بسم الله الرحمن الرحيم
فالاسم ดังนั้น คำนาม หมายถึง ถ้อยคำที่ชี้ถึงความหมายหนึ่งในตัวของมันเองโดยไม่อยู่พร้อมกับเรื่องของกาลเวลาทั้งสาม หรือหมายถึงทุก ๆ ถ้อยคำที่ชี้ถึงมนุษย์ , สัตว์ , พืชต้นไม้ , วัตถุ , สถานที่ , เป็นต้น
เช่น رَجُلٌ (ร่อญุลุน) "ผู้ชายคนหนึ่ง" , أَسَدٌ (อะซะดุน) "สิงห์โต" , وَرْدَةُ (วัรดะตุน) "ดอกกุหลาบ" , حَجَرٌ (หะญะรุน) "ก้อนหิน" اَلْقَاهِرَةُ (อัลกอฮิเราะตุ) "กรุงไคโร" เป็นต้น
يُعرَفُ มันจะถูกรู้จัก หมายถึง อีเซมจะถูกรู้จักและมีข้อแยกแยะที่แตกต่างจากฟิอิล(คำกริยา) และฮุรุฟ(อักษรที่ให้ความหมาย) ด้วยบรรดาเครื่องหมายต่าง ๆ มากมาย ส่วนหนึ่งก็คือ
بالخَفضِ ด้วยหลักการค่อฟัต (สามารถรับสระกัสเราะฮ์ได้) คำว่า ค่อฟัต นั้น นักปราชญ์นะฮูอัลกูฟียีน الكوفيين (นักปราชญ์นะฮูที่อยู่เมืองกูฟะฮ์) ได้นำคำว่า "คอฟัต" มาใช้ ส่วนนักปราชญ์นะฮูอัลบัสรียีน البصريين (นักปราชญ์นะฮูที่อยู่เมืองบัสเราะฮ์) จะเรียกว่า "ญัรร์" الجرّ หรือฮุรุฟญัรรฺ นั่นเองครับ
จากสิ่งที่ได้กล่าวมา เราจะพบว่าวิชานะฮูนั้น มีอยู่ 2 มัซฮับใหญ่ ๆ คือมัซฮับอัลกูฟียีน (คือแนวทางของนักปราชญ์นะฮูเมืองกูฟะฮ์) และมัซฮับอัลบัสรียีน (คือแนวทางของนักปราชญ์นะฮูเมืองบัสเราะฮ์ และผมขอกล่าวว่า มัซฮับนะฮูที่เราใช้อยู่นี้ คือมัซฮับบัสรียีน
และตัวอย่างของหลักการคอฟัตหรือญัรรฺนั้น จะนำเสนอต่อไปในการอธิบายตอนบรรดาอักษรคอฟัต อินชาอัลเลาะฮ์
والتنوينِ และมีตันวีน ดังนั้น ตันวีน ก็คือนูนตาย نْ ที่เพิ่มเข้ามาท้ายคำ เวลาอ่านจะมีเสียงนูนแต่ไม่เขียนตัวนูนปรากฏให้เห็น เช่นคำว่า كِتَابٌ (กิตาบุน) แปลว่า "หนังสือ" ซึ่งคำเดิม ๆ แล้วอ่านว่า كِتَابُنْ (กิตาบุน) แต่ตัวนูนตาย نْ ที่เพิ่มเข้ามาท้ายคำนี้ จะเขียนอยู่ในรูปแบบสระซ้อน คือ ฏ๊อมมะฮ์สองตัว ( ٌ ) หรือฟัตตะฮ์ซ้อนกันสองตัว ( ً ) หรือกัสเราะฮ์ซ้อนกันสองตัว ( ٍ )
ดังนั้น ถ้อยคำที่มีตันวีน ย่อมชี้ถึงอีเซม(คำนาม) เช่น
جَاءَ رَجُلٌ
"ได้มาแล้ว โดยผู้ชายคนหนึ่ง"
رَأَيْتُ رَجُلاً
"ฉันได้เห็นผู้ชายคนหนึ่ง"
مَرَرْتُ بِرَجُلٍ
"ฉันได้เดินผ่านข้างผู้ชายคนหนึ่ง"
ودخولِ الألف واللام เข้าอะลัฟและลามได้ กล่าวคือคำที่มีอะลีฟลามหรือคำที่สามารถรับอะลีฟลามได้ ถือว่าเป็นอีเซม(คำนาม) เช่น الرَجُلُ (อัรร่อญุลู้) "ผู้ชายคนหนึ่ง" , الكِتَابُ (อัลกิตาบู้) "หนังสือ" , และ الشَّجَرَةُ (อัชชะญะร่อตู้) "ต้นไม้" เป็นต้น ซึ่งคำเหล่านี้ถือว่าเป็นคำนาม เพราะมีอะลีฟลามหรือสามารถรับอะลีฟลามได้
وحروفِ الخَفضِ และบรรดาหุรุ๊ฟค่อฟัต คือบรรดาอักษรที่มีความหมาย ซึ่งจะอยู่หน้าบรรดาอีเซม(คำนาม) และทำให้คำนามถูกอ่านกัสเราะฮ์ในท้ายของคำ เช่น
مَرَرْتُ بِرَجُلٍ
"ฉันได้เดินผ่านข้างผู้ชายคนหนึ่ง"
وهي: มันก็คือ
مِن، มิน (จาก)
คำว่า مِنْ (มิน) นั้น สามารถใช้ได้หลายความว่า เช่น
1. หมายถึง اللإِبْتِداء (อิบติดาอ์) ซึ่งอยู่ในความหมาย "เริ่มจาก" เช่น
خَرَجْتُ مِنَ الْمَنْزِلِ
"ฉันได้ออกจากบ้าน" หมายถึงเริ่มออกมาจากพี่บ้าน
2. หมายถึง التبعيض (อัตตับอีฏ) ซึ่งอยู่ในความหมาย "บางส่วน" เช่น
أَنْفَقْتُ مِنْ نُقُوْدِيْ
"ฉันได้ใช้จ่ายจากเงินของฉัน" ซึ่งหมายถึงส่วนหนึ่งจากเงินของฉัน
واِلى อิลา (ไปยัง , ไปสู่ , จนถึง) นั้น จะใช้ในความหมายของการสิ้นสุดไปยังสิ่งหนึ่งหรือสิ้นสุดไปยังช่วงเวลาหนึ่ง เป็นต้น เช่น
ذَهَبْتُ اِلَى الْمَدْرَسَةِ
"ฉันได้ไปยังโรงเรียนแล้ว"
سِرْتُ الْبَارِحَةَ إِلَى أَخِرِ الّلَيْلِ
"ฉันได้เดินทางเมื่อวานจนถึงช่วงท้ายของคืน"
وعَن อัน (จาก) จะใช้ในความหมาย المُجَاوَزَةَ คืออยู่ในความของการจากให้พ้นไปจากมัน หรืออยู่ในความหมายที่แยกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น
أَبْتَعِدْ عَنِ الشَّرِّ
"ท่านจงห่างไกลจากความชั่ว"
نَهَى اللّهُ عَنِ الْخَمْرِ
"อัลเลาะฮ์ทรงห้ามจากเหล้า"
وعلى อะลา (บน , เหนือ) เช่น
أَحْمَدُ عَلَى السَّطْحِ
"อะห์มัดอยู่บนดาดฟ้า"
الْكِتَابُ عَلَى الْمَكْتَبِ
"หนังสืออยู่บนโต๊ะเรียน"
وفِي ฟี (ใน) คำว่า "ฟี" จะใช้ในความของสถานที่ الظَرْفِيَّةُ الْمَكَانِيَّةَ คือ ในที่นั้น ในที่นี้ เป็นต้น เช่น
اَلرَّجُلُ فِى الْمَسْجِدِ
"ผู้ชายคนหนึ่ง อยู่ใน มัสยิด"
فِى الدَّارِ زَيْدٌ
"ในบ้านนั้น มีเซดอยู่"
ورُبَّ รุ๊บบ่า (บางที , บางครั้ง) จะใช้ในความหมายของ التَّقْلِيْلُ "น้อยไม่บ่อยครั้ง , บางครั้ง , บางที" เป็นต้น ซึ่งจะอยู่หน้าอีเซม นะกีเราะฮ์ نَكِرَةٌ (คำนามที่ไม่มีอะลีฟลามและไม่บ่งชี้บนการเจาะจงถึงตัวบุคคลหรือสิ่งของ) เป็นต้น เช่น
رُبَّ رَجُلٍ عَالِمٍ لَقَيْتُ
"บางครั้งผู้ชายที่มีความรู้นั้น ฉันจะได้พบเจอ"
والباءُ บาอฺ ( ด้วย) คำว่า "บาอ์" ซึ่งเป็นฮุรุฟค่อฟัตหรือฮุรุฟญัรรฺ ที่มีหลายความหมาย เช่น
1. บาอฺ الظَرْفِيَّةُ الْمَكَانِيَّةَ (อัซซฺ๊อรฟียะฮ์อัลมะกานียะฮ์) คือ ใช้เกี่ยวกับความหมายที่ชี้ถึงสถานที่ เช่น
إِجْتَمَعْنَا بِالْمَنْزِلِ
"เราได้ร่วมตัวกันที่บ้าน"
2. บาอฺ الإِسْتِعَانَةُ (อัลอิสติอานะฮ์) คือมีความหมายในแง่ของการช่วยเหลือ เช่น
كَتَبْتُ بِالْقَلَمِ
"ฉันได้เขียนด้วยปากกา" หมายถึง ฉันได้เขียนโดยนำปากกามาเป็นเครื่องมือช่วยเขียน
3. บาอฺ التَّعْوِيْضُ (อัตตะอฺวีฏ) คือมีความหมายในแง่ของการแลกเปลี่ยน เช่น
إِشْتَرَيْتُ بِمِائَةِ باَتٍ
"ฉันได้ซื้อด้วยราคาหนึ่งร้อยบาท"
4. บาอฺ الإِلْتِصَاقُ (อัลอิลติซ๊อก) ที่มีความหมาย ใกล้ หรือข้าง ๆ เช่น
مَرَرْتُ بِمُحَمَّدٍ
"ฉันได้เดินทางใกล้(หรือข้างๆ) เซด"
والكاف กาฟ ( เช่น , เสมือน , เฉกเช่น) จะมีความหมาย التَّشْبِيْهُ "คล้าย" หรือ التَّمْثِيْلُ "เหมือน" เช่น
مُحَمَّدٌ كَالْأسَدِ
"มุฮัมมัดนั้นเหมือนกับสิงห์โต"
واللامُ ลาม (เพื่อ , สำหรับ , เพราะ , ให้กับ ) ลาม จะใช้ได้หลายความหมาย เช่น
1. ลาม المُلْكِ (มุลกิ) ที่อยู่ในความหมายของการครอบครองหรือปกครองเป็นกรรมสิทธิ์ เช่น
لِلّهِ مَا فِى السَّمَواتِ ومَا فِى اللأرْضِ
"(เป็นกรรมสิทธิ์ปกครอง)สำหรับอัลเลาะฮ์ กับสิ่งที่อยู่ในบรรดาฟากฟ้าาและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน"
2. ลาม التَّعْلِيْلُ ที่อยู่ในความหมายของ เหตุผล , เพราะ , เพื่อ , เช่น
جِئْتُ لِإكْرامِكَ
"ฉันได้มา เพื่อ(เพราะ)ทำการให้เกียรติท่าน"
وحروفِ القَسَم และบรรดาอักษรที่มีความหมายเพื่อการสาบาน
وهي มันก็คือ
الواو ตัววาว (แปลว่าสาบาน) เช่น
وَاللّهِ
"ขอสาบานต่ออัลเลาะฮ์"
والباء ตัวบาอฺ(แปลว่าสาบาน) เช่น
بِاللّهِ لَنْ يُضِيْعَ حَقَّنَا
"ขอสาบานต่ออัลเลาะอ์ เขาจะไม่ริดรอนสิทธิของเรา"
والتاء. ตัวตาอฺ(แปลว่าสาบาน) อักษร ตาอฺ นี้ จะใช้เป็นคำสาบานกับ ถ้อยคำอันมีเกียรติ คือ الله เท่านั้น เช่น
تََََاللهِ لَنْ يُضِيْعَ الْحَقَّ الْمُغْتَصَبَ
"ขอสาบานต่ออัลเลาะฮ์ เขาจะไม่ริดรอนสิทธิที่ถูกพรากไป"
ทั้งหมดนั้น เราจะพบว่าคำที่ตกหลังจากบรรดาฮุรูฟคอฟัตหรือฮุรูฟญัรรฺนั้น จะเป็น อีเซม (คำนาม)
วัลลอฮุอะลัม