ผู้เขียน หัวข้อ: Copy หรืคัดลอกได้ไหม  (อ่าน 3851 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

อบูนัจญมีย์

  • บุคคลทั่วไป
Copy หรืคัดลอกได้ไหม
« เมื่อ: มิ.ย. 30, 2007, 10:28 AM »
0

อัสลามุอะลัยกุม ครับ
     ผมอยากเรียนถาม อาจาย์ อัซฮารี ว่า สมมติในกรณี บังเอิญ ที่เราไปเจอหนังสือที่ดีๆ (หนังสือศาสนา)และคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อการนำไปอะมั้ล และบอกต่อคนในครอบครัวและคนอื่นๆ แต่เป็นหนังสือของเพื่อนหรือห้องสมุดมัสยิด และเราไม่สามารถหาซื้อหนังสือที่เป็นต้นฉบับดังกล่าวได้โดยง่ายนัก และที่ปกหนังสือเขาพิมพ์ข้อความว่า "สงวนลิขสิทธ์ ห้ามคัดลอกหรือถ่ายเอกสาร ก่อนได้รับอนุญาติ........"
    อยากถามว่า
     1.ผมจะนำหนังสือดังกล่าวไปถ่ายเอกสารหรือคัดลอกบางส่วนได้หรือไม่ ถือว่าเป็น"ฮักกุ้ลอะดัมหรือไม่" โดยกระผมมิได้มีเจตนาเพื่อนำไปจำหน่าย หรือขายต่อ แต่เพื่อต้องการเก็บไว้ใช้เป็นหลักฐานเพื่อปฏิบัติ อะมั้ลศาสนาและเผยแพร่ต่อเท่านั้น
      2.ทำไมผู้เขียนหนังสือ จึงต้องสงวนสิทธิ์ ทั้งๆที่อิสลามสอนให้คนที่รู้ต้องมีการเผยแพร่ สั่งสอน ความรู้ด้านศาสนาให้กับผู้อื่น ถือเป็นเป็นกั้นผลความรู้ศาสนาที่อัลลอฮ. ประทานให้กับผู้เขียนหนังสือหรือไม่ (หรือเป็นเพียงกฏหมายด้านการพิมพ์)

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: Copy หรืคัดลอกได้ไหม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ต.ค. 29, 2008, 12:36 AM »
0

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ

ประเด็นของการถ่ายเอกสารตำราต่าง ๆ ที่สงวนลิขสิทธิ์นั้น  มีรายละเอียดดังนี้ :

1. การที่ผู้แต่งหนังสือได้ระบุว่าสงวนลิขสิทธิ์นั้น  หมายความว่าผู้แต่งได้ทำการทุ่มเทแรงกายและแรงใจในการแปลและแต่งหนังสือเชิงวิชาการ  ดังนั้น  เขาจึงมีสิทธิ์ที่จะได้รับผลประโยชน์จากหนังสือ  ไม่ว่าการได้มาซึ่งผลประโยชน์นั้นเป็นการจัดพิมพ์เพื่อแสวงหากำไรทางการค้าก็ตาม  ดังนั้นสิทธิของผู้อื่น  ย่อมละเมิดไม่ได้ครับ  เนื่องจากเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่เขา  ซึ่งเรียกว่า  การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา 

2.  ส่วนการถ่ายเอกสารหนังสือบางเล่มที่เราต้องการนั้น  มีรายละเอียดดังนี้  หากถ่ายเอกสารตำราบางเล่มโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการค้า  ถือว่าเป็นสิ่งที่หะรอมอย่างชัดเจน  เพราะเป็นการสร้างความเดือดเร้อนให้แก่ผู้แต่งหนังสือและสำนักพิมพ์  และเป็นการค้าในสิ่งที่ท่านไม่ได้มีสิทธิ์ครอบครอง   

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า

 ‏لَا تَبِعْ مَا لَيْسَ عِنْدَكَ

"ท่านอย่าขายกับสิ่งที่ไม่ได้(ครอบครอง)อยู่ ณ ที่ท่าน" รายงานโดยอบูดาวูด (3040)  

ส่วนในกรณีที่เป็นหนังสือหายาก  ไม่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด  แล้วนำมาถ่ายเอกสารเพื่อเป็นปัจจัยในการเผยแพร่คำสอนต่าง ๆ ของอิสลาม  โดยไม่แสวงหาผลกำไรแต่ประการใดนั้น  ก็ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้ในขอบเขตที่จำเป็นเท่านั้น   

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

وَقَدْ فَصَّلَ لَكُم مَّا حَرَّمَ عَلَيْكُمْ إِلاَّ مَا اضْطُرِرْتُمْ إِلَيْهِ

"และแท้จริงพระองค์ได้ทรงแยกแยะให้แก่พวกเจ้าแล้ว  ถึงสิ่งที่พระองค์ได้ทรงบัญญัติห้ามแก่พวกเจ้า  นอกจากสิ่งที่พวกเจ้ามีความต้องการไปยังมัน(อย่างยิ่งยวด)"  อัลอันอาม 119

และพระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า

فَمَنِ اضْطُرَّ غَيْرَ بَاغٍ وَلاَ عَادٍ فَإِنَّ رَبَّكَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ

"ดังนั้น  ผู้ใดที่อยู่ในสภาวะคับขัน  โดยมิใช่เป็นผู้ล่วงเกินและมิใช่ล่วงละเมิด  แท้จริงองค์อภิบาลของเจ้านั้นทรงให้อภัยอีกทั้งทรงเมตตายิ่ง"  อัลอันอาม 145

แต่ในกรณีที่ตามท้องตลาดมีตำราดังกล่าววางขายอยู่   แต่เรานำไปถ่ายเอกสารเพราะราคาถูกกว่า  ย่อมกระทำไม่ได้  เพราะทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อผลประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาของผู้แต่งและผู้จัดพิมพ์  และถ้าหากมีความจำเป็นต้องใช้หนังสือ  แต่ราคาสูงกว่าจนกระทั่งไม่สามารถหาเงินมาซื้อได้  แล้วนำมาถ่ายเอกสาร  ก็อนุญาตให้กระทำได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น  และผลบุญก็จะได้แก่ผู้ที่แต่งหนังสือสืบไป
     
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ

أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged