ส่วนตัวผมมองว่า เราควรมองข้ามชีวประวัติของบุคคลที่ชีวประวัติของท่านมีคนเห็นกันคนละทางจะดีกว่าครับ เพราะแต่ละฝ่าย ต่างก็อ้างข้อมูลที่ตนก็ไม่ได้อยู่ในยุคที่คนนั้นเกิด ซึ่งโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดจนนำไปสู่การกล่าวหาบุคคลเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัวก็จะมีสูง และคิดว่าการรับรู้ชีวประวัติของพวกเขา ก็คงไม่ได้สำคัญเท่ากับสิ่งที่เขากำลังเผยแพร่อยู่ หรือแนวคิดที่ของพวกเขาที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ฉะนั้น สิ่งที่ควรทำเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การวิเคราะห์แนวคิด หรือความรู้ที่บุคคลเหล่านี้ได้เผยแพร่ในสังคม ซึ่งเราจะเน้นข้อมูลที่ฝ่ายที่สนับสนุนบุคคลเหล่านี้ให้การยอมรับ เราเพียงแต่แย้งในสิ่งที่เราไม่เห็นด้วยเท่านั้น ซึ่งมันจะดีกว่า และเ็ป็นประโยชน์มากกว่าครับ - วัลลอฮุอะอ์ัลัม
ผมเห็นต่างกับคุณ ประวัติของมุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ คือไม่ใช่วิเคราะห์ตัวตนของมุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ และไม่ได้ฮุกุ่ม แต่วิเคราะห์บรรทัดฐานและแนวคิดในการเผยแพร่นแนวทางของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นการตักฟีร(กล่าวหาเป็นกาเฟรกับแนวทางอื่น) การกล่าวชิริกกับแนวทางอื่น จนกระทั่งฟิตนะฮ์ได้เกิดขึ้น
ดังนั้นการที่เรามองข้ามประวัติศาสตร์มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ แต่วะฮาบีเขาไม่มองข้ามประวัติศาสตร์ยิ่งกว่านั้นยังนำรูปแบบการเผยแพร่ของมุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮ์ฮาบ มาใช้กับมุสลิมทั่วไปอีกด้วย โดยใช้คำว่า เตาฮีด มาบังหน้า แต่เบื้องหลังคำว่า เตาฮีด นั้น ได้ชำแหละและกล่าวหากลุ่มนั้นกาเฟร กลุ่มนี้บิดอะฮ์ กลุ่มนี้เป็นพวกชิริกแบบเกินเลยและผิดกับหลักการ
ผมอยากเห็นการเขียนหนังสือวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ ในเชิงวิชาการ มีการอ้างอิงตำราของมุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบเอง แต่ชี้ข้อผิดพลาดที่วะฮาบีทุกยุคสมัยได้ตักลีดตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเข้าใจผิดในการการอธิบายหลักเตาฮีด ทำการวิเคราะห์วิจารณ์หนังสืออัตเตาฮีด หนังสือกัชฟุชชุบฮาต ของมุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ จารณ์หนังสืออัดดุรรอรอัสสะนียะฮ์ เกี่ยวกับการตักฟีรกลุ่มที่นอกเหนือจากตน ซึ่งผมเชื่อว่าเราคงไม่ขาดแคลนนักวิเคราะห์ค้นคว้าและทำหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเป็นวิชาการ ทำในรูปแบบหนังสือ ฮิกัมเล่ม 1-2 และหนังสืออัตเตาบะฮ์ เป็นต้น ซึ่งมีอ้างอิง มีเชิงอรรถ
ส่วนงบประมาณนั้น เราหาได้ อินชาอัลเลาะฮ์