Who Should be the Imam in Prayers?
อย่างนี้สิ ! น่าจะเป็นอีมาม นำละหมาด
ที่มา :
http://www.central-mosque.com/fiqh/WhoShouldBeImaam.htmแปลไทยโดย: นายโชคอนันต์ รักทรัพย์ วันที่ : 25/05/2011

Ahadeeth:
1) Abu Saeed Khudri (RA) relates that Rasul-ullah (SAW) said, “ if there are three people, then one should be the Imam, and the person who is the most “AQRA” (the one who reads the most) has the right to be the Imam.
(Bukhari and Muslim).
หะดิษ
๑) อบู สาอิด คุดรี อิงว่าท่านรอซูล กล่าวว่า “ หากมีคนอยู่ ๓ คน จงเลือกผู้ที่มีความชำช่องด้านอิกรอ (การอ่านที่สุด)เป็นอีมาม” (บุคคอรีย์และมุสลิม)
2) Ibn-Masud (RA) relates that Rasul-ullah (SAW) said, “ A person should become the Imam of people who is the most “AQRA” amongst them. If all are equal then the one who has the most knowledge of Sunnah. If they are equal in knowledge of the Sunnah then the one who made Hijrah (migration) first. If they are equal in regards to hijrah then the most who is the oldest. And NO ONE should perform Imamat in place of an individual; and one SHOULD NOT sit in some one else’s house (at their place of sitting i.e. the owner’s place of sitting) without seeking permission.
(Ahmed, Muslim)
๒) อิบนุ มัสอุด อิงว่าท่านรอซูล กล่าวว่า " ผู้ที่มีความเหมาะสมยิ่งที่จะเป็นอีมามคือผู้ที่มีความช่ำชองการอ่านมากที่สุดในหมู่พวกเขา หากว่าพวกเขาทั้งหมดนั้นมีความช่ำชองในการอ่านเท่าเทียบกัน จงคัดสรรผู้ที่มีความรู้ใรเรื่องซุนนะฮฺของท่านรอซูล หากพวกเขามีความเท่าเทียบกันในเรื่องซุนนะฮฺ จงสรรหาผู้ที่เป็นรุ่นแรกๆในการอพยพ(ฮิจรอ)" หากพวกเขาเท่าเทียบกันในเรื่องฮฺจเราะฮฺ จงเลือกสรรผู้ที่อาวุโสที่สุด คนหนึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะเป็นอีมามในสถานที่ส่วนบุคคลและไม่สมควรนั่งในสถานที่ที่มีเจ้าของก่อนได้รับอนุญาต (อะฮฺหมัด มุสลิม)
Opinion of the Fuqaha:
1) According to Imam Abu Haneefa (RA) a person who is the most “AQRA” (the one who reads the most i.e. a Hafiz) is superior to the one who is “AFQA” (the one who has the most knowledge of Sunnah i.e a scholar); as mentioned in the two Ahadeeth mentioned above.
ทรรศนะนักวิชาการฟิกฮฺ
๑) อีมามอบูฮานีฟะฮฺ ให้ทรรศนะว่าผู้ที่ช่ำชองในการอ่านนั้นย่อมดีกว่าผู้ที่มีความรู้ใเรื่องงซุนนะฮฺ ดังหะดิษทั้ง ๒ บทข้างต้น
2) According to Imam Abu Ahmad Bin Hanbal (RA) a person who is the most “AQRA” (the one who reads the most i.e. a Hafiz) is superior to the one who is “AFQA” (the one who has the most knowledge of Sunnah i.e a scholar); as mentioned in the two Ahadeeth mentioned above.
Imam Nawawi (RA) writes, “ The words of the Hadeeth say that if they are equal in reading then the one who has the most knowledge of the Sunnah. This is the Daleel that “AQRA” is superior to “AFQA”.
๒) อีมามอบูอะฮฺหมัด บิน ฮัมบัล ให้ทรรศนะว่าผู้ที่ช่ำชองในการอ่านนั้นย่อมดีกว่าผู้ที่มีความรู้ในเรื่องซุนนะฮฺ ดังหะดิษทั้ง ๒ บทข้างต้น
อีมามนาวาวี บันทึกว่า “ หะดิษกล่าวว่า หากพวกเขาเท่าเทียบกันในเรื่องการอ่าน จงสรรหาบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องซุนนะฮฺ นี้เป็นหลักฐานที่กล่าวว่า ผู้ที่ช่ำชองด้านการอ่านนั้นเลิศกว่าผู้ที่มีความรู้ในเรื่องซุนนะฮฺ”
3) According Imam Shafa’e (RA) for Imamat an “AFQA” is better then “AQRA”.
๓) อีมามชาฟีอี ให้ทรรศนะว่า อีมามที่มีความรู้ในเรื่องซุนนะฮฺนั้นเลิศกว่าอีมามที่ช่ำชองในการอ่าน
4) According to Imam Malik (RA) for Imamat as “AFQA” is better then “AQRA”.
อีมามมาลิก ให้ทรรศนะ ให้ทรรศนะว่า อีมามที่มีความรู้ในเรื่องซุนนะฮฺนั้นเลิศกว่าอีมามที่ช่ำชองในการอ่าน
Imam Shafa’e (RA) states, “This Hadeeth was addressed to the Sahaba (RA).
Amongst the Sahaba the person who used to read the most was accepted as the one who knew the most. The Sahaba (RA) accepted Islam at an older age. Therefore they used to understand first before reading. There were NONE amongst Sahaba who could read but NOT understand, but there were some who could understand but NOT read.
Source: Nael-ul-Awtar :Vol3, Pg133
อีมามชาฟีอี กล่าวว่า “ หะดิษนี้ถูกกล่าวแก่ซอฮาบะฮฺ” ซึ่งในหมู๋ซอฮาบะฮฺนั้นเป็นที่รู้กันว่าซอฮาบะฮฺคนใดที่ช่ำชองในเรื่องการอ่าน เขาก็จะช่ำชองในเรื่องซุนนะฮฺเช่นกัน ซอฮาบะฮฺยอมรับอิสลามในยุคแรกๆ จึงไม่มีข้อกังขาเลยว่าความเข้าใจต้องมาก่อนการอ่าน
ไม่มีซอฮาบะฮฺคนใดสามารถอ่านได้แต่ไม่เข้าใจ แต่มีซอฮาบะฮฺบางท่านที่เข้าใจในซุนนะฮฺแต่พวกเขาอ่านไม่ได้
ที่มา นาอิล อัลเอาตัร เล่มที่ ๑๓ หน้า ๑๓๓
Fatwa of Hanafi Scholars of Deoband:
1) Imamat is the right of one who is superior in knowledge, because:
a) Rasul-ullah (SAW) in his last days appointed Abu Bakr (RA) as the Imam, despite his own saying that Kaa’b (RA) is the best Qari (reciter) of the Qua’an (Bukhari).
b) Imam Bukhari (RA) has titled the chapter containing the above Hadeeth as “The one with superior Ilm (knowledge) and Fadhl has more right of Imamat”.
According to the Shar’h of Qudoori (taught in the Hanafi Darul-ulooms), the opinion mentioned in “opinion of the Fuqaha” is of Imam Abu Yusuf (RA); the student of Imam Abu Haneefa (RA).
นักวิชาการสังกัดมัซฮับฮานาฟี จากเมืองดีโอบัน (ของอินเดีย)
๑) ผู้ที่จะเป็นอีมามนั้นต้องมีความรู้ เพราะ
ก) ในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านรอซูลได้แต่งตั้งท่านอบูบักร เป็นอีมาม แม้ว่าท่านรอซูลจะเคยกล่าวว่าท่านกาอับ คือผู้ที่ท่องจำอัลกุรอ่านที่ดีที่สุดก็ตาม (บุคคอรีย์)
ข) ท่านบุคคอรีย์ได้เอาหะดิษข้างต้นไว้ในบทซึ่งมีความว่า ผู้ที่มีความรู้และเป็นนักอ่านนั้นย่อมดีเลิศที่จะเป็นอีมาม
ตามชาเราะฮฺ ที่ใช้สอนกันในสถาบันดารุลอุลุม ในมัซฮับฮานาฟี ทรรศนะที่ถูกกล่าวเป็นทรรศนะของอีมามอบูยุซุฟ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านอบู ฮานีฟะฮฺ
WHO SHOULD NOT BE THE IMAM?
คนอย่างนี้ไม่น่าจะเป็นอีมาม
Hadeeth:
1) Abdullah Bin Umar (RA) narrates that Rasul-ullah (SAW) said, “Allah does NOT accept the prayer (Namaz) of three individuals:
a) One is the person who performs Imamat of people who don’t like him.
b) Second is the person who comes for prayer (Namaz) when the time is finishing.
c) Third is the person who frees a slave and then enslaves him again.
(Abu Dau’d, Ibn-e-Maja)
หะดิษ
๑) อับดุลลอฮฺ บิน อุมัร เล่าว่าท่านรอซูลกล่าวว่า อัลลอฮฺไม่รับการละหมาดของคน ๓ จำพวก
ก) ผู้ที่เป็นอีมาม แต่ชาวบ้านชาวช่องชังเขา
ข) ผู้ที่มาละหมาด เมื่อหมดเวลาแล้ว
ค) ผู้ที่ปลดปล่อยทาส แต่แล้วนำเขากลับมาเป็นทาสอีก
(อบูดาวุด อิบนุ มาญะ)
Opinion of Muhaditheen:
1) Imam Tirmidhi (RA) writes, “From amongst the Sahaba (RA) some have disliked for a person to do Imamat of people that don’t like him. But if the Imam is NOT an oppressor then the people who don’t like him will be sinful.
ทรรศนะของนักหะดิษ
๑) อีมามติรมีซีย์ บันทึกว่า “ ในหมู่ซอฮาบะฮฺนั้น มีบางท่านไม่ชอบใจต่อผู้ที่จะเป็นอีมาม ซึ่งผู้คนไม่พอใจเขา แต่หากอีมามนั้นไม่ใช่ผู้กดขี่ข่มแหง บาปนั้นจะตกแก่ผู้ที่เกลียดชังเขา”
Opinion of Fuqaha:
1) There is a consensus of all Madhabs on the issue mentioned above.
Source: (Al-Fiqh Vol1, pg383)
Note: Please note that I think this might be a misprint and the actual page number should be 283 to be consistent with all other references from the same Book on the same subject).
ทรรศนะของนักฟิกฮฺ
๑) ทุกมัซฮับเห็นพ้องกันในเรื่องดังกล่าว
ที่มา (อัลฟิกฮฺ เล่มที่ ๑ หน้า ๓๘๓)
หมายเหตุ : ข้าพเจ้าคิดว่าหมายเลขหน้าของหนังสือด้านบนนั้นผิดพลาด แท้จริงน่าจะเป็น หน้าที่ ๒๘๓ ถึงจะสอดคล้องกันในเรื่องนี้ในหนังสือเล่มเดียวกัน
Ahadeeth:
1) Abu Huraira (RA) narrates that Rasul-ullah (SAW) said, “It is Waajib for you to join an Ameer and wage Jihad whether he is pious or NOT, similarly it is Waajib for you to pray behind every Muslim whether he is pious or NOT eventhough he might be committing major sins.
(Abu Da’ud)
หะดิษ
๑) อบู ฮุรัยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านรอซูล กล่าวว่า “ วาญิบสำหรับสูเจ้าที่จะต้องเข้าร่วมกับอามีรและญิฮาดไม่ว่าเขาจะเป็นผู้ที่เคร่งศาสนาหรือไม่ก็ตาม ในทำนองเดียวกันวาญิบแก่สูเจ้าที่จะต้องละหมาดตามมุสลิม ไม่ว่าเขาจะเคร่งครัดในศานาหรือไม่ก็ตามที แม้ว่าเขาจะเป็นคนบาปหนาก็เถอะ” (อบูดาวุด)
2) Abu Huraira (RA) narrates that Rasul-ullah (SAW) said, “Read Salah behind every person who proclaims ‘La Ilaha Ilullah’ and read the Janazah of every person who proclaims ‘La Ilaha Ilullah’.
(Dar Qutni)
๒) อบู ฮุรัยเราะฮฺ เล่าวว่า ท่ารอซูล กล่าวว่า “ จงอ่านในละหมาดข้างหลังผู้ที่มีสำนวน ..ลาอิลาฮาอิลลัลอฮฺ.. และจงละหมาดญานาซะฮฺแก่ผู้กล่าวสะนวน..ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮฺ..” (ดัรกุตนี)
Both of the above Ahadeeth are weak, but are substantiated by the actions of the Sahaba (RA), and also by the two Ahadeeth mentioned below.
หะดิษทั้ง ๒ นั้นอ่อน แต่ได้รับการสนับสนุนจากการกระทำของซอฮาบะฮฺและหะดิษทั้ง ๒ ข้างล่างนี้
3) Ibn-e-Umar (RA) used to perform Salah behind Hajjaj.
(Bukhari)
๓) อิบนุ อุมัร เคยละหมาดตามหลังฮัจญัจ (มีบันทึกว่า อัลลอฮฺนั้นคือสัจธรรม แต่ ฮัจญัจนั้นคือการสัปปรับ-ผู้แปล) (บุคคอรีย์)
4) Abu Saeed Khudri (RA) performed Eid Salah behind Mirwan, even though Mirwan was the man who performed the Khutbah of Eid before Salah.
(Muslim, Abu Dau’d, Tirmidhi)
๔) อบู ซาอิด คุดรี ละหมาดอีดตามหลังท่านมิรวาน แม้ว่าท่านมิรวานเป็นผู้ที่อ่านคุตบะฮฺในวันอีดก่อนที่จะละหมาด (มุสลิม อบูดาวุด ติรมีซีย์)
Opinion of the Fuqaha:
1) According to Imam Haneefa (RA) Imamat of a Faasiq (sinner) is Makrooh.
2) According to Imam Ahmad Bin Hanbal (RA) Imamat of a Faasiq (sinner) is NOT permissible.
3) According to Imam Shafa’e (RA) Imamat of a Faasiq (sinner) is Makrooh.
4) According to Imam Malik (RA) Imamat of a Faasiq (sinner) is Makrooh.
Source (Fiqh Ala Madhahib Arba: Vol1: pg283)
5) According to Imam Shawkani (RA) the difference of opinion is whether prayer (Salah) is valid behind a person who is a Faasiq (sinner) and an oppressor.
BUT THE IMAMAT OF SUCH A PERSON IS MAKROOH (i.e DETESTABLE and UNLIKED), AND THERE IS NO DISAGREEMENT IN THIS MATTER.
Source (Fiqh Ala Madhahib Arba: Vol1: pg283)
ทรรศนะฟิกฮฺ
๑) ทรรศนะท่านอีมามฮานาฟี ถือว่าอีมามที่เป็นคนฟาซิค นั้นมักรูฮฺ
๒) ทรรศนะอีมาม อะฮฺหมัด อิยนุ ฮัมบัล ถือว่าอีมามที่เป็นฟาซิคนั้นไม่เป็นที่อนุญาต
๓) ทรรศนะอีมามชาฟีอี ถือว่าอีมามที่เป็นคนฟาซิค นั้นมักรูฮฺ
๔) ทรรศนะอีมาม มาลิก ถือว่าอีมามที่เป็นคนฟาซิค นั้นมักรูฮฺ
ที่มา (ฟิกฮฺ อาลา มาซาฮิบ อัรบา เล่มที่ ๑ หน้า ๒๘๓)
๕) ทรรศนะอีมามเชากานี มีทรรศนะที่แตกต่างว่าการละหมาดตามหลังคนฟาซิคและคนที่กดขี่ข่มแหงนั้นจะใช้ได้หรือไม่
อย่างไรเสียอีมามประเภทที่ว่านั้นเป็นมักรูฮฺ(น่าเกลียด ไม่สมควร) ซึ่งเป็นอิจมา
ที่มา (ฟิกฮฺ อาลา มาซาฮิบ อัรบา เล่มที่ ๑ หน้า ๒๘๓)