ข้อให้ความรู้ต่อครับ
ไม่ใช่สักแต่ว่าได้โต้ตอบแล้ว
[/b]
ในถกเถียงกันทางวิชาการที่แต่ละฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกันนั้น เราจะพบว่าแต่ละฝ่ายก็จะนำเสนอหลักฐาน เหตุผลเพื่อพิสูจน์จุดยืนของฝ่ายตนเองว่าถูกต้อง และ หักล้าง โต้ตอบอีกฝ่ายว่าผิดพลาด บทความนี้จะพูดถึงในกรณีของการโต้ตอบกลับมาของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพื่อหักล้างอีกฝ่าย โดยสิ่งที่เราจะต้องระวังและวิเคราะห์ให้ดี เพื่อให้การรับฟัง หรือการที่ได้อ่าน ในเรื่องที่มีการโต้แย้งกันเกิดประโยชน์ต่อเรามากที่สุด ก็คือ:
การโต้ตอบอีกฝ่ายหนึ่งกลับนั้นไม่ใช่สักแต่ว่าได้โต้ตอบกลับมา เพื่อสร้างภาพว่าตนเองสามารถโต้ตอบอีกฝ่ายได้แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ เราจะต้องวิเคราะห์ดูว่าเนื้อหาของการโต้ตอบนั้น โต้ตอบได้ตรงประเด็นหรือไม่ ถ้าเราพูดอย่างหนึ่งแต่อีกฝ่ายนำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องมาเพื่อโต้ตอบ เพื่อสร้างภาพว่าตนเองสามารถโต้ตอบได้แล้ว เราจะต้องชี้ให้อีกฝ่ายรู้ว่าข้อมูลที่เขาได้นำมาโต้ตอบนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องที่กำลังถกกันอยู่ เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถหักล้างในสิ่งที่เราได้นำเสนอไปได้ และ เราจะต้องแยกให้ออกระหว่าง
การโต้ตอบด้วยหลักฐานข้อพิสูจน์ และ การโต้ตอบโดยการใช้คำพูดที่มาจากการใช้อารมณ์ความรู้สึกของตนเองโต้ตอบ ซึ่งไม่มีผลแต่อย่างใด และอีกอย่างที่เราจะต้องระวังก็คือ เราจะต้องสื่อสารให้อีกฝ่ายได้รับรู้ว่า ประเด็นหลักของเราที่กำลังถกกันอยู่นั้นคืออะไร เพื่อป้องกันมิให้เกิดการออกนอกประเด็น และถ้าอีกฝ่ายกำลังออกนอกประเด็น เราจะต้องเตือนให้กลับมาที่ประเด็น และถกกันไปทีละประเด็น แต่จะต้องเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงกับเรื่องที่กำลังถกกันกันอยู่ เพราะมิเช่นนั้นแล้วจะเสียเวลาไม่เกิดประโยชนืแต่อย่างใดต่อประเด็นที่กำลังถกกันอยู่
อีกอย่างก็คือ เราจะต้องระวังให้ดีว่า อีกฝ่ายนั้นอาจจะ
ตั้งโจทย์เอาเอง และตอบโจทย์นั้นเสียเอง โดยสร้างภาพว่านั้นคือโจทย์ที่เราตั้งขึ้นมา และเขาสามารถโต้ตอบโจทย์ของเราได้ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่ได้ตั้งโจทย์อะไรเช่นนั้นเลย สาเหตุที่อีกฝ่ายใช้วิธีที่ไม่ซื่อสัตย์เช่นนี้ก็เพราะ รู้ว่าตนเองไม่สามารถหักล้างหรือตอบโจทย์ที่เราตั้งเอาไว้ได้ จึงต้องใช้วิธีที่ไม่ซื่อสัตย์เช่นนี้ ปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ที่เขียนหนังสือ หรือบทความเพื่อหักล้าง หรือโต้ตอบความเท็จของอีกฝ่าย โดยที่อีกฝ่าย ก็เขียนบทความหรือหนังสือเพื่อโต้ตอบเราบ้าง แต่เปล่าเลย สิ่งที่อีกฝ่ายโต้ตอบนั้น มันไม่ได้โต้ตอบในสิ่งที่เราได้นำเสนอด้วยหลักฐานและข้อพิสูจน์เลย หากแต่ว่า ตนเองได้ตั้งโจทย์ขึ้นมาเอง และสร้างภาพว่าเราเชื่อเช่นนั้น เรามีจุดยืนเช่นนั้น ทั้งๆที่เปล่าเลย จากนั้นก็โต้ตอบในสิ่งที่ตนเองตั้งเป็นโจทย์ขึ้นมาเอง จากนั้นก็สร้างภาพว่าสามารถโต้ตอบหักล้างเราได้แล้ว ซึ่งโชคร้ายก็ว่าได้สำหรับผู้ที่จับประเด็นไม่เป็น แยกแยะไม่เป็น หรือไม่ได้เรียนรู้กระบวนการใช้เหตุผลที่ถูกต้องมา รวมถึงความผิดพลาดในการใช้เหตุผล แต่การได้รับฟัง หรือได้อ่าน ในเรื่องที่แต่ละฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน และมีการนำเสนอข้อมูลต่างๆนาๆอย่างมากมายเพื่อสนับสนุนฝ่ายของตนเอง และ หักล้างโต้ตอบฝ่ายตรงข้าม แทบจะไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงเลยก็ว่าได้ ถ้าเราไม่ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้สิ่งต่อไปนี้เสียก่อน:
1. เรียนรู้กระบวนการวิเคราะห์ กระบวนการใช้เหตุผลที่ถูกต้อง
2. เรียนรู้ประเภทหรือชนิดต่างๆของความผิดพลาดในการใช้เหตุผล (Logical Fallacy)
การเรียนทั้งสองอย่างที่กล่าวมาให้เข้านั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก รายละเอียดของทั้งสองนั้นมีมาก และตำราภาษาไทยก็มีจำกัดเป็นอย่างมาก แต่จะอยู่ในภาษาอังกฤษจำนวนมาก และเป็นภาษาที่ค่อนข้างเข้าใจยาก แม้แต่แปลมาเป็นภาษาไทยแล้ว หลายๆคนก็ยังบอกไม่เข้าใจ และจะต้องอาศัยการได้ฝึกฝนอยู่เป็นประจำแต่ก่อนจะฝึกจะต้องเรียนรู้ในภาคทฤษฎีให้ดีเสียก่อน แต่การเรียนรู้ทั้งสองที่กล่าวมา จะทำให้เราได้รับประโยชน์อย่างมากอย่างที่เราอาจจะไม่คาดคิดมาก่อนเลย