ผู้เขียน หัวข้อ: การเรียนรู้วิชาการศาสนา  (อ่าน 3566 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Haytham

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 91
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
การเรียนรู้วิชาการศาสนา
« เมื่อ: มิ.ย. 27, 2007, 10:57 AM »
0

  จากที่ทราบมาคร่าวๆ ว่าท่านนาบี มูฮำหมัด (ซล.) เผยแพร่อิสลามเมื่อ1400กว่าปีมาแล้วนั้น มีกุรอ่าน-คัมภีร์ที่อัลลอฮ.ประทานให้มนุษยชาติและแบบแผนชีวิตของท่านรอซูลเป็นบรรทัดฐาน  การยอมรับอิสลามเป็นไปตามเงื่อนไขที่อัลลอฮ.ประทานให้คือ
กล่าวชาฮาดะฮยอมรับความเป็นพระเจ้าและการเป็นรอซูลของอัลลอฮ.ของมูฮำหมัด (ซล.)และปฏิบัตตามในสิ่งที่ท่านนาบีนำมา
สำหรับมุสลิมปัจจุบันการศึกษาวิชาศาสนาเบื้องต้น ผ่านการแบ่งเป็นวิชาการดังต่อไปนี้
วิชา เตาฮีด (หลักการศรัทธา)  วิชาฟิกห์ (หลักการปฏิบัติ) วิชาตะเซาวุฟพื้นฐาน
คำถาม
1 )  วิชาการพื้นฐานดังกล่าวนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร  ทำไมจึงแบ่งวิชาพื้นฐานออกเป็นสามวิชาในลักษณะดังกล่าว 
2 )  บางครั้งวิชาหลักการศรัทธาเรียก เตาฮีด บ้าง อูศูลุดดีน บ้าง อยากทราบว่า เตาฮีด  อูศูลุดดีน มีความหมายและแตกต่างอย่างไร  อธิบายโดยละเอียด
3)  ตามข้อ 2 ฟิกฮ.กับชารีอะฮ. มีความหมายและแตกต่างกันอย่างไร  จากที่เห็นการปฏิบัตศาสนกิจที่แตกต่างกันของมุสลิมแต่ละพื้นที่ การเรียนฟิกฮ.ของแต่ละพื้นที่แตกต่างกันหรือไม่ 
4 ) ตะเซาวุฟ กับอัคลาก มีความหมายและแตกต่างกันอย่างไร ทำไมมุสลิมบางกลุ่มจึงไม่ยอมรับวิชาตะเซาวุฟ
5 ) นอกจากวิชาดังกล่าว การเรียนกุรอ่าน กับฮาดิษ ถือเป็นฟัรฎูอีนหรือไม่
6 ) ปกติเด็กมุสลิมจะเรียนการอ่านกุรอ่าน/ยุซอัมมา/ ผู้ใหญ่มุสลิมจะอ่านอัลกุรอ่านเหมือนกับเด็กแต่จำนวนซูเราะฮจะเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้
ความหมายเป็นกิจวัตร  ดังกล่าวนี้การอ่านกุรอ่านถือเป็นการศึกษาและจะยังประโยชน์ลักษณะใดแก่ผู้อ่าน
7 ) มีคำแนะนำอย่างไร สำหรับ นักศึกษาที่เรียนวิชาชีพอื่น บุคคลที่มีหน้าที่การงานมากมายให้เขาได้ศึกษาเพิ่มเติมวิชาศาสนาโดยไม่เฉไฉออกไปนอกประเด็น จากที่ไม่รู้อะไรเลย เรียนไปชักรู้สึกสงสัยว่า แนวปฏิบัตใหนถูกต้อง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพหล่ะกัน// จะตามแนวใหนดี มัซฮับชาฟีอี,สาลาฟี,วาฮาบี,Kaum Tua, Kuam muda,บิดอะฮ์ -----โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าศัพท์ที่แตกต่างนั้นแปลว่าอะไร
...

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: การเรียนรู้วิชาการศาสนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิ.ย. 29, 2007, 06:32 PM »
0
بسم الله الرحمن الرحيم

ผมขอตอบแบบสรุปดังนี้ครับ

1. วิชาฟิกห์  เตาฮีด  และตะเซาวุฟ  เป็นวิชาพื้นฐานที่มุสลิมทุกคนต้องรู้เป็นอันดับแรก  เพราะในหะดิษบุคอรีย์และมุสลิมได้ระบุยืนยันว่าท่านญิบรีล อะลัยฮิสลาม  ได้มาถามท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  และสอนบรรดาซอฮาบะฮ์เกี่ยวกับ  อีหม่าน  อิสลาม  และเอี๊ยะห์ซาน  ท่านนบี  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมตอบว่า   อีหม่าน  คือการศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์  ,  มะลาอิกะฮ์ของพระองค์ ,  บรรดาคำภีร์ของพระองค์ , บรรดาร่อซูลของพระองค์ ,  วันกิยามะฮ์  , และการกำหนดสภาวะความดีและความชั่วนั้นมาจากอัลเลาะฮ์    และตอบว่า อิสลามคือ  การกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ ,  ดำรงละหมาด , ออกซะก๊าต , ถือศีลอด , และทำฮัจญ์ที่บัยตุลลอฮ์สำหรับผู้มีความสามารถ  , และตอบว่า  อิห์ซานคือ  การที่ท่านทำอิบาดะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์เสมือนกับท่านเห็นพระองค์  ดังนั้นแม้นว่าท่านจะไม่เห็นพระองค์  แท้จริงพระองค์ทรงเห็นท่าน 

ดังนั้น  หากเราจะทราบถึง  เรื่องอีหม่าน  อิสลาม  และอิห์ซานนั้น  เราต้องเรียนวิชาเตาฮีด  ซึ่งว่าด้วยเรื่องอีหม่านการศรัทธา ,  วิชาฟิกห์  ซึ่งว่าด้วยเรื่องอัลอิสลาม , วิชาตะเซาวุฟ  ซึ่งว่าด้วยเรื่องหลักอะห์ซาน

2.  การเรียนวิชาเตาฮีด , อุศูลุดดีน  , ฟิกฮุลอักบัร ,  อะกีดะฮ์  ย่อมมีความหมายเดียวกัน  แต่การเรียกต่างกัน   นักปราชญ์ไม่ขัดข้องในการเรียกศัพท์  เพราะพิจารณากันที่เนื้อหา

3. คำว่า ฟิกห์  คือวิชานิติศาสตร์  เป็นวิชาที่ว่าด้วย "การรู้ถึงหลักการต่าง ๆ ของศาสนาในเชิงปฏิบัติที่วิจัยมาจากบรรดาหลักฐานแบบรายละเอียด"   ส่วนคำว่า ชะรีอะฮ์  หมายถึง "สิ่งที่ประมวลไว้ซึ่งหลักการต่าง ๆ ที่อัลเลาะฮ์ทรงวางบทบัญญัติให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย  โดยผ่านทางท่านนบีมุฮัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  จากอัลกุรอานและซุนนะฮ์

จากคำนิยามทั้งสองเราจะพบว่า  ชะรีอะฮ์จะมีความหมายที่ครอบคลุมกว่า  หมายถึงวิชาการอิสลามทุกสาขาที่นำมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์  ล้วนเป็นชะรีอะฮ์ทั้งสิ้น  ซึ่งรวมทั้ง  ฟิกห์  เตาฮีด  ตะเซาวุฟ  และอื่น ๆ    ส่วนฟิกห์นั้น  เฉพาะสำหรับวิชาที่ว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติ   แต่บรรดานักปราชญ์ฟิกห์นิยมเรียก  วิชาฟิกห์ว่า ชะรีอะฮ์  ดังนั้น  คำว่าชะรีอะฮ์จึงเป็นสิ่งที่รู้กันในนามวิชาฟิกห์

4.  วิชาตะเซาวุฟกับวิชาอัคลาค  เป็นวิชาเดียวกัน  แต่เรียกต่างกัน  นักปราชญ์อิสลามไม่ขัดข้องในการเรียกศัพท์   เพราะเนื้อเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าในการพิจารณา   และการที่บางกลุ่มไม่ยอมรับวิชาตะเซาวุฟนั้น   เพราะเมื่อพวกเขาเอ่ยตะเซาวุฟขึ้นมา   ก็จะนึกไปถึงกลุ่มตะเซาวุฟนอกลู่เพียงอย่างเดียว   ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่ชอบเรียกตะเซาวุฟ

5.  การเรียนอัลกุรอานและหะดิษ  เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเรื่องที่นำมาใช้   เช่นเรียนอัลกุรอานเพื่ออ่านอัลฟาติหะฮ์ถูกต้อง  เรียนอัลหะดิษเพื่อนำหลักการต่าง ๆ ที่จำเป็นมาปฏิบัติ    และหากศึกษาเพิ่มเติมมากกว่านั้น  ก็ถือว่าเป็นฟัรดูกิฟายะฮ์ครับ

6.  การที่เด็กมุสลิมอ่านยุซฺอัมมานั้น  เพราะว่าเป็นยุซฺที่อ่านง่าย  เหมาะสมสำหรับเด็กที่เริ่มต้นฝึกอ่านอัลกุรอาน  และเมื่ออ่านชำนาญแล้ว  ก็พัฒนาเพิ่มเติมขึ้นไปเรื่อย ๆ จนอ่านได้หมดเล่ม  และการอ่านอัลกุรอานนั้นย่อมมีประโยชน์และเป็นอิบาดะฮ์อย่างหนึ่ง  แม้จะไม่รู้ความหมายก็ตาม

7. สำหรับนักเรียนวิชาชีพ  ผมขอแนะนำให้เขาเน้นหนักในเรื่องฟัรดูอีน  ละหมาดให้ครบถ้วน  ถือศีลอดให้ครบถ้วน  เน้นปฏิบัติสิ่งสะดวกปฏิบัติ  กล่าวคือ  เราไปสนใจเรื่องข้อขัดแย้ง  แต่ผมคิดว่าให้เขาสนใจละหมาดสุนัตต่าง ๆ ดีกว่า   ถือศีลอดสุนัตให้เป็นประจำดีกว่า   อ่านอัลกุรอานให้มาก ๆ   ซิกรุลลอฮ์ถ้อยคำง่าย ๆ ให้เป็นประจำ  ซึ่งดีกว่าไปมุ่งเน้นให้ความสนใจเกี่ยวกับประข้อขัดแย้ง  และจงยึดมั่นหลักอะกีดะฮ์ของชนส่วนมากของโลกอิสลาม  คืออัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมุตูรียะฮ์  จะปลอดภัยที่สุด  เพราะท่านนบี  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ให้ยึดชนส่วนมากเอาไว้   ปฏิบัติอิบาดะฮ์ให้อยู่ในหลักการของอัลกุรอานและซุนนะฮ์ตามความเข้าใจของมัซฮับทั้งสี่  เพราะประชาชาติอิสลามได้ลงมติให้ความพอใจและยอมรับในมัซฮับทั้งสี่   

ความแตกต่างในมัซฮับทั้งสี่นั้น  หากเราไม่สามารถแยกแยะได้  ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ   เราและคุณอยู่ในฐานะคนเอาวามสามัญชนทั่วไป   การได้รับความรู้และหลักปฏิบัติที่ผู้รู้ได้ถ่ายทอดแนะนำมาให้ปฏิบัติสิ่งที่เป็นฟัรดูอีนนั้น   ก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการปฏิบัติขั้นพื้นฐานแล้วครับ  และหากต้องการศึกษาเพิ่มเติมให้มากกว่านั้น   ก็จงเลือกศึกษาตามที่คุณพอใจตราบใดที่อยู่ในหลักการของอะลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged