๓-๔ ผู้เชี่ยวชาญภาษาอาหรับให้ความเห็นว่าภาษาอาหรับไม่มีการให้ความหมายของ อิสติวาอฺ เป็น อิสเตาลา และหากมีย่อมมีการใช้ในสมัยซอฮาบะฮฺ ตาบีอีน หรือผุ้เชี่ยงชาญทางภาษาอาหรับ
นี่เป็นความบกพร่องของผู้ืทำการค้นคว้า ดูก็รู้ในทันทีว่าผู้ที่ทำการค้นความวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ไม่ได้ไปค้นคว้ามาจริงๆ แต่แค่อาศัยเอาตำราของอุละมาอฺวะฮาบีย์มาอ่าน แล้วก็แปลลงไปในวิทยานิพนธ์ของตัวเอง แล้วเขียนหัวข้อในตอนต้นประโยคว่า
"ผู้วิจัยเหนว่าไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลดังนี้" ทั้งๆ ที่ผู้ค้นคว้าไม่ได้ค้นคว้ามาเอง แค่พูดตามอุละมาอฺวะฮาบีย์เท่านั้น แต่กลับใช้คำพูดเหมือนกับว่าตัวเองไปค้นคว้ามาเองอย่างดี นี่ถือว่าไม่มีมารยาทเชิงวิชาการครับ อย่างน้อยก็น่าจะพูดว่า "ข้าพเจ้ามีความเห็นสอดคล้องกับปราชญ์ท่านนั้นท่านนี้" เป็นต้น
การตะอฺวีล คือ การตีความให้สอดคล้องกับหลักการทางภาษาอาหรับ หรือการเปลี่ยนจากความหมายที่ปรากฏอยู่ชัดเจน ไปสู่อีกความหมายหนึ่งโดยมีหลักฐานมายืนยัน
ข้าพเจ้าไม่ทราบเลยว่าผู้เขียนได้ไปค้นความมาจริงหรือเปล่า ถึงกล้าพูดออกมาว่า่ การให้ความหมายของ อิสติวาอฺ เป็น อิสเตาลา นั้นไม่เป็นที่รู้กันในทางภาษาอาหรับ ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วปราชญ์อักษรศาสตร์ได้ใช้ให้ความหมายเอาไว้แบบนี้เช่นกัน
การให้ความหมายว่า อิสตีลาอฺ แปลว่า อิสเตาลา (การปกครอง) นั้น มียืนยันรับรองไว้ในภาษาอาหรับและในแวดวงหลักภาษาอาหรับเขาก็นำมาใช้กัน
ปราชญ์ภาษาอาหรับ ท่านอะบูลกอซิม อัลฮุซัยน์ บิน มุฮัมมัด รู้จักในนาม อัรรอฆิบ อัลอัศฟะฮานีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 502) ได้กล่าวว่า
مَتَي عُدِّيَ ب (عَليَ) إِقْتََضَي مَعْنَي
الإِسْتِيْلاَءِ كَقَوْلِهِ الرَّحْمنُ عَلَي العَرْشِ اسْتَوَي
"เมื่อคำว่า อิสติวาอฺ ถูกนำมาใช้ด้วยคำว่า อะลา (แปลว่าบน) ก็จะให้ความหมายนัยยะถึง
การปกครอง เช่นคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า "พระเจ้านามอัรเราะห์มาน(ผู้เมตตา) ทรงปกครองเหนือบัลลังก์" หนังสือ อัลมุฟร่อด๊าด ฟี ฆ่อรีบิลกุรอ่าน หน้า 251
ปราชญ์ภาษาอาหรับ ท่านอะบูอับดุรเราะห์มาน อับดุลลอฮ์ บิน ยะห์ยา อิบนุ อัลมุบาร็อก อัลยะซีดีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 237) ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน อะบู ซะกะรียา อัลฟัรรออฺ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 207) ปราชญ์วิชานะฮูนามกระเดื่อง ได้กล่าวว่า
عَلَي العَرْشِ اسْتَوَي : اِسْتَوْلَي
"พระองค์ทรงอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์ : หมายถึง
ทรงปกครอง(อิสตีลาอฺ)เหนือบัลลังก์" หนังสือ ฆ่อรีบุลกุรอานและตัฟซีรุฮู หน้า 113
ท่านอิมาม อัลฮาฟิซฺ อะบู ญะฟัร มุฮัมมัด อิบนุ ญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 310) หนึ่งในปราชญ์สะละฟุศศอลิห์ ไว้กล่าวในตัฟซีรของท่านว่า
قَالَ أَبُو جَعْفَر : الِاسْتِوَاء فِي كَلَام الْعَرَب مُنْصَرِف عَلَى وُجُوه
"อะบูญะฟัร(คือท่านอัฏเฏาะบะรีย์) ขอกล่าวว่า อัลอิสติวาอฺ ในคำพูดของอาหรับนั้น ถูกนำมาใช้ได้หลายหนทาง"
หลังจากนั้นอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ได้กล่าวว่า
وَمِنْهَا الِاحْتِيَاز وَالِاسْتِيلَاء كَقَوْلِهِمْ : اسْتَوَى فُلَان عَلَى الْمَمْلَكَة , بِمَعْنَى احْتَوَى عَلَيْهَا وَحَازَهَا
"ส่วนหนึ่งจากหนทางเหล่านั้น คือให้ความหมายว่า
(อัลอิห์ติยาซฺ) การครอบครอง และความหมาย (อัลอิสตีลาอฺ) การปกครอง เช่นคำกล่าวของคนอาหรับที่ว่า คนหนึ่งได้อิสติวาอฺเหนืออาณาจักร หมายถึง เขาได้เป็นเจ้าของเหนืออาณาจักร์หรือครอบครองอาณาจักร" ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ อธิบายซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ อายะฮ์ 29 เล่ม 1 หน้า 192
นี้คือท่านอิบนุญะรีร ซึ่งเป็นหนึ่งในอุลามาอฺสะละฟุศศอลิห์ ได้ระบุว่า การอิสติวาอฺ มีความหมายว่า ปกครอง ก็คือหนึ่งในความหมายของภาษาอาหรับครับ
ปราชญ์ภาษาอาหรับ ท่านอะห์มัด บิน มุฮัมมัด บิน อะลี อัลฟัยยูมีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 770) ได้กล่าวว่า
إِسْتَويَ عَليَ سَرِيْرِ المَلِكِ : كِنَايَةٌ عَنِ التَمَلُّكِ وَ إِنْ لَمْ يَجْلِسْ عَلَيْهِ
"การอิสติวาอฺ เหนือ บัลลังก์ของกษัตริย์ เป็นการเปรียบเปรยถึงการปกครองหากแม้นว่ากษัตริย์จะไม่นั่งบนบัลลังก์นั้นก็ตาม" หนังสือ อัลมิศบาหุลมุนีร หน้า 113
ปราชญ์ภาษาอาหรับ ท่านอะบูลกอซิม อัซฺซัจญาจญ์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 340) ได้กล่าวว่า
فَقَوْلُ العَرَبِ : عَلاَ فُلاَنٌ فُلاَناً أي غَلَبََهُ وَقَهَرَهُ كَمَا قَالَ الشَّاعِرُ
فَلَمَّا عَلَوْنَا واسْتَوَيْنَا عَلَيْهِمْ تَرَكْنَاهُمْ صَرْعَي لِنَسْرٍ وَكَاسِرِ
يَعْنِي غَلَبَنَاهُمْ وَقَهَرْنَاهُمْ واسْتَوْلَيْنَا عَلَيْهِمْ
"ดังนั้นคำกล่าวของชนอาหรับที่ว่า ชายคนหนึ่งสูงเหนือชายคนหนึ่ง หมายถึง เขาได้ชนะและมีอำนาจเหนือเขา เฉกเช่นที่นักกวีได้กล่าวว่า
"ขณะที่เราได้สูงเหนือพวกเขา และเราได้(อิสติวาอฺ)ปกครองเหนือพวกเขา เราได้ทิ้งพวกเขาให้เหยี่ยว"
หมายถึง เราได้พิชิตพวกเขา มีอำนาจเหนือพวกเขา และเราได้(อิสติวาอฺ)ปกครองพวกเขา" ดู หนังสืออิชติกอกุ้ อิสมาอิลลาฮ์ หน้า 109
ปราชญ์ภาษาอาหรับ ท่านมุฮัมมัด บิน อะบีบักร์ อัรรอซี (ปี ฮ.ศ. 666) ได้กล่าวว่า
وَاسْتَوَي أَي اِسْتَوْليَ وَظَهَرَ
"อิสตะวา หมายถึง
อิสเตาลา (ปกครอง) และปรากฏ" หนังสือมุคตาร อัศศิฮาหฺ หน้า 136
นี้คือบางส่วนจากปราชญ์สะลัฟและค่อลัฟที่ยืนยันว่า การอธิบาย คำว่า อิสติวาอฺ ที่อยู่ในความหมายของ อิสติลาอฺ (ปกครอง) นั้น ก็คือ หมายถึงหนึ่งในภาษาอาหรับ ดังนั้น การกล่าวว่า "การแปล "อิสติวาอ์" เป็น "อิสติลาอ์" นั้น ถือเป็นความหมายที่ถูกใช้กันในภาษาอาหรับ