ผู้เขียน หัวข้อ: การยึดติดตัวของอะมั้ลทำให้ความหวังในอัลเลาะฮ์ลดลง(บทเรียนฮิกัม)  (อ่าน 3814 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

ท่านอิมาม อิบนุอะฏออิลแหละฮ์  กล่าวว่า 

مِنْ عَلاَمَاتِ اْلِإعْتِمَادِ عَليَ الْعَمَلِ نُقْصَانُ الرَّجَاءِ عِنْدَ وُجُوْدِ الزَّلَلِ

“มินอะลามาติล  เอี๊ยะอฺติมาดิ  อะลัลอะมะลิ  นุกซอนุร  ร่อญาอิ  อินด้า  วะญูดิซซะลัล”
"ส่วนหนึ่งจากบรรดาเครื่องหมายการยึดเพียงแค่การปฏิบัติ  คือความหวัง(ในอัลเลาะฮ์)จะลดลง  ในขณะที่มีบรรดาสิ่งที่ผิดพลาดเกิดขึ้น"

หมายถึง : ท่านอิบนุอะฏออิลและห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ต้องการที่จะตักเตือนแก่เรา ถึงการระวังในเรื่องการแสวงหาความพึงพอพระทัยและผลการตอบแทนจากอัลเลาะฮ์  ด้วยการยึดอะมัลที่เรากระทำ  เช่นการละหมาด  การถือศีลอด  การบริจาคทาน  เป็นต้น  แต่ทว่าให้เรายึดความเมตตา  ความโปรดปราน  ของอัลเลาะฮ์ตาอาลา

หลักฐานในสิ่งดังกล่าว  คือ หะดิษของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า :

‏ ‏ لَنْ يُدْخِلَ أَحَداً مِنْكُمْ عَمَلُهُ الْجَنَّةَ قَالُوْا وَلاَ أَنْتَ يَا رَسُوْلَ اللهِ قَالَ وَلاَ أَنَا إِلاَّ أَنْ ‏ ‏يَتَغَمَّدَنِيَ ‏ ‏اللهُ مِنْهُ بِفَضْلٍ وَرَحْمَةٍ

“ลัยยุดคิล่า อะหะดัน มินกุ้ม อะมะลุฮู อัลญันนะฮ์  กอลู  วะลาอัตต้า ยาร่อซูลัลลอฮ์  กอล่า  วะลาอะน่า อิลลา อัยยะตะฆ๊อมมะดะนียัลลอฮุ มินฮุ บิฟัฏลิน วะเราะห์มะฮ์”

 "การปฏิบัติอะมัลของบุคคลหนึ่งจากพวกท่านจะไม่ทำให้เขาได้เข้าสวรรค์หรอก  ซอฮาบะฮ์กล่าวถามว่า  "ท่านก็ไม่ได้เข้า(สวรรค์ด้วยอะมัล)กระนั้นหรือ โอ้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ?" ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ตอบว่า "ไม่แม้กระทั่งฉัน นอกจากอัลเลาะฮ์ทรงปกคลุมกับฉันด้วยความเมตตาและความโปรดจากพระองค์" รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม

ดังนั้น  อะมัลจึงไม่มีค่าอันใดที่จะทำให้ได้เข้าสวรรค์หรอก  แต่ให้ท่านปฏิบัติอะมัลต่าง ๆ  เพื่อแสวงหาความพึงพอพระทัยจากอัลเลาะฮ์  โดยหวังให้พระองค์ทรงประทานความโปรดปราน , การอภัยโทษ แก่เรา  ไม่ใช่หวังผลการตอบแทนจากตัวของอะมัลนั้น

เพราะฉะนั้น  บุคคลใดที่ยึดติดกับตัวอะมัลดังกล่าว  เขาก็จะสิ้นหวังต่ออัลเลาะฮ์หรือความหวังของเขาจะลดหลั่นลงไปเมื่อเขาพลาดทำความชั่วขึ้นมา  นั่นก็เพราะเขายึดติดกับตัวอะมัล  แต่หากเขายึดติดกับความหวังในความโปรดปรานของพระองค์นั้น  ความหวังของเขาจะไม่ลดลงอย่างแน่นอน

เราจะเริ่มกล่าวถึงในแง่ของหลักการศรัทธาและทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับฮิกัมนี้

ท่าน อิมาม อัลลักกอนีย์  เจ้าของหนังสือ  เญาฮะเราะฮ์  อัตเตาฮีด  กล่าวว่า

فَإِنْ يُثِبْنَا فَبِمَحْضِ الْفَضْلِ    وَإِنْ يُعَذِّبْ فَبِمَحْضِ الْعَدْلِ

“ฟะอิน ยุษิบนา ฟะบิมะห์ดิลอัลฟัฏลิ  วะอิน ยุอัซซิบ ฟะบิมะห์ดิลอัดลิ”

“ดังนั้น  หากพระองค์ทรงให้ผลบุญ  ก็เป็นความโปรดปรานโดยแท้  และหากพระองค์ทรงลงโทษ  ก็เป็นความยุติธรรมโดยแท้”

นี้คือหลักอะกีดะฮ์ที่มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องยึดมั่น  และยังเป็นแนวทางยึดมั่นของสะละฟุศศอลิห์อีกด้วย

ดังนั้น  หากมีคนหนึ่งกล่าวว่า  “ที่ชัดเจนแล้วนั้น  คือผลบุญที่เราสมควรได้รับ  ก็คือผลบุญที่ได้มาเพราะผลการปฏิบัติความดีที่เราได้เคยปฏิบัติมันมา”  แต่ทว่า  หากทำการพิจาณาอย่างลึกซึ้ง  เกี่ยวกับความผูกพันระหว่างบ่าวกับพระเจ้าของเขานั้น  ก็จะทราบได้เลยว่า  คำพูดดังกล่าว  เป็นการมิบังควร

เพราะฉะนั้น  อะไรคือความหมายของคำพูดของท่านที่ว่า “แท้จริงอัลเลาะฮ์จะให้ผลบุญฉันด้วยการปฏิบัติอะมัลของฉัน  และพระองค์จะทำให้ฉันได้เข้าสวรรค์ด้วยการปฏิบัติอะมัลของฉัน?”  ซึ่งความหมายของคำพูดของท่านนี้  คืออัลเลาะฮ์ตาอาลาทรงตั้งคุณค่าหรือราคาให้กับสวรรค์ที่ไม่ใช่เป็นเงินทองหรือทรัพย์สิน  แต่เป็นราคาที่อยู่ในบรรดาอิบาดะฮ์หรือความภักดีและราคาที่อยู่ในการห่างไกลจากสิ่งที่ต้องห้าม  ดังนั้น  เมื่อท่านได้ทำการตออัตและห่างไกลจากสิ่งที่ต้องห้าม  ก็เท่ากับว่าได้จ่ายราคานั้นแล้ว  หลังจากนั้น  ท่านก็จะกลายเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับสินค้าที่ได้ซื้อมันมา!!  ในขณะที่กล่าวว่า  “แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงให้ผลบุญเพราะอะมัลที่ได้กระทำ”   แต่ความจริงมันเป็นเช่นนั้นหรือเปล่า?  หมายถึง  ในขณะที่ท่านปฏิบัติคำสั่งใช้ที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญชา  ท่านก็จะกลายเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับสวรรค์และเป็นเจ้าของสวรรค์ด้วยหยาดเหงื่อในการปฏิบัติอะมัลใช่ไหม? ซึ่งเหมือนกับบุคคลหนึ่งได้ซื้อที่ดินแปรงหนึ่งตามราคาที่ได้จ่ายให้กับเจ้าของที่ดินที่ทำการนำเสนอขายใช่ไหม?!  แต่ถ้าหากท่านพิจารณา  ก็จะเห็นว่า  ในกรณีนี้ย่อมมีความแตกต่างกันอย่างมาก  คือในขณะที่ฉันได้จ่ายราคาของสวนนี้เป็นเงินสดตามที่ผู้ขายต้องการ  ฉันก็สามารถครอบครองสวนนี้ได้โดยมิต้องติดค้างอะไรอีกแล้ว   และฉันก็มีสิทธิ์ที่จะกล่าวกับผู้ขายว่า “ท่านจงออกไปจากที่ดินของฉัน  เพราะฉันได้จ่ายราคาพี่ดินแก่ท่านอย่างสมบูรณ์แล้ว”  ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้  ถือเป็นเรื่องระหว่างมนุษย์ที่มีต่อมนุษย์ด้วยกัน

แต่ในขณะที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญชาใช้ให้ท่านทำการฏออัตภักดี  และทรงห้ามจากสิ่งที่ต้องห้ามต่าง ๆ  และพระองค์ก็ทรงชี้นำ  แล้วท่านก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ และห่างไกลจากสิ่งที่ต้องห้ามได้  ดังนั้น  เรื่องราว  ณ  ตรงนี้  จึงมีความแตกต่างในเชิงรูปแบบโดยรวม  กล่าวคือ  ผู้ใดหรือที่ทำให้ท่านมีความสามารถทำละหมาด?  ผู้ใดหรือที่ทำให้ท่านมีความสามารถถือศีลอดได้?  และผู้ใดหรือที่เปิดหัวใจของท่านให้ตอบรับการศรัทธา?  เขาผู้นั้นมิใช่อัลเลาะฮ์กระนั้นหรือ?  ทั้งที่พระองค์ทรงตรัสไว้อย่างสัจจริง  ความว่า

يَمُنُّونَ عَلَيْكَ أَنْ أَسْلَمُوا قُل لَّا تَمُنُّوا عَلَيَّ إِسْلَامَكُم بَلِ اللَّهُ يَمُنُّ عَلَيْكُمْ أَنْ هَدَاكُمْ لِلْإِيمَانِ

“ยะมุนนูน่าอะลัยก้า อันอัสละมู กุล ลาตะมุนนู อะลัยย่า อิสลาม่ากุ้ม บะลิลลาฮุ ยะมุนนุ อะลัยกุ้ม อันฮาดากุ้ม ลิลอีมาน”

“พวกเขาลำเลิกบุญคุณแก่เจ้า  ในการที่พวกเขาได้รับอิสลาม  จงประกาศเถิด! “พวกท่านอย่าลำเลิกบุญคุณแก่ฉัน  ในการรับอิสลามของพวกท่านเลย  ทว่า! อัลเลาะฮ์จะทรงตอบแทนการลำเลิกของพวกท่าน  ในการที่พระองค์ได้ทรงชี้นำพวกท่านให้มีศรัทธา(อีหม่าน)” อัลหุญุรอต 17

ดังนั้น  จึงแน่นอนว่า  สองรูปแบบนี้จึงมีความแตกต่างกันอย่างมากมาย  เพราะว่า  ผู้ใดหรือที่ทำให้ท่านรักในอีหม่าน  และผู้ใดหรือที่ทำให้ท่านรังเกียจการกุฟุร , ความชั่ว , และการฝ่าฝืน ?  ซึ่งจะเป็นใครไม่ได้นอกจาก อัลเลาะฮ์ตาอาลา  ผู้ซึ่งเปิดหัวใจและทำให้ท่านสามารถไปยังมัสยิดเพื่อทำการละหมาดญะมาอะฮ์ได้   ดังนั้น  อะไรหรือที่ทำให้ท่านจินตนาการไปว่า  การฏออัตนั้นคือ ราคา  ที่ท่านจะจ่ายมันไปเพื่อจะได้เป็นเจ้าของสวรรค์ของอัลเลาะฮ์ด้วยการเปรียบเทียบกับการจ่ายราคาผ่อนเพื่อครอบครองที่ดิน  ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบที่แตกต่างกันมาก

ดังนั้น  จึงไม่อนุญาตให้คิดไปว่า  ท่านสมควรได้รับสวรรค์ของอัลเลาะฮ์และผลบุญของพระองค์เพราะเหตุท่านได้ปฏิบัติสิ่งที่พระองค์ทรงใช้  หรือเพราะเหตุท่านกระทำสิ่งที่วายิบและห่างไกลจากสิ่งที่ฮะรอม  ซึ่งไม่อนุญาตให้ท่านมีหลักความเชื่อเช่นนี้  เพราะหากมีความเชื่อเฉกเช่นดังกล่าว  แน่นอนว่ามันจะเป็นประเภทหนึ่งจากประเภทต่าง ๆ ของชิริก(ภาคี)ที่อันตรายยิ่ง

อันตรายดังกล่าวก็เป็นเพราะว่าการยึดมั่นเช่นนี้  หมายถึง   ท่านกำลังศรัทธาว่า  การละหมาดของท่านนั้น  มีพลังความสามารถในตัวของมันเองที่มาจากตัวท่าน   ท่านกำลังเชื่อว่าการละหมาดมีความประเสริฐเหนืออัลเลาะฮ์   การฏออัตที่พระองค์ทรงใช้นั้น  เป็นการปฏิบัติด้วยการเคลื่อนไหวจากศักยภาพของตัวท่านและศักยภาพของท่านเป็นสิทธิ์ปกครองของตัวท่านเอง  พละกำลังของท่านเป็นสิทธิครอบครองจากตัวท่าน  ดังนั้นการปฏิบัติอะมัลจึงเป็นของท่านเอง  พละกำลังความสามารถต่าง ๆ นั้น  ท่านเป็นผู้สร้างมันขึ้นมาเอง  โดยที่อัลเลาะฮ์มิได้เกี่ยวข้องแต่ประการใด  ดังนั้น จึงเสมือนท่านกำลังจินตนาการไปว่า   บรรดาอะมัลต่าง ๆ ของท่านอยู่ในพาชนะหนึ่งซึ่งกำลังนำไปเสนอต่ออัลเลาะฮ์  และกล่าวว่า  นี้คือบรรดาคำสั่งใช้ของพระองค์ที่ฉันได้ปฏิบัติมันอย่างลุล่วงไปด้วยดีตามที่พระองค์ทรงต้องการ ด้วยพลังความสามารถที่มาจากฉันเอง  ดังนั้นพระองค์ทรงให้สวรรค์กับฉันตามที่พระองค์ทรงสัญญาไว้เถิด!

ดังนั้น  สิ่งกล่าวเช่นนี้  ทำให้การปฏิบัติอะมัล  เหมือนกับการค้าขาย  แล้วมันสมเหตุสมผลแล้วหรือที่จะให้เกิดขึ้นระหว่างบ่าวกับพระเจ้าของเขา?  แล้วตรงใหนเล่าที่จะทำให้เกิดความเป็นทาสบ่าวของท่านที่มีต่อพระองค์?   แล้วท่านกล่าวถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้สอนบรรดาซอฮาบะฮ์ให้กล่าวว่า “ลาเฮาล่า วะลา กู้วะต้า อิลลาบิลลาฮ์”  (ไม่มีสภาวะการเปลี่ยนแปลงใด และไม่มีพลังอันใด นอกจากด้วยกับอัลเลาะฮ์เท่านั้น) ?  และอีหม่านที่ยะเกนของท่านที่ว่า อัลเลาะฮ์ตาอาลาทรงสร้างการกระทำของปวงบ่าวนั้นไปใหนแล้ว?   เพราะฉะนั้น  เมื่อฉันได้กล่าวซิกิรต่ออัลเลาะฮ์ตาอาลาด้วยลิ้น  จึงสมควรอย่างยิ่งที่ฉันต้องชุโกรต่ออัลเลาะฮ์เพราะพระองค์ทรงให้ลิ้นฉันกระดิกด้วยการซิกรุลลอฮ์นี้  และหากฉันได้ตื่นมายามดึกเพื่อทำการละหมาด  ก็สมควรอย่างยิ่งที่ฉันทำการสรรเสริญต่ออัลเลาะฮ์เพราะพระองค์ทรงชี้ทรงนำให้ฉันทำการละหมาดต่อพระองค์  ซึ่งหากพระองค์ไม่รักฉัน  ไม่ทรงเอาใจใส่ต่อฉัน  ไม่ทรงเมตตาฉัน  แน่นอนว่า  พระองค์ก็จะให้ฉันหลับใหลในยามดึก

ดังนั้นท่านทั้งหลายโปรดสังเกตว่า  นี้คือหลักเตาฮีดที่สมควรนำมาหล่อหลอมหัวใจของเรา  และนี้คือหลักอะกีดะฮ์ที่ท่าน อิมามอัลลักกอนีย์ เจ้าของหนังสือ เญาฮะร่อตุตเตาฮีด และบรรดานักปราชญ์อะกีดะฮ์ทุกคนหมายถึง  ซึ่งพวกเขากล่าวว่า “ดังนั้น  หากพระองค์ทรงให้ผลบุญ  ก็เป็นความโปรดปรานโดยแท้”  หลังจากนั้นพวกเขากล่าวว่า  “และหากพระองค์ทรงลงโทษ  ก็เป็นความยุติธรรมโดยแท้”

บางครั้งท่านอาจจะนึกคิดตั้งคำถามขึ้นมาว่า  เมื่อสิ่งดังกล่าวเป็นเฉกเช่นนี้   แล้วอะไรคือความหมายจากคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตาอาลา ที่ว่า

ادْخُلُواْ الْجَنَّةَ بِمَا كُنتُمْ تَعْمَلُونَ

“อุดคุลูลญันนะต้า บิมากุนตุ้ม ตะอฺมะลูน”

“พวกเจ้าจงเข้าสวรรค์ด้วยเพราะสิ่งที่พวกเจ้าได้ปฏิบัติเถิด” อันนะห์ลิ 32

ขอตอบสิ่งที่ทำให้ท่านรู้สึกเพิ่มพูนในความรักต่ออัลเลาะฮ์และดื่มด่ำในความรู้สึกถึงความเป็นทาสต่อพระองค์  ดังนี้

กล่าวคือ  คำตรัสของพระองค์นี้  เป็นการกำหนดขึ้นจากฝ่ายเดียวเท่านั้น  นั่นก็คือจากด้านของอัลเลาะฮ์ตาอาลา  มิใช่เป็นคำพูดมาจากสองฝ่ายที่ทำการตกลงกัน  การที่พระองค์ทรงให้พวกท่านเข้าสวรรค์นั้น  จึงมิใช่เพราะว่าพระองค์ทรงทำให้อะมัลเป็นเหตุให้ได้เข้าสวรรค์ แต่ทว่าพระองค์ให้เข้าสวรรค์เนื่องจากความโปรดปรานและความเมตตาจากพระองค์

ขอหยิบยกสักหนึ่งตัวอย่าง   เกี่ยวกับการวางแนวทางของบิดาที่มีต่อบุตรในการส่งเสริมให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และปฏิบัติความดีงาม  บิดาได้กล่าวแก่บุตรว่า  หากเจ้าได้ให้เงินจำนวนหนึ่งกับคนยากจนคนนั้น  ฉันก็จะให้ของขวัญแก่เจ้า  แล้วผู้เป็นบิดาจึงนำเงินจำนวนหนึ่งแอบใส่ไว้ในกระเป๋าของบุตรชาย  และบุตรชายจึงสนองความต้องการของผู้เป็นบิดาโดยหวังจะได้รับสิ่งที่บิดาได้สัญญาไว้  ดังนั้นเขาจึงบริจาคให้คนอยากจนกับเงินจำนวนหนึ่งที่บิดาได้นำมาใส่ไว้ในกระเป๋า  บิดาจึงรู้สึกปลื้มปิติยินดีจากการกระทำดังกล่าว  และได้แสดงออกถึงความประทับใจต่อตัวของบุตร  พร้อมกล่าวว่า  แท้จริงเจ้าได้ปฏิบัติสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับมนุษย์  จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า  เจ้าสมควรที่จะได้รับผลตอบแทนและผลบุญอันยิ่งใหญ่

จึงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า  นี้คือการกระทำในเชิงการอบรมบ่มนิสัยที่บิดาได้มอบให้แก่บุตร  และไม่ต้องสงสัยเลยว่า  บิดาย่อมรู้ว่าถึงสิ่งที่ติดตามมาหลังจากนั้น  กล่าวคือ  ทรัพย์สินที่อยู่ในกระเป๋าของลูกนั้น  คือทรัพย์สินของผู้เป็นบิดา  การให้เกียรติของบิดาที่มีต่อบุตรคือการให้รางวัลและการตอบแทนต่อการปฏิบัติที่ดีงามของบุตร  ซึ่งมันเป็นความเมตตาเอ็นดูของบิดาและเป็นวิธีการหนึ่งที่จะให้บุตรของเขามีความรักและผลักดันไปสู่การปฏิบัติความดีงามเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก  ดังนั้น  คำตรัสของอัลเลาะฮ์ตาอาลาที่ว่า “พวกเจ้าจงเข้าสวรรค์ด้วยเพราะสิ่งที่พวกเจ้าได้ปฏิบัติเถิด” อันนะห์ลิ 32  จึงอยู่ในขอบข่ายนี้

แต่ทว่า  หากเราตั้งคำถามว่า  จะมีการค้านกันใหม  ระหว่างการที่อัลเลาะฮ์ตาอาลาทรงตระเตรียมให้ท่านได้เข้าสวรรค์ด้วยความเมตตาของพระองค์กับการที่พระองค์ทรงใช้ให้ท่านทำอิบาดะฮ์ต่อพระองค์ในเวลาเดียวกันไปพร้อม ๆ กัน? 

ตอบ : ไม่มีการค้านกัน  เพราะทำการอิบาดะฮ์นั้นเป็นหน้าที่ของท่านที่มีต่อสิทธิของอัลเลาะฮ์ตาอาลาอันเนื่องจากท่านมีคุณลักษณะในความเป็นทาสบ่าวของพระองค์  ส่วนสวรรค์นั้นเป็นแค่รางวัลหรือสิ่งสมนาคุณจากอัลเลาะฮ์ที่มอบให้อันเนื่องจากพระองค์ทรงมีคุณลักษณะที่เมตตากรุณาและทรงอภัยโทษยิ่งต่อท่าน  และพระองค์ก็ทรงกำหนดไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า  มนุษย์ที่จะได้รับความเมตตาของพระองค์มากที่สุด  คือผู้ที่มีความยำเกรงปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์มากที่สุด  ดังที่พระองค์ทรงประกาศไว้ด้วยคำตรัสของพระองค์ ความว่า

وَرَحْمَتِي وَسِعَتْ كُلَّ شَيْءٍ فَسَأَكْتُبُهَا لِلَّذِينَ يَتَّقُونَ

 “วะเราะห์มะตี  วะซิอัต  กุลล่าชัยอิน  ฟะซะอักตุบุฮา  ลิลล่าซีน่า  ยัตตะกูน”

“และความเมตตาของข้าครอบคลุมทั่วทุกสิ่ง  ดังนั้นข้าจะลิขิตมันให้แก่บรรดาผู้มีความยำเกรง” อัลอะร๊อฟ 156

ดังนั้น  เราจึงขอกลับมาพิจารณาคำกล่าวของท่าน อิมาม อิบนุอะฏออิลและฮ์  เพื่อทราบถึงจุดสำคัญที่เราต้องระมัดระวัง  คือเนื้อความที่ว่า “ส่วนหนึ่งจากบรรดาเครื่องหมายการยึดเพียงแค่การปฏิบัติ  คือความหวัง(ในอัลเลาะฮ์)จะลดลง  ในขณะที่มีบรรดาสิ่งที่ผิดพลาด(เกิดขึ้น)” 

หมายถึง  ส่วนหนึ่งจากผลลัพธ์อันตรายที่ท่านยึดการตอบแทนจากอัลเลาะฮ์เพียงเพราะการปฏิบัติอะมั้ลนั้น  จะทำให้ความหวังในการอภัยโทษของอัลเลาะฮ์ลดน้อยลงไปในขณะที่ท่านตกอยู่ในความผิดพลาดหรือบาป  ดังนั้น  ทั้งสองประการนี้จะสัมพันธ์กัน (คือหากยึดแค่การปฏิบัติมาเป็นตัววัดผลการตอบแทนจากอัลเลาะฮ์  ก็จะทำให้ความหวังในอัลเลาะฮ์ลดน้อยลงเมื่อเกิดทำความผิดขึ้นมา)  ฉะนั้น  หนทางเดียวที่จะทำไม่ให้ความหวังในความเมตตาและการอภัยโทษของอัลเลาะฮ์ลดน้อยลงขณะที่ท่านเกิดทำความบกพร่องนั้น  ก็คือการที่ท่านต้องไม่ยึดติดที่ตัวการปฏิบัติในขณะที่ได้กระทำการที่ผิดต่อทางนำ  ดังนั้นเมื่อท่านไม่ยึดติดต่อตัวการปฏิบัติอะมัล  ท่านก็จะมีจิตสำนึกและหวังในความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของอัลเลาะฮ์  เท่ากับขนาดที่ท่านมีความเกรงกลัวต่อความโกรธกริ้วของพระองค์    เพราะความเกรงกลัวจากความโกรธกริ้วและการลงโทษของอัลเลาะฮ์นั้น  จำเป็นต้องมีขึ้นมาพร้อมกับความหวังต่อความเมตตาและความโปรดปรานของพระองค์อย่างสม่ำเสมอไปพร้อม ๆ กันอย่างแยกกันไม่ได้

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิ.ย. 07, 2009, 09:49 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ขอหยิบยกสักหนึ่งตัวอย่าง   เกี่ยวกับการวางแนวทางของบิดาที่มีต่อบุตรในการส่งเสริมให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และปฏิบัติความดีงาม  บิดาได้กล่าวแก่บุตรว่า  หากเจ้าได้ให้เงินจำนวนหนึ่งกับคนยากจนคนนั้น  ฉันก็จะให้ของขวัญแก่เจ้า  แล้วผู้เป็นบิดาจึงนำเงินจำนวนหนึ่งแอบใส่ไว้ในกระเป๋าของบุตรชาย  และบุตรชายจึงตอบรับความต้องการของผู้เป็นบิดาโดยหวังจะได้รับสิ่งที่บิดาได้สัญญาไว้  ดังนั้นเขาจึงให้คนอยากจนกับจำนวนหนึ่งที่บิดาได้เอาใส่ไว้ในกระเป๋า  บิดาจึงรู้สึกปลื้มปิติยินดีกับการกระทำดังกล่าว  และได้แสดงออกถึงความประทับใจต่อตัวของบุตร  พร้อมกล่าวว่า  แท้จริงเจ้าได้ปฏิบัติสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับมนุษย์  จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า  เจ้าสมควรที่จะได้รับผลตอบแทนและผลบุญอันยิ่งใหญ่

จึงเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า  นี้คือการกระทำในเชิงการอบรมบ่มนิสัยที่บิดาได้มอบให้แก่บุตร  และไม่ต้องสงสัยเลยว่า  บิดาย่อมรู้ว่าถึงสิ่งที่ติดตามมาหลังจากนั้น  กล่าวคือ  ทรัพย์สินที่อยู่ในกระเป๋าของลูกนั้น  คือทรัพย์สินของผู้เป็นบิดา  การให้เกียรติของบิดาที่มีต่อบุตรคือการให้รางวัลและการตอบแทนต่อการปฏิบัติที่ดีงามของบุตร  ซึ่งมันเป็นวิธีการหนึ่งที่จะให้ลูกของเขามีความรักและผลักดันไปสู่การปฏิบัติความดีงามเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก  ดังนั้น  คำตรัสของอัลเลาะฮ์ตาอาลาที่ว่า “พวกเจ้าจงเข้าสวรรค์ด้วยเพราะสิ่งที่พวกเจ้าได้ปฏิบัติเถิด” อันนะห์ลิ 32  จึงอยู่ในขอบข่ายนี้

ข้อเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น  ก็คือ 

1.  อัลเลาะฮ์ทรงใช้ให้บ่าวกระทำความดีงาม และสัญญาจะให้การตอบแทน   เปรียบเทียบกับกรณีที่  ผู้เป็นบิดาได้ส่งเสริมให้บุตรของตนกระทำความดีงาม  และสัญญาจะให้รางวัล

2.  พละกำลังในการกระทำของบ่าวหรือการเคลื่อนไหวมีเรี่ยวแรงในการทำอิบาดะฮ์นั้น  อัลเลาะฮ์ทรงสร้างให้แก่บ่าว  เปรียบเทียบกรณีที่  ผู้เป็นบิดาได้นำเงินไปใส่ในกระเป๋าของบุตรของตนเพื่อทำการบริจาคให้คนจน

3.  มนุษย์จึงมีความสามารถมีเรี่ยวแรงในการทำอิบาดะฮ์ได้เพราะอัลเลาะฮ์ทรงสร้างการกระทำของบ่าว  เปรียบเทียบกรณีที่  ผู้เป็นบิดาได้ใส่เงินลงไปกระเป๋าของลูกน้อย  จึงทำให้บุตรของเขาสามารถที่จะทำการบริจาคได้

4.  อัลเลาะฮ์ทรงพึงพอพระทัยที่บ่าวได้กระทำความดีงาม  เปรียบเทียบกรณีที่  บิดาได้มีความปิติยินดีที่บุตรของตนได้ทำการบริจาค

5.  ด้วยความเมตตาและความโปรดปรานของพระองค์นั้น  พระองค์จึงตอบแทนผู้กระทำให้เข้าสรวงสวรรค์  เปรียบเทียบกับกรณีที่  บิดาต้องการให้เกียรติและเอ็นดูต่อบุตรของตน  จึงให้รางวัลเป็นการตอบแทน

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิ.ย. 07, 2009, 09:55 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^

เวลคั่ม ฮิกัม คัมแบ๊ค  ;D  ;D

يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ JuyA

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 107
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
สลาม

    เเรงที่เราสามารถทำอิบาดะห์ ได้นั้นเรียกได้ว่าเป็นแรง มายาซี(ปลอม)  ส่วนแรงฮากีกีนั้นมาจากอัลลอฮุเท่านั้น  ดังนั้นไม่สมควรที่เราจะบอกว่าเป็นความชอบธรรมในอามาลของเราที่จะได้เข้าสวรรค์    ดังนั้นการที่บ่าวของพระองค์ที่ได้เข้าสวรรค์นั้นเป็นเพราะความโปรดปราณของพระองค์อย่างแท้จริง

  คิดว่าคงไม่เพียงพออย่างยิ่งกับอามาลอันน้อยนิดของเรา  จะไปเทียบกับเนียตมัตของสวรรค์

     ปล.เสริมนิดๆ
อีหม่านที่ซอเเฮะห์  อามาลที่ซอและห์

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
สลาม

    เเรงที่เราสามารถทำอิบาดะห์ ได้นั้นเรียกได้ว่าเป็นแรง มายาซี(ปลอม)  ส่วนแรงฮากีกีนั้นมาจากอัลลอฮุเท่านั้น  ดังนั้นไม่สมควรที่เราจะบอกว่าเป็นความชอบธรรมในอามาลของเราที่จะได้เข้าสวรรค์    ดังนั้นการที่บ่าวของพระองค์ที่ได้เข้าสวรรค์นั้นเป็นเพราะความโปรดปราณของพระองค์อย่างแท้จริง

  คิดว่าคงไม่เพียงพออย่างยิ่งกับอามาลอันน้อยนิดของเรา  จะไปเทียบกับเนียตมัตของสวรรค์

     ปล.เสริมนิดๆ

หากเอาอะมัลของเราไปเทียบกับเนี๊ยะอฺมัต ความโปรดปราน  และการประทานสิ่งอำนวยสุขของพระองค์ที่มีให้แก่เรานั้น  เทียบกันไม่ได้ราวฟ้ากับเหวครับ

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

وَإِن تَعُدُّواْ نِعْمَةَ اللّهِ لاَ تُحْصُوهَا إِنَّ اللّهَ لَغَفُورٌ رَّحِيمٌ

"หากพวกเจ้าจะนับความโปรดปราน(เนี๊ยะอฺมัต)ของอัลเลาะฮ์  แน่นอนพวกเจ้าจะไม่สามารถนับมันให้ถ้วนได้  แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงให้อภัย  อีกทั้งทรงเมตตายิ่ง" อันนะห์ลิ 18

ดังนั้น  ใครเอาอะมัลอิบาดะฮ์ของตนเองมาต่อรองสวรรค์ของอัลเลาะฮ์ตาอาลา  ช่างน่าไม่อายเสียจริง ๆ และไร้มารยาทที่มีระหว่างบ่าวกับพระเจ้า !
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บางครั้งท่านอาจจะนึกคิดตั้งคำถามขึ้นมาว่า  เมื่อสิ่งดังกล่าวเป็นเฉกเช่นนี้   แล้วอะไรคือความหมายจากคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตาอาลา ที่ว่า

ادْخُلُواْ الْجَنَّةَ بِمَا كُنتُمْ تَعْمَلُونَ

“อุดคุลูลญันนะต้า บิมากุนตุ้ม ตะอฺมะลูน”

“พวกเจ้าจงเข้าสวรรค์ด้วยเพราะสิ่งที่พวกเจ้าได้ปฏิบัติเถิด” อันนะห์ลิ 32

ขอตอบสิ่งที่ทำให้ท่านรู้สึกเพิ่มพูนในความรักต่ออัลเลาะฮ์และดื่มด่ำในความรู้สึกถึงความเป็นทาสต่อพระองค์  ดังนี้

กล่าวคือ  คำตรัสของพระองค์นี้  เป็นการกำหนดขึ้นจากฝ่ายเดียวเท่านั้น  นั่นก็คือจากด้านของอัลเลาะฮ์ตาอาลา  มิใช่เป็นคำพูดมาจากสองฝ่ายที่ทำการตกลงกัน  การที่พระองค์ทรงให้พวกท่านเข้าสวรรค์นั้น  จึงมิใช่เพราะว่าพระองค์ทรงทำให้อะมัลเป็นเหตุให้ได้เข้าสวรรค์ แต่ทว่าพระองค์ให้เข้าสวรรค์เนื่องจากความโปรดปรานและความเมตตาจากพระองค์

เรามาลองพิจารณากันให้ท่องแท้ครับว่า  อัลเลาะฮ์ตาอาลา ทรงเมตตาโปรดปรานเรามากมายแค่ใหน  กล่าวคือ  อัลเลาะฮ์ทรงบัญชาใช้ให้เราทำการบริจาคทรัยพ์สินหรือใช้จ่ายทรัยพ์สินในหนทางที่ถูกต้องและชอบธรรม  เช่น  เราได้บริจาคเงินให้กับคนยากจน 

้เป็นที่ทราบกันดีต่อผู้ที่มีอีหม่านถ่องแท้ว่า  ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์ของอัลเลาะฮ์  เพราะพระองค์ได้ยืนยันไว้อย่างสัจจริงความว่า

وَآتُوهُم مِّن مَّالِ اللَّهِ الَّذِي آتَاكُمْ

"และพวกเจ้าจงมอบแก่พวกเขาจากทรัพย์สินของอัลเลาะฮ์ ที่พระองค์ทรงประทานแก่พวกเจ้า" อันนูร 33

เมื่ออัลกุรอานได้ยืนยันแล้วว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นของอัลเลาะฮ์มิใช่เป็นของเรา  พระองค์ก็ตรัสแก่เราอีกว่า

مَّن ذَا الَّذِي يُقْرِضُ اللّهَ قَرْضاً حَسَناً فَيُضَاعِفَهُ لَهُ أَضْعَافاً كَثِيرَةً

"ผู้ใดที่ให้กู้ยืมแก่อัลเลาะฮ์  อย่างดีงาม (โดยการบริจาคทรัพย์สินไปในทางของพระองค์) แน่นอนพระองค์จะทรงเพิ่มทวีสิ่งนั้นแก่เขาอย่างมากมาย" อัลบะกอเราะฮ์ 245

พิจารณากันซิครับ  อัลเลาะฮ์ทรงเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมด  แล้วทรงประทานให้พวกท่าน  หลังจากนั้นพระองค์ก็สมุติให้ท่านเป็นเจ้าของ  แล้วพระองค์ก็กล่าวว่า  พวกท่านจงให้ทรัพย์สิน(ของฉัน)กู้ยืมซิแก่ฉันซิ(ด้วยการใช้จ่ายในแนวทางของฉัน) แล้วฉันจะเพิ่มพูนให้อีกหลายเท่าทวีคูณ และจะให้สวรรค์แถมไปอีก 

ดังนั้น  จะไม่มีผู้ใดที่จะโปรดปรานและเมตตาอย่างกว้างขวางไปมากกว่าอัลเลาะฮ์ตาอาลาอีกแล้ว  ฉะนั้นเรายังจะคิดทวงสวรรค์จากพระองค์อีกกระนั้นหรือ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิ.ย. 07, 2009, 09:54 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ท่าน อิมาม อัลลักกอนีย์  เจ้าของหนังสือ  เญาฮะเราะฮ์  อัตเตาฮีด  กล่าวว่า

فَإِنْ يُثِبْنَا فَبِمَحْضِ الْفَضْلِ    وَإِنْ يُعَذِّبْ فَبِمَحْضِ الْعَدْلِ

“ฟะอิน ยุษิบนา ฟะบิมะห์ดิลอัลฟัฏลิ  วะอิน ยุอัซซิบ ฟะบิมะห์ดิลอัดลิ”

“ดังนั้น  หากพระองค์ทรงให้ผลบุญ  ก็เป็นความโปรดปรานโดยแท้  และหากพระองค์ทรงลงโทษ  ก็เป็นความยุติธรรมโดยแท้”

นี้คือหลักอะกีดะฮ์ที่มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องยึดมั่น  และยังเป็นแนวทางยึดมั่นของสะละฟุศศอลิห์อีกด้วย

คือหากพระองค์ทรงให้ผลบุญแก่เราและตอบแทนแก่เรา....อันเนื่องมาจากความโปรดปรานและความเมตตาของพระองค์....แต่หากคนทำความชั่ว...แล้วพระองค์ทรงอภัยให้...ก็เป็นเพราะมาจากความโปรดปรานและความเมตตาของพระองค์เช่นกัน...แต่หากพระองค์ลงโทษคนทำความชั่วล่ะ...นั่นก็เพราะความยุติธรรมของพระองค์...เพราะทำชั่วได้ชั่ว....แต่ถ้าหากพระองค์จะลงโทษคนทำความดีล่ะ...พระองค์ก็ทรงกระทำได้เนื่องจากพระองค์ทรงอาญาสิทธิ์...แต่พระองค์ไม่ทรงลงโทษเพราะความเมตตาของพระองค์กว้างใหญ่เหนือทุกๆสิ่งยิ่งนัก...และพระองค์จะทำตามสัญญา... 

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
       นี่แหละครับ  ที่นักปราชญ์ฟิกห์ผู้มีคุณธรรมอย่างแท้จริง  เขาไม่พูดตัดสินประเคนนรกและมอบสวรรค์แก่กันและกัน  เนื่องจากพวกเขามีคุณธรรมและมีมารยาทต่ออัลเลาะฮ์ 

ออฟไลน์ sa27

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 35
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
 salam

เห็นด้วยครับ  การกระทำสิ่งใดก็ตาม  ไม่ว่าจะดี หรือดีน้อยก็ตาม  เราต้องเริ่มจากความคิดของเรา  แต่หลังจากนั้นถ้าสิ่งนั้นเรายังคงทำอยู่สมำเสมอ  สิ่งนั้นจะถูกส่งผ่านมายัง

จิตสำนึกนั้นคือความรู้สึกที่เราต้องทำ  หลังจากนั้นจะถูกส่งผ่านไปยังจิตใต้สำนึกคือคงอยู่ตลอดเวลา  เมื่อถึงตำแหน่งนี้แล้วการทำสิ่งต่างๆจะกระทำด้วยความบริสุทธิ

โดยไม่มีการยึดติด
 


ผู้ที่ต้องการรู้จักตัวที่รู้จักตัวรู้
จากผู้ที่ต้องการรู้จักตัวรู้ที่รู้จักตัวรู้

ออฟไลน์ ware

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 1
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อัสลามุอลัยกุม
                         มีครูที่ไหนบ้าง ที่สอนเกี่ยวกับ วิชา มัตรีฟัต

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด

...

ดังนั้น  จะไม่มีผู้ใดที่จะโปรดปรานและเมตตาอย่างกว้างขวางไปมากกว่าอัลเลาะฮ์ตาอาลาอีกแล้ว  ฉะนั้นเรายังจะคิดทวงสวรรค์จากพระองค์อีกกระนั้นหรือ![/size]

            อ่านประโยคนี้รู้สึกละอายแก่ใจครับ เรามักจะเรียกร้องในสิ่งที่ไกลเกินตัว ทั้งที่สิ่งใกล้มีอยู่อย่างมากแล้ว แต่น้อยคนที่หวนกลับมาดูสิ่งนั้น แล้วกลับมองข้ามไปเสียจนเขาคิดว่า เขายังไม่ได้อะไรเลย ทั้งที่เขาได้ความโปรดปรานจากอัลลอฮฺมาตั้งมากมายแล้ว - วัลลอฮุอะอ์ลัม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

 

GoogleTagged