بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛
หลักเดิมของการออกแบบอาคารเอนกประสงค์เป็นสิ่งที่อนุมัติ(ฮะล้าล) แต่การมีส่วนร่วมในการออกแบบหรือสร้างอาคารให้ต่างศาสนิกที่ใช้เฉพาะเพื่อประกอบพิธีกรรมในเรื่องศาสนาของพวกเขา ไม่เป็นที่อนุญาตให้กระทำ
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า
وَتَعَاوَنُوا عَلَى الْبِرِّ وَالتَّقْوَى وَلَا تَعَاوَنُوا عَلَى الْإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ
“พวกเจ้าจองช่วยเหลือกันบนความดีงามและความยำเกรง และพวกเจ้าอย่าช่วยเหลือกันบนความ บาปและการเป็นศัตรู” [อัลมาอิดะฮ์: 2]
แต่ในกรณีของท่านผู้ถามที่ออกแบบอาคารเอนกประสงค์ให้แก่ต่างศาสนิกที่อาจจะนำไปใช้ในกรณีอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมของศาสนาเป็นการเฉพาะด้วยนั้น เช่น สร้างอาคารเพื่อพบปะประชุม และธุระการ เป็นต้น นั้นถือว่าให้กระทำได้
เพราะหลักนิติศาสตร์อิสลามได้ระบุว่า
إِنَّ الْحُرْمَةَ إِذَا لَمْ تَتَعَيَّنْ حَلَّتْ
“การห้ามนั้นเมื่อไม่ถูกเจาะจง(ในการห้าม คือสิ่งหนึ่งอาจจะนำไปใช้ในหนทางที่ฮะรอมก็ได้หรือนำไปใช้ในหนทางที่ฮะล้าลก็ได้นั้น) ถือว่าเป็นสิ่งอนุมัติ”
ดังนั้นการออกแบบหรือสร้างอาคารเอนกประสงค์ดังกล่าวอาจจะนำไปใช้ในเรื่องของพิธีกรรมศาสนาก็ได้หรืออาจจะนำไปใช้ในเรื่องอื่นก็ได้นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่อนุมัติให้กระทำได้นั่นเองครับ
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ