ผู้เขียน หัวข้อ: บัย อัลอีนะห์ และตะวัรรุก  (อ่าน 3244 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
บัย อัลอีนะห์ และตะวัรรุก
« เมื่อ: พ.ค. 31, 2009, 11:00 PM »
0

العينة والتورق

บัย อัลอีนะห์ และตะวัรรุก

บัย อัลอีนะห์  และ ตะวัรรุก เป็นประเด็นมานานนับพันปี


เมื่อ มีการก่อตั้งธนาคารอิสลามขึ้น นักวิชาการด้านชะรีอะห์ได้มีการหยิบยกประเด็นเรื่องบัย อัลอีนะห์ และตะวัรรุกขึ้นมาอภิปรายกันค่อนข้างกว้างขวางเพื่อนำมาเป็นเครื่องมือทาง การเงินตามหลักการศาสนา  โดยกลุ่มประเทศเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้หยิบยกเอาบัย อัลอีนะห์ มาใช้เป็นเครื่องมือทางการเงินในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่ติดขัดทางด้าน กฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกรรมทางการเงิน  และที่ติดขัดในเรื่องการจ่ายภาษีซ้ำซ้อน  โดยอาศัยหลักที่ว่าบัย อัลอีนะห์ เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ตามมัซฮับชาฟิอี  ใน ขณะที่กลุ่มประเทศในตะวันออกกลางได้หยิบเอาหลักตะวัรรุกมาใช้เป็นเครื่องมือ ทางการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลูกค้าที่ต้องการเงินสดไปหมุนเวียน โดยอาศัยหลักที่ว่าตะวัรรุก เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ตามมัซฮับฮัมบะลี  จึงทำให้หลายๆคนคิดว่า บัย อัลอีนะห์ และตะวัรรุกนั้นเป็นประเด็นที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเกิดธนาคารอิสลาม  ทั้งที่ความจริงทั้งสองนี้ได้เป็นประเด็นมานานนับพันปีแล้ว.

 

นิยามบัย อัลอีนะห์ ( بيع العينة):

( وَهُوَ أَنْ يَبِيعَهُ عَيْنًا بِثَمَنٍ كَثِيرٍ مُؤَجَّلٍ وَيُسَلِّمَهَا ) لَهُ ( ثُمَّ يَشْتَرِيَهَا ) مِنْهُ ( بِنَقْدٍ يَسِيرٍ لِيَبْقَى الْكَثِيرُ فِي ذِمَّتِهِ وَنَحْوُهُ ) بِأَنْ يَبِيعَهُ عَيْنًا بِثَمَنٍ يَسِيرٍ نَقْدًا وَيُسَلِّمَهَا ثُمَّ يَشْتَرِيَهَا مِنْهُ بِثَمَنٍ كَثِيرٍ مُؤَجَّلٍ سَوَاءٌ قَبَضَ الثَّمَنَ الْأَوَّلَ أَمْ لاَ


คือ การที่คนหนึ่งขายสินค้าให้ผู้ซื้อเป็นเงินเชื่อ และส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ซื้อไป  หลังจากนั้นเขาก็ซื้อสินค้านั้นกลับมาด้วยเงินสดที่น้อยกว่าราคาขาย  เพื่อที่ราคาเงินเชื่อที่มากกว่าจะติดค้างอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ซื้อ


และที่เหมือนกันก็คือ  การที่เขาขายสินค้าให้ผู้ซื้อเป็นเงินสด และส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ซื้อไป หลังจากนั้นก็ซื้อสินค้าคืนมาเป็นเงินเชื่อที่มากกว่าราคาขาย โดยไม่คำนึงว่าเขาได้รับราคาขายครั้งแรกแล้วหรือไม่. (أسنى المطالب -الجزء الثاني)

และ เพื่อให้เห็นภาพการดำเนินการโดยหลักบัย อัลอีนะห์ระหว่างธนาคารอิสลามกับลูกค้าทั้งกรณีที่ธนาคารเป็นเจ้าของสินค้า และกรณีที่ลูกค้าเป็นเจ้าของสินค้า จึงขอเสนอตัวอย่างดังนี้


ตัวอย่างในกรณีที่ธนาคารเป็นเจ้าของสินค้า

ธนาคารขายสินค้าของตนให้แก่ลูกค้าของธนาคารเป็นเงินเชื่อราคา 1200 บาท กำหนดชำระคืนหนึ่งปี ธนาคารส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าไป  เมื่อลูกค้าได้รับสินค้าแล้ว ก็ขายคืนให้ธนาคารเป็นเงินสดด้วยราคา 1000 บาท

เป็นผลทำให้ลูกค้าเป็นหนี้ธนาคาร 1,200 บาท จากการซื้อสินค้าจากธนาคารเป็นเงินเชื่อ ที่จะต้องผ่อนชำระในกำหนดหนึ่งปี  และลูกค้าได้เงินสดไป 1,000 บาท  จากการขายสินค้านั้นคืนให้แก่ธนาคาร


ตัวอย่างในกรณีที่ลูกค้าเป็นเจ้าของสินค้า

ลูกค้าขายสินค้าของตนให้แก่ธนาคารเป็นเงินสดด้วยราคา 1,000 บาท กำหนดชำระคืนหนึ่งปี ลูกค้าส่งมอบสินค้าให้แก่ธนาคารไป  เมื่อธนาคารได้รับสินค้าแล้ว ก็ขายคืนให้ลูกค้าเป็นเงินเชื่อด้วยราคา 1,200  บาท

เป็นผลทำให้ลูกค้าได้เงินสดไป 1,000 บาท   จากการขายสินค้าของตนให้แก่ธนาคารเป็นเงินสด  แต่เป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคาร 1,200  บาท จากการที่ธนาคารขายสินค้านั้นคืนกลับไปเป็นเงินเชื่อ  ในกำหนดหนึ่งปี

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 31, 2009, 11:01 PM โดย قطوف من أزاهير النور »
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: บัย อัลอีนะห์ และตะวัรรุก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พ.ค. 31, 2009, 11:06 PM »
0

นักวิชาการมีทรรศนะแตกต่างกันในเรื่องบัย อัลอีนะห์เป็นสองฝ่าย

• นักวิชาการส่วนใหญ่ (3 มัซฮับคือ ฮะนะฟี, มาลิกี, ฮัมบะลี) ไม่อนุญาต

• นักวิชาการส่วนน้อย (มัซฮับชาฟิอี, อัซซอฮิรีย์)  อนุญาต


อิหม่ามชาฟิอี ได้อธิบายลักษณะการซื้อขายแบบบัย อัลอีนะห์ไว้ในหนังสืออุมม์ (เล่ม 3 หน้า 79) โดยใช้คำว่า بيع الآجال    อิหม่ามชาฟิอี  (ร.ด)  ได้อธิบายไว้ในหนังสืออุมม์ว่า  การขายประเภทนี้ไม่เป็นไร  เพราะในข้อเท็จจริง มันประกอบด้วยการขายสองครั้งที่แยกจากกันต่างหาก  และการขายแต่ละครั้งก็ครบเงื่อนไข  และองค์ประกอบ  ดังนั้นจึงเป็นการขายที่ถูกต้อง

อิหม่ามชาฟีอียังได้อ้างอีกว่าในเมื่ออนุญาตให้ผู้ซื้อสินค้าในครั้งแรก  ขายสินค้าให้ใครก็ได้ตามต้องการ  แล้วทำไมจึงต้องยกเว้นว่าจะขายคืนให้แก่คนขายในครั้งแรกไม่ได้ เหมือนกับเป็นการแยกเขาออกไปจากมนุษย์ทั้งหลาย.

อิหม่ามชาฟิอีได้กล่าวโต้กับผู้ที่ห้ามการขายประเภทนี้ว่า

ให้ถามเขาว่า : ท่านจงบอกเถิดการขายครั้งแรกได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้วใช่ไหม?
หากเขาตอบว่า : ใช่
ก็จงถามเขาว่า : การขายครั้งที่สองเหมือนการขายครั้งแรกใช่ไหม?
หากเขาตอบว่า :  ไม่เหมือนกัน
ให้ถามว่า : เป็นการฮารอมไหมที่เขาจะขายทรัพย์สินของเขาเป็นเงินสด ถึงแม้เขาจะซื้อมาด้วยเงินเชื่อ ?
หากเขาตอบว่า : ไม่ฮารอม ถ้าหากเขาขายให้คนอื่น
ก็ให้ถามเขาว่า : ใครเป็นผู้กีดกันคนขายครั้งแรกออกจากการขายนี้


يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: บัย อัลอีนะห์ และตะวัรรุก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พ.ค. 31, 2009, 11:11 PM »
0

-ข้อความต่อไปนี้คัดจากงานค้นคว้าเรื่อง-

ข้อกำหนดของบัย อัลอีนะห์ของเชคฟัรกูส

حكم بيع العينة للشيخ فركوس

هو شيخنا أبو عبد المعز محمد علي بن بوزيد بن علي فركوس القبي

นักวิชาการฝ่ายชาฟิอี และดอฮิรี อ้างอัลกุรอาน อัซซุนนะห์ และอิจมาอ์  เป็นหลักฐานอนุญาตบัย อัลอีนะห์ดังนี้

อัลกุรอาน :
ความว่า “ และอัลเลาะห์ทรงอนุมัติการค้า ”   (อัลบะกอเราะห์ 275)   ตาม ที่ปรากฏนั้นการขายแบบอีนะห์ เป็นการซื้อขายที่มีข้อตกลงระหว่างสองฝ่าย ดังนั้นจึงอยู่
ในข่ายการอนุมัติการค้าที่กินความกว้างในอายะห์นี้  และ ข้อกำหนดนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงนอกจากต้องมีหลักฐานอื่นที่มาห้าม และทำให้การขายแบบอีนะห์ ออกไปอยู่นอกกรอบของความหมายนี้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ดังจะได้นำมากล่าวต่อไป

อัซซุนนะห์ :
عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الخُدْرِي رضي الله عنه قَالَ: "جَاءَ بلاَلٌ إِلَى النََّّبِي صَلَى اللَهُ عَلَيْهِ وَ سَلَّمَ بِتَمْرٍ بَرْنِيٍ، فَقَالَ لَهُ النَّبِيُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَ سَلَّمَ: "مِنْ أَيْنَ هَذَا؟" قَالَ بِلاَلٌ: كَانَ عِنْدَنَا تَمْرٌ رَدِيءٌ، فَبِعْتُ مِنْهُ صَاعَيْنِ بِصَاعٍ لِمَطْعَمِ النَّبِيِ صَلّى اللهُ عَلَيْهِ وَ سَلّمَ، فَقَالَ النَّبِيُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَ سَلَّمَ عِنْدَ ذَلِكَ: "أَوَّهٍ أَوَّهٍ، عَيْنُ الرِّبَا، عَيْنُ الرِّبَا، لاَ تَفْعَلْ، وَلَكِنْ إِذَا أَرَدْتَ أَنْ تَشْتَرِيَ فَبِعْ التَمْرَ بِبَيْعٍ آخَرَ، ثُمَّ اشْتَرِ بِهِ"، متفق عليه

ความว่า : เล่าจากอะบีสะอีด อัลคุดรีย์ (ร.ด.) ว่า “บิลาลได้นำอินทผลัมชนิดดี (บัรนีย์) มาให้ท่านนบี(ซ.ล.)  ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวแก่เขาว่า “ได้อินทผลัมนี้มาจากไหน? บิลาลตอบว่า พวกเรามีอินทผัมชนิดไม่ดี (รอดีย์)  ฉันได้แลกมันสองซออ์ ต่อหนึ่งซออ์เพื่อเป็นอาหารของท่านนบี(ซ.ล.)  ท่านนบี(ซ.ล.)จึงได้กล่าวในขณะนั้นว่า
ไม่น่าเลย ไม่น่าเลย มันคือตัวริบา มันคือตัวริบา ท่านอย่าทำ แต่ถ้าหากท่านต้องการจะซื้อ  ท่านจงขายอินทผลัม(ไม่ดี)ไปเสียก่อน แล้วจึงนำราคาไปซื้อมัน (อินทผลัมชนิดดี)  รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม.

และด้วยฮะดีษที่บุคอรีและมุสลิมได้รายงานจากฮะดีษอะบีสะอีด อัลคุดรีย์ และอะบีฮุรอยเราะห์ (ร.ด.)  ว่า

أنّ رسول الله صلى الله عليه و سلم استعمل رجلا على خيبر، فجاء بتمر جنيب، فقال له رسول الله صلى الله عليه و سلم:"أكلّ تمر خيبر هكذا؟" قال: لا و الله يا رسول الله إنّا لنأخذ الصاع منه بالصاعين و الصاعين بالثلاثة، فقال النّبيّ صلى الله عليه و سلم: "لا تفعل، بعِ الجَمْعَ بالدّراهم ثمّ ابتع بالدّراهم جنيبا" 

ความว่า : ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้มอบให้ชายคนหนึ่งไปทำงานที่คอยบัร ต่อมาเขาได้นำอินทผลัมชนิดดี  (جنيب ) มา  ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้กล่าวแก่เขาว่า “อินทผลัมทั้งหมดที่คอยบัรเป็นอย่างนี้หรือ?” ชายคนนั้นตอบว่าขอสาบานต่ออัลเลาะห์ โอ้ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ มันไม่ใช่เป็นอย่างนี้ทั้งหมด เราแลกมันหนึ่งซออ์ต่อสองซออ์ และสองซออ์ต่อสามซออ์  ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า “ ท่านอย่าทำเช่นนั้น ท่านจงขายอินทผลัมชนิดไม่ดี ( الجَمْعَ  ) เป็นเงินดิรฮัม เสียก่อน หลังจากนั้นจงเอาเงินดิรฮัมไปซื้ออินทผลัมชนิดดี ”   รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม.

แนวทางในการนำฮะดีษทั้งสองมาอ้างเป็นหลักฐานคือ ความหมายกว้างๆ ของฮะดีษทั้งสองที่อยู่ในคำพูดของท่านนบี (ซ.ล.) ที่ว่า...) (فَبِعْ التَمْرَ “ท่านจงขายอินทผลัม
(ไม่ดี)ไปเสียก่อน”

และคำพูดที่ว่า (بعِ الجَمْعَ ....) “ ท่านจงขายอินทผลัมชนิดไม่ดี ” บ่งชี้ว่าการขายแบบอีนะห์ใช้ได้และเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้ที่ซื้ออินทผลัมชนิดไม่ดีไปจากเขา เป็นคนเดียวกันกับคนที่ขายอินทผลัมชนิดดีให้แก่เขานั่นเอง ดังนั้นเงินดิรฮัมก็กลับไปเป็นของเขาด้วยเช่นกัน  และโดยที่ฮะดีษไม่ได้ให้รายละเอียดในที่ที่ อาจเป็นไปได้ทั้งเป็นการขายให้แก่ผู้ที่จะขายอินทผลัมชนิดดีให้เขาหรือเป็นผู้อื่นก็ได้  และ ไม่ได้ให้รายละเอียดอีกเช่นกันว่ามีเป้าหมายนำไปสู่การซื้อที่มากกว่าหรือ ไม่ จึงได้ข้อสรุปว่าเป็นการขายที่ถูกต้องโดยไม่มีข้อแม้ ไม่ว่าจากฝ่ายผู้ขายหรือฝ่ายผู้ซื้อ  เพราะการไม่ให้รายละเอียดในที่ที่อาจเป็นไปได้นั้น เท่ากับเป็นคำที่กินความกว้าง.

และอีกแง่หนึ่งก็คือทั้งสองฮะดีษนี้บ่งชี้อีกเช่นเดียวกันว่าอนุญาตสิ่งที่จะ เกิดความเสียหาย ที่จะเกิดจากการไม่ให้รายละเอียดในเรื่องผู้ขายและผู้ซื้อ และราคาที่มากกว่าหรือมากกว่า.

อิจมาอ์ :
นักวิชาการฝ่ายชาฟิอี และดอฮิรี ได้อ้างหลักฐานที่ว่าอนุญาตให้ขายให้แก่ผู้ขาย ภายหลังช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่มีเจตนานำไปสู่การได้กลับคืนมาด้วยราคาที่สูงกว่า เพราะถ้าหากคนหนึ่งกล่าวว่า “ จงแลก(ขาย)เหรียญเงินดิรฮัมเหล่านี้ กับเหรียญเงินดิรฮัมที่เท่ากัน แต่ฉันขอเวลาหนึ่งเดือน” ว่าเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาต เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งที่มีเหตุริบา(علة الريا)อย่างเดียวกัน  ต่างกับกรณีที่เขากล่าวว่า “ ท่านจงให้ฉันยืมเหรียญเงินดิรฮัม และขอเวลาฉันหนึ่งเดือนจะใช้คืนให้ ” ว่าเป็นสิ่งที่อนุญาต  เพราะเป็นการยืม(قرض)  ซึ่งทั้งสองรูปแบบไม่มีอะไรแตกต่างกัน นอกจากความแตกกันของคำว่า “แลก”  (ขาย)  และคำว่า “ ยืม”

 
 
นักวิชาการฝ่ายชาฟิอี และดอฮิรี ได้อธิบายเหตุผลที่ไม่ยอมรับฮะดีษของฝ่ายที่ห้ามการขายแบบบัย อัลอีนะห์ ดังต่อไปนี้ :


1- สำหรับฮะดีษ อิบนุ อุมัร ที่ว่า

 -  ما رواه أبو داود و غيره من حديث ابن عمر مرفوعا: "إذا تبايعتم بالعينة و أخذتم أذناب البقر، و رضيتم بالزرع، و تركتم الجهاد، سلّط الله عليكم ذلاّ لا ينزعه حتّى ترجعوا إلى دينكم"

ความว่า :  “ เมื่อพวกท่านซื้อขายกันแบบอีนะห์ และจับหางวัว พอใจกับการเกษตร และละทิ้งการญิฮาด อัลเลาะห์จะให้ความต้อยต่ำเข้าครอบงำพวกท่าน โดยไม่มีใครถอดออกไปได้จนกว่าพวกท่านจะกลับคืนสู่ศาสนา” รายงานโดยอะบูดาวูด และท่านอื่น จากฮะดีษอิบนุ อุมัร เป็นฮะดีษที่พาดพิงถึงท่านนบี

พวกเขาได้อธิบายเหตุผลที่ไม่ยอมรับไว้สองประการคือ

ประการที่หนึ่ง :  สายรายงานของฮะดีษ
พวกเขามีทรรศนะว่าฮะดีษอิบนุ อุมัรในเรื่องการซื้อขายแบบบัย อัลอีนะห์นั้นเป็นฮะดีษดออีฟ นำมาใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ เพราะในสายรายงานมีผู้รายงานที่ชื่อ  อิสหาก บิน อุสัยด์ อะบูอับดิรเราะห์มาน อัลคุรอซานีย์  พำนักอยู่ที่มิสร์นั้น “ไม่อาจอ้างเป็นหลักฐานได้” (لايحتج به)      และในสายรายงานยังมีผู้รายงานอีกท่านหนึ่ง อะ ตออ์ อัลคุรอซานีย์ สำหรับบุคคลผู้นี้ก็มีคำวิจารณ์อยู่ในหนังสือ มุคตะซอร อัสสุนัน ของมุนซิรีย์ ว่า ท่านอัซซะฮะบีย์ได้กล่าวว่า ฮะดีษนี้เป็นหนึ่งจากบรรดาฮะดีษมุนกัรของเขา

ฮาฟิซ (อิบนุฮะญัร) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ บุลูฆุลมะรอม ของเขาว่า ในสายรายงานฮะดีษนี้มีคำวิจารณ์ ฮะดีษนี้ในรายงานของอะห์มัดก็เช่นเดียวกันเป็นรายงานจาก
อะตออ์ และสายรายงานของอะตออ์นั้นเป็นบรรดาบุคคลที่เชื่อถือได้ และอิบนุกอตตอนได้กล่าวว่าเป็นฮะดีษซอเฮียะฮ์ หลังจากนั้นฮาฟิซ (อิบนุฮะญัร)ได้กล่าวไว้ในหนังสือ
ตัลคีซุลฮะบีรว่า สำหรับทรรศนะของข้าพเจ้าเห็นว่าสายรายงานของฮะดีษที่อิบนุลกอตตอนกล่าวว่าซอ เฮียะฮ์นั้น มีข้อบกพร่อง(معلول)  เพราะ ไม่จำเป็นว่าฮะดีษที่มีสายรายงานเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้ จะต้องเป็นฮะดีษซอเฮียะฮ์เสมอไป เพราะท่านอะอ์มัชนั้นเป็นผู้อำพรางสายรายงาน(مدلِّس)  และ เขาก็ไม่ได้กล่าว่าได้ยินฮะดีษนี้จาก อะตออ์ และอะตออ์ นั้นก็เป็นไปได้ว่าเขาคือ อะตออ์ อัลคุรอซานีย์ ในทางวิชาการเรียกว่า ตัดลีส อัตตัสวิยะห์ (تدليس التسوية)  โดยทิ้งนาฟิอ์ ไประหว่างอะตออ์กับ
อิบนุอุมัร

ประการที่สอง :  ตัวบทฮะดีษ
การที่ฮะดีษบ่งชี้ว่าการขายแบบบัย อัลอีนะห์เป็นสิ่งต้องห้ามนั้นยังไม่ชัดเจน ดัวยเหตุผลสองประการคือ
หนึ่ง :  การนำเอาบัย อัลอีนะห์ ไปกล่าวไว้รวมกับ “การจับหางวัว” และ “การเกษตร” ทั้งที่ทั้งสองประการนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งต้องห้าม ก็เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าบัย อัลอีนะห์ไม่ใช่
เป็นสิ่งต้องห้าม.
สอง:  ฮะดีษนี้ให้สัญญาว่าจะพบกับความต้อยต่ำ คำสัญญานี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งต้องห้าม.



2- สำหรับฮะดีษอะบีฮุรอยเราะห์ ที่ว่า

-  ما رواه أبو داود من حديث أبي هريرة قال: قال النبي صلى الله عليه و سلم: "مَنْ بَاعَ بَيْعَتَيْنِ في بيعة فله أَوْكَسُهُما أو الرّبا".

ความว่า  ฮะดีษรายงานโดยอะบูดาวูด จากฮะดีษอะบีฮุรอยเราะห์ว่า ท่านนบี (ซ.ล. ได้กล่าวว่า “ ผู้ใดขายสองครั้ง  ในการขายครั้งเดียว  ดังนั้นเขามีสิทธิรับราคาที่
น้อยที่สุด หรือมิเช่นนั้นก็รับริบา”

มัซฮับชาฟิอีได้ไขความในฮะดีษเป็นสองแนวทางคือ

หนึ่ง : คือการที่ผู้หนึ่งกล่าวว่า “ ฉันขายสิ่งนี้ให้ ท่านราคาสองพัน เป็นเงินเชื่อ และหนึ่งพันเป็นเงินสด ท่านต้องการอย่างใด ก็เอาไป” การซื้อขายนี้ใช้ไม่ได้เพราะขาดความชัดเจน และมีการตั้งข้อแม้ในข้อตกลง.

สอง : คือการที่ผู้ขายกล่าวว่า “ฉันขายทาสของฉันให้ท่าน โดยท่านจะต้องขายม้าของท่านให้ฉัน”

เมื่อเป็นดังนี้ การตีความสองเงื่อนไขในการขาย หรือสองการขายในการขายครั้งเดียวว่าเป็นการขายแบบบัย อัลอีนะห์  จึงไม่ใช่เป็นการเจาะจง.



3- ฮะดีษของเอาซาอีย์ ที่ว่า

-  ما روي عن الأوزاعي عن النّبيّ صلى الله عليه و سلم أنّه قال: "يأتي على النّاس زمان يستحلون الرّبا بالبيع"

ความว่า : ฮะดีษที่รายงานโดยอัลเอาซาอีย์ จากท่านนบี (ซ.ล. ได้กล่าวว่า “ จะมียุคสมัยหนึ่งมาถึงผู้คนที่ถือว่าริบาเป็นสิ่งอนุมัติโดยอาศัยการค้า ”

พวกเขามีทรรศนะว่าฮะดีษนี้เป็นฮะดีษมุรซัล(مرسل)  จะนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้ และไม่อาจนำไปสนับสนุนการคัดค้านหลักฐานต่างๆ ที่อนุญาตได้.



4- ฮะดีษอาลิยะห์ บินต  อันฟะอ์ ที่ว่า

 رَوَوْا أَنْ عَالِيَةَ بِنْتَ أَنْفَعَ أَنَّهَا سَمِعَتْ عَائِشَةَ أَوْ سَمِعَتْ امْرَأَةَ أَبِي السَّفَرِ تَرْوِي  عَنْ عَائِشَةَ أَنَّ امْرَأَةً سَأَلَتْهَا عَنْ بَيْعٍ بَاعَتْهُ مِنْ زَيْدِ بْنِ أَرْقَمَ بِكَذَا وَكَذَا إلَى الْعَطَاءِ ثُمَّ اشْتَرَتْهُ مِنْهُ بِأَقَلَّ مِنْ ذَلِكَ نَقْدًا , فَقَالَتْ عَائِشَةُ : بِئْسَ مَا اشْتَرَيْت وَبِئْسَ مَا ابْتَعْت , أَخْبِرِي زَيْدَ بْنَ أَرْقَمَ أَنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ قَدْ أَبْطَلَ جِهَادَهُ مَعَ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إلَّا أَنْ يَتُوبَ  .

ความว่า : พวก เขาได้รายงานว่า อาลิยะห์ บินต อันฟะอ์ ว่าเขาได้ยินอาอิชะห์ หรือได้ยินภรรยาคนหนึ่งของอะบี อัสสะฟัร ที่รายงานจากอาอิชะห์ว่ามีผู้หญิงคนหนึ่ง ได้ถามอาอิชะห์ถึงการที่เขาได้ขายให้แก่ซัยด์ บิน อัรกอม เท่านั้นเท่านี้ เป็นเงินเชื่อ หลังจากนั้นเขาได้ซื้อมันคืนมาด้วยราคาที่น้อยกว่าเป็นเงินสด  อาอิชะห์ กล่าวว่า
“สิ่งที่เธอขายไปและซื้อมาเป็นสิ่งที่เลวที่สุด” เธอจงไปบอกซัยด์ บิน อัรกอมด้วยว่า อัลเลาะห์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกรได้ทำลายการญิฮาดของเขาที่ทำร่วมกับรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) นอกจากเขาจะสำนึกผิด”  รายงานโดยดารุกุตนีย์ และบัยฮะกีย์


ผู้ที่อนุญาตบัย อัลอีนะห์ได้คัดค้านฮะดีษอาลิยะห์ สองแนวทาง

แนวทางที่หนึ่ง :   การไม่ยอมรับว่าเป็นฮะดีษซอเฮียะฮ์

พวกเขากล่าวว่าฮะดีษนี้เป็นฮะดีษดออีฟ ทั้งสายรายงานและตัวบท

ในแง่ของสายรายงาน อิบนุฮัซม์  (ابن حزم) ได้กล่าวว่าภรรยาของอะบีอิสหากคือ อาลิยะห์ บินต อันฟะอ์  นั้นไม่มีใครรู้จักสถานภาพ และไม่มีใครรายงานฮะดีษจากเขานอกจากสามีของนาง และลูกชายของนางที่ชื่อยูนุส เท่านั้น  ท่านชัวะอ์บะห์  (شعبة)ได้ กล่าวตำหนิยูนุสอย่างรุนแรงว่าเขาเป็นดออีฟ. ยะห์ยา บิน กอตตอน และอะห์มัด บิน ฮันบัลกล่าวว่าเขาเป็นคนดออีฟ และชาฟิอี ก็ปฏิเสธเขา อันเนื่องมาจากภรรยาของอะบีอิสหาก.

ในแง่ของตัวบทนั้นเป็นไปไม่ได้ที่อาอิชะห์ (ร.ด.) จะตัดสินลงไปว่าการญิฮาดของซัยด์ บิน อัรกอม ที่ทำร่วมกับท่านนบี (ซ.ล.) นั้นเสียไปทั้งหมด แค่เพียงเขาเข้าไปวินิจฉัย(اجتهاد)ในเรื่องหนึ่งและเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ฮาลาล

อิบนุ ฮัซม์ ได้กล่าวภายหลังจากเล่าประวัติของซัยด์ว่า ขอสาบานต่ออัลเลาะห์ว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่มีบาปใดทำลายมันได้ นอกจากการเสียศาสนา(ردة) เท่านั้น
ขออัลเลาะห์ได้ปกป้องเขาให้พ้นจากการเช่นนั้น ด้วยความพึงพอพระทัยของพระองค์ และขอพระองค์ได้ทรงปกป้องอาอิชะห์จากคำพูดไร้สาระเช่นนี้ด้วย

ชา ฟิอีกล่าวว่า พร้อมกันนี้เราไม่อาจยอมรับว่าคำพูดเช่นนี้ อาอิชะห์จะเป็นผู้พูด ทั้งที่ซัยด์ก็ไม่ได้ขายสิ่งใดที่เขามี นอกจากสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นสิ่งที่ศาสนาอนุญาตให้ขาย และจะไม่ซื้อสิ่งใดนอกจากซื้อสิ่งที่ศาสนาอนุญาตให้ซื้อ  ดัง นั้นถ้าหากเราเห็นคนๆหนึ่งขายหรือซื้อสิ่งหนึ่งที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งต้อง ห้ามแต่คนอื่นเห็นว่าเป็นสิ่งที่ศาสนาอนุญาต เราก็จะไม่เกิดความคิดว่าอัลเลาะห์ได้ทำลายความดีใดๆ ของเขา เพราะเขามีความเห็นไม่ตรงกับเรา.

แนวทางที่สอง :  ยอมรับว่าเป็นฮะดีษซอเฮียะฮ์

สมมติว่าฮะดีษนี้เป็นฮะดีษซอเฮียะฮ์ และยอมรับว่าเกิดขึ้นจริง ก็จะนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้ ด้วยเหตุผลหลายประการ

- เป็นไปไม่ได้ที่อาอิชะห์จะพูดเช่นนั้น โดยรู้เรื่องนี้มาจากท่านนบี (ซ.ล.) เพราะต้องมีหลักฐาน และยังไม่เพียงพอที่จะนำคำพูดนี้ไปพาดพิงกับท่านนบี (ซ.ล.)
โดยใช้เพียงความเห็น และถ้าหากสิ่งที่อาอิชะห์พูดเป็นหะดีษ ก็จะต้องนำออกรายงานจะปิดบังไว้ไม่ได้ และถ้าสมมติว่าเป็นฮะดีษซอเฮียะฮ์  ถึงที่สุดแล้วก็เป็นเพียงความเห็นของอาอิชะห์เท่านั้น  ซึ่งขัดกับหลักฐานทั่วไปที่อนุญาต.

- คำพูดของอาอิชะห์ไม่ได้เหนือกว่าคำพูดของซัยด์ ซึ่งเป็นซอฮาบะห์เหมือนกัน และใช้หลักกิยาส คำพูดของซอฮาบะห์ท่านหนึ่งจะนำไปเป็นหลักฐานให้โทษแก่ซอฮาบะห์อีกท่านหนึ่ง ไม่ได้  ชาฟิอีกล่าวว่า ถ้าหากมีซอฮาบะห์บางคนของท่านบี (ซ.ล.)มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องหนึ่ง  ซอ ฮาบะห์บางท่านมีทรรศนะอย่างหนึ่ง
ในขณะที่บางคนมีทรรศนะตรงกันข้าม หลักที่พวกเราใช้ปฏิบัติก็คือเราจะยึดถือคำพูดของซอฮาบะห์ที่ใช้หลักกิยาส  และผู้ที่ใช้หลักกิยาสในเรื่องนี้คือซัยด์ บิน อัรกอม”   และชาฟิอีได้กล่าวว่า “ในกรณีที่ซอฮาบะห์มีทรรศนะแตกต่างกัน มัซฮับของเราคือกิยาส และกิยาสก็อยู่กับซัยด์”

- มีความเป็นไปได้ที่อาอิชะห์จะตำหนิการขายเชื่อ เพราะไม่รู้กำหนดเวลาในการชำระราคาที่แน่นอน จึงทำให้เกิดการฉ้อฉลขึ้น.




5- ส่วนการอ้างหลักฐานโดยอาศัยการกระทำหรือคำพูดของซอฮาบะห์นั้น พวกเขาได้ให้เหตุผลในการคัดค้านไว้ดังต่อไปนี้
ฮะดีษอิบนุอับบาสที่ว่า

-  عن ابن عبّاس أنّه سئل عن رجل باع من رجل حريرة بمائة، ثمّ اشتراها بخمسين؟ قال: دراهم بدراهم متفاضلة، دخلت بينهما حريرة.

ความว่า  “ เล่าจากอิบนิ อับบาสว่าเขาถูกถามถึงชายคนหนึ่งที่ขายผ้าไหมชิ้นหนึ่งให้แก่  ชาย อีกคนหนึ่งในราคาหนึ่งร้อย หลังจากนั้นเขาซื้อคืนด้วยราคาห้าสิบ ?
อิบนุอับบาสตอบว่า เป็นการแลกเหรียญเงินดิรฮัมกับเหรียญเงินดิรฮัมที่มีการเกินเลยกันโดยมีผ้า ไหมเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างนั้น”.

พวกเขาได้คัดค้านดังนี้
ฮะดีษ  อิบนุอับบาส  เป็นความเห็นและเป็นการวินิจฉัยของเขา    โดยที่อิบนุอุมัร   และซัยด์ บิน อัรกอม ได้ขัดแย้งกับเขา และหลักกิยาสก็อยู่กับคนทั้งสองนี้

ส่วนฮะดีษอะนัสที่ว่า
- وعن أنس أنّه سئل عن العينة فقال: "إنّ الله لا يخدع، هذا ممّا حرّم الله و رسوله"

เล่าจากอะนัสว่า “เขาถูกถามถึงเรื่องบัย อัลอีนะห์ และเขาตอบว่า “แท้จริงอัลเลาะห์จะไม่หลอกลวง นี่เป็นสิ่งที่อัลเลาะห์และรอซู้ลของพระองค์ห้าม”

พวกเขาได้คัดค้านดังนี้

- ฮะดีษอะนัสนั้นเป็นฮะดีษที่เขารายงานด้วยความหมายเท่านั้น  และเขาคิดว่าสิ่งที่ไม่ใช่เป็นคำสั่ง  เป็นคำสั่ง และที่ไม่ใช่เป็นข้อห้าม  เป็นข้อห้าม   
สิ่งที่ทำให้เกิดเช่นนั้นก็คือ  การขัดแย้งของซอฮาบะห์กับเขาในเรื่องความเข้าใจทั้งที่อิบนุอุมัรคือผู้รายงานฮะดีษบัย อัลอีนะห์.

-จบข้อความที่คัดจากงานค้นคว้าเรื่องข้อกำหนดของบัย อัลอีนะห์ของเชคฟัรกูส-

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 31, 2009, 11:13 PM โดย قطوف من أزاهير النور »
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: บัย อัลอีนะห์ และตะวัรรุก
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พ.ค. 31, 2009, 11:17 PM »
0


ความแตกต่างระหว่างบัย อัลอีนะห์กับตะวัรรุก


นิยามตะวัรรุก ( التورق)  :

คำว่า ตะวัรรุก  หมายถึงการหาเงินสดที่เป็น (فضة) หลังจากนั้นความหมายนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการหาเงินสด ไม่ว่าจะเป็นเงิน(فضة)  หรือทอง หรือธนบัตรก็ตาม  ดังนั้นรากของคำยังคงอยู่ แต่ความหมายได้ขยายกว้างออกไปตามความหมายของคำว่าเงินสด(نقد)

ความหมายตามศัพท์บัญญัติ คือการดำเนินการของผู้ที่ต้องการใช้เงินสด ให้ออกห่างจากรูปแบต่างๆที่เป็นริบา เพื่อให้เขาสามารถสนองความต้องการเงินสดได้
ด้วยการ :

- ซื้อสินค้าที่มีราคาใกล้เคียงกับความต้องการเงินสดของเขา พร้อมกับเพิ่มราคาให้สูงขึ้นแลกเปลี่ยนกับการค้างชำระราคาสินค้านั้น หลังจากนั้นจึงขายสินค้าไปเป็นเงินสด เพื่อนำเงินสดไปใช้ตามที่ตนต้องการ  โดยมีเงื่อนไขว่าจะไม่ขายให้แก่คนที่เขาซื้อมา

ศูนย์นิติศาสตร์อิสลามขององค์การสันนิบาตโลกอิสลาม (รอบิเฏาะห์) ได้มีมติที่ห้าในการประชุมครั้งที่สิบห้าจัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 11 เดือนรอญับ ฮ.ศ. 1419 ได้ให้คำนิยาม ตะวัรรุกไว้ว่าคือ “การซื้อสินค้าที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายด้วยราคาเป็นเงินเชื่อ  หลังจากนั้นผู้ซื้อก็ขายสินค้าไปให้แก่คนอื่นที่ไม่ใช่คนขายเดิมเป็นเงินสด
เพื่อได้เงินสดไปใช้”


มัซฮับฮัมบะลีเท่านั้นที่ใช้คำว่าตะวัรรุกในความหมายนี้ . มัซฮับอื่นใช้คำว่าบัย อัลอีนะห์

يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: บัย อัลอีนะห์ และตะวัรรุก
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พ.ค. 31, 2009, 11:28 PM »
0
ความแตกต่างระหว่าง บัย อัลอีนะห์ กับตะวัรรุก


บัย อัลอีนะห์คือ : คนที่ต้องการได้เงินสด  ซื้อสินค้าจากคนหนึ่งด้วยราคาเป็นเงินเชื่อ ต่อมาได้ขายสินค้านั้นให้แก่ผู้ที่ตนซื้อมาเป็นเงินสดด้วยราคาที่น้อยกว่าเงินเชื่อ   ที่เรียกว่า  อัลอีนะห์ ก็เพราะตัวสินค้าได้กลับไปเป็นของผู้ขายอีกครั้งหนึ่ง.

เป็นการซื้อขายที่มีสองฝ่ายและในที่สุดสินค้ากลับไปเป็นของผู้ขายคนแรก

ตะวัรรุกคือ : คนที่ต้องการได้เงินสด ซื้อสินค้าจากคนหนึ่งด้วยราคาเป็นเงินเชื่อ ต่อมาได้ขายสินค้านั้นให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้ที่ตนซื้อมาเป็นเงินสดด้วย ราคาที่น้อยกว่าเงินเชื่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจว่าเป็นการนำเอาการค้ามาเป็นอุบายไปสู่การ รับริบา.

เป็นการซื้อขายที่มีสามฝ่าย โดยสินค้าอาจกลับไปเป็นของผู้ขายคนแรกก็ได้

يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: บัย อัลอีนะห์ และตะวัรรุก
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พ.ค. 31, 2009, 11:31 PM »
0


รวบรวมและเรียบเรียงโดย อรุณ  บุญชม

แหล่งที่ก๊อบ http://www.oknation.net/blog/okislam/2007/10/05/entry-6
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: บัย อัลอีนะห์ และตะวัรรุก
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พ.ค. 31, 2009, 11:51 PM »
0
 salam

โอ้..ญะซากุมุลลอฮุค็อยร็อน... mycool:
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged