
ชื่อวิทยานิพนธ์ : แนวคิดของซัยยิดกุฏบ์เกี่ยวกับเอกภสพ(เตาฮีด) ของอัลลอฮฺในหนังสือตัฟซีร ฟีซิลาล อัลกุรอาน
ผู้เขียน : นายอิสมาแอ สะอิ
ปีการศึกษา : 2546
วิทยาลัยอิสลาม มอ. ปัตตานี
หน้า 96- 101
ซิฟัตอิสตาวาอฺ อะลัลอัรช์
คำว่า อิสติวา มี ๔ ความหมายดังนี้
๑ เหนือ
๒ ขึ้นสูง
๓ พำนัก อยู่
๔ ขึ้น
อัลอัรช์มี หลายความหมายดังนี้
บัลลังก์กษัตริย์ หลังคาบ้าน มุมของสิ่งหนึ่ง
สำหรับ อัลอัรช์ ผู้วิจัยมีความเห็นว่าหมายถึงบัลลังก์ เพราะมีตัวบทจากกุรอานและหะดิษ
ดังนั้นอิสติวาอฺ อะลัล อัรช์ หมายถึง การที่อัลลอฮฺทรงสถิตย์อยู่เหนือบัลลังก์ของพระองค์เด่นชัแหนือสิ่งถูกสร้างทั้งมวล
คอลัฟอ้างว่า อิสตาวาอฺ อะลัลอัร์ หมายถึง การมีอำนาจเหนือบัลลังก์ ผู้วิจัยเหนว่าไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลดังนี้
๑ หากอิสติวาอฺ หมายถึง อิสติลาอฺ
พระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย แผ่นดิน และสิ่งที่มีอยุ่ระหว่างทั้งสองนั้นในระยะเวลา ๖ วัน แล้วพระองค์ทรงมีอำนาจเหนือบัลลังก์ (อัลฟุรกอน ๕๙)
หากเข้าใจความหมายัลกุรอานเช่นนี้ แสดงว่าอัลลอฮฺนั้นไม่มีอำนาจเหนือบัลลังก์ก่อนการสร้างชั้นฟ้า แผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสอง เพราะบัลลังก์นั้นถูกสร้า
ก่อนฟากฟ้า
๒ กการอ้างว่า อิสตาวา มีความหมาย อิสเตาลา โดยมีบทร้อยกรองมาหนุนนั้นไม่ถูกต้อง เพราะบทร้องกรองนั้นไม่ปรากฏผู้แต่ง
๓-๔ ผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับให้ความเห็นว่าภาษาอาหรับไม่มีการให้ความหมายของ อิสติวาอฺ เป็น อิสเตาลา และหากมีย่อมมีการใช้ในสมัยซอฮาบะฮฺ ตาบีอีน หรือผุ้เชี่ยงชาญทางภาษาอาหรับ
๕ หาก อิสตาวา ให้ความหมายเปน อิสเตาลา ซึ่งแปลว่า ครอบครองหรือมีอำนาจ ก็น่าจะมีการใช้คำนี้กับคำอื่น นอกเหนือจากคำว่า อัลอัรช์ ซึ่งแปลว่า บัลลังก์บ้าง แต่ในอัลกุรอานและหะดิษ ไม่ปรากฏการใช้คำว่า อิสตาวา กับคำอื่นนอกเหนือจากคำว่า อัลอัรช์ สิ่งนี้แสดงให้เหนว่า อิสตาวา มีความหมายเฉพาะที่ใช้ควบคู่กับ อัลอัรช์ เท่านั้น (อิบนุตัยมิยะฮฺ )
๑ หากอิสติวาอฺ หมายถึง อิสติลาอฺ
พระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย แผ่นดิน และสิ่งที่มีอยุ่ระหว่างทั้งสองนั้นในระยะเวลา ๖ วัน แล้วพระองค์ทรงมีอำนาจเหนือบัลลังก์ (อัลฟุรกอน ๕๙)
หาก เข้าใจความหมายัลกุรอานเช่นนี้ แสดงว่าอัลลอฮฺนั้นไม่มีอำนาจเหนือบัลลังก์ก่อนการสร้างชั้นฟ้า แผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสอง เพราะบัลลังก์นั้นถูกสร้า
ก่อนฟากฟ้า
อัสลามุอลัยกุมครับ
ทำไมท่านไม่ดู อายะห์นี้
بسم الله الرحمن الر حيم
وكان الله على كل شيء قدير
และอัลเลาะห์นั้นเป็นผู้ทรงอนุภาพเหนือทุกสิ่ง
ซูเราะห์ อัล อะห์ซาบ 27
แล้ว อะรัซ นั้น มีมาก่อนอัลเลาะห์(ซบ)หรือเปล่าละ ถ้าอัลเลาะห์(ซบ)มีมาก่อน อายะห์ก็แสดงให้เห็นถึงพลานุการและการปกครองเหนือทุกสิ่ง รวมถึง อะรัซ ที่พระองค์ทรงสร้างรวมถึงเวลาด้วย ฉะนั้นคำว่า ซุมมะ (หลังจาก) ก็คือเวลา จะเอามาปฎิเสธ อายะห์นี้ وكان الله على كل شيء قدير ไม่ได้ เพราะอนุภาพของพระผู้เป็นเจ้านั้น เดิมมากับ ซาตฺ (อัตมัน)ของพระองค์อัลเลาะห์(ซบ) การตะวีล(การปกครองอะรัซ) ของอุลามาอุ คอลัฟนั้น ครอบคลุมถึงเวลาก็คือซุมมะไปด้วย
หากจะแปลตามท่านที่ทำวิจัย
بسم الله الرحمن الر حيم
الذي خلق السماوت و الارض وما بينهما في ستةائيام ثم استوى على العرش
พระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและที่มีอยู่ในระหว่างทั้งสองนั้น ในระยะเวลา6วัน แล้วพระองค์ทรงสถิตย์อยู่บนบัลลังค์
หาก เข้าใจความหมายอัลกุรอานเช่นนี้ แสดงว่าอัลลอฮฺนั้นไม่มีสิทธิสถิตย์หรือไม่ได้สถิตย์อยู่บนบังลังค์ก่อนการสร้างชั้นฟ้า แผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสอง เพราะบัลลังก์นั้นถูกสร้างก่อนชั้นฟ้า ใช่หรือไม่
แล้วตอนนั้นพระองค์มีสิทธิจะสถิตหรือเปล่าละ ถ้าจะคำว่า ซุมมะ มากำกับ ช่วยตอบหน่อย
๒ กการอ้างว่า อิสตาวา มีความหมาย อิสเตาลา โดยมีบทร้อยกรองมาหนุนนั้นไม่ถูกต้อง เพราะบทร้องกรองนั้นไม่ปรากฏผู้แต่ง
นักปราชญ์ของกลุ่มอะชาอิเราะฮฺบางท่าน (al-Ghazali,nd:31; al-Dhahabi, 1991:25) มีความเห็นว่า "อิสติวาอฺ" إستواء (istiwa') มีความหมายเป็น "อิสตีลาอฺ" (إستيلاء) (istila') ซึ่งแปลว่า "ครอบครอง และมีอำนาจเหนือ" หลักฐานที่พวกเขาอ้างคือ ร้อยกรองของกวีท่านหนึ่งที่กล่าวไว้
قد استوى بشير على العراق من غير سيف أو دم مهراق
ความว่า "บิชรุน" (Bishrun) มีอำนาจเหนืออิรัก โดยไม่ต้องใช้ดาบ และหลั่งเลือด" พวกเขาอ้างว่า "อิสตะวา" ในร้อยกรองบทนี้ หมายถึง มีอำนาจเหนือ มีนักปราชญ์บางท่าน (al-Razi,1990:17:12-13) ให้ความหมายของ "อัล-อัรช์" เป็น "อัล-มุลก์" (al-mulk) แปลว่า "อำนาจ" ดังนั้น "อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์" จึงให้ความหมายเป็น "ครอบครองอำนาจ"
เขาอ้างไม่ได้นำมาเป็นหลักฐานหลัก เพียงจะบอกว่า คำว่า อิสตวา บางครั้งก็สามารถ ให้ความหมายเป็นดังเช่น การมีอำนาจเหนือ หรือ ครอบครองอำนาจได้ แค่นั้น เพราะการนำมาเป็นหลักฐานด้านศาสนานั้นมีรายละเอียดเยอะ
ถ้าเอาถ้อยดังกล่าวมาเป็นหลักฐาน คำว่า อิสติวา ก็จะแปลตามนั้นหมดซึ่งไม่ใช่ เพราะอายะห์กุรอ่านบางอายะห์
ثم
استو ى الى السماء فسواهن سبع سموات
ซูเราะห์ บากอเราะห์ อายะที่ 29
หลังจากนั้นอัลเลาะห์(ซบ)
ได้มุ่งหมาย(قصد)(สร้าง)ฟ้าทั้ง7ชั้นฟ้า(ให้สมบูรณ์)
ให้ความหมายแตกต่างจาก การสถิตย์
ฉะนั้น เขาไม่ได้เอามาเป็นหลักฐานหลัก เพียงแค่จะบอกว่า บางครั้งก็ให้ความหมายในแนวนั้นได้เท่านั้น ต้องดูรูปประโยคเป็นสำคัญ
๓-๔ ผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับให้ความเห็นว่าภาษาอาหรับไม่มีการให้ความหมายของ อิสติวาอฺ เป็น อิสเตาลา และหากมีย่อมมีการใช้ในสมัยซอฮาบะฮฺ ตาบีอีน หรือผุ้เชี่ยงชาญทางภาษาอาหรับ ผมการันตีเลย ว่าผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับให้ความเห็นว่าภาษาอาหรับไม่มีการให้ความหมายเป็นภาษาไทย หากมีย่อมมีการใช้ในสมัย ซอฮาบะห์ ตาบีอีน หรือทางผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับ ฉะนั้นถ้าจะกล่าวว่า การให้ความหมายเป็นภาษาไทย บิดอะห์ อย่างร้ายแรง เพราะไม่มีบันทึกไว้เลยตั้งแต่สมัยนบี(ซล)จนถึงยุคผู้นำคุณ
๕ หาก อิสตาวา ให้ความหมายเปน อิสเตาลา ซึ่งแปลว่า ครอบครองหรือมีอำนาจ ก็น่าจะมีการใช้คำนี้กับคำอื่น นอกเหนือจากคำว่า อัลอัรช์ ซึ่งแปลว่า บัลลังก์บ้าง แต่ในอัลกุรอานและหะดิษ ไม่ปรากฏการใช้คำว่า อิสตาวา กับคำอื่นนอกเหนือจากคำว่า อัลอัรช์ สิ่งนี้แสดงให้เหนว่า อิสตาวา มีความหมายเฉพาะที่ใช้ควบคู่กับ อัลอัรช์ เท่านั้น (อิบนุตัยมิยะฮฺ ) ใช่ถูกต้องนะครับ เพราะเขาดูที่ตัวประโยคด้วยไม่ใช่เฉพาะคำ คำว่า อิสตาวา อะลัล อัซร์ นั้นเป็น คำที่บ่งบอกถึงซีฟัต ซึ่งไม่เหมาะสมที่ให้ความหมายตามคำนั้น ชีฟัตดังกล่าว เป็นชีฟัต สิ่งถูกสร้างไม่ใช่ ชีฟัตผู้สร้าง
ฉะนั้น การให้เหมาะสมกับผู้สร้าง ก็ต้องมอบหมายความหมายทั้งหมดโดยที่ไม่ต้องแปลเลย คือเหนียตว่าคำว่า อิสตาวา อะลั้ล อัซร์ นั้น ไม่รู้เลยแล้วมอบหมายเลยเหมือนยุคสลัฟ (ไม่ใช่แปลก่อนว่าสถิตย์แต่สถิตย์ยังไงไม่รู้)
ยุคสลัฟ เขาตะวีลเหมือนกันที่ ตะวีลว่า อิสตาวา อะลัล อัซร์ ไม่รู้ความหมายฮากีกี(ความหมายในอัลกุรอ่าน)แล้วมอบหมาย ความหมายฮากีกีให้อัลเลาะห์(ซบ) เพราะอัลเลาะห์(ซบ)เท่านั้นที่รู้ความหมายฮากีกี(เหมือน ฮูรุฟ ยา และ ซีน ในซูเราะห์ ยาซีน) แต่ถามยุคสลัฟว่าความหมายคำว่า อิสตาวา นั้นในภาษาอาหรับแปลว่า นั่งหรือสถิตย์ใช่ แต่ในกุรอ่าน วัลลอฮุอะห์ลัม แต่ที่แน่ๆอัลเลาะห์(ซบ)นั้นไม่เหมือนมัคโลค (การสถิตย์เป็นลักษณะของมัคโลค)
ยุคคอลัฟ เขา ตะวีล ให้เหมาะสมและห่างจาก การคลุ่มเคลือ และให้เหมาะสมกับผู้สร้าง อัลเลาะห์(ซบ) โดยดูที่รูปประโยค และไม่ให้ความหมายเสมือน มัคโลคดังกุรอ่าน ซูเราะห์ อัซซูรอ อายะห์ ที่11
ليس كمثله شىء
ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ มหาบริสุทธิ์ จากการเทียบเคียงใดๆ
แต่ถึงจะบอกยังไงพวกคุณก็ ไม่เชื่อหรอก ยังงี่เง่า ดื้อรัน อยากเอาชนะท่าเดียว พวกคุณนะบอกคนทำวิจัยนะเอาเวลาไปวิจัย พันธิพืช ทำยังไง ถึงจะกรีดยางช่วงฝนตกได้ ทำยังไงน้ำถึงจะไม่ถ่วมหนัก ทำยังไงให้คนสามัคคี
ยังจะมีประโยชน์ ที่จะทำวิจัยแบบนี้ สร้างความแตกแยก คลุมเคลือ ผมเดาว่าคนทำวิจัยก็ไม่รู้ นาฮู ซอร็อฟ เท่าไรหรอก เพราะดูจาก เชคริดอ กับ อ มุตตอฟา เถียงกัน
อ มุตตอฟา บอกถึง มุบตาดา คอบัร เชคริดอ บอกไม่มีในสมัยนบี (อยากจะบ้าตาย) นะอูซูบิก้ามินั้ลซาลิก
พวกท่านไม่รู้หรือ ว่าอัลกุรอ่าน เขามาใส่ สระ และจุด ใน ยิม คอ ดอด และอีกหลายตัวๆ ตอนไหน ลองไม่มีสระและจุด เหมือนสมัยนบีซิ จะอ่านกันได้ไหม นาฮู ซอร็อฟก็ไม่เอา แล้วยังงี้ อ่านกุรอ่าน มีสระมีจุด ก็บิดอะห์เพราะไม่มีในสมัยนบี(ซล) น่าอูซูบิก้ามินั้ลซาลิก เหนื่อยใจจริงๆ กับพวกทึบแสง
วัสลาม