ผู้เขียน หัวข้อ: ทำได้หรือครับ  (อ่าน 3231 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

อยากรู้จัง

  • บุคคลทั่วไป
ทำได้หรือครับ
« เมื่อ: ก.ค. 08, 2007, 10:07 PM »
0

เวลาแต่งงานมีการแห่ขบวนหรือเปล่า บางที่เห็นมีหมากพลูในขบวนแห่ด้วย ทำได้หรือเปล่าครับ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ทำได้หรือครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ค. 11, 2007, 04:12 AM »
0
بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

ท่านอิมามอัลบุคอรีย์  ได้รายงานว่า 

عن عائشة أنها زفت ‏ ‏امرأة ‏ ‏إلى ‏ ‏رجل ‏ ‏من ‏ ‏الأنصار ‏ ‏فقال نبي الله ‏ ‏صلى الله عليه وسلم ‏ ‏يا ‏ ‏عائشة ‏ ‏ما كان معكم لهو فإن ‏ ‏الأنصار ‏ ‏يعجبهم اللهو ‏

"จากท่านหญิงอาอิชะฮ์  ซึ่งท่านนางได้ส่งเจ้าสาวคนหนึ่งไปยังเจ้าบ่าวชาวอันซอร  ดังนั้น  ท่านนบี  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  จึงกล่าวว่า  โอ้ อาอิชะฮ์  พร้อมพวกท่านนั้นมีเครื่องเล่นรื่นเริงหรือไม่  เพราะการละเล่นรื่นเริงทำให้ชาวอัลอันซ๊อรมีความประทับใจ" ซอฮิห์บุคอรีย์ หะดิษที่ 4765

ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร ได้อธิบายไว้ในหนังสือฟัตหุลบารีย์  ความว่า

من وجه آخر عن جابر " نكح بعض أهل الأنصار بعض أهل عائشة فأهدتها إلى قباء

"จากสายรายงานหนึ่งจากท่านญาบิร ความว่า  มีชาวอันซ๊อรคนหนึ่งได้ทำการแต่งงานกับเครือญาติของท่านหญิงอาอิชะฮ์  ดังนั้น  ท่านหญิงจึงส่งตัวนางไปยังกุบาอ์"

ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร กล่าวว่า

‏في رواية شريك فقال : فهل بعثتم معها جارية تضرب بالدف وتغني ؟ قلت : تقول ماذا ؟ قال تقول : ‏ ‏أتيناكم أتيناكم ‏ ‏فحيانا وحياكم

"ในรายงานของชะรีกนั้น  ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า  พวกท่านไม่ส่งหญิงคนหนึ่งไปพร้อมกับเจ้าสาวเพื่อทำการตีกลองและทำการร้องเพลงดอกหรือ?  ฉัน(ท่านหญิงอาอิชะฮ์)จึงกล่าวว่า  แล้วจะให้นางกล่าวอะไร?  ท่านนบีตอบว่า  ก็ให้นางกล่าวว่า  เราได้มาหาพวกท่านแล้ว เราได้มาหาพวกท่านแล้ว  ของอัลเลาะฮ์ทรงให้เรามีชีวิตชีวาและขอให้พวกท่านมีชีวิตชีวา..."

ท่านอิบนุหะญัรกล่าวว่า

 ‏في حديث ابن عباس وجابر " قوم فيهم غزل "

"ในหะดิษของท่านอิบนุอับบาสและท่านญาบิร ระบุว่า "(ชาวอันซ๊อร)เป็นชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งในพวกเขามีการหยอกล้อเกี้ยวพาราสีกันด้วยบทกวี"

ท่านอัลหาฟิซ อิบนุ หะญัร กล่าวว่า

عن قرظة بن كعب وأبي مسعود الأنصاريين قال " أنه رخص لنا في اللهو عند العرس " الحديث وصححه الحاكم

"รายงานจากุรซฺะฮ์ บิน กะอับ และอบีมัสอูด ซึ่งทั้งสองเป็นชาวอันซ๊อร ว่า  แท้จริงท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อนุญาตแก่เราในการรื่นเริง(ร้องรำทำเพลง)ในขณะที่มีงานแต่งงาน"  หะดิษนี้ท่านอัลหากิมถือว่าซอฮิห์

ท่านอัตติรมีซีย์  ได้รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์  ความว่า

‏قال رسول الله ‏ ‏صلى الله عليه وسلم ‏ ‏أعلنوا هذا النكاح واجعلوه في المساجد واضربوا عليه بالدفوف ‏

"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า  พวกท่านจงป่าวประกาศการแต่งงานนี้เถิด  และจงทำการแต่งงานในบรรดามัสยิด และพวกท่านจงตีกลอง(เพื่อประกาศ)บนการนิกาห์นี้"  ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า เป็นหะดิษหะซัน  ดู สุนัน อัตติรมีซีย์ หะดิษที่ 1009

เจ้าของหนังสือ ตั๊วะฟะตุลอะห์วาซีย์  ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายสุนันอัตติรมีซีย์  ได้กล่าวอธิบายว่า

وقال الفقهاء : المراد بالدف ما لا جلاجل له . كذا ذكره ابن الهمام قال الحافظ : واستدل بقوله " واضربوا " على أن ذلك لا يختص بالنساء لكنه ضعيف , والأحاديث القوية فيها الإذن في ذلك للنساء فلا يلتحق بهن الرجال لعموم النهي عن التشبه بهن انتهى

"บรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์กล่าวว่า  เป้าหมายคำว่ากลอง คือ  กลองที่ไม่มีเสียงกระดิ่ง  และท่านอิบนุอัลฮุมามได้กล่าวเช่นเดียวกันนี้  ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุหะญัร กล่าวว่า  ได้ถูกอ้างหลักฐานจากคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ที่ว่า "พวกเจ้าจงตีกลอง"  ซึ่งชี้ถึงว่าไม่จำกัดเพียงแค่สตรีเท่านั้น  จึงถือว่าเป็นการอ้างหลักฐานที่ฏออีฟ  โดยที่บรรดาหะดิษที่มีน้ำหนักได้ยืนยันว่าอนุญาตตีกลองสำหรับสตรี  ดังนั้น จะเอาบรราดาผู้ชายไปเปรียบเทียบกับสตรีไม่ได้  เพราะมีหะดิษที่มีความหมายครอบคลุมถึงการห้ามเลียนแบบบรรดาสตรี"

‏قلت : وكذلك الغناء المباح في العرس مختص بالنساء فلا يجوز للرجال ‏

"ฉันขอกล่าวว่า   เช่นเดียกับการตีกลอง ก็คือการร้องเพลงที่มุบาห์ในงานแต่งงานนั้นเจาะจงเฉพาะบรรดาสตรี  ดังนั้นจึงไม่อนุญาตสำหรับบรรดาผู้ชาย"

สิ่งที่ได้จากหะดิษและการอธิบายของนักปราชญ์หะดิษ  เราสามารถสรุปได้ว่า

ท่านหญิงอาอิชะฮ์ได้ทำการส่งเจ้าสาวที่เป็นญาติของท่านนางจากมะดีนะฮ์ไปยังกุบาอ์  ซึ่งท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้ใช้ให้เด็กผู้หญิงทำการร้องเพลงและตีกลองนำขบวนเพราะชาวอันซ๊อรชอบความรื่นเริงในงานแต่งงานและเนื่องจากชาวอันซ๊อรจะชอบร้องรำทำเพลงด้วยบทกวีเกี้ยวพาราสีหยอกล้อกันอย่างสนุกสนาน  ดังนั้น  ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  จึงอนุญาตให้มีการรื่นเริงกันในหมู่พวกเขาตามประเพณีที่พวกเขาดำเนินอยู่

เราจะสังเกตุได้ว่า  การเดินทางไปยังกุบาอ์เพื่อส่งเจ้าสาวนั้น  เดินกันเป็นขบวนหรือเปล่าหรือเปล่า?  แล้วการเดินเป็นขบวนนั้นอยู่ในความหมายของการแห่หรือไม่?  หากแห่บ้านเรานั้นจะมีระเบียบมากกว่า  แต่คนอาหรับปัจจุบันแห่กันด้วยการวิ่งรถบนถนนบีบแตรรถกันดังสนั่นอย่างสนุกสนานเพื่อประกาศให้คนทั่วไปได้รับรู้ว่าพวกเขามีงานแต่งงานกันแล้ว

การแห่บ้านเรามีแบบเรียบ ๆ  เดินขบวนกันเป็นแถวอย่างมีระเบียบ(ไม่เกะกะกระจัดกระจาย)จากบ้านเจ้าบ่าวสู่บ้านเจ้าสาวให้เพื่อผู้คนทั้งหลายรู้ว่าตอนนี้เจ้าบ่าวกำลังจะมาแล้ว   เด็กผู้หญิงร้องนำขบวนก็ไม่มี  กลองก็ไม่มีตี  ซึ่งเป็นประเพณีที่มุบาห์ไม่ขัดกับศาสนาและยังเป็นการรื่นเริงน้อยกว่าชาวอันซ๊อรที่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อนุญาตให้พวกเขาเสียอีก  หากจะบอกว่าการแห่เป็นการเลียนแบบชาวพุทธ  ผมขอกล่าวว่าการแห่ขบวนรถของชาวอาหรับปัจจุบันล่ะเลียนแบบใคร? เลือนแบบชาวพุทธด้วยหรือเปล่า?

ทำไมผู้ที่บอกว่าตนเองทำตามซุนนะฮ์  ไม่ให้เด็ก ๆ ผู้หญิงทำการตีกลองขับร้องสนุกสนานกันบ้างล่ะครับ  เพราะว่านบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ให้การยอมรับไม่ใช่หรือ?  ประเพณีรื่นเริงในงานแต่งงานของชาวอันซ๊อรหนักหนากว่าพี่น้องมุสลิมเมืองไทยบ้านเราเสียอีก  แต่ทำไมถึงต้องกลายเป็นบิดอะฮ์ลุ่มหลงงมงายตกนรกไปได้? ทำไมเรื่องประเพณีที่ไม่ขัดกับหลักศาสนานั้น  ท่านถึงยัดเยืยดให้มันเป็นเรื่องของศาสนา  เพื่อที่จะฮุกุ่มบิดอะฮ์ลุ่มหลงต่อพี่น้องมุสลิม  หรือว่าเราจะบัญญัติฮุกุ่มศาสนาขึ้นมาเองให้แก่พี่น้องมุสลิมด้วยสายตาที่มุ่งจับผิดอีกทั้งยังมีความอคติต่อกัน?

ส่วนในขบวนมีหมากพลูอยู่ด้วยนั้น  ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไปเพื่ออะไร?  ดังนั้น  หากจะถามว่าจำเป็นต้องทำหรือเปล่าหรือสุนัตให้ทำหรือเปล่า  ผมขอตอบว่า  ไม่มีหลักการระบุไว้

والله تعالى أعلى وأعلم 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged