อิสลามต่อต้านความอิสระภาพในหลักการเชื่อมั่นนั้น เป็นความถูกต้องหรือไม่?
1. แท้จริงอิสลามได้ให้หลักประการสำหรับมนุษย์ให้มีความอิสระภาพของการศรัทธาเชื่อมั่น ดังกล่าวได้ระบุไว้อย่างสมบูณ์และชัดเจนไว้ในอัลกุรอาน ความว่า
لا إكراه فى الدين
"ไม่มีการบังคับใด ๆ ในศาสนา" อัลบะกอเราะฮ์ 256
ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ทำการบีบบังคับบุคคลใดให้ทิ้งศาสนาของเขาโดยให้ไปนับถือศาสนาอื่น เพราะฉะนั้น ความอิสระภาพของมนุษย์ในการเลือกศาสนาของเขานั้น คือพื้นฐานของการเชื่อมั่น และ ณ ที่นี้ อัลกุรอานได้ตอกย้ำสิ่งดังกล่าวโดยไม่ต้องตีความในคำตรัสของ อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ความว่า
فمن شاء فليؤمن ومن شاء فليكفر
"ดังนั้น ผู้ใดประสงค์เขาก็จงศรัทธาและผู้ใดประสงค์เขาก็จงปฏิเสธ" อัลกะฮ์ฟี 29
2. การยอมรับในอิสรภาพของศาสนานั้น คือการยอมรับให้มีหลายศาสนา แท้จริงท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ตอกย้ำในสิ่งดังกล่าวไว้ในธรรมนูญฉบับแรกที่นครมะดีนะฮ์ คือในขณะที่ท่านได้ให้การยอมรับกับชาวยิวว่า พวกเขาสามารถเป็นประชาชาติเดียวกันกับบรรดามุสลิมีน
วิถีอิสระภาพทางศาสนาที่อิสลามได้ให้การประกันไว้นั้น คือท่านค่อลิฟะฮ์ที่สอง อุมัร อิบนุ ค๊อฏฏอบ ได้ให้การคุ้มครองชาวคริสต์ที่อาศัยอยู่เยรูซาเล็ม กับการดำเนินชีวิต มีบรรดาศาสนสถาน และให้มีสัญลักษณ์ไม้เกงเขนสำหรับพวกเขา โดยที่บุคคลจากพวกเขาจะไม่ได้รับความเดือนร้อนและไม่มีการบีบบังคับด้วยสาเหตุศาสนาของพวกเขา
3. อิสลามได้ให้หลักประกันเสรีภาพในการถกประเด็นของศาสนาบนพื้นฐานของหลักการห่างไกลจากการกล่าวให้ร้ายและดูหมิ่นเหยียดหยาม และในสิ่งดังกล่าวนั้น อัลกุรอานได้ระบุไว้ความว่า
أدع الى سبيل ربك بالحكمة والموعظة الحسنة وجادلهم بالتى هى أحسن
"เจ้าจงเรียกไปสู่วิถีทางของพระผู้อภิบาลของเจ้า ด้วยวิทยปัญญาและคำตักเตือนที่ดีงาม และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีงาม" อันนะหฺลิ 125
และบทพื้นฐานของอุดมการณ์ที่เปิดกว้างนี้ จึงสมควรให้มีการเสวนาขึ้นระหว่างมุสลิมีนและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมีน และอัลกุรอานได้แนะนำการเรียกร้องอันนี้ไปสู่การเสวนากับบรรดาชาวคำภีร์ ซึ่งพระองค์ทรางตรัสไว้ความว่า
قل يا أهل الكتاب تعالوا الى كلمة سواء بينا وبينكم الأ تعبد الا الله ولا تشرك به شيئا ولا تتخذ بعضنا بعضا أربابا من دون الله فإن تولوا فقولوا اشهدوا بأننا مسلمين
" จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า โอ้บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ ! จงมายังถ้อยคำหนึ่งซึ่งเท่าเทียมกัน ระหว่างเราและพวกท่าน คือว่าเราจะไม่เคาระสักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น และเราจะไม่ให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ และพวกเราบางคนก็จะไม่ยึดถืออีกบางคนเป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอฮ์ แล้วหากพวกเขาผินหลังให้ ก็จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่า แท้จริงพวกเราเป็นผู้น้อมตาม" อาละอิมรอน 64
ความหมายคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ตะอาลา นี้ คือ การเสวนาโต้แย้งกันนั้น หากไม่สามารถได้ผลของบทสรุปได้แล้ว ก็ให้ทุกศาสนาพอใจในสิ่งที่ตนยึดถือ และในความหมายเดียวกันนี้เช่นกัน ที่อายะฮ์สุดท้ายของซูเราะฮ์ อัลกาฟิรูน ซึ่งได้ปิดท้ายด้วยคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ที่มีแก่บรรดาพวกตั้งภาคีมักกะฮ์ โดยผ่านทางท่านนบี มุฮัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า
لكم دينكم ولى دين
"สำหรับพวกท่าน ก็คือศาสนาของพวกท่านและสำหรับฉันก็คือศาสนาของฉัน" อัลกาฟิรูน 6
4. การน้อมรับ คือพื้นฐานของหลักความเชื่อ ดังนั้น หลักความเชื่อที่แท้จริงต้องขึ้นอยู่บนการน้อมรับและความมั่นใจและไม่ใช่มาจากการเลียนแบบและบีบบังคับ และทุก ๆ คน ย่อมมีอิสระภาพในการยึดถือสิ่งที่ตนเองต้องการและสามารถมีพื้นฐานแนวคิดต่าง ๆ ตามที่ตัวเขาเองปรารถนา แม้กระทั้งสิ่งที่เขาเชื่อนั้นจะเป็นแนวคิดที่นอกลู่ก็ตาม ดังนั้น จึงไม่มีผู้ใดที่จะสามารถหักห้ามสิ่งดังกล่าวกับเขาได้ ตราบใดที่เขายังเก็บรักษาแนวคิดดังกล่าวไว้กับตนเอง และไม่นำมาสร้างความเดือนร้อนแก่ผู้ใด และเมื่อเขาพยายามที่จะเผยแพร่บรรดาแนวคิดดังกล่าวที่ไปคัดค้านกับหลักความเชื่อของบุคคลอื่น และไปคัดค้านกับคุณค่าในความหลักเชื่อของพวกเขาที่เป็นมิตรภาพ ดังนั้น ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงเป็นการละเมิดระเบียบของประเทศโดยรวมที่เขาได้อาศัยอยู่ ด้วยการจุดความสับสนวุ่นวายและสร้างความคลุมเครือให้เกิดขึ้นในบรรดาหัวใจของพวกเขา และคนใดก็ตามที่ละเมิดระเบียบของประเทศโดยรวม ซึ่งไม่ว่าจะในประชาชาติใดก็ตาม เขาย่อมได้รับการลงโทษ และดังกล่าวนี้ อาจถึงขั้นถูกข้อหากบฏซึ่งบรรดาประเทศส่วนมากจะลงโทษด้วยการประหารชีวิต
ดังนั้น ผู้ตกศาสนาตามหลักชาริอัตอิสลามนั้น จะถูกประหาร ไม่ใช่เพียงเพราะเขาตกศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะเหตุที่เขาได้ก่อความสับสนวุ่นวาย ความไม่สงบ และทำให้ระบบโดยรวมของประเทศอิสลามต้องขุ่นมัว และสำหรับผู้ที่ตกศาสนาโดยส่วนตัวของเขาเองโดยไม่เผยแพร่หลักการและสร้างความสงสัยในบรรดาหัวใจของผู้คนทั้งหลาย ก็ไม่มีผู้ใดที่จะไปสร้างความเดือนร้อนแก่เขาได้ ดังนั้น อัลเลาะฮ์องค์เดียวเท่านั้นที่ล่วงรู้สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในหัวใจของเขา
นักปราชญ์หะดิษบางส่วนมีทัศนะว่า การลงโทษผู้ตกศาสนานั้นไม่ใช่ในโลกดุนยาแต่ลงโทษในโลกหน้า และสิ่งที่เกิดขึ้นจากการประหารบรรดาผู้ตกศาสนาในอิสลามนั้น โดยยึดหะดิษนบีบางตัวบท แต่ไม่ใช่เพราะเหตุตกศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะพวกเขาทำการต่อต้านอิสลามและมุสลิมีน(1) และนี้คือแนวคิดที่กินกับสติปัญญาและสมควรแก่การใคร่ครวญ
-------------------
(1) ดู หนังสือ อัลหุรรียะฮ์ อัดดีนียะฮ์ ฟี อัลอิสลาม ของท่านชัยค์ อัลดุล อัลมุตะอาล อัลซ่ออีดีย์ หน้า 3 , 72 , 73 , 88 ตีพิมพ์ครั้งที่ 2 ดารุลฟิกร์อัลอะรอบีย์
อ้างอิง จากหนังสือ حقائق إسلامية فى مواجهة حملات التشكيك "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอิสลาม ในการเผชิญต่อการสร้างความสงสัย" ของท่าน ศาสตราจารย์ มะหฺมูด หัมดีย์ ซักซูก หน้า 85 - 87 ตีพิมพ์ อัลมัตตะบะฮ์ อัชชุรูก อัดเดาลียะฮ์ 2003 ค.ศ. - 1425 ฮ.ศ.
http://islamic-council.org/lib/FACTS-A-PDF/p5-110.pdf