salam
ได้คำตอบที่ชัดเจนมาครับ
ประโยค หมายถึง คำพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า, ประโยคปฏิเสธและประโยคคำถาม เป็นต้น (พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หน้า 509) ส่วน “คำ” หมายถึง เสียงพูดโดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ซึ่งมีความหมายในตัว (อ้างแล้ว หน้า 186)
ดังนั้นในข้อความที่อ้างมากจากหนังสือ متن الآجرومية ที่ว่า :
الكلام : هواللفظ المركّب المفيد بالوضع ، وأقسامه ﺋﻼثة
اسم ، وفعل وحرف جاءلمعنى
ประโยค : คือคำพูด (ที่มีเสียงซึ่งรวมเอาอักษรบางส่วนเอาไว้) ที่ถูกประกอบกันขึ้น (จาก 2 คำพูดเป็นต้นไป) อันให้ประโยชน์ (ในการสื่อที่ผู้พูดจบการสื่อนั้นอย่างสวยงามโดยผู้ฟังไม่ต้องรอสิ่งอื่น อีก คือ ฟังแล้วรู้เรื่องได้ใจความ) ตามการกำหนดวาง (บัญญัติทางภาษาอาหรับคือการกำหนดให้คำพูดนั้นเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความหมาย) และบรรดาประเภทของประโยค (หมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นประโยค) นั้นมี 3 ประเภทคือ คำนาม, กริยาและบุพบทที่มีมา (คือถูกวางเอาไว้)
สำหรับความหมาย หนึ่งและคำสรรพนาม (ฎ่อมีรฺ) ในคำที่ว่า (أقسامُه) นั้นย้อนกลับไปยังคำว่า (الكلام) อันหมายถึง ประโยคตามที่ปรากฏ (ซอฮิรฺ) และการแบ่งประเภทของประโยคออกเป็น 3 ประเภทนี้จัดว่าเป็นการแบ่งประเภทของทั้งหมด (คือประโยคโดยรวม) ออกเป็นส่วนต่าง ๆ ของประโยคตามจารีตทางภาษา ดังนั้นจึงไม่ถูกต้องในการที่กล่าวว่า คำนาม (الإسم) คือประโยคเพราะทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกัน เพราะคำนามมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นคำโดด (الإفراد) แต่ประโยค (الكلام) มีเงื่อนไขว่าต้องมีการประกอบกันขึ้นหรือการประสมคำเข้าด้วยกัน (التركيب) หรือจะให้สรรพนาม (ฎ่อมีรฺ) ในคำว่า (أقسامه) กลับไปยังคำว่า (اللفظ) ก็ได้โดยไม่เกี่ยวกับเงื่อนไข (قيد) ที่ว่า (المركب) และสิ่งที่อยู่ถัดมา โดย اللفظ หมายถึง “คำ” (الكلمة) จึงถูกต้องในการกล่าวว่า คำนามเป็นคำ (الإسم كلمة) กริยาเป็นคำ (الفعل كلمة) เป็นต้น
ดังนั้นคำว่า (الأقسام) จึงถูกใช้ตามความหมายที่แท้จริงของมันก็คือหมายถึง ส่วนต่าง ๆ (الجزﺋﻴﺎت) นั่นเอง (ดูฮาชิยะฮฺ อัลอัลลามะฮฺ อบี อันนะญา อะลา ชัรฮิ อัชชัยคฺ คอลิด อัลอัซฮะรีย์ อะลา มัตนิ อัลอาญุรฺรุมียะฮฺ ฟี อิลมิลอะร่อบียะฮฺ หน้า 7-10) นอกจากนี้ นักไวยากรณ์อาหรับยังเรียกประโยค (المركّب) ว่า (كَلاَمٌ) และ (جُمْلَةٌ) อีกด้วย (ก่อวาอิดุ้ลลุเฆาะฮฺ อัลอะร่อบียะฮฺ หน้า 7 อรัมภบท-มุก็อดดิมะฮฺ-) โดยนักไวยากรณ์กลุ่มนี้ถือว่า (جملة) และ (كلام) มีความหมายใกล้เคียงกัน (مترادفين) แต่ที่ถูกต้องแล้ว (جملة) มีนัยกว้างกว่า (كلام) ทั้งนี้เพราะ (كلام) มีเงื่อนไขว่าต้องสื่อรู้เรื่อง (المفيد) ส่วน (جملة) นั้นอาจจะสื่อรู้เรื่อง (مفيدة) หรือสื่อไม่รู้เรื่อง (غيرمفيدة) ก็ได้ในบางกรณี (อัลมุอฺญัม อัลมุ่ฟัซซ็อล ฟินนะฮฺวี อัลอะรอบีย์ เล่มที่ 1 หน้า 419)
เมื่อทำความเข้าใจตามรายละเอียดที่ กล่าวมาก็ย่อมกล่าวได้ว่า คำว่า (كلام) ในข้อความที่อ้างมาแปลเป็น “ประโยค” ได้ ไม่ผิดแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะผู้ประพันธ์ตำรา (متن الآجرومية) มุ่งหมายถึงการให้คำนิยาม (تعريف) ของ (كلام) ก่อนในข้อความแรก และกล่าวถึง كلمة ในข้อความถัดมาที่ว่า (وأقسامه...) -ดูฮาชิยะฮฺฯ อ้างแล้ว หน้า 7) ส่วนที่อ้างว่า “เพราะประโยคประกอบด้วยกริยา (فعل) และคำนาม (اسم) ด้วยนั้น” ไม่จำเป็นเสมอไป เพราะประโยคอาจจะประกอบด้วยคำนาม 2 ตัวก็ได้ เช่น زَيْدٌمُجْتَهِدٌ (นายซัยด์เป็นคนขยัน) หรือ كانَ زيدٌ مُجْتَهِدًا (ปรากฏว่านายซัยด์เป็นคนขยัน) เป็นต้น
ส่วนข้อความที่ว่า
(الحال نحو : جاءَ زَيْدٌ رَاكِبًا ، ولاتكون إلانكرة ولاتكون إلابعدتمام الكلام ولايكون صاحبهاإلامعرفة)
“อัล ฮ้าลฺ (คำบ่งสภาพ) อาทิเช่น นายซัยฺด์ได้มาในสภาพที่ขี่พาหนะ และฮ้าลฺจะไม่ปรากฏนอกจากเป็นนะกิเราะฮฺ (คำนามที่ไม่เจาะจง) และฮ้าลจะไม่ปรากฏนอกจากหลังความสมบูรณ์ของประโยค และซอฮิบุ้ลฮ้าล (เจ้าของสภาพ) จะไม่ปรากฏนอกจากเป็นมะอฺริฟะฮฺ (คำนามที่เจาะจง)” หมายความว่า คำที่บ่งสภาพ (الحال) นั้นจะเป็นคำนามที่ไม่เจาะจง (نكرة) ดังเช่นในตัวอย่างคือคำว่า (راكبًا) นั้นเป็นคำนามที่ไม่เจาะจงสังเกตได้จากการใส่สระซ้อน (ตันวีน) ที่ท้ายคำด้วยสระฟัตฮะฮฺซึ่งเป็นเครื่องหมายของการอ่านนัซฺบ์ (نصْب)
และ คำบ่งสภาพ (الحال) จะถูกกล่าวมาในประโยคหลังจากที่ใจความประโยคครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว เพราะคำบ่งสภาพ (الحال) ในประโยคตัวอย่าง (راكبًا) นั้นเป็นเศษหรือส่วนเกินของประโยค (فَضْلَة) คำว่า (تمامُ الكلام) หมายถึง คำขึ้นต้นประโยค (المبتدأ) มีคำขยาย (نحبر) ของมันแล้ว หรือคำกริยา (فغل) มีประธานปรากฏแล้ว ไม่ว่าการสื่อที่รู้เรื่องจะขึ้นอยู่กับคำบ่งสภาพหรือไม่ก็ตามที ส่วนเจ้าของสภาพ (صاحب الحال) นั้นจะเป็นคำนามที่เจาะจง (معرفة) คือคำว่า زَيْدٌ ในประโยคนั่นเอง (ดูฮาชิยะฮฺฯ อ้างแล้ว หน้า 85)
ฉะนั้น อย่าไปสับสนระหว่างข้อความในเรื่องฮ้าลกับคำนิยามของ (اَلْكَلاَمُ) เพราะคำว่า تمام الكلام หมายถึงประโยคนั้นสมบูรณ์ในใจความแล้วเพียงแต่คำบ่งสภาพ (الحال) มาแจ้งให้ทราบถึงสภาพของกริยาคือ (جَاءَ) ว่านายซัยด์มาอย่างไรเท่านั้นเอง แต่ประโยคนั้นได้ใจความแล้วคือ มีกริยา+ประธาน คำบ่งสภาพที่ห้อยท้ายประโยคจึงเป็นเศษหรือส่วนเกินเท่านั้นเอง
والله أعلم بالصواب
http://www.alisuasaming.com/qa/index.php?topic=964.msg1375#msg1375