ฟัตวาเลขที่ 273
ฟัตวาหัวข้อ การสวมใส่ผ้าปิดหน้า (นิกอบ) (Memakai Cadar)
ฟัตวาตอบเมื่อ 07/10/2004
ถามว่า โปรดดูคำร้องขอฟัตวาเลขที่ 2341 ปี 2004 ใจความว่า
“การสวมใส่ผ้าปิดหน้า (นิกอบ) นั้นบังคับ (วาจิบ) หรือไม่ ซึ่งมีนักวิชาการบางท่านที่บังคับให้ใส่ โดยได้ยึดหะดีษของพระนางอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ที่ว่า พระนางได้ปกปิดใบหน้าของพระนาง เมื่อครั้งขณะประกอบพิธีหัจจ์ และตอนพบปะกับคณะชาวต่างชาติ จนกระทั่งคณะดังกล่าวได้จากไกลไป”คำตอบโดย ท่านผู้พิพากษาสูงสุดแห่งศาลอิสลาม ประเทศอียิปต์ ศ. ดร. อลีย์ จุมอะฮ์ มุหัมมัด ว่า
การแต่งกายแบบอิสลามที่ถูกบังคับเหนือสตรีมุสลิมนั้นก็คือ เครื่องแต่งกายที่ไม่รัดรูป ไม่โปร่งบาง อีกทั้งต้องปกปิดทั่วทั้งร่ายกาย ยกเว้นใบหน้าและสองฝ่ามือ ซึ่งก็ไม่ได้มีข้อห้ามอันใดสำหรับพวกเธอในการสวมใส่เครื่องแต่งกายที่มีสีสัน แต่ต้องด้วยเงื่อนไขที่ว่าต้องไม่โอ้อวด ดึงดูดความสนใจ หรือยั่วยวนเพศตรงข้าม ซึ่งเมื่อเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ได้รับการตอบสนองต่อเครื่องแต่งกายแบบหนึ่งๆ ตามที่กำหนดไว้แล้ว ดังนั้น สตรีมุสลิมคนหนึ่งก็สามารถที่จะสวมใส่และใช้มันเพื่อออกเดินทาง (นอกบ้าน) ได้
เกี่ยวกับข้อชี้ขาดของการสวมใส่
“ผ้าปิดหน้า” (หรือ
نِقَاب อ่านว่า “นิกอบ”) ของสตรีและถุงมือที่ปกปิดฝ่ามือทั้งสองข้างนั้น ซึ่งตาม (ทัศนะของ) นักวิชาการส่วนใหญ่ (จุมฮูร) ก็คือ “ไม่ได้บังคับ” จนสตรีมุสลิมคนหนึ่งนั้นสามารถที่จะปล่อยใบหน้าและสองฝ่ามือของเธอให้เปิดเผยได้ ดังกล่าวนี้โดยอาศัยพระดำรัสแห่งอัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตอาลา ที่ว่า
ความว่า
“และพวกนางจงอย่าได้เปิดเผยเครื่องประดับของพวกนาง เว้นแต่ส่วนที่เปิดเผยจากมัน (โดยปกติอยู่แล้ว)
” (สูเราะฮ์อันนูร (๒๔) อายะฮ์ที่ ๓๑)
นักวิชาการส่วนใหญ่จากบรรดาเศาะหาบะฮ์ และนักวิชาการหลังจากยุคของพวกท่านนั้น ได้ทำการอรรถาธิบายคำว่า
“เครื่องประดับที่เปิดเผย (โดยปกติ)
” (
الزينة الظاهرة ) ในอายะฮ์ข้างต้นนั้นว่าหมายถึง
“ใบหน้าและฝ่ามือ” ซึ่งการอรรถาธิบายเช่นนี้ได้ถูกรายงานมาจากท่านอิบนุ อับบาส ท่านอะนัส และพระนางอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม
นักวิชาการส่วนใหญ่ยังได้ยึดอายะฮ์ที่ว่า
ความว่า
“และพวกนางจงปิดผ้าคลุม (ฅุมุร)
ลงมาจนถึงหน้าอก (จุยูบ)
ของพวกนางเถิด” (สูเราะฮ์อัลอะห์ซาบ (๓๓), อายะฮ์ที่ ๕๙)
คำว่า “อัลฅิมาร” (
الخمار ) หมายถึง สิ่งปกปิดศีรษะ หรือผ้าคลุมศีรษะ ส่วนคำว่า “อัลจัยบ์” (
الجيب ) หมายถึง ส่วนของเครื่องแต่งกายที่ถูกเปิดเผยเหนือหน้าอก ซึ่งในอายะฮ์นี้นั้น อัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตอาลา ได้ทรงบัญชาให้สตรีมุสลิมทำการปกปิดหน้าอกด้วยผ้าคลุมศีรษะ ซึ่งถ้าหากว่าการปกปิดใบหน้าเป็นข้อบังคับหนึ่งด้วยแล้ว แน่นอนว่า อายะฮ์ดังกล่าวก็จะต้องระบุอย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน
ส่วนหลักฐานจากอัสสุนนะฮ์ (แบบฉบับของท่านนบีย์มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม) ก็คือหะดีษที่ถูกรายงานโดยพระนางอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลฮุอันฮา ที่ว่า นางอัสมาอ์ บุตรของท่านอบูบัคร์ได้ไปเยี่ยมท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม โดยสวมใส่เครื่องแต่งกายที่บาง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม จึงได้หันออกจากนาง พร้อมกับกล่าวว่า
يَا أَسْمَاءُ ، إِنَّ الْمَرْأَةَ إِذَا بَلَغَتِ الْمَحِيْضَ لَمْ تَصْلِحْ أَنْ يُرَى مِنْهَا إِلاَّ هَذَا وَهَذَا
ความว่า
“โอ้อัสมาอ์ สตรีนางหนึ่งเมื่อถึงคราวมีประจำเดือน ย่อมมิควรให้มีสิ่งใดที่ถูกเปิดเผยจากนาง เว้นแต่สิ่งนี้และสิ่งนี้” ท่านได้กล่าวเช่นนั้นพลางชี้ไปที่ใบหน้าและฝ่ามือ (รายงานโดยอบูดาวูด)
และยังคงมีหลักฐานอีกมากมายที่ชัดเจนระบุว่า ไม่บังคับให้ปกปิดใบหน้าและสองฝ่ามือ
ในอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ก็มีนักวิชาการบางส่วนมีทัศนะว่า สตรีมุสลิมจะต้องปกปิดใบหน้าของเธอด้วย ซึ่งพวกเขาได้ยึดหะดีษที่ถูกรายงานโดยอะห์มัด, อบูดาวูด และอิบนุ มาจะฮ์ จากพระนางอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า พระนางกล่าวว่า
كَانَ الرُّكْبَانُ يَمُرُّونَ بِنَا وَنَحْنُ مَعَ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَآلِهِ وَسَلَّمَ وَمُحْرِمَاتٌ فَإِذَا حَاذَوْا بِنَا أَسْدَلَتْ إِحْدَانَا جِلْبَابَهَا مِنْ رَأْسِهَا عَلَى وَجْهِهَا فَإِذَا جَاوَزُونَا كَشَفْنَاهُ
ความว่า
“เหล่าคณะหัจจ์ได้ผ่านพวกเราที่กำลังอยู่ในสภาพครองอิห์รอมพร้อมกับท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งเมื่อคณะใดคณะหนึ่งได้พบปะกับพวกเรา ดังนั้น ทุกคนจากพวกเราก็จะพากันดึงผ้าคลุมของนางลงมาจากทางศีรษะเพื่อปกปิดใบหน้าของนาง และเมื่อพวกเขาได้ไปไกลจากพวกเราแล้ว เราจึงจะค่อยเปิดเผยใบหน้าของพวกเราอีกครั้งหนึ่ง” หะดีษบทนี้ไม่ได้บ่งชี้ถึงข้อบังคับที่ให้ปกปิดใบหน้าของสตรี เนื่องจากการกระทำของบรรดาเศาะหาบะฮ์นั้นย่อมมิอาจบ่งชี้ข้อบังคับได้เลย และหะดีษบทนี้ก็ไม่ได้ปิดกั้นความเป็นไปได้ที่ว่ามันอาจเป็นการเฉพาะสำหรับบรรดาพระมารดาแห่งปวงศรัทธาชน (อุมมุลมุมินีน หมายถึง บรรดาภริยาของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม -ผู้แปล) ดั่งที่ถูกข้อห้ามเฉพาะในการแต่งงานกับพวกนางภายหลังจากที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากนั้น ก็เช่นที่รับทราบกันในวิชานิติฐานอิสลาม (อุศูลุลฟิกฮฺ) ว่า เหตุการณ์ต่างๆ เฉพาะบุคคลที่มีข้อชี้ขาดเฉพาะสำหรับเขาเท่านั้นนั้น ซึ่งถ้าหากว่ามีความเป็นไปได้ต่างๆ ของข้อชี้ขาดที่มีอยู่แล้วนั้น ดังนั้น มันก็จะมีความหมายเชิงครอบคลุมกว้าง (อิจมาล) จนมิอาจถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานได้
อิมามอัลบุฅอรีย์, ในหนังสือ เศาะหี้หฺ ของท่าน ได้รายงานจากท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
لاَ تَنْتَقِبُ الْمَرْأَةُ الْمُحْرِمَةُ وَلاَ تَلْبَسُ الْقَفَّازَيْنِ
ความว่า
“สตรีนางหนึ่งที่กำลังครองอิห์รอมอยู่นั้น ไม่อนุญาตให้สวมใส่ผ้าปิดหน้าและถุงมือ” หะดีษบทนี้ได้บ่งชี้ว่า ใบหน้าและสองฝ่ามือของสตรีที่เป็นเสรีชน (ไม่ใช่ทาส) นั้นไม่ใช่
“เอาเราะฮ์” (สิ่งที่ต้องปกปิด-ผู้แปล) ซึ่งจะเป็นไปได้อย่างไรที่ทั้งสองนั้นจะเป็นเอาเราะฮ์ ทั้งที่มันเป็นมติเห็นพ้องกันของบรรดานักวิชาการ (อัลอิตติฟาก) ว่าอนุญาตให้ทำการเปิดทั้งสองได้ในขณะที่กำลังปฏิบัติการละหมาดและเป็นข้อบังคับในขณะที่กำลังครองอิห์รอมอยู่ เพราะอย่างที่ทราบกันว่า ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่เอาเราะฮ์จะสามารถเปิดได้ในขณะละหมาด แล้วก็บังคับให้เปิดในขณะครองอิห์รอม นอกจากนั้น บรรดาสิ่งต้องห้ามในขณะครองอิห์รอมโดยแต่เดิมนั้นคือสิ่งที่อนุญาต เช่นการสวมใส่เครื่องแต่งกายที่เย็บปัก น้ำหอม การล่าสัตว์ เป็นต้น ซึ่งไม่มีสิ่งใดเลยจากสิ่งต่างๆ ที่ถูกห้ามนั้นโดยที่แต่เดิมนั้นเป็นข้อบังคับ (วาจิบ) แล้วต่อมาก็ถูกห้าม (หะรอม) เนื่องเพราะครองอิห์รอม
สรุปก็คือ การปกปิดใบหน้าและสองฝ่ามือของสตรีมุสลิมนั้น ข้อชี้ขาดของมันก็คือ
“ไม่บังคับ” นอกเสียจากจะเข้าอยู่ในข่ายอนุญาตเท่านั้น แต่หากจะปกปิดใบหน้าและสองฝ่ามือแล้วก็
“เป็นที่อนุญาต” และหากว่าเธอเพียงแต่สวมใส่เครื่องแต่งกายแบบอิสลามเท่านั้น โดยไม่มีการปกปิดใบหน้าและสองฝ่ามือของเธอเลยนั้น แท้จริง เธอได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของการปกปิดเอาเราะฮ์ตามที่ถูกบังคับเหนือเธอแล้ว
อัลลอฮฺ มหาบริสุทธิ์และสูงส่งยิ่ง ทรงรู้ดียิ่ง
ดูคำฟัตวาหัวข้ออื่นๆ -->
สารบัญฟัตวาจากสถาบันดารฺอัลอิฟตาอ์แห่งประเทศอียิปต์_____________________________________
หมายเหตุ : คำแปลคำฟัตวาในภาษาไทยข้างต้น ได้แปลจากคำฟัตวาฉบับแปล
ภาษาอินโดเนเซีย จาก
ภาษาอาหรับ (ต้นฉบับ) อีกที