
ขอเสริมอาจารย์บาชีรนะครับ
คือผมสงสัยว่า วันศุกร์ตามที่เราเข้าใจกันนี่คือ พอเริ่มมักริบในตอนเย็นของวันพฤหัสบดีนี่ถือว่าเป็นวันศุกร์หรือยังหรือ พอเช้า ก็ถือว่าเป็นวันศุกร์
ตอบ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร แต่ถูกสอนมาตั้งแต่เด็กว่า อิสลามนับกลางคืนก่อนกลางวัน ดังนั้นคืนวันศุกร์สำหรับมุสลิมจึงหมายถึงวันพฤหัสบดีค่ำลง
ละหมาดตะรอวีหฺคืนแรกของเราะมะฎอน จึงเริ่มเมื่อประกาศเห็นเดือน และเริ่มถือศีลอดในวันรุ่งขึ้น
ผมเองก็ชอบทำอะไรเป็นพิเศษในคืนวันศุกร์เหมือนกัน เช่น อ่านกุรฺอาน ละหมาดตะฮัจญุด อ่านสูเราะฮฺอัสสัจญดะฮฺ/อัลอินสาน ในละหมาดศุบหิ และเพิ่มเศาะละวาตนะบียฺ มีหะดีษระบุว่า
“วันที่ดีที่สุดที่ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมาคือวันศุกร์ ในวันศุกร์อาดัมถูกสร้างขึ้น ในวันศุกร์อาดัมถูกนำเข้าสวนสวรรค์ ในวันศุกร์อาดัมถูกให้ออกจากสวรรค์ และวันอวสานจะไม่เกิดขึ้นนอกจากในวันศุกร์” กลุ่มผู้บันทึกหะดีษ 4 คน
2.แล้วการละหมาด พวกสุนัต ดุฮา ตะฮัจญุด วิตริ หลังละหมาดเราต้องขออดุอาหรือไม่ต้องแล้ว เพราะเราขอตอนละหมาดฟัรดู หลังละหมาดฟัรดูไปแล้ว ผมเข้าใจถูกเปล่า
ตอบ หลังละหมาด ไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรฎูหรือสุนัต ท่านจะดุอาอุ์หรือไม่ ก็เป็นสิทธิของท่าน เพราะละหมาดกับดุอาอุ์เป็นอิบาดะฮฺที่แยกจากกัน
ท่านละหมาดฟัรฎูเสร็จแล้วดุอาอุ์ ก็ย่อมได้ ไม่ดุอาอุ์ก็ย่อมได้ แต่ไม่ควรทิ้งวิริดที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทำไว้เป็นแบบอย่าง
ส่วนผมละหมาดแล้วก็ดุอาอุ์ เพราะถือตามหะดีษจากอะบูอุมามะฮฺ ที่เล่าว่ามีผู้ถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า
“โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ดุอาอุ์อย่างไหนที่จะถูกตอบรับ” ท่านตอบว่า
“เมื่อยามช่วงสุดท้ายของคืน และหลังบรรดาการละหมาดบังคับ” ติรฺมิซียฺด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง
หลังจากนั้นถ้าท่านละหมาดสุนัต แล้วท่านจะดุอาอุ์อีกหรือไม่ ก็ได้เช่นกัน เพราะดุอาอุ์เป็นอิบาดะฮฺที่แยกจากละหมาด
นอกจากละหมาดบางอย่างเท่านั้น ที่หลังละหมาดแล้วมีการดุอาอุ์เพื่อการนั้น ๆ เช่น ละหมาดขอฝน ละหมาดอิสติคอเราะฮฺ ละหมาดหาญะฮฺ
3.การอ่านคัมภีร์อัลกรุอาน ที่มีภาษาไทยเป็นคำอ่าน แล้วก็แปลไทย(คือผมอ่านบางซูเราะห์ได้แต่ไม่มั่นใจต้องดูทั้งตัว อาหรับ แล้วก็คำอ่านไทย) ยังงี้ถือว่าได้อ่านอัลกรุอานหรือไม่ คือเรามองและชี้ที่ตัวอาหรับแต่ถ้าอ่านๆไปไม่มั่นใจจะเหลือบมามองภาษาไทย ด้วย
“ทุก ๆ กิจกรรมนั้นขึ้นกับการตั้งเจตนา” ถ้าท่านตั้งเจตนาอ่านกุรฺอานเพื่อขอการตอบแทนจากอัลเลาะฮฺ ท่านก็จะได้รับตามที่ท่านต้องการ (อินชาอัลลอฮฺ) ถึงแม้ท่านจะอ่านจากภาษาไทยประกอบบ้างก็ไม่เป็นปัญหา การที่อ่านด้วยความลำบากเสียอีก ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม รับรองว่า ท่านจะได้รับผลบุญสองต่อ
“ผู้ชำนาญในการอ่านกุรอานจะอยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺผู้จดบันทึก ผู้มีเกียรติ ผู้มีคุณความดี และผู้ที่อ่านกุรฺอานในสภาพที่มีความเข้มงวด(อ่านไม่คล่อง,ติดขัด) ต่อการอ่าน เขาได้รับผลบุญสองต่อ” กลุ่มผู้บันทึกหะดีษ 4 คน
วัลลอฮุอะอฮลัม
วัสสลาม