ผู้เขียน หัวข้อ: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)  (อ่าน 14455 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« เมื่อ: ก.ค. 20, 2007, 10:12 AM »
0


متن الأجرومية

الكلامُ : هو اللفظُ المُرَكَّبُ المُفيدُ بالوَضْع، وأقسامُه ثلاثة: اِسمٌ ، وفعلٌ، وحَرفٌ جاءَ لمَعنى.

فالاسم يُعرَفُ بالخَفضِ، والتنوينِ ،ودخولِ الألف واللام، وحروفِ الخَفضِ وهي: مِن، واِلى ،وعَن، وعلى، وفِي ، ورُبَّ، والباءُ، والكافُ، واللامُ، وحروفِ القَسَم وهي:الواو، والباء، والتاء.

والفعلُ يُعرَفُ بقد، والسِّين، وسَوف،وتاء التأنيث الساكنة.

والحرفُ ما لا يَصلُحُ معه دليلُ الاسم ولا دليل الفعل

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ค. 23, 2007, 12:33 PM »
0
بسم الله الرحمن الرحيم

الكلامُ  คำพูด

: هو  คือ

 اللفظُ  ถ้อยคำ

المُرَكَّبُ  ที่ถูกประกอบขึ้น

 المُفيدُ   อีกทั้งยังให้ประโยชน์

 بالوَضْع  ด้วยหลักการที่วางขึ้นมาตามหลักภาษาอาหรับ

، وأقسامُه และประเภทต่าง ๆ ของคำพูดนั้น

 ثلاثة  (แบ่งออกเป็น) 3 ประเภท

: اِسمٌ  นาม

 ، وفعلٌ กริยา

، وحَرفٌ جاءَ لمَعنى. อักษรที่นำมาให้กับความหมายหนึ่ง

فالاسم  ดังนั้น  นาม

 يُعرَفُ  มันจะถูกรู้จัก

 بالخَفضِ  ด้วยหลักการค่อฟัต (สามารถรับสระกัสเราะฮ์ได้)

، والتنوينِ  และมีตันวีน

،ودخولِ الألف واللام  เข้าอะลัฟและลามได้

، وحروفِ الخَفضِ และบรรดาหุรุ๊ฟค่อฟัต

 وهي:  มันก็คือ

 مِن،  มิน (จาก)

 واِلى  อิลา (ไปยัง  ไปสู่)

 ،وعَن อัน (จาก)

، وعلى อะลา (บน , เหนือ)

، وفِي ฟี (ใน)

 ، ورُبَّ،  รุ๊บบ่า (บางที , บางครั้ง)

 والباءُ  บาอฺ ( ด้วย)

، والكافُ،  กาฟ ( เช่น , เสมือน , เฉกเช่น)

 واللامُ  ลาม (เพื่อ , สำหรับ , เพราะ )

، وحروفِ القَسَم และบรรดาอักษรที่มีความหมายเพื่อการสาบาน

وهي  มันก็คือ

:الواو  ตัววาว (แปลว่าสาบาน)

، والباء ตัวบาอฺ(แปลว่าสาบาน)

، والتاء. ตัวตาอฺ(แปลว่าสาบาน)

والفعلُ  ฟิอิล (กริยา) นั้น

 يُعرَفُ  มันจะถูกรู้จัก

 بقد  ด้วยคำว่า  ก๊อดดฺ (แปลว่า แท้จริง , บางครั้ง)

، والسِّين،  ซีน (แปลว่าต่อไป)

 وسَوف  เซาฟ่า (แปลว่าต่อไปเช่นกัน)

،وتاء التأنيث الساكنة. ตาอฺที่ชี้ถึงความหมายผู้หญิงกระทำ ที่มีเครื่องหมายสุกูนต่อท้าย

والحرفُ  และอักษรนั้น

ما لا يَصلُحُ معه دليلُ الاسم  คือสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่จะอยู่พร้อมกับมัน โดยสิ่งที่บ่งชี้ถึงนาม(อีเซม)

 ولا دليل الفعل และไม่มีสิ่งที่บ่งชี้ถึงกริยา(ฟิอิล)

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ก.ค. 23, 2007, 12:42 PM »
0
อธิบาย

الكلامُ  คำพูด   ดังนั้น  คำพูด ณ  ที่นี้  หมายถึง   คำพูดตามทัศนะของนักปราชญ์นะฮู (นักปราชญ์ไวยากรณ์อาหรับ)
  أل  อะลีฟลาม  เข้ามาอยู่ในคำว่า  الكلامُ  นั้น  คืออะลีฟ อัลอะฮ์ดี้ย์ العهد  หมายถึงอะลีฟลามที่บ่งชี้ถึงถ้อยคำที่รู้กันดี  คือ كلام النحويين คำพูดตามทัศนะของนักปราชญ์นะฮู  ดังนั้น  คำพูดภาษาไทย , ภาษาอังกฤษ , ภาษามาลายู , ถือว่าไม่ใช่คำพูดตามทัศนะของนักปราชญ์นะฮูใน ณ ที่นี้   เพราะว่าคำพูดตามทัศนะของนักปราชญ์นะฮูคือคำพูดที่มีการเปลี่ยนแปลงสระตัวสุดท้ายของคำ (คือมีเอี๊ยะร๊อบ)   

: هو  คือ

 اللفظُ  ถ้อยคำ  คือเสียงที่เปล่งออกมาเป็นอักษรภาษาอาหรับ  คืออักษรอะลีฟ ถึง ยาอฺ  โดยมีความหมายด้วย  เช่นพูดว่า محمد  (มุฮัมมัด) เป็นถ้อยคำที่ใช้เรียกชื่อของคน  ซึ่งเปล่งพูดออกมาโดยประมวลซึ่งอักษรภาษาอาหรับ  คือ م  ح  م  د  (คือตัวมีม, หาอฺ , มีม , ดาล) อ่านเป็น  محمد  (มุฮัมมัด)   ดังนั้น ถ้อยคำที่ไม่ได้เปล่งเป็นคำพูดออกมา  เช่น  ถ้อยคำที่เขียนขึ้นไปกระดาษหรือถ้อยคำที่พูดในใจนั้น ถือว่าไม่ใช่เป็นถ้อยคำพูดตามทัศนะของนักปราชญ์นะฮู  หรือไม่ใช่ถ้อยคำตามหลักวิชานะฮูครับ

المُرَكَّبُ  ที่ถูกประกอบขึ้น  จากสองคำหรือมากกว่าสองคำขึ้นไป 
เช่น  ประกอบจาก  คำนาม(อีเซม)สองตัว  زَيْدٌ قَائِمٌ  เซดเป็นผู้ยืน  หรือประกอบจาก กริยา(ฟิอิล)และคำนาม(อีเซม) เช่น قَامَ زَيْدٌ  "ได้ยืนแล้วโดยเซด"   

 المُفيدُ   อีกทั้งยังให้ประโยชน์  หมายถึง ทำให้เข้าใจได้นั่นเอง  กล่าวคือเมื่อพูดออกไปแล้วนั้น  ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้

 بالوَضْع  ด้วยหลักการที่วางขึ้นมาตามหลักภาษาอาหรับ  หมายถึง ทำให้ถ้อยคำที่พูดออกมานั้นชี้ถึงความหมายที่เราต้องการจะพูด  ปราชญ์นะฮูบางทัศนะอธิบายคำว่า بالوَضْع  นี้หมายถึง  การเจตนา القصد (อัลก๊อสดฺ) กล่าวคือ ผู้พูดมีเจตนาให้ผู้ฟังมีความเข้าใจ  ดังนั้น คำพูดของคนเมา  คนละเมอ  คำพูดของนกขุนทอง  พูดเผลอออกไป  ถือว่าไม่ใช่เป็นคำพูดตามทัศนะของนักปราชญ์นะฮู

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ก.ค. 23, 2007, 12:44 PM »
0
การอธิบายจะมีต่อ ๆ ไปเรื่อย ๆ และมีจะมีตัวอย่างให้พิจารณากันในครั้งต่อไปครับ  อินชาอัลเลาะฮ์   ;D
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ก.ค. 23, 2007, 12:51 PM »
0
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

ลืมชี้แจงไปว่า  หากพี่น้องท่านใดที่สนใจวิชานะฮูนี้  ก็ถามเรามาได้เลยนะครับ ไม่ต้องเกรงใจ  หากเราตอบได้ก็จะตอบให้ครับ  อินชาอัลเลาะฮ์

والسلام
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ isma-il

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 232
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ก.ค. 23, 2007, 04:39 PM »
0
แค่ตอนที่ 1 ก็ หนาวๆ ร้อนๆ แล้ว   ;D  ;D เหมือนเริ่มต้น ก ข ค เลยเรา  :D

ออฟไลน์ colidlayla

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 111
  • Respect: -1
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ก.ค. 23, 2007, 06:40 PM »
0
 อัสลามมูอาลัยกุม
:D ดีมากมาย  เข้าใจง่ายดีคับ

ออฟไลน์ เด็กท่าเรือ

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • เพศ: ชาย
  • ความยำเกรงนั้น คือ กุญแจแห่งทางที่เที่ยงตรง
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • bantharua
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ก.ค. 23, 2007, 10:50 PM »
0
อัสสลามุอาลัยกุม
   น้องอัลฯ  บังขออนุญาต copy เนื้อหา/คำแปล เก็บเป็น File word นะครับ เพื่อที่จะรวบรวมไว้พิมพ์เป็นเล่ม
ส่วนเนื้อหาตรงไหนไม่เข้าใจ บังจะถามในกระทู้นะครับ ขอบคุณมากๆครับ ที่ทำให้บังและคนอื่นๆทบทวนความรู้
ขึ้นมาอีกครับ
  วัสสลาม

ออ..ถ้าสงวนลิขสิทธิ์ก็บอกได้นะครับ แต่ถ้าบังเอาเนื้อหาไปบังจะอ้างอิงที่มาให้ครับ ไม่แน่อาจจะเป็นตำราที่แพร่หลายได้นะครับ
อิงชาฮ.อัลเลาะห์
" ท่านพึงเป็นผู้รู้ หรือผู้เล่าเรียน หรือผู้รับฟัง หรือผู้รักใคร่ (ในบุคคลเหล่านั้น)
และท่านอย่าเป็นคนที่ห้า แล้วท่านจะวิบัติอย่างแน่นอน "

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ก.ค. 23, 2007, 11:07 PM »
0
อัสสลามุอาลัยกุม
   น้องอัลฯ  บังขออนุญาต copy เนื้อหา/คำแปล เก็บเป็น File word นะครับ เพื่อที่จะรวบรวมไว้พิมพ์เป็นเล่ม
ส่วนเนื้อหาตรงไหนไม่เข้าใจ บังจะถามในกระทู้นะครับ ขอบคุณมากๆครับ ที่ทำให้บังและคนอื่นๆทบทวนความรู้
ขึ้นมาอีกครับ
  วัสสลาม

ออ..ถ้าสงวนลิขสิทธิ์ก็บอกได้นะครับ แต่ถ้าบังเอาเนื้อหาไปบังจะอ้างอิงที่มาให้ครับ ไม่แน่อาจจะเป็นตำราที่แพร่หลายได้นะครับ
อิงชาฮ.อัลเลาะห์

وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

บังครับ  ที่เว๊บไซต์แห่งนี้ไม่มีอะไรสงวนลิขสิทธิ์นั้น  เพราะลิขสิทธิ์เป็นของทุกคน   แต่โปรดอ้างอิงที่มา   :D
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ก.ค. 24, 2007, 07:43 AM »
0
อัสสลามุอาลัยกุม
   น้องอัลฯ  บังขออนุญาต copy เนื้อหา/คำแปล เก็บเป็น File word นะครับ เพื่อที่จะรวบรวมไว้พิมพ์เป็นเล่ม


وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

บังครับ  ผมขอนำเสนอความคิดเห็นอย่างนี้นะครับ  สิ่งที่เราได้นำเสนอและช่วยกันอธิบายมะตัน อัลอะญัรรูมียะฮ์นั้น  เมื่อเราอธิบายจบแล้ว  (อินชาอัลเลาะฮ์)   ผมจะทำการตรวจทานสำนวนและเรียบเรียงอีกครั้งหนึ่ง  เพราะบางครั้งผมก็รีบแปล ๆ และรีบ ๆ อธิบาย และเมื่อตรวจทานเสร็จ  บังและพี่น้องที่สนใจก็ทำการรวบรวมกันได้ตามสบายครับ

والسلام
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ เด็กท่าเรือ

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • เพศ: ชาย
  • ความยำเกรงนั้น คือ กุญแจแห่งทางที่เที่ยงตรง
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • bantharua
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ก.ค. 24, 2007, 08:04 PM »
0
วาอาลัยกุมสลาม

           ดีครับตามนั้นละกันเห็นด้วยครับ

วัสสลาม
" ท่านพึงเป็นผู้รู้ หรือผู้เล่าเรียน หรือผู้รับฟัง หรือผู้รักใคร่ (ในบุคคลเหล่านั้น)
และท่านอย่าเป็นคนที่ห้า แล้วท่านจะวิบัติอย่างแน่นอน "

ออฟไลน์ JuyA

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 107
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ก.ค. 24, 2007, 10:10 PM »
0
อัสลามูอาลัยกุม

 ดีจัยจาง ที่มีกระทู้นี้
       
   ผมคิดว่าจาร่วมเสวนาประเด็นนี้ โดยจาพยายามเสริมการร الإعراب
ของแต่ล่ะคำ  แต่ม่ะรู้ว่าพี่น้องเหงเปงไงบ้าง โดยเฉพาะ แบนุรุลอิสลาม กับแบอัลอัฮฮารี
เพราะกัว ว่าจาไปทำให้เสียกับองค์ความรู้นี้
อีหม่านที่ซอเเฮะห์  อามาลที่ซอและห์

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ก.ค. 24, 2007, 10:20 PM »
0
อัสลามูอาลัยกุม

 ดีจัยจาง ที่มีกระทู้นี้
       
   ผมคิดว่าจาร่วมเสวนาประเด็นนี้ โดยจาพยายามเสริมการร الإعراب
ของแต่ล่ะคำ  แต่ม่ะรู้ว่าพี่น้องเหงเปงไงบ้าง โดยเฉพาะ แบนุรุลอิสลาม กับแบอัลอัฮฮารี
เพราะกัว ว่าจาไปทำให้เสียกับองค์ความรู้นี้

وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

ร่วมนำเสนอเสวนาได้เต็มที่เลยครับตามรูปแบบที่น้องต้องการ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ sufriyan

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 526
  • เพศ: ชาย
  • 0000
  • Respect: +16
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ก.ค. 24, 2007, 11:24 PM »
0
สำหรับผม
ย้อนอดีตเลยครับ ต้องทบทวนและนับ กขค. เหมือนกัน แต่สุดยอดจริงๆ 

ออฟไลน์ JuyA

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 107
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ก.ค. 25, 2007, 12:43 AM »
0
Assalamualaikum

    งั้นผมจาเริ่ม test การ الإعراب
 น่ะคับ

   
الكلامُ   คือคำนาม  สังเกตเพราะมีอะลีฟและลาม  ตัองอ่านว่าอัลกาลามู เพราะอยู่ในตำแหน่งที่เรียกว่า มุบตาดา   ซึ่งต้องรอฟอุน สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์เพราะเป็น คำนามเดี่ยว  และตัวที่ที่มีอำนาจ(อามีล)ทำให้ الكلامُ เป็นมุบตาดา คือ อามีล อิบติดาอ์

: هو  คือ ดอมีร แปลว่า สรรพนามนั้นแหละ  ตำแหน่งของมันก็คือ มุบตาดา ตัวที่ 2
ซึ่งต้องรอฟอุนเหมือนกัน แต่อ่านว่า ฮูวา ไม่ใช่ ฮูวู  เพราะทุกลักษณะนามนั้น จะมับนียุนคือ เปลี่ยนแปลงการอ่านไม่ได้  และ هو นี้ อยู่ในตำแหน่ง มุบตาดา  ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่ามุบนิยุน ที่ฟัตตะห์ ไปแทนที่ สัญลักษณ์รอฟอุน

 اللفظُ   คือ คำนามเหมือนกัน  ต้องอ่านว่า อัลลัฟซู  เพราะอยู่ในตำแหน่ง คอบัร  ซึ่งต้องรอฟอุน เหมือน มุบตาดา  ซึ่งต้องรอฟอุนสัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว

المُرَكَّبُ   คือ ซีฟัตหรือ นาอัต  หรือภาษาอังกฤษคือ Adjective นั้นแหละ  คือตัวที่ไปบอกลักษณะของคำนามนั้นเอง  และ  المُرَكَّبُ นี้ก็ต้องอ่านตามตัวที่มันไปขยาย(มันอูด) คือ คำ اللفظُ  ดังนั้น มูรอกกาบู คือต้องอ่านแบบ รอฟอุน นั้นเอง และสัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว

 المُفيدُ คือ   ซีฟัตหรือ นาอัต  ของ المُرَكَّبُอีกทีหนึ่งหลักการเอี๊ยะอฺรอบ  ก็เหมือนกับคำอธิบาย المُرَكَّبُ ข้างบน
 

بالوَضْع   อักษร บา คือหุรุฟ คอฟัต หมายถึง อักษรที่มีอำนาจ (อามีล)ทำให้ตัวทีหลังจากตัวเขาต้องอ่าน คอฟัต ในที่นี่ก้อคือ อ่าน บิลวัฎอี คือ อ่านแบบ คอฟดุน โดยมีสัญลักษณ์คือกัสรอฮุ เพราะเป็น นามเดี่ยว ไม่ใช่อ่านว่า บิลวัฎอู หรือ บิลวัฎอา
อักษร บา เรียกว่า หัรฟุนจัร- รี  และ วัฎอี เรียกว่า มัจญฺรูร
   
 จาเเก้ตรงไหนก้อตามสบายน่ะคับ   เพราะผมก็กำลังศึกษาอยู่เหมือนกานนนนนน
                                     มาอัสลาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 25, 2007, 03:19 AM โดย al-azhary »
อีหม่านที่ซอเเฮะห์  อามาลที่ซอและห์

 

GoogleTagged