ผู้เขียน หัวข้อ: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว  (อ่าน 2954 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ anti-bid'ah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 839
  • ไม่รู้ อย่าเสือกชี้
  • Respect: +29
    • ดูรายละเอียด

 :salam:

กระทู้นี้ขอเป็นการนำเสนอความหมายหรือการอธิบายเกี่ยวกับโองการของอัลกุรอานทั้งหมดที่จำเป็นต้องตีความโดยแต่ละโองการที่ต้องตีความต้องสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้

๑) ทำไมต้องตีความโองการนั้นๆ
๒) มีหลักฐานอะไรที่ต้องตีความหรืออธิบายอย่างนั้น
๓) หากไม่ตีความโองการนั้นๆ โดยแปลกันตรงๆตามภาษาอาหรับ จะส่งผลอะไรต่อการศรัทธา

เชิญผู้รู็นำเสนอ
رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

ออฟไลน์ napa

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 38
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
Re: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ม.ค. 11, 2011, 04:33 PM »
0
อัสลามุอัยกุม

ไม่ต้องภาษาอรับในกุรอ่านหรอกครับ แค่ภาษาไทยถ้าแปลตรงตัวก็ยุ่งแล้วครับ เช่น "นายเป็นลูกไก่ในกำมือของฉัน" ถ้าแปลตรงตัว ก็แปลว่ากำลังคุยกับกับลูกไก่ที่อยู่ในมือ

ถ้าแปลอย่างคนเข้าใจ ก็รู้ว่า กำลังคุยกับคนที่อยู่ภายใต้อำนาจ

นี่แค่ภาษาไทยนะแปลผิดไม่เท่าไหร่

แต่ถ้าเป็นกุรอ่านละก็ ไม่อยากจินตนาการเลยว่าความเสียหายจะขนาดไหน


ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ม.ค. 11, 2011, 05:43 PM »
0
 :salam:

ภาษาไทยมีเอกลักษณ์และความลึกซึ้งขนาดเอามาแทนหรือเทียบเท่าภาษาอาหรับที่เป็นภาษาของอัลกุรอานได้กระนั้นหรือ?  ถึงเอาแบบแปลตามตัวกันหมดทุกเรื่อง  แม้กระทั่งเรื่องของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่สูงส่งเหนือการพรรณาได้  

อย่างคำว่า "มือ" นั้นภาษาไทยมีกี่ความหมาย  แต่คำว่า "ยะดุน" นั้นในภาษาอาหรับมีเป็นสิบๆ ความหมาย  ซึ่งขนาดว่าปราชญ์สะลัฟบางส่วนก็ยังไม่กล้าเรียกหรือพูดซิฟาตของอัลเลาะฮ์ตะอาลาเป็นภาษาเปอร์เซียหรือภาษาอื่นจากอาหรับเลย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับซีฟาตมุตะชาบิฮาต

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 11, 2011, 05:55 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ม.ค. 11, 2011, 05:59 PM »
0
:salam:

กระทู้นี้ขอเป็นการนำเสนอความหมายหรือการอธิบายเกี่ยวกับโองการของอัลกุรอานทั้งหมดที่จำเป็นต้องตีความโดยแต่ละโองการที่ต้องตีความต้องสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้

๑) ทำไมต้องตีความโองการนั้นๆ
๒) มีหลักฐานอะไรที่ต้องตีความหรืออธิบายอย่างนั้น
๓) หากไม่ตีความโองการนั้นๆ โดยแปลกันตรงๆตามภาษาอาหรับ จะส่งผลอะไรต่อการศรัทธา


ตอบแบบสรุปดังนี้

1. เพราะถ้อยคำแท้(ฮะกีกัต)ให้ความหมายเป็นอวัยวะและไม่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์

2. หลักฐานอัลกุรอานที่ว่า "ไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนกับพระองค์"

3. การไม่ตีความแล้วมอบหมาย  ไม่ใช่ประเด็นปัญหา  แต่การไม่ตีความด้วยการให้ความหมายแบบคำตรง(ฮะกีกัต)ตามหลักภาษาอาหรับต่างหาก  ที่ทำให้เกิดการตัชบีห์และตัจญ์ซีม (อัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง) วัลอิยาซุบิลลาฮ์

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ anti-bid'ah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 839
  • ไม่รู้ อย่าเสือกชี้
  • Respect: +29
    • ดูรายละเอียด
Re: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ม.ค. 11, 2011, 09:36 PM »
0
 :salam:

มีโองการใดบ้างที่จะต้องมีการตีความ
อัลลอฮฺตรัสในหลายโองการด้วยกันว่า พระองค์ทรงเห็น ได้ยิน
การเห็น การได้ยิน ต้องมีการตีความเพื่อไม่ให้เหมือนมัคโลคด้วยหรือไม่อย่างไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 12, 2011, 07:11 AM โดย anti-bid'ah »
رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ม.ค. 12, 2011, 10:57 AM »
0
ผมยังคงงงกับคำสอนของพวกวะฮาบีย์ที่ว่า "คำว่า "ยะดุน" ในอัลกุรฺอานที่พาดพิงถึงอัลลอฮฺนั้น เราจะต้องเชื่อตามความหมายหะกีกัต (แก่นแท้) เชิงภาษาที่มนุษย์เข้าใจกัน โดยพวกเขาอ้างว่า เพราะอัลกุรฺอานลงมาเป็นภาษาอาหรับตามที่กุรฺอานระบุไว้ ฉะนั้น ก็จะต้องเชื่อตามความหมายหะกีกัตเชิงภาษาที่มนุษย์เข้าใจกัน ฉะนั้น คำถามจึงเกิดขึ้นว่า

       1.) มนุษย์ทั่วไปเข้าใจคำว่า "ยะดุน" อย่างไรหรือ หากไม่ใช่ "ยะดุน" (มือ) ที่เป็นอวัยวะ หรือมีรูปร่าง?
       2.) หากจะอ้างว่า แล้วมันแปลกอะไรกับการที่เราบอกว่า "มือของมนุษย์" กับ "มือของสิ่งอื่น" นั้น ทั้งสองต่างก็เรียกว่ามือ แต่มือมนุษย์ของมือกับของสิ่งอื่นนั้นก็ย่อมแตกต่างกันอยู่แล้ว,

        คำโต้แย้งสำหรับคำถามข้างต้นก็คือ จริงๆ แล้วนั้น เราไม่ได้พิจารณากันแค่ที่รูปร่างเท่านั้น แต่เราพิจารณาไปถึงแก่นแท้ของมัน ซึ่งพวกวะฮาบีย์ก็อ้างเองว่า ต้องเชื่อตามความหมายหะกีกัตตามภาษาที่มนุษย์เข้าใจกัน โดยห้ามตีความ ฉะนั้น ก็ต้องย้อนไปยังคำถามที่หนึ่งใหม่ว่า "มนุษย์ทั่วไปเข้าใจคำว่า "ยะดุน" อย่างไรหรือ หากไม่ใช่ "ยะดุน" (มือ) ที่เป็นอวัยวะ หรือมีรูปร่าง?"

        แต่เราขอบอกว่า มือมนุษย์กับมือของสิ่งอื่น (ที่เป็นมัฅลูกด้วยกัน) นั้นเหมือนกัน, ซึ่งเหมือนกันในแง่ของแก่นแท้ (หะกีกัต) ของมัน ในเมื่อพวกท่านอ้างเองว่า ต้องเชื่อตามความหมายหะกีกัตเชิงภาษาที่มนุษย์เข้าใจกัน (ไม่ใช่ที่รูปร่าง) แต่ในขณะเดียวกัน แนวทางอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลจมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น จะปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงถึงความหมายของยะดุนข้างต้นในเชิงหะกีกัตทางภาษาที่มนุษย์เข้าใจกัน แต่จะมอบหมายความหมายหะกีกัตของมันกลับไปยังอัลลอฮฺ

        และการตีความ "ยะดุน" เป็น "อำนาจ" นั้น ก็ถือว่าสอดคล้องกับกิตาบุลลอฮฺและอัสสุนนะฮ์ เพราะอำนาจก็ถือเป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระองค์จาก ๙๙ พระนามอันวิจิตร นั่นก็คือ พระนาม "อัลมาลิก" แปลว่า พระผู้ทรงอำนาจ

       แต่ในขณะเดียวกัน การให้ความหมายเชิงหะกีกัตตามภาษาที่มนุษย์เข้าใจนั้น กลับไม่ปรากฏ หรือมีหลักฐานยืนยันว่า เป็นคุณลักษณะหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่กลับเป็นการทึกทักเอาเองของพวกวะฮาบีย์ว่า มันเป็นคุณลักษณะหนึ่งของอัลลอฮฺ ที่ต้องเชื่อตามความหมายหะกีกัตเชิงภาษาที่มนุษย์เข้าใจกัน แล้วมาตบท้ายทีหลังว่า ไม่เหมือนกับของมัฅลูก (สิ่งถูกสร้าง)

      ซึ่งมันก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการกล่าวว่า "สี่เหลี่ยมนี้ก็คือสี่เหลี่ยมตามความหมายแก่นแท้ที่มนุษย์เข้าใจนั่นแหละ แต่สี่เหลี่ยมนี้ไม่เหมือนกับสี่เหลี่ยมทั่วไป" ??? - วัลลอฮุอะอ์ลัม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ม.ค. 12, 2011, 11:04 AM »
0
:salam:

มีโองการใดบ้างที่จะต้องมีการตีความ
อัลลอฮฺตรัสในหลายโองการด้วยกันว่า พระองค์ทรงเห็น ได้ยิน
การเห็น การได้ยิน ต้องมีการตีความเพื่อไม่ให้เหมือนมัคโลคด้วยหรือไม่อย่างไร

ประเด็นนี้เรื่องซีฟัต  "ทรงได้ยิน" นั้นผมทราบว่ามีวะฮาบีหรือผู้ที่ไปศึกษาอากีดะฮ์จากตำราวะฮาบีโดยไม่เรียนจากครูผู้คอยชี้นำ  ก็จะนำมาเป็นประเด็นว่า  ทำไมซีฟัตการได้ยินไม่ตีความ  แต่ซีฟัต "ยะดุน"(ภาษาไทยแปลว่ามือ)  ทำไมถึงต้องตีความ  ทั้งที่มีปราชญ์สะลัฟบางท่านบอกว่า  ซีฟัตการได้ยินก็เหมือนกับซีฟัตยะดุน!  ผมขอตอบว่า  ซีฟัตอัสสัมอุ(การได้ยิน) ก็เหมือนกับซีฟัต ยะดุน ในด้านของการ "อิษบาต" (ยืนยันว่าเป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์ทั้งสิ้น) ไม่ใช่ความหมายว่า  ทั้งสองซีฟัตเหมือนกันในด้านความหมายฮะกีกัต(คำแท้)ตามหลักภาษาอาหรับ

ดังนั้นซีฟัตการได้ยินหรือซีฟัตการเห็นนั้น  ไม่ต้องตีความแต่ประการใด   เพราะ "การได้ยิน"  หมายถึง  การรับรู้หรือรู้แจ้งสิ่งถูกได้ยิน  ส่วน ยะดุน นั้นมีความหมายหลายนัยแต่ตามความหมายฮะกีกัต หมายถึง "อวัยวะที่เป็นฝ่ามือและมีนิ้ว"  เพราะฉะนั้นความหมายของซีฟัตการได้ยินจึงเป็นซีฟัตที่สมบูรณ์มีความชัดเจนโดยไม่ชักนำไปสู่การจินตนาการคล้ายเหมือนกับมัคโลคแต่อย่างไดตามหลักภาษาอาหรับ  ส่วนคำว่า ยะดุน ตามหลักภาษาอาหรับแบบฮะกีกัต(คำแท้)หมายถึง  "อวัยวะที่เป็นฝ่ามือและมีนิ้ว" ซึ่งเป็นการให้ความหมายที่ไม่บังควรต่อความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ และชักนำให้สามัญชนทั่วไปเชื่อว่าอัลเลาะฮ์มีรูปร่าง วัลอิยาซุบิลลาฮ์

ดังนั้น  ใครบอกว่าฉันเชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมี  ซีฟัต ยะดุน  แต่ไม่เป็นอวัยวะ  นั่นแหละเขาเรียกว่า  "การตีความ" (ตะวีล) ซึ่งสะลัฟศอลิห์ทั้งหมด  ล้วนแต่ทำการตีความ(ตะวีล)ทั้งสิ้น

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Rachyds

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 100
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • http://rachyds.siamvip.com
Re: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ม.ค. 12, 2011, 11:16 AM »
0
:salam:

กระทู้นี้ขอเป็นการนำเสนอความหมายหรือการอธิบายเกี่ยวกับโองการของอัลกุรอานทั้งหมดที่จำเป็นต้องตีความโดยแต่ละโองการที่ต้องตีความต้องสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้

๑) ทำไมต้องตีความโองการนั้นๆ
๒) มีหลักฐานอะไรที่ต้องตีความหรืออธิบายอย่างนั้น
๓) หากไม่ตีความโองการนั้นๆ โดยแปลกันตรงๆตามภาษาอาหรับ จะส่งผลอะไรต่อการศรัทธา


ตอบแบบสรุปดังนี้

1. เพราะถ้อยคำแท้(ฮะกีกัต)ให้ความหมายเป็นอวัยวะและไม่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์

2. หลักฐานอัลกุรอานที่ว่า "ไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนกับพระองค์"

3. การไม่ตีความแล้วมอบหมาย  ไม่ใช่ประเด็นปัญหา  แต่การไม่ตีความด้วยการให้ความหมายแบบคำตรง(ฮะกีกัต)ตามหลักภาษาอาหรับต่างหาก  ที่ทำให้เกิดการตัชบีห์และตัจญ์ซีม (อัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง) วัลอิยาซุบิลลาฮ์

วัลลอฮุอะลัม



 myGreat:

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ม.ค. 12, 2011, 11:32 AM »
0
พวกวะฮาบีย์มักจะยกคำโต้แย้งของชัยฅ์อิบนุ ตัยมียะฮ์ที่มีต่อกลุ่มอัลอะชาอิเราะฮ์ที่พอสรุปความได้ว่า "ในเมื่อพาดพิงศิฟัตกุดเราะฮ์ (อำนาจ) ต่ออัลลอฮฺได้ ทำไมถึงจะพาดพิงศิฟัตยะดุน (มือ) ต่ออัลลอฮฺไม่ได้ ซึ่งหากพวกเขาโต้แย้งว่า กุดเราะฮ์ของอัลลอฮฺกับของมัฅลูก (สิ่งถูกสร้าง) ย่อมไม่เหมือนกัน ฉะนั้น เราก็ขอตอบอย่างเดียวกันว่า ยะดุน (พระหัตถ์) ของอัลลอฮฺย่อมไม่เหมือนกับยะดุน (มือ) ของมัฅลูกเช่นกัน ..."

        เรา (อัลอะชาอิเราะฮ์) ขอตอบว่า หากเราย้อนกลับไปดูแนวความเชื่อของผู้ที่เรียนศิฟัต ๒๐ นั้น ก็จะจัด "ศิฟัตกุดเราะฮ์" (อำนาจ) นั้นไว้ในหมวด "ศิฟัตมะอานีย์" คือคุณลักษณะเชิงนามธรรม ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อเราจะกล่าวว่า "ศาสตราจารย์ท่านหนึ่งเป็นคนฉลาด" กับเรากล่าวว่า "เด็กคนหนึ่งฉลาด"

        ซึ่งคุณลักษณะแห่ง "ความฉลาด" นั้น่ตางก็เป็นคุณลักษณะเชิงนามธรรม กล่าวคือ ไม่สามารถมองเห็นได้ หรือจับต้องได้ แต่เรารู้ว่ามันมีอยู่จริง เพราะสามารถรับรู้ได้จากผลที่เกิดจากมัน เช่น ปรากฏในการกระทำ หรือคำพูดที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น

         และแน่นอนทีเดียว คนทั่วไปนั้นก็จะเข้าใจทันทีเช่นกันว่า ความฉลาดของบุคคลทั้งสองข้างต้นนั้น ย่อมแตกต่างกันโดยปริยาย โดยไม่ต้องมีการอธิบายใดๆ เพิ่มเติม - เว้นแต่เขาผู้นั้นคิดไม่เป็น อันนี้ก็ช่วยไม่ได้ครับ

        แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเรากล่าวว่า "มือของศาสตราจารย์" กับ "มือของเด็ก" หรืออีกคำพูดหนึ่งคือ "มือของมนุษย์" กับ "มือของสัตว์" แล้ว

        สำหรับคำพูดแรกนั้น สามัญสำนึกของคนทั่วไปก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า มือทั้งสองย่อมเหมือนกันอย่างไม่มีข้อสงสัย แต่ในคำพูดที่สองนั้น สามัญสำนึกของมนุษย์ทั่วไปก็ย่อมเข้าใจเช่นกันว่า ทั้งสองนั้นต่างก็เป็นมือ แต่ไม่เหมือนกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเกณฑ์ทั่วไป หรือความเข้าใจทั่วไปที่มนุษย์ใช้ในการตัดสินข้างต้นนั้นก็คือ การดูที่รูปร่างของสิ่งนั้นเท่านั้น แต่นี่เรากำลังกล่าวในสิ่งที่พาดพิงไปยังอัลลอฮฺ พระผู้ทรงบริสุทธิ์จากการเสมือนสิ่งถูกสร้าง (มัฅลูก) ทั้งปวง

        สำหรับเรานั้น เราขอตอบว่า จากทั้งสองคำพูดที่กล่าวถึงมือนั้นล้วนแต่เหมือนกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเหมือนในที่นี้ก็คือการเหมือนในเชิงแก่นแท้ (หะกีกัต) ของมันตามที่มนุษย์เข้าใจกัน นั่นก็คือ มือที่เป็นรูปร่าง และต่างก็เป็นมัฅลูก (สิ่งถูกสร้าง) กันทั้งนั้น ส่วนหะกีกัต (แก่นแท้) ของความหมายจริงๆ ของมันนั้น เราขอมอบหมายต่ออัลลอฮฺ และเราเชื่อว่า แก่นแท้ (หะกีกัต) ของมันย่อมไม่เหมือนกับสิ่งถูกสร้างแน่นอน

       แต่พวกวะฮาบีย์กลับยืนยันว่า ต้องเชื่อคำว่า ยะดุนที่พาดพิงถึงอัลลอฮฺนั้นในความหมายเชิงหะกีกัต (แก่นแท้) ตามที่มนุษย์ทั่วไปเข้าใจกัน - วัลอิยาฑุบิลลาฮฺ - พร้อมกับตบท้ายว่า ไม่เหมือนกันมัฅลูก แล้วมันอย่างไรหรือ ที่ทีแรกพวกท่านบอกว่าให้เชื่อตามที่มนุษย์เข้าใจกัน แล้วต่อมาก็บอกว่าไม่เหมือนกับที่มนุษย์เข้าใจกัน ??? - วัลลอฮุอะอ์ลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 12, 2011, 04:30 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ม.ค. 12, 2011, 01:18 PM »
0

ซึ่งคุณลักษณะแห่ง "ความฉลาด" นั้น่ตางก็เป็นคุณลักษณะเชิงนามธรรม กล่าวคือ ไม่สามารถมองเห็นได้ หรือจับต้องได้ แต่เรารู้ว่ามันมีอยู่จริง เพราะสามารถรับรู้ได้จากผลที่เกิดจากมัน เช่น ปรากฏในการกระทำ หรือคำพูดที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น

แต่ซีฟัต อัลมะอานี ของอัลเลาะฮ์ตะอาลานั้น  ตามหลักอะกีดะฮ์ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  อัลอะชาอิเราะฮ์  หมายถึง

هِيَ كُلُّ صِفَاتٍ مَوْجُوْدَةٌ قَائِمَةٌ بِمَوْجُوْدٍ أَوْجَبَتْ لَهُ حُكْماً

"ซีฟัตมะอานี  คือทุก ๆ ศีฟัตที่มี(อย่างแท้จริง)ที่เป็นคุณลักษณะอยู่ที่(อัลเลาะฮ์)ผู้ทรงมี  ซึ่ง(ซีฟาตมะอานี)นั้นทำให้เกิดซึ่งความสัมพันธ์ตามมาแก่ผู้ทรงมี"

หมายถึง  ทุก ๆ ศีฟัตที่มีอยู่จริงๆ ซึ่งเป็นคุณลักษณะอยู่อัลเลาะฮ์ตะอาลา  เช่น  ทรงรอบรู้ (อัลอิลมุ), ทรงเดชานุภาพ(อัลกุดเราะฮ์), ซึ่งเรียกว่าซีฟัตมะอานี  เมื่อพระองค์ทรงรอบรู้และทรงเดชานุภาพ  ความสัมพันธ์ตามมาก็คือ  อัลเลาะฮ์ผู้ทรงมีความรอบรู้(อัลอาลิม)และผู้ทรงมีความเดชานุภาพ(อัลกอดิร)  ซึ่งเรียกว่า "ซีฟัตมะนาวียะฮ์"

ท่านชัยคุลอิสลาม อับดุลเลาะฮ์ อัชชัรกอวีย์  กล่าวอธิบายคำนิยามว่า

مَوْجُوْدَةٍ أَيْ خَارِجاً حَيْثُ يُمْكِنُ رُؤْيَتُهَا لَوْ كُشِفَ عَنَّا الْحِجَابُ

"ศีฟัต(มะอานี)ที่มี(อย่างแท้จริง)นี้  หมายถึง  สำแดงออกมานอกเหนือจากซาตของอัลเลาะฮ์  โดยสามารถเห็นซีฟัตนั้นได้หากฮิญาบถูกเปิดให้แก่เรา(โดยอัลเลาะฮ์ตะอาลา)" ฮาชียะฮ์ อัชชัรกอวีย์ หน้า 62

หมายความว่า ซีฟัตมะอานีนั้น  เป็นซีฟัตที่มีอยู่จริง และทุกสิ่งที่มีนั้น  อนุญาตให้เห็นได้  ดังนั้นถ้าหากอัลเลาะฮ์ตะอาลาจะทรงเปิดให้เราเห็นซีฟัตกะลามของพระองค์  เราก็สามารถเห็นได้ตามรูปแบบที่พระองค์ทรงประสงค์

ท่านผู้อ่านโปรดรู้ว่า  การรู้ถึงการแบ่งแยกซีฟัตเป็น มะอานีหรือมะนาวียะฮ์  เป็นต้น นี้เพื่อความเข้าใจอันสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง  ไม่ใช่เป็นฟัรดูอีนบนทุกคนจะต้องรู้   

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
Re: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ม.ค. 13, 2011, 05:04 PM »
0
:salam:

กระทู้นี้ขอเป็นการนำเสนอความหมายหรือการอธิบายเกี่ยวกับโองการของอัลกุรอานทั้งหมดที่จำเป็นต้องตีความโดยแต่ละโองการที่ต้องตีความต้องสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้

๑) ทำไมต้องตีความโองการนั้นๆ
๒) มีหลักฐานอะไรที่ต้องตีความหรืออธิบายอย่างนั้น
๓) หากไม่ตีความโองการนั้นๆ โดยแปลกันตรงๆตามภาษาอาหรับ จะส่งผลอะไรต่อการศรัทธา

เชิญผู้รู็นำเสนอ

           คำตอบ

           ๑.) เพื่อป้องกันความคลุมเครือ และการนึกว่าอัลลอฮฺเสมือนกับสิ่งถูกสร้าง (ตัชบี้หฺ) ซึ่งดังกล่าวนี้ กระทำขึ้นก็เพื่อเป็นการอธิบาย พร้อมกับตอบโต้ต่อพวกที่ชอบใช้ตรรกะ หรือสติปัญญานำหน้ากิตาบุลลอฮฺและอัสสุนนะฮ์ อย่างเช่นพวกนักปรัชญ์และพวกมุอ์ตะซิละฮ์ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีพวกที่มีแนวคิดแบบนี้อยู่มาก

              ๒.) ขอเว้นก่อน เพราะไม่ได้เอาหนังสือมา และในเว็บนี้ก็เคยนำเสนอตัวอย่างการตีความของชนสะละฟุศศอลิหฺมาพอสมควร เช่น อิมามอัฏเฏาะบะรีย์ หรือแม้กระทั่งระดับเศาะหาบะฮ์อย่างท่านอิบนุ อับบาสก็ตาม - อินชาอัลลอฮฺ กำลังแปลหนังสือที่ว่านั้นอยู่ครับ

              ๓.) หากเราแปลอายะฮ์มุตะชาบิหะฮ์ที่เกี่ยวกับศิฟัตของอัลลอฮฺเป็นภาษาใดภาษาหนึ่ง มันก็จะเป็นการเจาะจงความหมายนั้นสำหรับศิฟัตนั้นไป ทั้งที่เราไม่ทราบว่าความหมายใดคือความหมายที่อัลลอฮฺทรงต้องการจริงๆ และว่าการตีความจะเป็นการเจาะจงความหมายหนึ่งแก่ศิฟัตนั้นก็ตาม แต่เป็นการตีความเพื่อจุดประสงค์ไม่ให้เกิดการนึกเสมือนต่ออัลลอฮฺกับมัฅลูก และการตีความนั้นก็จะมาพร้อมกับการมอบหมายด้วย ซึ่งจะต่างกับกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์ที่ตีความ พร้อมกับปฏิเสธศิฟัตนั้นไปด้วย - วัลลอฮุอะอ์ลัม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: โองการที่ต้องตีความ มีเท่าไรกันเชียว
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ม.ค. 13, 2011, 05:54 PM »
0
๑.) เพื่อป้องกันความคลุมเครือ และการนึกว่าอัลลอฮฺเสมือนกับสิ่งถูกสร้าง (ตัชบี้หฺ) ซึ่งดังกล่าวนี้ กระทำขึ้นก็เพื่อเป็นการอธิบาย พร้อมกับตอบโต้ต่อพวกที่ชอบใช้ตรรกะ หรือสติปัญญานำหน้ากิตาบุลลอฮฺและอัสสุนนะฮ์ อย่างเช่นพวกนักปรัชญ์และพวกมุอ์ตะซิละฮ์ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีพวกที่มีแนวคิดแบบนี้อยู่มาก

การป้องกันความคลุมเครือดังกล่าว  ไม่ใช่หมายความว่า เรามานั่งคิดนั่งสมมุติกันจนเกิดความคลุมเครือแล้วหลังจากนั้นก็มาป้องกัน  แต่มันเป็นความคลุมเครือที่พวกบิดอะฮ์ เช่น พวกมุชับบิฮะฮ์  พวกมุญัสสิมะฮ์  เป็นต้น  ได้สร้างความคลุมเครือเอาไว้ก่อนหน้านี้  เราจึงป้องกันเพื่อไม่ให้คนเอาวามสามัญชนทั่วไป  นึกคิดจินตนาการเหมือนกับพวกบิดอะฮ์เหล่านั้น  เท่านั้นเอง
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged