สุริยุปราคาที่เกิดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 2 ครั้งด้วยกัน ซึ่งพระองค์เสด็จทอดพระเนตรร่วมกับบาทหลวงเยซูอิต ชาวฝรั่งเศส ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ซึ่งเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงโดยเสด็จทอดพระเนตรที่เมืองละโว้ ผ่านกล้องโทรทรรศน์ และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2231 ซึ่งเป็นสุริยุปราคาบางส่วน สันนิษฐานว่าทรงเสด็จทอดพระเนตร ณ พระตำหนักเย็น ทะเลชุบศรทั้ง 2 ครั้งโดยทอดพระเนตรภาพดวงอาทิตย์บนฉากที่รับภาพจากกล้องโทรทรรศน์ที่บาทหลวงตั้งถวายให้ทอดพระเนตร
จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระปรีชาสามารถทางด้านดาราศาสตร์ โดยทรงศึกษาวิชาการด้านนี้ด้วยพระองค์เองจากตำราโหราศาสตร์ไทยและตำราโหราศาสตร์สากล ทรงวัดเส้นรุ้งเส้นแวงด้วยพระองค์เองทรงคำนวณว่าจะเกิด สุริยุปราคาเต็มดวง ที่บ้านคลองลึกตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ได้อย่างแม่นยำ ทั้งๆที่ทรงคำนวนไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปี โดยทรงใช้กล้องโทรทรรศน์ส่วนพระองค์ในการทอดพระเนตร ทำให้พระองค์ทรงได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศ และทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น "พระบิดาแห่งดาราศาสตร์ไทย" และในที่ 18 สิงหาคม ก็ได้รับการกำหนดให้เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" ของทุกปี การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ จึงนับว่ามีความสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยเหตุการณ์หนึ่งทีเดียว
สุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่สำคัญมีอยู่ 4 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อ พ.ศ. 2411 พ.ศ. 2418 พ.ศ. 2472 และ พ.ศ. 2498 ตามลำดับ
สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน โดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เงาของดวงจันทร์จะทอดมายังโลก ทำให้คนบนโลก (บริเวณเขตใต้เงามืดของดวงจันทร์) มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง หรือบางแห่งเห็นดวงอาทิตย์มืดหมดทั้งดวง ช่วงเวลาที่เกิดสุริยุปราคาจะกินเวลาไม่นานนัก เช่น เมื่อวันที่ 24 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 ประเทศไทยสามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้นาน 3 ชั่วโมง นับตั้งแต่ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าจนเคลื่อนออก
สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลากลางวันและตรงกับวันแรม 15 ค่ำ หรือวันขึ้น 1 ค่ำ เท่านั้น ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์จะมองเห็นดวงอาทิตย์มืดทั้งดวงเรียกว่า สุริยุปราคาเต็มดวง ท้องฟ้าจะมืดไปชั่วขณะ ในขณะที่ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ภายใต้เงามัวจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังไปบางส่วน เรียกว่า สุริยุปราคาบางส่วน สำหรับการเกิดสุริยุปราคาในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าปกติ ทำให้เงามืดของดวงจันท์ทอดตัวไปไม่ถึงพื้นโลก แต่ถ้าต่อขอบของเงามืดออกไปจนสัมผัสกับพื้นผิวโลกจะเกิดเป็นเขตเงามัวขึ้น ตำแหน่งที่อยู่ภายใต้เงามัวนี้จะมองเห็นสุริยุปราคาวงแหวนดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก แต่ที่เรามองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้มิด ก็เพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์
ดังนั้นในการมองดวงอาทิตย์ ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยกรองรังสีบางชนิดที่จะเข้าสู่ตา การใช้แว่นกันแดดในการมองเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่สามารถป้องกันสิ่งที่เป็นอันตราย รวมทั้งรังสีอินฟราเรดที่ตามองไม่เห็นซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเรตินาได้ การสังเกตจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ทำมาโดยเฉพาะ จึงจะสามารถมองดวงอาทิตย์ตรงๆ ได้
สุริยุปราคาไม่สามารถเกิดขึ้นจากการที่ดาวเทียมไปบังดวงอาทิตย์ได้ เนื่องจากดาวเทียมหรือสถานีอวกาศนั้นมีขนาดเล็กมาก ไม่พอที่จะบังแสงจากดวงอาทิตย์ได้เหมือนดวงจันทร์ หากจะเกิดสุริยุปราคาจากดาวเทียมนั้น ดาวเทียมต้องมีขนาดประมาณ 3.35 กิโลเมตร ทำให้การเคลื่อนทีของดาวเทียมหรือสถานีอวกาศนั้นเป็นได้เพียงการผ่านเท่านั้น เช่นเดียวกับการผ่านของดาวพุธและดาวศุกร์ ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาสั้นๆ และสังเกตได้ยาก ส่วนความสว่างของแสงจากดวงอาทิตย์ก็ไม่ได้ลดลงไปจากเดิมเเน่นอน
ส่วนถ้าเราท่านทั้งหลาย จะย้อนดูหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม ในยุคญาฮิลียะห์ เชื่อกันว่า เมื่อเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา ความเชื่อของคนสมัยนั้นคือจะมีคนใหญ่คนโตเสียชีวิต และบังเอิญในวันที่เกิดสุริยุปราคา ท่านอิบรอฮีมบุตรชายของท่านนบีก็ได้เสียชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนในสมัยนั้น เข้าใจผิด และป้องกันไม่ให้เชื่อผิดๆ รอซูลุ้ลลอห์(ซ.ล.)จึงได้พูดขึ้นว่า สุริยุปราคาและจันทรุปราคา ทั้ง2จะไม่เกิดขึ้นเพราะการตายของผู้ใด และเพราะการมีชีวิตอยู่ของผู้ใด
รอซูลุ้ลลอห์(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า “แท้จริงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้น ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาสัญลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้า ทั้งสองไม่ได้เกิดคราสเพราะการตายของผู้ใด และไม่ใช่เพราะการมีชีวิตอยู่ของผู้ใด เมื่อพวกท่านพบเหตุการณ์ดังกล่าว พวกท่านจงละหมาดและขอดุอา จนกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกท่านจะคลายออก(สว่าง)” รายงานโดยมุสลิม ดังนั้นมีสุนัตให้อาบน้ำเพื่อละหมาดสุริยุปราคา(กุซูฟ)และจันทรุปราคา(คุซูฟ) อาบเหมือนกับตอนที่จะไปละหมาดวันศุกร์
มีสุนัตให้ละหมาดสุริยุปราคา(กุซูฟ) และจันทรุปราคา(คุซูฟ) แบบญะมาอะห์ เมื่อละหมาดเสร็จแล้วให้ผู้นำที่มีความรู้ขึ้นคุตบะห์ ซึ่งวิธีการก็เหมือนกับคุตบะห์ในวันศุกร์ ทั้งในเรื่องรุกุ่นและซารัต เป้าหมายหลักก็คือ ให้ผู้คนหันมาเอาใจใส่เรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบๆตัว ว่าถ้าพระผู้เป็นเจ้าไม่ทำ ใครจะทำได้ หันมาสำรวจตัวเองว่า วันนี้เราทำความดีเพื่อพระองค์หรือยัง และเราได้นำพาบุคคลรอบข้างของเรา เข้าใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้าหรือยัง รู้แล้วบอกต่อ ความดีงามจะหลั่งไหลมาสู่ท่าน และสังคมสืบต่อไป ทำตามใช้ ละเว้นสิ่งที่ห้ามคือหน้าที่ของผู้ศรัทธา