ผู้เขียน หัวข้อ: การออกด๊ะวะห์  (อ่าน 17936 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ อิดริส

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 77
  • เพศ: หญิง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การออกด๊ะวะห์
« เมื่อ: ธ.ค. 21, 2006, 11:22 AM »
0

สลามนักศึกษาทุกท่าน ผมมีปัญหาอยากถามว่าผมเป็นคนมีความรู้น้อยแต่อยากจะปฏิบัติอีบาดัตด้วยการออกดะวะห์แต่มีผู้รู้บางท่านบอกว่าอย่าออกดะวะห์เลยทำให้เกิดอาการสองจิตสองใจไม่ทราบว่าจะทำแบบไหนดีอยากให้นักศึกษาช่วยกรุณาชี้แจงถึงจุดดีหรือจุดด้อยของงานนี้ด้วยว่าจะทำได้ไหมกรุณาตอบด้วยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.พ. 28, 2007, 11:21 AM โดย al-azhary »
การเงียบคืออาวุธที่ทรงพลังที่สุด

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: การออกด๊ะวะห์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.พ. 10, 2008, 05:47 AM »
0
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛

เราให้เกียรติกลุ่มญะมาอะฮ์ตับลีฆที่อยู่ตามแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์   ญะมาอะฮ์ตับลีฆ  ไม่ใช่มัซฮับใดมัซฮับหนึ่ง  แต่เป็นองค์กรหนึ่งในการเผยแพร่ศาสนา  พี่น้องตับลีฆมีหลักการตามแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์   การทำอิบาดะฮ์ย่อมมีหลากหลายวิธีการให้ปฏิบัติ  หากคุณคิดว่าการทำอิบาดะฮ์โดยวิธีการออกตับลีฆดีกว่า  ก็ออกดะวะฮ์ตับลีฆ    ส่วนข้อดีของตับลีฆ  มีมากจนไม่สามารถนำมากล่าวได้   ส่วนจุดด้วย  ผมคิดว่าองค์กรญะมาอะฮ์ตับลีฆ  ก็พยายามปรับปรุงอยู่  แต่ที่สำคัญที่สุด  การออกดะวะฮ์ตับลีฆหรือไม่ออกดะวะฮ์ตับ  ต่างก็มีระเบียบและหลักการที่ดีและถูกต้อง  แต่บุคคลที่ไม่รู้และทำผิดระเบียบต่างหากที่ทำให้เกิดจุดด้วย  ดังนั้น  แม้วิธีการจะแตกต่างกัน  แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน   ก็คืออิบาดะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์และปรับปรุง(อิสลาห์)ตนเองและผู้อื่นตามแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

อะไรคือฮุกุ่มการออกดะวะฮ์ตับลีฆ ?

ตอบ :  การออกดะวะฮ์ตับลีฆ  เป็นสิ่งที่อนุญาต(ญาอิซ)ให้กระทำได้ต่อผู้ที่มีคุณสมบัติในการดะวะฮ์เรียกร้องผู้อื่นไปยังอัลเลาะฮ์  โดยดำรงไว้ซึ่ง  ความอ่อนโยนต่อผู้คนทั้งหลาย   การเรียกของพวกเขา  ต้องด้วยคำตักเตือนที่ดีงาม  มีความนอบน้อม  และเอ็นดูเมตตา  และต้องมีความรู้ในสิ่งที่เขาได้ใช้ให้ทำความดีและห้ามจากความชั่ว  แต่ด้วยเงื่อนไขที่ว่า  ต้องไม่ละเลยต่อครอบครัวและผู้ที่เขาเลี้ยงดู  และการจำกัดออกดะอ์วะฮ์  4  วัน  หรือ  40  วัน  หรืออื่น ๆ จากสิ่งดังกล่าวนั้น  เป็นเรื่องของการวางระบบเป็นดับลำดับขั้นตอนเท่านั้น  ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นของบิดอะฮ์เลยตราบใดผู้ที่ออกดะวะฮ์ไม่ได้มีความเชื่อเป็นอื่นจากสิ่งดังกล่าว  วัลลอฮุ ซุบหานะฮูวะตะอาลา อะลัม

สถาบันฟัตวาแห่งประเทศอียิปต์

ท่าน อัลหะบีบ อุมัร อัลฮุซัยนีย์  ได้ฟัตวา  ความว่า

ญะมาอะฮ์ตับลีฆ  เสมือนกับญะมาอะฮ์อื่น ๆ  ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างแพร่หลายในหมู่บรรดามุสลิมีนทั่วมุมโลก  ซึ่งภาระกิจและสถานะภาพของญะมาอะฮ์ตับลีฆนั้น  มีคุณงามความดีมากมาย  ดังนั้น ส่วนมากจากบรรดารากฐาน(อุซูล)ของญะมาอะฮ์ดังกล่าว  คือการดำรงไว้ซึ่งพื้นฐานที่ถูกต้องอีกทั้งเที่ยงตรงในการเผยแพร่และเรียกร้องสู่ความดีงาม  แต่ทว่า  กลุ่มเคลื่อนไหวต่าง ๆ เหล่านั้น  ย่อมมีผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติพอที่เข้ามาร่วมด้วย  หมายถึง  ผู้ที่ไม่ได้ดำรงไว้ซึ่งบรรดารากฐานและกฏพื้นฐานต่าง ๆ ของญะมาอะฮ์  ซึ่งดังกล่าวจึงทำให้เกิดการผสมผสานที่แตกต่าง  และญะมาอะฮ์ดังกล่าว  ก็มีความหลากหลายในด้านของวิชาฟิกห์  แนวคิด  แนววิเคราะห์  และการยึดมั่น (หมายถึงญะมาอะฮ์ตับลีฆมีทั้งสี่มัซฮับและมีอะกีดะฮ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูริดียะฮ์)   ดังนั้น  ท่านจงคิดในแง่ที่ดีทั้งหมดโดยรวม  และท่านจงมองส่วนดีงามที่ชัดเจน  ฉะนั้น  ท่านอย่ามองให้กลับกลายเป็นความชั่วร้าย  และเฉกเช่นเดียวกันกับสิ่งดังกล่าว  คือให้ท่านห่างไกลจากทุก ๆ สิ่งต้องห้ามอย่างชัดเจน  ดังนั้น มนุษย์ย่อมมีความแตกต่างในครอบครัวเดียวกัน  เพราะฉะนั้น  ความแตกต่างจะไม่เกิดขึ้นในญะมาอะฮ์หนึ่งที่มีผู้คนมากมายเข้าร่วมด้วยได้อย่างไร ?  คุณความดีงาม  ย่อมถูกแผ่ขยายอย่างครอบคลุมอยู่ในประชาชาติของท่านนบีมุฮัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ซึ่งกลุ่มหนึ่งหรือกลุ่มชนหนึ่งก็จะได้รับเป็นส่วนมาก  และขอต่ออัลเลาะฮ์ให้เราและท่านเป็นผู้ที่ดำรงอยู่ในความดีงาม

ฟัตวาของท่านอัลหะบีบ อุมัร อัลหุซัยนีย์

ดังนั้น  ญะมาอะฮ์ตับลีฆ  ก็คือองค์กรหรือกลุ่มเคลื่อนไหวอิสลาม  พวกเขามีอะกีดะฮ์เดียวกับพี่น้องส่วนมากของโลกและอยู่ในมัซฮับทั้งสี่ที่ชนส่วนมากให้การยอมรับ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ฟัตวาแห่งประเทศอียิปต์  ยังให้การยอมรับอีกด้วย

 وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 31, 2009, 08:17 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged