ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับการแปรงฟันรวมถึงประเด็นถามตอบ  (อ่าน 1389 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฮุ้นปวยเอี๊ยง

  • رَبِّ زدْنِيْ عِلْماً
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 994
  • เพศ: ชาย
  • وَارْزُقْنِيْ فَهْماً
  • Respect: +116
    • ดูรายละเอียด

การแปรงฟัน


เป็นที่ทราบดีตามหลักอนามัยว่าการแปรงฟันเป็นการทำให้ฟันสะอาด ปราศจากคราบฟัน หรือคราบอาหารที่จะตกค้างอยู่ในช่องปาก อันจะช่วยป้องกันการเกิดโรคในช่องปากด้วย ฉะนั้นเรามาทราบเรื่องราวการแปรงฟันทางด้านหลักศานากันเถอะ

อัซซิวาก ตามหลักภาษานั้นหมายถึง การถู.
ตามหลักนิติศาตร์อิสลามหมายถึง การแปรงฟันและสิ่งที่อยู่รอบๆด้วยสิ่งสากหยาบ.

ฮาดิษตัวบทหลักฐานในเรื่องดังกล่าว ท่านนาบีซ้อลล่อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า :

لولا أن أشق على أمتي لأمرتهم بالسواك عند كل صلاة

หากฉันไม่เกรงว่าจะเกิดความลำบากแก่อุมมะห์ของฉันแล้ว แน่นอน ฉันจะใช้ให้ พวกเขาแปรงฟันทุกๆการละหมาด
หรือในอีกสายรายงานหนึ่งกล่าวว่า "พร้อมกับการอาบน้ำละหมาดทุกครั้ง"

และฮาดิษอีกบทกล่าวว่า :

السواك مطهرة للفم مرضاة للرب و مجلاة للبصر

การแปรงฟันนั้นคือเครื่องมือหรือสิ่งที่มาทำความสะอาดปากและเป็นสิ่งที่ทำให้อัลลอฮ์พึงพอใจอีกทั้งเป็นสิ่งที่ทำให้สายตาเจิดจ้า

หรือในอีกฮาดิษอีกบทหนึงท่านท่านนาบีซ้อลล่อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า :

ความประเสริฐของการละหมาดด้วยการแปรงฟันย่อมดีกว่าเจ็ดสิบรอกาอัตซึ่งที่ไม่ได้แปรงฟัน


      คุณค่าของการแปรงฟันนั้นมีมากมายบางท่านนับมันถึงเจ็ดสิบกว่าประการ ส่วนหนึ่งคือ ทำให้อัลลอฮ์พึงพอใจ ทำให้ฟันขาวสวย ทำให้มีกลิ่นปากที่หอม ทำให้หลังตรง ทำให้เหงือกกระชับ ช่วยเพิ่มสติปัญญาและความจำ ทำให้สายตาแลเห็นชัด ง่ายในการดึงวิญญานและมลาอิกะห์ผู้ดึงวิญญาณจะมาหาในรูปที่สวยสง่าพร้อมกับให้สลามกับเขา เป็นเหตทำให้เกิดความง่ายดายและความร่ำรวยหรือความพอเพียง บรรเทาอาการปวดศรีษะ หงอกงอกช้า รักษาสุขภาพของกระเพาะและทำให้กระเพาะแข็งแรง และคุณประการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ ช่วยให้เรากล่าวลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ขณะความตายมาเยือน

ฮูก่มเกี่ยวกับแปรงฟัน

1.วาญิบ : ถ้าเราไม่ทำการแปรงฟันไม่สามารถที่จะขจัดนาญิสที่อยู่ในปากออกได้ และเมื่อปากมีกลิ่นในการที่ไปร่วมละหมาดวันศุกร์ หรือ ในกรณีที่เขาบนบานว่าแปรงฟัน
2.สุนัต : ซึ่งเป็นรากฐานเดิมของหุก่มในเรื่องนี่ การแปรงฟันนั้นสุนัตในทุกสภาพการณ์
และสถานที่เป็นสุนัตมุอักกาดะห์ (สุนัตให้ทำอย่างยิ่ง)มีหลายสถานที่และเวลาซึ่งจะขอกล่าวเพียงบางส่วน

2.1 ทุกการละหมาด หรือ ทุกการอาบน้ำละหมาด
2.2 ต้องการจะอ่านกุรอ่าน
2.3 เรียนรู้วิชาการศาสนา
2.4 ขณะปากมีกลิ่นหรือฟันเปลี่ยนสี
2.5 ก่อนนอนและขณะตื่นนอน
2.6 เข้ามัสยิดและเข้าบ้าน (ถึงแม้มัสยิดไม่มีใครหรือเข้าบ้านผู้อื่น)
2.7 ในตอนเช้า (ถึงแม้ว่าไม่ได้นอนหรือตื่นขึ้นมา)
2.8 ผู้ป่วยและผู้อยู่ภาวะใกล้ตาย

3.มักรูฮ์ :  สำหรับผู้ถือบวชหลังตะวันคล้อย
4.ค้านกับสิ่งที่ดีกว่า (บางอุลามาอ์กล่าวว่ามันอยู่ในค่ายฮูก่มมักรูฮ์) คือการใช้แปรงสีฟันผู้อื่นด้วยที่เจ้าของอนุญาต เว้นแต่กรณีที่ต้องการจะเอาความศิริมงคลถือว่าเป็นสุนัตเสมือนกรณีท่านหญิงอาอิชะห์ได้ใช้แปรงของท่านนาบี
5.ฮารอม : เมื่อใช้แปรงของคนอื่นด้วยที่เจ้าของไม่อนุญาต หรือ ไม่รู้ว่าเจ้าของมันจะพอใจหรือปล่าว

      หลังจากทราบเกี่ยวกับฮูก่มกันแล้ว เราลองมาดูประเด็นที่เกี่ยวของกับการแปรงฟันซึ่งกระผมจะสมมุติคำถามขึ้นมาและหาคำตอบมาซึ่งน่าจะมีประโยชน์อยู่บ้าง

1.ถาม : การแปรงลิ้นนั้นถือว่าเป็นซุนนะห์หรือปล่าว ?
ตอบ : ขอตอบว่าเป็นสุนัต.ท่านอิบนุฮะญัรอัลฮัยตามีย์กล่าวว่า :

 أي في عرض الأسنان ظاهرها وباطنها لا طولا بل يكره لخبر مرسل فيه وخشية إدماء اللثة وإفساد عمور الأسنان ومع ذلك يحصل به أصل السنة نعم اللسان يستاك فيه طولا لخبر فيه في أبي داود

 การแปรงฟันนั้นจะต้องแปรงในด้านกว้างทั้งหน้าทั้งหลังมิใช่การแปรงในด้านยาวยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นเรื่องที่มักรูฮ์เนื่องจากมีฮาดิษมุรซัลในเรื่องดังกล่าว และเนื่องจากกลัวการทำให้เหงือกนั้นออกเลือดและเป็นการทำให้อายุการใช้งานของฟันลดลง ถึงกระนั้นกระทำดังกล่าว(การแปรงฟันด้านยาว)ก็ยังได้รับผลบุญซุนนะห์ แต่ลิ้นนั้นจะถูกแปรงในด้านยาวเพราะในฮาดิษในเรื่องดังกล่าวที่มีบันทึกในสุนันอาบีดาวูด.

ฮาชียะห์ชัรวานีย์อะลัลตัวะฮ์ฟะห์ 1/128

2.ถาม : อยากทราบรูปแบบการแปรงฟันที่สุนัต
ตอบ : ขอตอบว่ามี ท่านซัยยิดอัลบักรีย์ กล่าวว่า :

وكيفية الاستياك المسنون أن يبدأ بجانب فمه الأيمن فيستوعبه باستعمال السواك في الأسنان العليا ظهرا وبطنا إلى الوسط ثم السفلى كذلك ثم الأيسر كذلك ثم يمره على سقف حلقه إمرارا لطيفا

การแปรงฟันที่สุนัตนั้นให้เริ่มแปรงจากปากฝั่งขวาเริ่มจากแปลงฟันด้านบนหน้าหลังให้ทั่วจนมาถึงตรงกลาง ต่อมาก็ด้านล่างของฝั่งขวาก็ทำเช่นเดียวกัน ส่วนฝั่งซ้ายก็ให้ทำในรูปแบบดังกล่าว ต่อมาให้แปรงเบาๆบนเพดานคอ.

ฮาชียะห์อิอานาตุฏฏอลีบีน 1/115

3.ถาม : การถูฟันด้วยนิ้วที่ด้านสากมีความหยาบหนานับว่าได้รับสุนัตในการแปรงฟันหรือไม่ ก็ในเมื่อเรากล่าวว่าการถูฟันนั้นแปรงฟันนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยสิ่งที่สากหยาบ ? ตอบ : เรื่องนี่มีคีลาฟมีความเห็นต่างกันในหมู่นักวิชาการมัซฮับชาฟีอีย์ ไม่ว่าจะเป็นอีหม่ามนาวาวีย์ อิบนุฮะญัร อีหม่ามรอมลีย์ คอฏีบชัรบีนีย์ และท่านอื่นๆ ในเรื่องนิ้วที่หยาบสากโดยใช้นิ้วของตัวเองหรือนิ้วของผู้อื่น ท่านอีหม่ามบุญัยรีมีย์กล่าวว่า :

 والمعتمد أنه لا يجزي الاستياك بأصبعه المنفصلة وإن كانت خشنة على الراجح ولا بأصبع غيره المنفصلة ، بل يحرم بهما

ทรรศนะที่ถูกยึดถือนั้นถือว่าไม่ได้รับผลบุญซุนนะห์ในการแปรงฟันด้วยนิ้วของตัวเองที่หลุดออกมา(จากร่างกาย)ถึงแม้นว่ามันจะมีความหยาบหนาก็ตาม และก็ถือว่าไม่ได้รับผลซุนนะห์เช่นกันโดยการใช้นิ้วของผู้อื่นที่หลุดออกมา ยิ่งไปกว่านั้นยังถือว่าเป็นเรื่องที่ฮารอม ท่านกล่าวต่ออีกว่า :

 لأن الأجزاء المنفصلة من الآدمي يجب احترامها ويمتنع امتهانها وإن أذن صاحبها ، إذ لا حق له فيها بامتهانها بعد الانفصال ، وإن لم يجب دفنها فورا ما دام صاحبها حيا فعلم أنه لا شك في التحريم بلا إذن صاحبها ، وأما أصبع غيره المتصلة فيجزي السواك بها إذا كانت خشنة وكان صاحبها حيا ؛ لأن ذلك من المساعدة والمعاونة ، والأجزاء المتصلة شأنها ووضعها العمل بها

ก็เพราะอวัยวะของมนุษย์ที่หลุดออกมาจากมนุษย์นั้นวายิบในการที่เรานั้นจะต้องให้เกียรตและเป็นที่ห้ามในการที่จะทำเป็นเรื่องที่ต่ำไร้ค่าถึงแม้นว่าเจ้าของมันจะอนุญาตสักทีก็ตาม เนื่องจากนับว่าอวัยวะหลังจากหลุดออกมานั้นไม่เป็นกรรมสิทธใดๆให้กับเขา และถึงแม้ว่าไม่ว่าญิบที่จะต้องฝังชิ้นส่วนนั้นทันทีทันใดตราบใดที่เจ้าของมันยังมีชีวิต ส่วนนิ้วของผู้อื่นที่ติดกับร่างกายถือว่าใช้ได้ในการที่จะเอามาถูฟันเมื่อมันมีความหยาบหนาและเจ้าของของมันยังมีชีวิตเพราะสิ่งดังกล่าวเป็นการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และอวัยวะชิ้นส่วนที่ยังติดอยู่กับเรือนร่างงานของมันคือการที่เราต้องใช้งาน

ฮาชียะห์บุญัยรีมีย์อะลัลคอฏีบ 1/390

ท่านซัยยิดอัลบักรีย์กล่าวว่า :

قوله خلافا لما اختاره النووي أي في المجموع من أن أصبعه الخشنة تجزيء

คำพูดของเจ้าของหนังสือฟัตฮุ้ลมุอีนที่ว่า (การถูฟันด้วยนิ้วของตัวเองถึงแม้นว่าจะหยาบหนาจะไม่ได้รับซุนนะห์ในการแปรงฟันซึ่งมีคิลาฟในเรื่องนี่กับทรรศนะที่ท่านอีหม่ามนาวาวีย์ได้เลือก) หมายถึง ทรรศนะที่ท่านได้เลือกในตำราอัลมัจมูอ์จากการที่ว่าถือว่าได้รับซุนนะห์ในการแปรงฟันด้วยนิ้วตัวเองที่หยาบหนา.

ฮาชียะห์อิอานาตุฏฏอลีบีน 1/116-117

4.ถาม : อะไรคือฮูก่มของการใช้ไหมขัดฟัน ?
ตอบ : ในเรื่องนี่มีซุนนะห์สองต่อจะได้อันไหนบ้างมาดูกัน
ประเด็นแรกคือการใช้วัตถุเข้าไปขจัดตามซอกฟันซึ่งเป็นสุนัตมุอักกะดะฮ์

ท่านอิบนุฮะญัรอัลฮัยตามีย์กล่าวว่า

ويتأكد التخليل إثر الطعام قيل بل هو أفضل للاختلاف في وجوبه ، ويرد بأنه موجود في السواك أيضا مع كثرة فوائده التي تزيد على السبعين

และถือเป็นสุนัตมุอักกาดะฮ์ในการจิ้มเข้าไปในซอกฟันเพื่อขจัดเศษอาหาร และได้มีทรรศนะที่กล่าวว่ามันย่อมประเสริฐว่าการแปรงฟันเพราะว่ามีคีลาฟในการเป็นวาญิบ (ส่วนหนึ่งจากผู้ที่กล่าวทรรศนะนี่คืออีหม่ามซัรกาชีย์) และทรรศนะนี่ถูกตอบโต้ว่าการแปรงฟันนั้นมีผลประโยชน์มากมายกว่าเจ็ดสิบประการ ท่านอีหม่ามชัรวานีย์ขยายความคำพูดของอิบนุฮะญัรที่ว่า( และถือเป็นสุนัตในการจิ้มเข้าไปในซอกฟัน) หมายถึง ก่อนแปรงฟันและหลังแปรงฟัน.

ฮาชียะห์ชัรวานีย์อะลัลตัวะฮ์ฟะห์ 1/128

ท่านซัยยิดบักรีย์กล่าวว่า :

ويسن كونه بعود السواك وباليمنى كالسواك ويكره بعود القصب والآس والتخليل أمان من تسويس الأسنان

และสุนัตให้อุปกรณ์ที่ใช้ซอดแทรกเข้าโดยใช้ไม้แปรงและด้วยมือขวา(เสมือนสุนัตที่ให้จับแปรงด้วยมือขวาตอนแปรงฟัน) และเป็นที่มักรูฮ์ในการใช้ไม้ตระกูลเป็นลำป้อง(ต้นอ้อ ไม้ไผ่ อ้อย) และต้นอาส (Myrtus communis) และการขัดฟัน(การทรอดแซกเข้าไป) จะช่วยรักษาฟันจากการผุ.

ฮาชียะห์อิอานาตุฏฏอลีบีน 1/120

5.ถาม : ไปเที่ยวบ้านเพื่อนลืมพาแปรงสีฟันไป เห็นแปรงอันหนึงตั้งฝุ่นเครอะน่าจะไม่มีใครใช้ใครเอา เราจะเอามันมาใช้ถือว่าฮะรอมหรือไม่ ?
ตอบ : ให้เราพิจารณาว่าถ้าหากพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ตั้งไว้แบบนั้นหมายถึงว่าไม่เอาละไม่ใช้งานแล้วกับแปรงอันนั้นใช่หรือปล่าวหรือยังไง ถ้าหากฝุ่นเครอะหมายความว่าไม่เอาและไม่ใช้แล้วก็ไม่ฮะรอมในการเอา

ท่านอัลลามะห์อับดุลอาซีซอัลมิลบียารีย์ลูกศิษย์ของท่านอิบนุฮะญัรกล่าวว่า :

ولا يكره بسواك غير أذن أو علم رضاه، وإلا حرم، كأخذه من ملك الغير، ما لم تجر عادة بالاعراض عنه

และไม่ถือว่ามักรูฮ์ในการใช้แปรงของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาต หรือ ทราบว่าเจ้าของพึงพอใจให้ใช้ ถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้นก็ถือว่าฮะรอม เสมือนกับการคนหนึงที่เอาของคนอื่นมาใช้ (และยังถือว่าเป็นฮารอม) ตราบใดที่ประเพณีหรือพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่หมายถึงยังต้องการมันอยู่.

ฟัตฮุ้ลมุอีกอะลากุรรอติลอีน 1/59

6. ถาม : เพื่อนบางคนชอบดูดแปรงหลังจากแปรงฟันเสร็จไม่ทราบว่ามีต้นสายเหตปลายเหตอย่างไร
ตอบ : อันนี้น่าจะเป็นนิสัยส่วนตัวแต่ทางที่ดีไม่ควรกระทำ
ท่านอีหม่ามชัรวานีย์กล่าวอ้างอิงจากอีหม่ามบุญัยรีมีย์ไว้ว่า :

فَإِنَّ ذَلِكَ يُورِثُ الْبَاسُورَ بُجَيْرِمِيٌّ

แท้จริงการกระทำดังกล่าวเป็นเหตทำให้เกิดริดสีดวง.

ฮาชียะห์ชัรวานีย์อะลัลตัวะฮ์ฟะห์  1/235

7.ถาม : มีสุนัตในการจับแปรงหรือไม่ ?
ตอบ : มีครับ ท่านซัยยิดบักรีย์กล่าวว่า :

ويسن أن يكون ذلك باليد اليمنى وأن يجعل الخنصر من أسفله والبنصر والوسطى والسبابة فوقه والإبهام أسفل رأسه ثم يضعه بعد أن يستاك خلف أذنه اليسرى لخبر فيه واقتداء بالصحابة

และสุนัตให้แปรงมือด้วยมือขวาและใช้นิ้วก้อยตั้งอยู่ล่างแปรงส่วนนิ้วนางนิ้วกลางนิ้วชี้จับเหนือแปรงส่วนนิ้วโป้งไว้ตายหัวแปรง หลักจากแปรงฟันเสร็จให้เหน็บแปรงที่หูซ้าย เพราะได้มีฮาดิษและเป็นการปฏิบัติตามซอฮาบะห์.

8.ถาม : การแปรงฟันเพื่อที่จะเรียนวิชานาฮู (ไวยากรณ์อาหรับ) เป็นสุนัตมุอักกะดะฮ์หรือไม่
ตอบ : เป็นเพราะเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวพันธ์กับความรู้ศาสนาและทุกๆศาสตร์ที่เป็นเครื่องไม้เครื่องมือในการเข้าใจกุรอ่านฮาดิษฟิกฮ์ตัฟซีร.

ซัยยิดบักรีย์ อิอานะห์ 1/118

9.ถาม : คนไม่มีฟันมีขอบข่ายอย่างไรในเรื่องนี้ ?
ตอบ : ท่านอิบนุฮะญอัลฮัยตามีย์กล่าวว่า

بل هو سنة مطلقا ولو لمن لا أسنان له لما مر أنه مرضاة للرب

ยิ่งไปกว่านั้นมันยังเป็นซุนนะห์ถึงแม้ว่าจะเป็นการแปรงการถูของผู้ที่ไม่มีฟันก็เพระว่าหลักฐานที่ผ่านมาที่กล่าวว่ามันสิ่งที่ทำให้ผู้อภิบาลทรงพอใจ .

ฮาชียะห์ชัรวานีย์อะลัลตัวะฮ์ฟะห์  1/236


วัลลอฮุอะลัมบิศศ่อวาบตกหล่นตรงไหนช่วยบอกด้วยครับผมตาลายหมดแล้ว  loveit:.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เม.ย. 10, 2014, 06:44 PM โดย ฮุ้นปวยเอี๊ยง »

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับการแปรงฟันรวมถึงประเด็นถามตอบ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เม.ย. 04, 2014, 05:00 PM »
+1
เข้ามากดไลค์ให้จ้า...อ่านแล้วได้ความรู้ในเชิงรายละเอียดมากๆ...
อ่านไปนึกไป...

พออ่านมาเจอตอนท้ายสุด...แอบอมยิ้ม นึกถึงคนแก่ใกล้ๆตัวที่ฟันเริ่มจะหมดปากแล้ว
แต่ก็ยังขยันแปรงฟันอยู่...^^

เพราะแม้จะไม่มีฟันให้แปรงแล้ว
แต่ก็ยังมีเหงือกและเพดานทีี่ยังต้องดูแลเอาใจใส่อยู่...



"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
0
 :salam:

อย่าคิดว่าปากเหม็นเป็นเพียงสัญญาณของโรคเหงือก และฟันเพียงอย่างเดียวนะคะ เพราะการที่คุณมีกลิ่นปาก ทั้งที่พยายามดูและสุขภาพในช่องปากเป็นอย่างดีแล้ว อาจเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากความผิดปกติของหัวใจและกระดูกของคุณ เมื่อปี 2010 นักวิจัยชาวสก็อตแลนด์ เผยแพร่งานวิจัยในสารสารทางการแพทย์ของประเทศอังกฤษว่า การแปรงฟันช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ ผู้ที่แปรงฟันอย่างสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคหัวใจ น้อยกว่าผู้ที่ไม่ค่อยแปรงฟันมากถึง 70%
       
http://readthainews.blogspot.com/2015/08/10_10.html

 

GoogleTagged