ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ ราชวงค์อุมัยยะฮ์  (อ่าน 10815 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นักเดินทาง

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 67
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด
ประวัติ ราชวงค์อุมัยยะฮ์
« เมื่อ: ม.ค. 26, 2011, 06:05 PM »
0

การขึ้นครองราชของราชวงศ์อุมัยยะฮ์

ราชวงศ์อุมัยยะฮ์
( الدولة الأموية في الشرق )
ครองราชย์ระหว่างปี ฮ.ศ. 41-132 / ค.ศ. 661-750
ศูนย์กลางการปกครองที่ซีเรีย


         การเสียชีวิตของท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน คอลีฟะฮ์อัรรอชิดูนคนที่ 3 เป็นมูลเหตุของการขัดแย้งระหว่างท่านมุอาวียะฮ์ข้าหลวงแห่งเมืองชาม (ซีเรีย) กับท่านอะลี บิน อบีฏอลิบ คอลีฟะฮ์ อัรรอชิดูนคนที่ 4 ท่านมุอาวียะฮ์เป็นข้าหลวงแห่งเมืองชามตั้งแต่สมัยคอลีฟะฮ์ อุมัร บิน อัลคอฏ - ฏ๊อบ และดำรงตำแหน่งดังกล่าวเรื่อยมากว่า 20 ปี ท่านมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติอย่างใกล้ชิดกับคอลีฟะฮ์อุษมาน บิน อัฟฟาน และทั้งสองสืบเชื้อสายจากตระกูลอุมัยยะฮ์ บุตรของ อับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ” เมื่อคอลีฟะฮ์อุษมานถูกฆาตกรรมอย่างโหดร้ายโดยกลุ่มกบฏ พร้อมกับการขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮ์แทนของท่านอลี โดยการสนับสนุนจากกลุ่มกบฏ ทำให้ท่านมูวียะฮ์ปฏิเสธการให้สัตยาบันต่อท่านอะลี โดยกล่าวหาว่าท่านอะลีมีส่วนรู้เห็นในเหตุการณ์ฆาตกรรมเหล่านี้ ความขัดแย้งระหว่างท่านอะลีกับท่านมุอาวียะฮ์ เป็นมูลเหตุแห่งการเกิดสงครามศิฟฟิน และมัจญ์ลิสตะฮ์กิมในเวลาต่อมา ซึ่งมุสลิมสูญเสียเลือดเนื้อเป็นจำนวนมาก หลังจากมัจญฺลิสตะฮ์กีม ท่านอะลีถูกกลุ่มเคาะวาริจญ์ ลอบสังหารเสียชีวิต บรรดากลุ่มผู้ติดตามท่านอะลีก็ได้แต่งตั้งท่านหะสัน บุตรของท่านอะลีขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นคอลีฟะฮ์แทน ท่านหะสันดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ไม่กี่เดือนก็สละตำแหน่งให้ท่านมุอาวียะฮ์ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยก และสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้

          เมื่อได้ขึ้นมาเป็นคอลีฟะฮ์แล้ว ท่านมุอาวียะฮ์ก็ได้อุทิศตนให้แก่การทำให้อาณาจักรอิสลามผนึกเข้าเป็นปึกแผ่น เรียกร้องความสามัคคีในชาติ ซึ่งแตกสลายและไร้ความสงบสุขมาตั้งแต่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานถูกฆาตกรรม เมื่อตั้งตัวได้สำเร็จแล้ว ท่านมุอาวียะฮ์เริ่มหาทางพิชิตดินแดนอื่นๆ สานต่อจากคอลีฟะฮ์ในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพิชิตแอฟริกาเหนือภายใต้การนำของแม่ทัพอุกบะฮฺ บิน นาเฟียะอฺ (عقبة بن نافع ) ท่านอุกบะฮฺได้ทำการต่อสู้กับชาวโรมันเป็นเวลานาน ในที่สุดก็เอาชนะชาวโรมันและได้ครองแอฟริการเหนือ พร้อมกับสร้างเมืองก็อยรอวาน (القيروان)  ขึ้งทางใต้ของตูนิสเมื่อ ปี ฮ.ศ. 50 นอกจากนี้ท่านมุอาวียะฮ์ ได้ขยายดินแดนไปทางทิศตะวันออกอย่างกว้างขวาง เมือเฮรัต ( هراة) ซึ่งแข็งข้อขึ้นก็ถูกตีได้ เมื่อฮ.ศ.41 อีกสองปีต่อมาก็พิชิตเมืองกาบูลได้ ส่วนเมืองฆอสนา( غزنة )เมืองบัลก์( بلخ ) เมืองกอนดาฮาร์ ( قندهار ) บูคอรอ  ( بخارى ) สะมารคานด์(سمرقند ) และเมืองติรมิด( ترمذ ) ก็ถูกผนวกเข้าเป็นรัฐอิสลามในสมัยของคอลีฟะฮ์มุอาวียะฮ์ ไม่เพียงแต่รวมกำลังอย่างมั่นคงเท่านั้น แต่ยังขยายอาณาเขตการปกครองออกไปอย่างกว้างขวางอีกด้วย

          ท่านมุอาวียะฮ์เป็นผู้บริหารที่ดี ทรงเป็นคนแรกที่จัดตั้งกรมสารบรรณ ( ديوان الخاتم ) และกรมไปรษณีย์ขึ้น จัดตั้งกองกำลังตำรวจและกองทหารองครักษ์ ทรงแต่งตั้งเจ้า เมืองให้ทำการบริหารส่วนท้องถิ่น และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พิเศษให้เป็นผู้บริหารเงินรายได้ของแผ่นดิน ท่านมุอาวียะฮ์เป็นท่านแรกที่ทรงเปลี่ยนสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักรอิสลามและเป็นคนแรกที่สร้างตำแหน่งคอลีฟะฮฺ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ ได้กลายเป็นตัวอย่างในการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์ต่อๆมา ตลอดจนราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ทั้งราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ และอื่นๆอีกด้วย

           พวกอุมัยยะฮ์สืบเชื้อสายมาจาก อุมัยยะฮ์ อิบนิ อับดุซซัม ซึ่งเป็นบุคคลชั้นแนวหน้าคนหนึ่งในเผ่ากุเรช สมัยอนารยยุค (ญาฮิลิยะฮ์) ซึ่งมีเกียรติทัดเทียมกับตระกูลของผู้เป็นลุงของท่าน คือ ฮาชิม ปู่ของท่านศาสดามุฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม แต่พวกอุมัยยะฮ์มีทรัพย์สิน เงินทอง และลูกหลานมากกว่าพวกฮาชิม ในสมัยก่อนนั้นตระกูลทั้งสองต่างแก่งแย่งอำนาจกันในการเป็นผู้นำของเผ่ากุเรช เมื่อการเป็นศาสดาได้ปรากฏขึ้นในตระกูลฮาชิม พวกฮาชิมจึงเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามก่อนตระกูลอุมัยยะฮ์ และได้ให้การสนับสนุนต่อท่านรซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ส่วนตระกูลอุมัยยะฮ์ มีบุคคลเพียงจำนวนน้อยที่ให้การสนับสนุนท่านรซูล และส่วนใหญ่ได้ต่อต้านการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม สำหรับผู้เป็นหัวหน้าเผ่านี้ได้แก่ อะบูซุฟยาน บิน ฮัรบฺ ซึ่งได้ขัดขวางการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม จนกระทั่งศาสดามูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ทำการพิชิตนครมักกะฮ์ เขาจึงได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม รวมทั้งบุคคลในตระกูลอุมัยยะฮ์ด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 27, 2011, 12:24 AM โดย Ibnu Ishag »
قال الإمام الشافعي رحمه الله              
أخي لن تنال العلم إلا بستة ..... سأنبيك عن تفصيلها ببيان

ذكاء وحرص واجتهاد وبلغة ..... وصحبة أستاذ وطول زمان

ออฟไลน์ นักเดินทาง

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 67
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติ ราชวงค์อุมัยยะฮ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ม.ค. 26, 2011, 09:56 PM »
0
คอลีฟะฮ์แห่งราชวงค์อุมัยยะฮ์


      สายซุฟยานีย์
1.   มุอาวียะฮ์ ที่ 1 บิน อบีซุฟยาน จาก ปี ฮ.ศ. 41 – 60 ( ค.ศ. 661 – 680 )
2.   ยะซีด ที่ 1 บิน มุอาวียะฮ์ ที่ 1 จาก ปี ฮ.ศ. 60 – 64 ( ค.ศ. 680 – 683 )
3.   มุอาวียะฮ์ ที่ 2 บิน ยะซีด ที่ 1 จาก ปี ฮ.ศ. 64 – 64 ( ค.ศ. 683 – 683 )

      สายมัรวานีย์
4.   มัรวาน ที่ 1 บิน ฮะกัม จาก ปี ฮ.ศ. 64 – 65 ( ค.ศ. 683 – 684 )
5.   อับดุลมะลิก บิน มัรวาน ที่ 1 จาก ปี ฮ.ศ. 65 – 86 ( ค.ศ. 684 – 705 )
6.   วะลีด ที่ 1 บิน อับดุลมะลิก จาก ปี ฮ.ศ. 86 – 96 ( ค.ศ. 705 – 715 )
7.   สุไลมาน บิน อับดุลมะลิก จาก ปี ฮ.ศ. 96 – 99 ( ค.ศ. 715 – 718 )
8.   อุมัร บิน อับดุลอะซีซ จาก ปี ฮ.ศ. 99 – 101 ( ค.ศ. 718 – 720 )
9.   ยะซีด ที่ 2 บิน อับดุลมะลิก จาก ปี ฮ.ศ. 101 – 105 ( ค.ศ. 720 – 724 )
10.   ฮิชาม บิน อับดุลมะลิก จาก ปี ฮ.ศ. 105 – 125 ( ค.ศ. 724 – 743 )
11.   วะลีด ที่ 2 บิน ยะซีด ที่ 2 จาก ปี ฮ.ศ. 125 – 126 ( ค.ศ. 743 – 744 )
12.   ยะซีด ที่ 3 บิน วะลีด ที่ 1 จาก ปี ฮ.ศ. 126 – 126 ( ค.ศ. 744 – 744 )
13.   อิบรอฮีม บิน วะลีด ที่ 1 จาก ปี ฮ.ศ. 126 – 127 ( ค.ศ. 744 – 744 )
14.   มัรวาน ที่ 2 บิน มูฮัมมัด จาก ปี ฮ.ศ. 127 – 132 ( ค.ศ. 744 – 749 )


قال الإمام الشافعي رحمه الله              
أخي لن تنال العلم إلا بستة ..... سأنبيك عن تفصيلها ببيان

ذكاء وحرص واجتهاد وبلغة ..... وصحبة أستاذ وطول زمان

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติ ราชวงค์อุมัยยะฮ์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ม.ค. 27, 2011, 09:13 AM »
0

ผลงานเยี่ยมยอดคับ...อยากอ่านต่อคับ...มีราชวงศ์ไรอีกไหม ...
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ นักเดินทาง

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 67
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติ ราชวงค์อุมัยยะฮ์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ม.ค. 27, 2011, 06:55 PM »
0
1. มูอาวียะฮ์ บิน อะบีซุฟยาน ( ฮ.ศ. 41-60 ค.ศ. 661-680 )

         ท่านมีชื่อเต็มว่า มูอาวียะฮ์ บิน อะบีซุฟยาน บิน ฮัรบฺ บิน อุมัยยะฮ์ บิน อับดิชชัมสฺ บิน อับดิลมานาฟ บิน ก็อยซฺ มารดาชื่อฮินดฺ บินติ อุกบะฮ์ บิน รอบีอะฮ์ บิน อับดิชชัมสฺ บิน อัลดิลมานาฟ

         ท่านเกิดในนครมักกะฮ์ ก่อนที่ท่านศาสดามูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม จะถูกแต่งตั้งให้เป็นศาสดา 5 ปี และได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามพร้อมกับบิดา มารดา และพี่ชายของเขา ขณะนั้นเขามีอายุได้ 25 ปี และท่านรซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นอาลักษณ์ทำการบันทึกอัลกุอาน ท่านคอลีฟะฮ์อุมัร ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองประเทศชามส่วนหนึ่ง ต่อมาท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองดินแดนชามทั้งหมด หลังจากที่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้เสียชีวิตลง มุอาวียะฮ์ได้แยกอาณาจักรชามเป็นอิสระ และหลังจากที่เขาสามารถสถาปนาอาณาจักรอุมัยยะฮ์ได้แล้ว ก็ได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรอิสลามจากนครมาดีนะฮ์ไปอยู่ที่นครดามัสกัส ในประเทศชาม

         ท่านมุอาวียะฮ์ เป็นผู้ที่มีสติปัญญาปราดเปรื่อง มีสายตาอันกว้างไกล มีความสุขุม มีความชำนาญทางด้านการเมือง และมีความสุภาพอ่อนโยน ทั้งนี้เนื่องจากว่าความสุภาพอ่อนโยน เป็นคุณลักษณะของหัวหน้าเผ่าต่างๆ ของอาหรับ ท่านสามารถข่มความรู้สึกได้ เมื่อได้รับการพูดจาถากถาง หรือบริภาษจากผู้อื่น พร้อมกับได้ให้อภัยในส่วนที่ควรให้อภัย มุอาวียะฮ์รู้ดีว่าตัวของท่านเองและบรรดาวงศ์วานของท่านไม่สมควรได้คัดค้านการเป็นคอลีฟะฮ์ของท่าน โดยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ท่านจะต้องปฏิบัติกับประชาชนด้วยความสุภาพอ่อนโยน มีสัมมาปฏิบัติและแสดงออกถึงความโอบอ้อมอารีเพื่อว่าจะได้จับผู้ที่เป็นศัตรูต่อท่านและเพื่อที่ท่านจะได้จ่าย ทรัพย์สินเงินทองเพื่อปิดปากและยุติการทำร้ายของพวกเขาเหล่านั้น ด้วยการดำเนินนโยบายอันแยบยลของมุอาวียะฮ์เช่นนี้ ประชาชนทั้งหลายจึงยุติการกล่าววิจารณ์ และยอมรับการเป็นคอลีฟะฮ์ของท่าน

         ถึงจะอย่างไรก็ตาม มุอาวียะฮ์ก็มิได้ละเลยกิจการของอิสลามและรัฐแต่ประการใด ท่านได้ทำการขยายดินแดนของอาณาจักรอิสลามออกไปอีก พร้อมกับได้แต่งตั้งผู้ที่มีความเหมาะสม มีความสามารถ และมีความชำนาญให้ทำการบริหารตำแหน่งต่างๆในอาณาจักรอิสลาม ท่านได้คัดเลือกผู้ปกครองที่มีความเชี่ยวชาญ ทำให้เขาเหล่านั้นบริหารอาณาจักรอิสลามด้วยความเด็ดเดี่ยว บริสุทธิ์ใจ และมีสมถะ จึงให้ความผาสุก และความสงบแผ่ไปทั่วอาณาจักรอิสลาม
มุอาวียะฮ์เป็นชาวอาหรับแท้ ซึ่งแสดงออกให้ปรากฏทางด้านอุปนิสัยและความประพฤติของท่าน ท่านชอบใช้ชีวิตแบบง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัยหรือเครื่องนุ่งห่ม มีผู้กล่าวว่า ท่านรับประทานอาหารมาก คำพูดนี้เป็นความจริงเพราะว่าท่านเป็นคนอ้วน แต่ทว่าการรับประทานอาหารมากของท่านก็เป็นเช่นเดียวกับอาหารที่ท่านได้เคยรับประทานมาก่อน มิได้เป็นอาหารที่ดีเลิศกว่านี้แต่ประการใด สิ่งที่ท่านชอบรับประทานคือ ขนมปังหยาบ เนื้อต้ม และเนื้อย่าง

         การปกครองของอาณาจักรมุอาวียะฮ์นั้น ท่านไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นเสนาบดีที่ปรึกษา ถึงแม้ว่าท่านได้ทำการปกครองประเทศเป็นระยะเวลานานก็ตาม แต่ทว่าระเบียบการปกครองท่านเป็นไปอย่างง่ายๆ ท่านจะเปิดประตูรับประชาชนทุกคนที่ปรารถนาจะเข้าไปพบ เพื่อส่งเรื่องราวร้องทุกข์ตามที่เขาปรารถนา น้อยคนนักที่มาเยือนท่าน และกลับออกไปโดยมิได้รับของขวัญติดมือ ถึงแม้ว่าเขาผู้นั้นจะเป็นศัตรูกับท่านก็ตาม ท่านได้ปูนบำเหน็จให้กับสาวกของท่านรซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม บรรดาลูกๆของเขาเหล่านั้น บรรดาผู้นำของเผ่าต่างๆ และบรรดานักปราชญ์อย่างมากมาย

คุณลักษณะและอุปนิสัยของท่าน

         ท่านเป็นคนที่รูปร่างสูง ผิวขาว ใบหน้ากลม ดูสง่าน่าเกรงขาม ท่านเป็นผู้ที่มีสติปัญญาฉลาดหลักแหลม เป็นผู้มีความรู้ กล้าหาญ เข้มแข็ง มีความความอดทนอย่างสูง มีจุดยืนที่มั่นคง คล่องแคล่ว อ่อนโยนในสิ่งที่ควรอ่อนโยน และแข็งข้อในสิ่งที่ควรแข็ง แต่ความอ่อนโยนของท่านนั้นสามารถเอาชนะความแข็งกระด้างได้ ท่านเป็นผู้มีความให้อภัยผู้อื่น ชอบบริจาคทรัพย์สิน

จุดเด่นของคอลีฟะฮ์มุอาวียะฮ์

1. มุอาวียะฮ์ คือคอลีฟะฮ์ที่ถูกบอกข่าวโดยท่านรซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม
         จากอับดุลมาลิก บิน อับดุลมาลิก ได้กล่าวว่า : มุอาวียะฮ์ได้กล่าวว่า : ฉันเคยอยากเป็นคอลีฟะฮ์ตั้งแต่ท่านท่านรซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า : “ โอ้ มุอาวียะฮ์ เมื่อไรเจ้าได้เป็นผู้ปกครอง เป็นสิ่งที่ดียิ่ง ”

2. มุอาวียะฮ์คือคอลีฟะฮ์ที่เชี่ยวชาญ
         จากอิบนิ มุลัยกะฮ์ : ได้กล่าวว่า ได้มีคนกล่าวแก่อิบนิ อับบาส ว่า : ท่านเคยรู้เรื่องของมุอาวียะฮ์บ้างไหม เขาไม่เคยทำการละหมาดวิตรฺ นอกจากหนึ่งรอกะอัตเท่านั้น. ท่านได้กล่าวว่า : “ เขาคือเชี่ยวชาญ ”

3. มุอาวียะฮ์คือศอฮาบะฮ์ที่ถูกดุอาอฺโดยท่านท่านรซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม
         จากอับดุรเราะห์มาน บิน อมีเราะฮ์ จากท่านนบี ได้กล่าวแก่มุอาวียะฮ์ว่า :
“ اللهم اجعله هاديا مهديا ” หมายความว่า : “ โอ้ พระเจ้าของฉัน จงทำให้เขาเป็นผู้ชี้นำ และได้รับทางชี้นำ ”

4. มูอาวียะฮ์เป็นผู้เขียนวะฮฺยู
         อบูซุฟยานได้ขอจากท่านท่านรซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ให้แต่งตั้งมูอาวียะฮ์ เป็นผู้เขียนต่อหน้าเขา ดังนั้นท่านรซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้ตอบรับคำขอนั้น.

การขยายดินแดนในสมัยของมุอาวียะฮ์

         มุอาวียะฮ์มีทัศนะว่า หนทางที่จะทำให้บรรดามุสลิมละทิ้งความสนใจต่อกิจการภายในอาณาจักรอิสลามและปัญหาพิพาทกันเกี่ยวกับผู้มีสิทธิในการดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ คือ การส่งให้เขาเหล่านั้นออกไปพิชิตและแผ่ขยายอาณาจักรอิสลาม ทำให้อาณาจักรอิสลามได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง จนเป็นที่เกรงขามของข้าศึก และทำให้ตำแหน่งของท่านมีความมั่นคงขึ้นท่ามกลางผู้ที่นิยมในตัวท่านด้วยความบริสุทธิ์ใจ
 
         ด้วยสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีการจัดตั้งกองทัพเรือขึ้นในอาณาจักรอิสลามพร้อมกับมีการเพิ่มจำนวนเรือ ทหารเรือและจัดการปรับปรุงกำลังทหารของอิสลามให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ก็ได้มีการจัดระเบียบการรับราชการทหารขึ้น โดยมีชื่อว่า “ ภาคร้อน ภาคหนาว ” ตามนัยนี้ หมายถึงการจัดตั้งกำลังทหารขึ้น โดยทำหน้าที่รักษาเขตแดนของอาณาจักรอิสลามให้พ้นจากการโจมตีและรุกรานของข้าศึก  ซึ่งมีอยู่เสมอ ทั้งในฤดูร้อน และฤดูหนาว ทำให้กำลังทหารของมุสลิมมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ เพื่อการทำการสงคราม ณ ที่นี้ เราจะกล่าวถึงการพิชิตของเขาเหล่าทหารมุสลิมในสมัยมุอาวียะฮ์พอเป็นสังเขป

ก.- การพิชิตดินแดนทางภาคตะวันออก

         ในสมัยของคอลีฟะฮ์อุมัร บิน ลคอฏฏ๊อบ บรรดามุสลิมได้แผ่ขยายดินแดนออกไปจนเกือบจะถึงพรมแดนของประเทศปากีสถานในปัจจุบัน บรรดาประชาชนในสมัยนั้นยังคงเคารพบูชาไฟ และรูปเจว็ด และเขาเหล่านั้นได้แสดงความกระด้างกระเดื่องไม่ยอมอ่อนน้อมต่อมุสลิม ขณะที่ได้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างมุอาวียะฮ์และคอลีฟะฮ์อะลี โดยเหตุนี้จึงได้มีคำสั่งให้ทำการปราบปราม เพื่อให้เขาเหล้านั้นอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้โดยการจัดส่ง อับดุลลอฮฺ บิน เซาวาร ยกกองทัพไปทางทิศตะวันออก 2 ครั้ง สามารถพิชิตรัฐสินธ์ คือ ปากีสถานในปัจจุบันได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็ได้จัดส่ง อัลมุลฮับ บิน อะบีซ๊อฟเราะฮ์ อัล-อัซดีย์ ให้คุมกำลังทหารมุสลิมจำนวนมากไปยังภาคตะวันออก ซึ่งสามารถพิชิตแคว้นสินธ์ได้ทั้งหมด และได้เข้าไปยังเมืองลาโฮร์ พร้อมกับปรับปรุงเมืองนี้ให้เป็นเมืองมุสลิม
หลังจากนั้นมุอาวะยะฮ์ได้ส่งก็อยสฺ บิน อัล ฮัยซัม ไปพิชิตทางภาคตะวันออกของเมืองคูรอซาน โดยบุกเข้าไปในเมือง บัลคฺ (بلخ) ซึ่งอยู่ในอัฟกานิสถานในปัจจุบันและได้ทำการสร้างมัสยิดขึ้น ต่อจากนั้นก็ได้พิชิตเมืองเฮราต ( هراة ) โดยอับดุลลอฮฺ บิน ฮาชิม ตลอดจนเมืองอื่นอีก เช่น บุคอรอ ( بخارى ) และสมารกอนดฺ (سمرقند )

การปรับปรุงกองทัพเรือของมุสลิม

         มุอาวียะฮ์ได้ให้ความสนใจอย่างกว้างขวางต่อกองทัพเรือและการทำสงครามทางเรือนับตั้งแต่ท่านเป็นผู้ปกครองเมืองชามสมัยคอลีฟะฮ์อุมัร บิน คอฏฏ๊อบ ท่านได้จัดตั้งกองทัพเรือขนาดใหญ่ และได้พิชิตเกาะต่างๆ เช่น เกาะโรดส์ และเกาะไซปรัส
นอกจากนี้ มุอาวียะฮ์ยังได้จัดตั้งอู่ต่อเรือตามท่าเรือต่างๆ เช่นที่เมืองซูร ซอยดา อัสกอลาน และกาซา และบรรดาท่าเรือที่อียิปต์ เช่น ดิมยาฎ และอเล็กซานเดรีย ท่านได้ให้ความสนใจต่อเรือรบ และฝึกซ้อมเหล่าทหารมุสลิมให้มีความชำนาญในการสงครามทางทะเล เมื่อท่านได้ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ ก็ได้ให้ความสนใจทางด้านกองทัพเรือของมุสลิมในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียนมากยิ่งขึ้น และได้ทำให้จำนวนเรือรบของมุสลิมมีถึง 100 ลำ

ข. - ความพยายามในการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล

         ในปี ฮ.ศ.48 (ค.ศ.668) มุอาวียะฮ์ได้จัดเตรียมกองทัพทั้งทางบกและทางทะเล เพื่อทำการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยให้ซุฟยาน บิน เอาฟฺ เป็นแม่ทัพ        กำลังทหารของมุสลิมได้เดินทางไปจนถึงกำแพงเมืองของกรุงคอนสแตนติโนเปิล และได้ทำการสู้รบกับพวกโรมันไบเซ็นตีนอย่างรุนแรง แต่ไม่สามารถพิชิตเมืองนี้ได้ เพราะว่ากำแพงเมืองมึความแข็งแรงมาก ประกอบด้วยขณะนั้นเป็นช่วงฤดูหนาว มีหิมะตกมาก นอกจากนั้น พวกโรมันไบเซ็นติน ยังได้ใช้อาวุธชนิดหนึ่งเรียกว่า “ ปีนไฟของกรีก ” ระดมยิงมายังเรือของมุสลิม ทำให้เรือเกิดไฟไหม้และเสียหายอย่างใหญ่หลวง บรรดามุสลิมจึงประสบความปราชัยอย่างย่อยยับและต้องถอยทัพกลับ
 
ค- การพิชิตอัฟริกา

          ในปี ฮ.ศ.50 (ค.ศ. 670) มุอาวียะฮ์ได้จัดส่งกำลังทหารจำนวน 10,000 คน ไปให้กับอุกบะฮ์ บิน นาเฟียะอฺ ผู้ปกครองบัรเกาะฮ์ ตั้งแต่สมัยของอัมรฺ บิน อาศ เป็นผู้ปกครองอียิปต์ เพื่อให้ทำการพิชิตอัฟริการตะวันตก อุกบะฮ์จึงพากำลังทหารของมุสลิมบุกเข้าไปยังอัฟริกา และสามารถพิชิตดินแดนส่วนนั้นได้จนถึงตูนีเซียในปัจจุบัน ขณะที่ทำการพิชิตดินแดนส่วนนี้นั้น พวกเบอร์เบอร์ จำนวนมากได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม แต่อย่างไรก็ตามบรรดามุสลิมต้องประสบกับอุปสรรคอย่างมากมายหลังจากที่ได้ทำการพิชิตอัฟริกา ทั้งนี้เนื่องจากดินแดนนี้อยู่ใกล้กับเกาะซิชิลี จึงทำให้พวกโรมันสามารถจัดส่งเสบียงสัมภาระมาให้กำลังทหารของตนได้อย่างสะดวก นอกจากนี้แล้วพื้นเพทางภูมิศาสตร์ของอัฟริการเป็นภูเขาจึงทำให้พวกเบอร์เบอร์หลบซ่อนตัวอยู่แถบหุบเขาเพื่อซุ่มดักโจมตีกำลังทหารของมุสลิม โดยเหตุนี้การพิชิตอัฟริกาโดยสมบูรณ์จึงใช้เวลามากกว่า 60 ปี

           เมื่ออุกบะฮ์สามารถเอาชนะเบอร์เบอร์ได้แล้ว จึงได้ยกทัพลงไปทางตอนใต้ของตูนีเซียและได้จัดสร้างเมืองก็อยรอวาน ขึ้นไปในปี ฮ.ศ.55 โดยเป็นเมืองแรกที่มุสลิมได้จัดสร้างในอัฟริกา เป็นเมืองที่สี่ที่มุสลิมได้จัดสร้างขึ้นหลังจากกุฟะฮ์ บัสเราะฮ์ และฟุสฏ๊อฏ การสร้างเมืองก็อยรอวาน ดำเนินไปเป็นเวลา 5 ปี จึงเสร็จเรียบร้อย และได้มีการจัดสร้างมัสยิดญามิอฺขึ้นด้วย ซึ่งถือได้ว่ามัสยิดหลังนี้เป็นมัสยิดที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอิสลาม

           ด้วยการสร้างมัสยิด ทำให้ก็อยรอวานกลายเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ศาสนาอิสลามภาคตะวันตกของทวีปอัฟริกา และเป็นที่ป้องกันภัยของมุสลิมจากการโจมตีของเบอร์เบอร์

การมอบอำนาจการเป็นคอลีฟะฮ์ของมุอาวียะฮ์ให้แก่ยาซีดผู้เป็นบุตร

          มุอาวียะฮ์มีความเห็นว่า ควรแต่งตั้งให้ยาซีดผู้เป็นบุตรดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์สืบต่อไป และจำกัดอำนาจการปกครองอาณาจักรอิสลามแก่บุคคลภายในตระกูลของตน โดยเหตุนี้เขาจึงเริ่มทำการโฆษณาชวนเชื่อในหมู่ประชาชนโดยทั่วไปถึงข้อดีเกี่ยวกับการกระทำเช่นนี้ ทั้งนี้โดยอาศัยบรรดาผู้ซื่อสัตย์ต่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์เป็นสื่อกลาง ด้วยการใช้วิธีเช่นนี้จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบต่อการคัดเลือกให้ยาซีดดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์สืบต่อไป และเนื่องจากความหวั่นเกรงต่อความยุ่งเหยิงอันอาจจะเกิดขึ้นอีก หลังจากมุอาวียะฮ์สิ้นชีวิตไป โดยมิได้แต่งตั้งให้ผู้ใดดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์แทน บรรดาหัวเมืองต่างๆจึงได้จัดส่งคณะผู้แทนมาขอร้องให้มุอาวียะฮ์จัดการให้สัตยาบันแก่ยาซีดเพื่อให้ดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งมุอาวียะฮ์ก็เห็นชอบด้วย โดยที่ท่านก็มีเจตนารมณ์ที่จะกระทำเช่นนั้นอยู่แล้ว โดยเหตุนี้การให้สัตยาบันทั่วไปแก่ยาซีดจึงเกิดขึ้น โดยไม่มีผู้ใดคัดค้านเลยนอกจากชาวฮิญาซ ( حجاز ) ดังนั้นมุอาวียะฮ์จึงเดินทางไปยังแคว้นฮิญาซเพื่อบีบบังคับให้อับดุลลอฮฺ บิน อุมัร,อับดุลลอฮฺ บิน ซุเบร, อับดุลลอฮฺ บิน อับบาส และอัล-หุเซน บิน อะลี ให้การสัตยาบันต่อการเป็นคอลีฟะฮ์ของยาซีด ดังนั้นจึงเป็นคอลีฟะฮ์ของอาราจักรอิสลามสืบต่อจากผู้เป็นบิดา ขณะที่บิดาของเขายังมีชีวิตอยู่

การเสียชีวิต

           มูอาวียะฮ์ได้เสียชีวิตในเดือนรอญับ ปีที่60 แห่งฮิจญ์เราะฮ์ศักราช ด้วยอายุ 78 ปี ที่เมืองซีเรีย เนื่องด้วยถูกโรคร้าย หลังจากที่ปกครองอาณาจักรอิสลามนานถึง 20 ปี

 
قال الإمام الشافعي رحمه الله              
أخي لن تنال العلم إلا بستة ..... سأنبيك عن تفصيلها ببيان

ذكاء وحرص واجتهاد وبلغة ..... وصحبة أستاذ وطول زمان

ออฟไลน์ Bangmud

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2821
  • Respect: +127
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติ ราชวงค์อุมัยยะฮ์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ม.ค. 29, 2011, 06:36 AM »
0
 :salam:

ขอเอกสารอ้างอิงด้วยได้ไหมครับ เอาเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

ภาษาอาหรับผมไม่ชำนาญ

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติ ราชวงค์อุมัยยะฮ์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ม.ค. 29, 2011, 09:46 AM »
0
ประเทศชามส่วนหนึ่ง ต่อมาท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองดินแดนชามทั้งหมด หลังจากที่ท่านคอลีฟะฮ์อุษมานได้เสียชีวิตลง มุอาวียะฮ์ได้แยกอาณาจักรชามเป็นอิสระ และหลังจากที่เขาสามารถสถาปนาอาณาจักรอุมัยยะฮ์ได้แล้ว ก็ได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรอิสลามจากนครมาดีนะฮ์ไปอยู่ที่นครดามัสกัส ในประเทศชาม


หมายความว่างัยหรือ ช่วยขยายความหน่อยได้ไหม

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติ ราชวงค์อุมัยยะฮ์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ม.ค. 29, 2011, 09:54 AM »
0
การปรับปรุงกองทัพเรือของมุสลิม

         มุอาวียะฮ์ได้ให้ความสนใจอย่างกว้างขวางต่อกองทัพเรือและการทำสงครามทางเรือนับตั้งแต่ท่านเป็นผู้ปกครองเมืองชามสมัยคอลีฟะฮ์อุมัร บิน คอฏฏ๊อบ ท่านได้จัดตั้งกองทัพเรือขนาดใหญ่ และได้พิชิตเกาะต่างๆ เช่น เกาะโรดส์ และเกาะไซปรัส


้ถ้าจะบอกว่ามุอาวิยะฮฺได้ให้ความสนใจต่อกองทัพเรือนับตั้งแต่ท่านเป็นผู้ปกครองเมืองชามสมัยคอลีฟะฮ์อุมัร บิน คอฏฏ๊อบ อันนี้ใช่ แต่ถ้าจะบอกว่ามุอาวิยะฮฺเริ่มทำสงครามทางเรือนับตั้งแต่ท่านเป็นผู้ปกครองเมืองชามสมัยคอลีฟะฮ์อุมัร บิน คอฏฏ๊อบ อันนี้คิดว่าไม่น่าจะถูกต้อง เพราะมีรายงานอย่างชัดเจนว่า ท่านอุมัรได้สั่งกำชับมุอาวิยะฮฺห้ามไม่ให้ทำสงครามทางทะเล เพราะชาวมุสลิมยังด้อยประสบการณ์ด้านการทำสงครามทางทะเล กลัวว่าจะพาชาวมุสลิมไปสังเวยสงคราม


ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติ ราชวงค์อุมัยยะฮ์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ม.ค. 29, 2011, 10:01 AM »
0
ข. - ความพยายามในการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล

         ในปี ฮ.ศ.48 (ค.ศ.668) มุอาวียะฮ์ได้จัดเตรียมกองทัพทั้งทางบกและทางทะเล เพื่อทำการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยให้ซุฟยาน บิน เอาฟฺ เป็นแม่ทัพ กำลังทหารของมุสลิมได้เดินทางไปจนถึงกำแพงเมืองของกรุงคอนสแตนติโนเปิล และได้ทำการสู้รบกับพวกโรมันไบเซ็นตีนอย่างรุนแรง แต่ไม่สามารถพิชิตเมืองนี้ได้ เพราะว่ากำแพงเมืองมึความแข็งแรงมาก ประกอบด้วยขณะนั้นเป็นช่วงฤดูหนาว มีหิมะตกมาก นอกจากนั้น พวกโรมันไบเซ็นติน ยังได้ใช้อาวุธชนิดหนึ่งเรียกว่า “ ปีนไฟของกรีก ” ระดมยิงมายังเรือของมุสลิม ทำให้เรือเกิดไฟไหม้และเสียหายอย่างใหญ่หลวง บรรดามุสลิมจึงประสบความปราชัยอย่างย่อยยับและต้องถอยทัพกลับ


ซุฟยาน บิน เอาฟฺ เป็นแม่ทัพอะไรหรือ แม่ทัพบก แม่ทัพทะเล แต่ถ้าจะหมายถึงแม่ทัพใหญ่คิดว่าไม่ถูกต้อง เพราะเป็นที่รู้กันว่า สงครามปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลในครั้งนั้น มุอาวิยะฮิได้แต่งตั้งบุตรชาย ยะซีด บิน มุอาวิยะฮิ เป็นแม่ทัพใหญ่ ไม่ใช่ซุหยาน และในสงครามครั้งนี้มีเศาะหาบะฮฺหลายคนร่วมติดตามด้วย อาทิ อิบนุ อับบาส อิบนุอุมัร อัลหุสัยนฺ บิน อาลี และอบูอัยยูบ อัลอันศอรีย์ ซึ่ง ณ สถานที่แห่งนี้ท่านอบูอัยยูบได้เสียชีวิตลง และถูกฝังใต้กำแพงกรุงคอนสแตนติโนเปิล 


 

GoogleTagged