
พี่น้องครับ ใกล้จะถึงเดือนร่อมะดอน มุบารอก ร่อมะดอน กะรีม อันทรงเกียตริแล้ว ทางสำนักจุฬาราชมนตรี ประกาศให้วันอาทิตย์ที่ 3 ก.ค. พ.ศ. 2554 เป็นวันที่ 1 ซะบาน ฮ.ศ. 1432 ตามกฏทางดาราศาสตร์อิสลาม บอกว่า วันที่ 1 วันที่15 วันที่ 29 ของเดือนอิสลามนั้น จะต้องเป็นวันเดียวกัน เสมอไป (กล่าวคือ ดังนั้นวันที่ 1 ซะบานปีนี้ ตรงกับวันอาทิตย์ วันที่ 15ซะบานปีนี้ ก็ต้องตรงกับวันอาทิตย์ วันที่ 29 ซะบานปีนี้ ก็ต้องตรงกับวันอาทิตย์เช่นเดียวกัน เนื่องจากว่าตามหลักของศาสนาอิสลามแล้ว ให้เริ่มต้นวันใหม่ เมื่อตะวันเริ่มตกลับขอบฟ้า กลางคืนมาก่อนกลางวัน ดังนั้นวันที่ 15ซะบานปีนี้ ที่เรารู้กันในนาม คืนนิชฟูซะบานปีนี้ จึงตรงกับ หลังเข้ามัฆริบของวันเสาร์ที่ 16 ก.ค. พ.ศ. 2554)
เนื่องจากทางสำนักจุฬาราชมนตรี ประกาศให้วันอาทิตย์ที่ 3 ก.ค. พ.ศ. 2554 เป็นวันที่ 1 ซะบาน ฮ.ศ. 1432 ดังนั้นวันที่ 29 ซะบานปีนี้ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. 2554 หลังจากเข้าเวลามัฆริบของ วันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. 2554 จะต้องมีการดูดวงจันทร์เสี้ยว เพื่อกำหนด วันที่ 1 รอมะดอน ฮ.ศ. 1432
วิเคราะห์ตามหลักดาราศาสตร์อิสลาม วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตรงกับวันที่ 29 ซะบาน ฮ.ศ. 1432 (สำหรับประเทศไทย จันทร์ดับ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 01.39.49. วินาที) ดังนั้นหลังเข้าเวลาละหมาดมัฆริบ ของวันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 จึงต้องมีการดูดวงจันทร์เสี้ยว เพื่อกำหนดวันที่ 1 รอมะดอน ฮ.ศ.1432 (เกล็ดเล็กเกร็ดน้อย ควรจะใช้คำว่า ดูดวงจันทร์เสี้ยว หรือดูจันทร์เสี้ยว แทนจากคำว่า ดูดวงจันทร์ เพราะตามฮาดิษ ใช้คำว่า ฮิลาล แปลว่าดวงจันทร์เสี้ยว จันทร์เสี้ยว
โดยที่ในฮาดิษ ไม่ได้ใช้คำว่า ก่อมัร ซึ่งแปลว่าดวงจันทร์) วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 กทม. ดวงอาทิตย์ตก 18.47.20 วินาที ดวงจันทร์ตก 19.09.36 วินาที มีเวลาสังเกตจันทร์เสี้ยว 22 นาที 15 วินาที จะต้องดูด้วยกล้องเท่านั้น (ถ้าหากว่า ช่วงนั้นท้องฟ้าเปิด ฝนไม่มา ฟ้าไม่มืด ฝนไม่ตก ก็อาจจะเห็นได้) ชลบุรี (มีสถานที่แห่งหนึ่ง ชายฝั่งทะเล ซึ่งมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิ แหละมีผู้เชี่ยวชาญ ทางดาราศาสตร์อิสลามอย่างมากๆ ได้ร่วมสังเกตุดวงจันทร์เสี้ยวด้วย) ดวงอาทิตย์ตก 18.43.57วินาที ดวงจันทร์ตก 19.06.37 วินาที มีเวลาสังเกตจันทร์เสี้ยว 22 นาที 40 วินาที จะต้องดูด้วยกล้องเท่านั้น (ถ้าหากว่า ช่วงนั้นท้องฟ้าเปิด ฝนไม่มา ฟ้าไม่มืด ก็อาจจะเห็นได้) ยะลา ดวงอาทิตย์ตก 18.34.56 วินาที ดวงจันทร์ตก 19.00.57 วินาที มีเวลาสังเกตุจันทร์เสี้ยว 26 นาที01 วินาที จะต้องดูด้วยกล้องเท่านั้น (ถ้าหากว่า ช่วงนั้นท้องฟ้าเปิด ฝนไม่มา ฟ้าไม่มืด ก็อาจจะเห็นได้) หาดใหญ่ ดวงอาทิตย์ตก 18.37.33 วินาที ดวงจันทร์ตก 19.03.18 วินาที มีเวลาสังเกตจันทร์เสี้ยว 25 นาที 45 วินาที จะต้องดูด้วยกล้องเท่านั้น (ถ้าหากว่า ช่วงนั้นท้องฟ้าเปิด ฝนไม่มา ฟ้าไม่มืด ก็อาจจะเห็นได้) กาญจนบุรี ดวงอาทิตย์ตก 18.50.49
วินาที ดวงจันทร์ตก 19.13.04 วินาที มีเวลาสังเกตจันทร์เสี้ยว 22 นาที 15 วินาที จะต้องดูด้วยกล้องเท่านั้น (ถ้าหากว่า ช่วงนั้นท้องฟ้าเปิด ฝนไม่มา ฟ้าไม่มืด ก็อาจจะเห็นได้) ปัตตานี ดวงอาทิตย์ตก 18.34.48 วินาที ดวงจันทร์ตก 19.00.34 วินาที มีเวลาสังเกตจันทร์เสี้ยว 25นาที 46 วินาที จะต้องดูด้วยกล้องเท่านั้น (ถ้าหากว่า ช่วงนั้นท้องฟ้าเปิด ฝนไม่มา ฟ้าไม่มืด ก็อาจจะเห็นได้) อุบลราชธานี ดวงอาทิตย์ตก 18.31.15 วินาที ดวงจันทร์ตก 18.52.09 วินาที มีเวลาสังเกตจันทร์เสี้ยว 20 นาที 54 วินาที จะต้องดูด้วยกล้องเท่านั้น (ถ้าหากว่า ช่วงนั้นท้องฟ้าเปิด ฝนไม่มา ฟ้าไม่มืดก็อาจจะเห็นได้) สำหรับกำปง ลาดบัวขาวของเรา ดวงอาทิตย์ตก 18.45.47 วินาที ดวงจันทร์ตก 19.08.00 วินาที มีเวลาสังเกตจันทร์เสี้ยว 22 นาที 14 วินาที มุมทิศ ของดวงจันทร์ จากจุดทิศเหนือ กวาดไปทางขวามือ ขนานกับขอบฟ้า จะเท่ากับ 281 องศา 40 ลิปดา 15 ฟิลิปดา จะต้องดูด้วยกล้องเท่านั้น ความสูงเหนือเส้นขอบฟ้า อยู่
ที่ 2 องศา59 ลิปดา 42ฟิลิปดา (ถ้าหากว่า ช่วงนั้นท้องฟ้าเปิด ฝนไม่มา ฟ้าไม่มืด ก็อาจจะเห็นได้ ในความเป็นจริง ค่อนข้างเห็นได้ยากมาก เพราะมีบ้าน มีตึก ต้นไม้ ฯลฯ บดบังเยอะเลย)
การดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันที่ 1 ของเดือน ทุกๆ เดือนนั้น ตามหลักการศาสนาอิสลาม ให้ยึดถือและปฏิบัติตามแบบฉบับ ของท่านศาสดานบีมุฮำหมัด (ซ.ล.) ในการกำหนดวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน (เดือนถือศีลอด) กล่าวคือ ให้ดูดวงจันทร์เสี้ยว (ฮิลาล) ในวันที่ 29 ของเดือนซะบาน เมื่อเวลาดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้ว ถ้าเห็นดวงจันทร์เสี้ยว ให้ถือว่าวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน แต่ถ้าไม่เห็นดวงจันทร์เสี้ยว ให้ถือว่าวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 30 ของเดือนซะบาน และวันถัดต่อจากนั้นไป ถือว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ดังปรากฏหลักฐานฮะดิษ ของท่านศาสดานบีมุฮำหมัด(ซ.ล.) ดังนี้) (( صُوْمُوْا لِرُؤْيَتِهِ ، وَأَفْطِرُوْا لِرُؤْيَتِهِ ، فَإِنْ غُمَّ عَلَيْكُمْ فَأَكْمِلُوْا عِدَّةَ شَعْبَانَ ثَلاَثِيْنَ يَوْمًا ))
رواه البخاري (1810) ومسلم (1080)
“ท่านทั้งหลาย จงถือศีลอดเพราะเห็นเดือนเสี้ยว และจงละศีลอด เมื่อเห็นดวงจันทร์เสี้ยว (เลิกถือศีลอด) ถ้าหากมีเมฆเกิดขึ้นเหนือพวกท่าน (มีเมฆมาปกคลุมทำให้ไม่เห็นดวงจันทร์เสี้ยว) ก็ให้พวกท่านปล่อยเดือนซะบาน ให้ครบสามสิบวันเถิด (นับเดือนซะบานให้ครบสามสิบวัน)” รายงานโดย บุคอรี (1810) และมุสลิม (1080) ตามฮาดีษดังกล่าว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในวันที่ 29 ของเดือนซะบาน ซึ่งเป็นวันที่ต้องดูดวงจันทร์นั้น ถึงแม้มีดวงจันทร์อยู่แต่มีเมฆบัง ทำให้ไม่สามารถจะเห็นดวงจันทร์ได้ ท่านศาสดานบีมุฮำหมัด (ซ.ล.) ใช้ให้นับเดือนซะบานให้ครบสามสิบวันเสียก่อน จึงจะไปเริ่มวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ท่านไม่ได้บอกว่า ถ้าไม่เห็นดวงจันทร์ให้รอฟังข่าวจากประเทศอื่นที่อยู่ห่างไกล และถ้ามีประเทศใดที่อยู่ห่างไกล เห็นดวงจันทร์ให้ถือตามประเทศนั้น นอกจากนั้นยังมีฮะดิษยืนยันว่า เมื่ออยู่ในเมืองที่ห่างไกลจากกัน เช่น เมืองซามกับเมืองมะดีนะห์ ให้ถือเอาการเห็นดวงจันทร์ในเมืองนั้นกำหนด วันเริ่มต้นถือศีลอด (เริ่มวันที่หนึ่งของเดือนรอมฎอน) และเลิกถือศีลอด (เพราะเริ่มวันที่ 1 ของเดือนเซาวั้ล) ดังฮะดิษที่รายงานโดยมุสลิม อบูดาวูด ติรมีซี และนะซาอี ดังนี้ عَنْ كُرَيْبٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنََّ أُمَّ الْفَضْلِ بِنْتَ الْحَارِثِ بَعَثَتْهُ إِلَى مُعَاوِيَةَ بِالشَّامِ قَالَ : فَقَدِمْتُ الشَّامِ فَقَضَيْتُ حَاجَتَهَا وَاسْتُهِلَّ عَلَيَّ رَمَضَانُ وَأَنَا بِالشَّامِ ، فَرَأَيْتُ الْهِلاَلَ لَيْلَةَ الْجُمُعَةِ ، ثُمَّ قَدِمْتُ الْمَدِيْنَةَ فِيْ آخِرِ الشَّهْرِ فَسَأَلَنِيْ ابْنُ عَبَّاسٍ : مَتَى رَأَيْتُمُ الْهِلاَلِ ؟ فَقُلْتُ : رَأَيْنَاهُ لَيْلَةَ الْجُمُعَةِ ، قَالَ : أَنْتَ رَأَيْتَهُ ؟ قُلْتُ : نَعَمْ وَرَآهُ النَّاسِ وَصَامُوْا وَصَامَ مُعَاوِيَةُ فَقَالَ : لَكِنَّا رَأَيْنَاهُ لَيْلَةَ السَّبْتِ ، فَلاَ نَزَالُ نَصُوْمُ حَتَّى نُكْمِلَ ثَلاَثِيْنَ أَوْ نَرَاهُ فَقُلْتُ : أَوَ لاَ تَكْتَفِيْ بِرُؤْيَةِ مُعَاوِيَةَ وَصِيَامِهِ ، فَقَالَ : لاَ ، هَكَذَا أَمَرَنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ . رواه الخمسة إلا البخارى. ความว่า จากกุร๊อยบฺ ร.ฎ. เล่าว่า เนื่องจากอุมมัลฟัดลิ บินติ ฮาริส ได้ส่งกุรอ๊ยบฺไปหามุอาวียะห์ ณ เมืองซามแล้ว เมื่อฉันมาถึงเมืองชาม และได้จัดทำธุระของนางเสร็จเรียบร้อย ได้ปรากฎเดือนรอมฎอนขึ้นแก่ฉัน โดยในขณะที่ฉันอยู่ที่เมืองซามนั้น ฉันเห็นดวงจันทร์ในตอนค่ำวันศุกร์ หลังจากนั้นฉันก็กลับมาที่มะดีนะห์ในตอนปลายเดือน แล้วอิบนิอับบัสก็ถามฉันว่า พวกท่านเห็นดวงจันทร์เมื่อใด ฉันก็ตอบว่า พวกเราเห็นในค่ำวันศุกร์ อิบนิอับบัสถามย้ำว่า ท่านเห็นมันเองหรือ ฉันตอบว่าถูกแล้ว และบรรดาประชาชนก็เห็นด้วย โดยพวกเขาได้ถือศีลอด และมุอาวียะห์ก็ได้ถือศีลอด อิบนิอับบัสจึงกล่าวว่า แต่พวกเรา (ในเมืองมะดีนะห์) เห็นดวงจันทร์ในค่ำวันเสาร์ ดังนั้นเราก็ยังคงต้องถือศีลอดเรื่อยไปจนกว่าจะครบสามสิบวัน หรือจนกว่าเราจะเห็นดวงจันทร์ ฉัน (กุร๊อยบ) จึงพูดว่า ยังไม่เพียงพออีกหรือกับการเห็นของมุอาวียะห์ และการถือศีลอดของเขา อิบนิอับบัสตอบว่า ไม่ แบบนี้แหละที่ท่านรอซูลุลเลาะห์ ซ.ล. ได้มีคำสั่งแก่พวกเรา (ให้ถือปฏิบัติ) รายงานโดยมุสลิม** ทั้งนี้ การดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันที่หนึ่งของเดือนอื่นๆ ก็ใช้หลักการเช่นเดียวกันนี้
ผลในการคำนวนทางดาราศาสตร์อิสลาม วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ทางภาคเหนือ และภาคอีสานตอนบน จะไม่สามารถเห็นจันทร์เสี้ยวได้เลย ถ้าใครอ้างว่าเห็นจันทร์เสี้ยว บอกได้เลยว่าสิ่งนั้น ไม่ใช่จันทร์เสี้ยว ส่วนภูมิภาคอื่นทั่วประเทศ ต้องใช้กล้องดูเท่านั้น จึงอาจจะเห็นจันทร์เสี้ยวได้(ถ้าหากว่า ช่วงนั้น ท้องฟ้าเปิด ฝนไม่มา ฟ้าไม่มืด ฝนไม่ตก)
สรุปว่า ถ้าหากว่าหลังเข้าเวลามัฆริบ ของวันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มีผู้เห็นจันทร์เสี้ยว เท่ากับว่าเดือนซะบานปีนี้มี 29 วัน แหละวันที่ 1 รอมะดอน ฮ.ศ. 1432 จะตรงกับวันจันทร์ที่ 1 ส.ค. พ.ศ. 2554 แต่ถ้าหากว่า วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ไม่มีผู้เห็นจันทร์เสี้ยว เท่ากับว่าเดือนซะบานปีนี้มี 30 วัน แหละวันที่ 1 รอมะดอน ฮ.ศ. 1432 จะตรงกับวันอังคารที่ 2 ส.ค. พ.ศ. 2554 ให้พี่น้องรับฟัง การประกาศทางสำนักจุฬาราชมนตรี วันนี้เราทำความดีเพื่อพระองค์หรือยัง และเราได้นำพาบุคคลรอบข้างของเรา เข้าใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้าหรือยัง ละหมาดแล้วหรือยัง ทำอะม้าน อิบาดะห์ ชนิดต่างๆ เพื่อรับพระเมตตา จากพระผู้เป็นเจ้าแล้วหรือยัง ** วันนี้วันอาทิตย์ที่ 10 ก.ค. พ.ศ.2554 เวลาปฏิบัติศาสนกิจ(ซ่อลา ซำบะห์ยัง) สำหรับ กทม. ซุบฮิ เวลา 04.28.48 วินาที ตะวันขึ้นเวลา 05.57.06 วินาที ดุฮ์ริเวลา 12.24.00 วินาที อัสริ เวลา15.47.56 วินาที มักริบเวลา 18.50.49 วินาที อีซาเวลา 20.09.32 วินาที เวลาปฏิบัติศาสนกิจ สำหรับ มัสยิดฮารอม ซุบฮิ เวลา 04.10.14 วินาที ตะวันขึ้นเวลา 05.42.05 วินาที ดุฮ์ริเวลา 12.25.57 วินาที อัสริ เวลา15.42.35 วินาที มักริบเวลา 19.09.41 วินาที อีซาเวลา 20.30.59 วินาที เวลาปฏิบัติศาสนกิจ สำหรับ มัสยี่ดินนะบะวี ซุบฮิ เวลา 04.01.26 วินาที ตะวันขึ้นเวลา 05.35.37 วินาที ดุฮ์ริเวลา 12.26.53 วินาที อัสริ เวลา15.48.39 วินาที มักริบเวลา 19.18.00 วินาที อีซาเวลา 20.41.05 วินาที พี่น้องครับ ซากาตคือสิ่งจำเป็น สำหรับบุคคลที่ครบในเงื่อนไข และในส่วนของ การทำบุญ ให้กับเด็กกำพร้านั้น ถือว่าเป็นภาคผลบุล และเป็นความดีงาม ที่ยิ่งใหญ่มาก ณ ฝ่ายของพระผู้เป็นเจ้า แม้กระทั่งการลูบศรีษะเด็กกำพร้า เพื่อแสดงถึงความรัก ความเอ็นดู เพื่อเติมเต็ม ในสิ่งที่ขาดหายไป ทุกๆเส้นผมที่มือลูบผ่านไปนั้น นั่นก็เป็นภาคผลบุลทั้งสิ้น ท่านรอซูลุ้ลลอห์(ซ.ล.) บุรุษที่ประเสริฐที่สุด ในบรรดามั๊คโลค สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา คนรักของพระผู้เป็นเจ้า ท่านก็เป็นเด็กกำพร้ามาก่อนเช่นเดียวกัน พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า”ดังนั้นผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าผงธุลีเขาก็จะได้เห็นมัน ส่วนผู้ใดกระทำความชั่วหนักเท่าผงธุลีเขาก็จะได้เห็นมัน”อัลซิลซาลอายะห์ที่7-8 รู้แล้วบอกต่อ ความดีงาม จะหลั่งไหลสู่ตัวท่าน และสังคม สืบต่อไป ทำตามใช้ ละเว้นสิ่งที่ห้าม คือหน้าที่ของผู้ศรัทธา