1. การขอบคุณด้วยลิ้น นั่นก็คือการพูดถึงความโปรดปรานเนียะมัตต่างๆ ของอัลลอฮฺ โดยปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์ได้กล่าวไว้ว่า
وإما بنعمة ربك فحدث
และส่วนความโปรดปรานของพระเจ้าของเจ้านั้น เจ้าจงแสดงออก
และเป็นการปฏิบัติตามคำกล่าวของท่านร่อซู้ล (ศ็อลฯ) ที่ว่า "การพูดถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺตะอาลานั้น คือการขอบคุณ"
ไปอ่าน >>>
กระทู้นี้ คิดว่าเกี่ยวข้องครับ
بسم الله الرحمن الرحيم
وَأَمَّا بِنِعْمَةِ رَبِّكَ فَحَدِّثْ
"
สำหรับเนี๊ยะอ์มัตแห่งผู้อภิบาลของท่านนั้น ท่านจงบอกกล่าวเถิด" อัฎฏูฮา 11
ท่านอิมามอัลกุรฏตุบีย์ ได้ตัฟซีรอธิบายไว้ความว่า
أَيْ اُنْشُرْ مَا أَنْعَمَ اللَّه عَلَيْك بِالشُّكْرِ وَالثَّنَاء . وَالتَّحَدُّث بِنِعَمِ اللَّه , وَالِاعْتِرَاف بِهَا شُكْر
หมายถึง : ท่านจงเปิดเผยสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานเนี๊ยะอฺมัตให้ต่อท่านด้วยการชุโกรและสรรเสริญพระองค์ และทำการบอกเล่าด้วยบรรดาเนี๊ยอฺมัตต่าง ๆ ของอัลเลาะฮ์ และการน้อมรับด้วยบรรดาเนี๊ยะอฺมัตต่าง ๆ (ที่พระองค์ทรงประทานให้นั้น) ถือว่าเป็นการชุโกรกตัญญูรู้คุณ
. وَرَوَى اِبْن أَبِي نَجِيح عَنْ مُجَاهِد " وَأَمَّا بِنِعْمَةِ رَبّك " قَالَ بِالْقُرْآنِ . وَعَنْهُ قَالَ : بِالنُّبُوَّةِ أَيْ بَلِّغْ مَا أُرْسِلْت بِهِ . وَالْخِطَاب لِلنَّبِيِّ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - وَالْحُكْم عَامّ لَهُ وَلِغَيْرِهِ .
อิบนุนะญีฮ์ ได้รายงานจาก มุญาฮิด ว่า "สำหรับเนี๊ยะอ์มัตแห่งผู้อภิบาลของท่านนั้น" มุญาฮิดกล่าวว่า "มันคืออัลกุรอ่าน" และรายงานจากมุญาฮิดเช่นกันว่า "มันคือการเป็นนบี หมายถึง ท่านจงเผยแพร่สิ่งที่ถูกส่งมายังท่าน" การสนทนาของอายะฮ์นี้ มุ่งเน้นไปที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โดยที่หลักการจริง ๆ แล้วนั้น ครอบคลุมถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และ
ผู้อื่นจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ด้วย"
وَعَنْ الْحَسَن بْن عَلِيّ - رَضِيَ اللَّه عَنْهُمَا قَالَ : إِذَا أَصَبْت خَيْرًا , أَوْ عَمِلْت خَيْرًا , فَحَدِّثْ بِهِ الثِّقَة مِنْ إِخْوَانِك .
"รายงานจากอัลฮะซัน บุตร อะลี ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านได้กล่าวว่า "เมื่อท่านได้ประสบความดีงามหรือทราบถึงความดีงาม ดังนั้น ท่านจงบอกล่าวมันด้วยกับสิ่งดีงามนั้นกับผู้ที่ไว้ใจได้จากพี่น้องของท่าน"
وَعَنْ عَمْرو بْن مَيْمُون قَالَ : إِذَا لَقِيَ الرَّجُل مِنْ إِخْوَانه مَنْ يَثِق بِهِ , يَقُول لَهُ : رَزَقَ اللَّه مِنْ الصَّلَاة الْبَارِحَة وَكَذَا وَكَذَا . وَكَانَ أَبُو فِرَاس عَبْد اللَّه بْن غَالِب إِذَا أَصْبَحَ يَقُول : لَقَدْ رَزَقَنِي اللَّه الْبَارِحَة كَذَا , قَرَأْت كَذَا , وَصَلَّيْت كَذَا , وَذَكَرْت اللَّه كَذَا , وَفَعَلْت كَذَا . فَقُلْنَا لَهُ : يَا أَبَا فِرَاس , إِنَّ مِثْلَك لَا يَقُول هَذَا قَالَ يَقُول اللَّه تَعَالَى : " وَأَمَّا بِنِعْمَةِ رَبّك فَحَدِّثْ " وَتَقُولُونَ أَنْتُمْ : لَا تُحَدِّثْ بِنِعْمَةِ اللَّه وَنَحْوه عَنْ أَيُّوب السَّخْتِيَانِيّ وَأَبِي رَجَاء الْعُطَارِدِيّ - رَضِيَ اللَّه عَنْهُمْ .
รายงานจากอัมร์ บิน มะมูน เขากล่าวว่า "เมื่อชายคนหนึ่งจากพี่น้องของเขาได้พบเจอกับผู้ที่เขาไว้เนื้อเชื่อใจ ก็ให้ชายผู้นั้นกล่าวกับเขาว่า อัลเลาะฮ์ทรงประทานให้เขาได้ละหมาดในเมื่อวานนี้ เช่นนั้น เช่นนี้" อบูฟาร็อซ อับดุลลอฮ์ บุตร ฆอลิบ นั้น เมื่อถึงยามเช้าเขาก็จะกล่าวว่า ขอยืนยันอัลเลาะฮ์ทรงประทานให้แก่ฉัน อย่างนั้น อย่างนี้ , ฉันได้อ่านอัลกุรอาน อย่างนั้นนั้น อย่างนี้ , ฉันได้ละหมาด อย่างนั้น อย่างนี้ , ฉันได้กระทำ เช่นนั้น เช่นนี้ พวกเขาจึงกล่าวแก่อบูฟิร็อซว่า โอ้ ท่านอบูฟิร็อซ คนอย่างท่านนั้นจะไม่กล่าวแบบนี้ อบูฟิร็อซตอบว่า อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสความว่า ""สำหรับเนี๊ยะอ์มัตแห่งผู้อภิบาลของท่านนั้น ท่านจงบอกกล่าวเถิด" อัฎฏูฮา 11
وَقَالَ بَكْر بْن عَبْد اللَّه الْمُزَنِيّ قَالَ النَّبِيّ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - : ( مَنْ أُعْطِيَ خَيْرًا فَلَمْ يُرَ عَلَيْهِ , سُمِّيَ بَغِيض اللَّه , مُعَادِيًا لِنِعَمِ اللَّه ) .
บักร์ บุตร อับดิลลฮ์ อัลมุซะนีย์ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่าาา "ผู้ใดที่ถูกประทานความดีงามให้แก่เขา แล้วความดีงามไม่ปรากฏบนเขา เขาจะถูกตั้งชื่อว่า บะฆีฎุลลอฮ์ (ผู้ที่ไม่พอใจต่ออัลเลาะฮ์) เป็นปฏิปักษ์ต่อบรรดาเนี๊ยะอฺมัตของอัลเลาะฮ์"
وَرَوَى الشَّعْبِيّ عَنْ النُّعْمَان بْن بَشِير قَالَ : قَالَ النَّبِيّ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - : [ مَنْ لَمْ يَشْكُو الْقَلِيل , لَمْ يَشْكُرْ الْكَثِير , وَمِنْ لَمْ يَشْكُر النَّاس , لَمْ يَشْكُر اللَّه , وَالتَّحَدُّث بِالنِّعَمِ شُكْر , وَتَرْكه كُفْر , وَالْجَمَاعَة رَحْمَة , وَالْفُرْقَة عَذَاب ] .
อัชชะอฺบีย์ ได้รายงานจาก อันนั๊วะอฺมาน บุตร บะชีร ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า "ผู้ใดที่ไม่ชุโกรกับสิ่งที่เล็กน้อย แน่นอนเขาก็จะไม่ชุโกรกับสิ่งที่มาก และผู้ใดที่ไม่ขอบคุณมนุษย์ เขาย่อมไม่ขอบคุณต่ออัลเลาะฮ์ และการบอกเล่าด้วยกับเนี๊ยะอฺมัตต่าง ๆ นั้น เป็นการชุโกรกตัญญูรู้คุณ และการทิ้งการบอกเล่าเนี๊ยะอฺมัต ย่อมเป็นการปฏิเสธ(เนี๊ยะอฺมัต) กลุ่มชนนั้นเป็นความเมตตา และความแตกแยกเป็นการลงโทษ(เป็นวิบัติ)
وَرَوَى النَّسَائِيّ عَنْ مَالِك بْن نَضْلَةَ الْجُشَمِيّ قَالَ : كُنْت عِنْد رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - جَالِسًا , فَرَآنِي رَثّ الثِّيَاب فَقَالَ : [ أَلِك مَال ؟ ] قُلْت : نَعَمْ , يَا رَسُول اللَّه , مِنْ كُلّ الْمَال . قَالَ : [ إِذَا آتَاك اللَّه مَالًا فَلْيُرَ أَثَره عَلَيْك ] . ] .
อันนะซาอีย์ ได้กล่าวรายงานกล่าว มาลิก บุตร นัฏละฮ์ อัลฮุชะมีย์ เขากล่าวว่า "ฉันได้นั่งอยู่กับท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วท่านร่อซูลได้เห็นฉันสวมเสื้อผ้าขาด ดังนั้น ท่านจึงกล่าวแก่ฉันว่า "ท่านไม่มีทรัพย์สินหรือ?" ฉันกล่าวว่า "ครับ" โอ้ ร่อซูลุลลอฮ์ ไม่มีทรัพย์สินเลย ท่านร่อซูลุลลอฮ์ จึงกล่าวว่า "เมื่ออัลเลาะฮ์ทรงประทานทรัพย์แก่ท่าน ดังนั้น จงให้ร่องร่อยของทรัพย์สินนั้นปรากฏอยู่บนท่าน(หมายถึงเอาทรัพย์สินไปซื้อเสื้อผ้าดี ๆ มาสวมใส่)"
وَرَوَى أَبُو سَعِيد الْخُدْرِيّ عَنْ رَسُول اللَّه - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - أَنَّهُ قَالَ : [ إِنَّ اللَّه جَمِيل يُحِبّ الْجَمَال , وَيُحِبّ أَنْ يَرَى أَثَر نِعْمَته عَلَى عَبْده
อบูสะอีด อัลค็อดรีย์ ได้รายงานจาก ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า "แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรง(มีคุณลักษณะ)ที่งดงาม พระองค์ทรงโปรดความงดงาม และพระองค์ก็ทรงโปรดกับการเห็นร่องรอยเนี๊ยะอฺมัตของพระองค์ให้อยู่บนบ่าวของพระองค์ด้วย" จากตัฟซีร อัลกุรฏุบีย์ อธิบายอายะฮ์ที่ 11 ซูเราะฮ์ อัฏฏุฮา
والله سبحانه وتعالي أعلي وأعلم