ยังฆ่าตัวตาย

>>>
เรื่องราวชองเพลงGloomy Sunday ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนต์การฟังเพลงเป็นสิ่งที่อิสลามไม่สนับสนุน เพราะจิตใจเราจะเคลิมเคลิ้มไปกับเพลงที่ได้ฟัง
และคล้อยตามที่จะทำ (เช่นเพลงโฆษณา เพลงปลุกใจ เพลงรณรงค์ เพลงหาเสียง)
โดยเฉพาะเพลงที่มีเนื้อหาเชิงชู้สาว ความสิ้นหวัง ความเจ็บปวด ความก้าวร้าว ความรุนแรง
มันจะทำให้จิตใจเราจมดิ่งไปกับความทุกข์
นั้งจึงเป็นสาเหตุให้การฟังเพลงเป็นโมฆะ
“และเมื่อพวกเขาได้เห็นการค้าและการรื่นเริง พวกเขาก็กรูกันไปที่นั่นและปล่อยเจ้าให้ยืนอยู่คนเดียว (มุฮัมมัด) จงกล่าวเถิดว่าสิ่งที่มีอยู่ที่อัลลอฮฺนั้นดีกว่าการรื่นเริงและการค้า และอัลลอฮฺนั้นทรงเป็นเลิศยิ่งในหมู่ผู้ประทานปัจจัยยังชีพ” (กุรอาน 62:11)