ผู้เขียน หัวข้อ: เป็นชาวรอมฎอนอย่างไรเมื่อไม่ได้ถือศีลอด?  (อ่าน 3546 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ - ครูจริงใจ-

  • อยากเป็นคนดีที่อัลลอฮฺรัก
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 817
  • เพศ: หญิง
  • ทุกวินาทีของเราไม่เคยรอดพ้นจากบันทึกของรอกิบ-อาติด
  • Respect: +96
    • ดูรายละเอียด


จากการได้พูดคุยกับพี่น้องมุสลิมะฮฺรุ่นราวคราวเดียวกันจำนวนไม่น้อย พบว่าปัญหาหนึ่งของมุสลิมะฮฺในช่วงรอมฎอนก็คือความรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้สัมผัสบรรยากาศรอมฎอนอย่างถึงใจในช่วงที่ถูกห้ามจากการทำอิบาดะฮฺบางประการตามหลักการศาสนา นั่นก็คือช่วงที่มีเฮฎ หรือประจำเดือนนั่นเอง (ที่จริงหญิงที่มีเลือดหลังคลอดบุตรก็อยู่ในเงื่อนไขเดียวกัน แต่การมีประจำเดือนเป็นภาวะปกติที่ผู้หญิงแทบทุกคนต้องพบเจอ แถมบทความนี่ก็อยากจะเจาะจงพูดกับคนโสดที่ยังไม่มีภาระทางครอบครัวและเจ้าตัวเล็กมากกว่า จึงขอพูดเฉพาะในประเด็นนี้ละกัน)

   แน่นอนว่าผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะถูกห้ามจากการละหมาด  การถือศีลอด การสัมผัสและอ่านกุรอาน  และการกระทำอื่นอีกบางอย่าง เช่น การพักในมัสยิด ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่าอิบาดะฮฺข้อใหญ่ๆที่คนมีประจำเดือนทำไม่ได้นี่ ล้วนเป็นอิบาดะฮฺที่เป็นหัวใจหลักของรอมฎอนทั้งนั้นเลย  นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เพื่อนมุสลิมะฮฺหลายคนที่คนเขียนมีโอกาสได้พูดคุยด้วย(รวมถึงตัวเองในบางครั้ง)อดบ่นกระปอดกระแปดไม่ได้ว่า รู้สึกทั้งอีมานและอะมั้ลของตัวเองจะลดลงฮวบฮาบเชียวแหละเมื่อมีประจำเดือน  แล้วในเดือนที่สุดแสนวิเศษอย่างรอมฎอนนี้เราจะยอมให้เกิดเหตุการณ์น่าสะเทือนขวัญอย่างนั้นได้อย่างไร  ว่าแล้วก็ลองมาหาหนทางปฏิบัติสำหรับคนมีประจำเดือนกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้างที่เราสามารถกระทำได้เพื่อจะดำรงความป็นสมาชิกชาวรอมฎอนเอาไว้ แม้จะถูกห้ามจากการถือศีลอดและอิบาดะฮฺอื่นๆ อีกบางอย่างก็ตาม

-   ขอดุอาอฺและรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มาก : แน่นอนว่ากิจกรรมนี้ไม่ได้และไม่เคยถูกห้ามจากชีวิตของมุสลิมคนไหนไม่ว่าในช่วงใดใด เพราะเมื่อไหร่ที่มุสลิมไม่ได้รำลึกถึงอัลลอฮฺ เมื่อนั้นหัวใจของเขาก็อาจตายได้ง่ายๆแม้ว่าร่างกายจะยังหายใจ ฉะนั้นเพื่อนมุสลิมะฮฺทั้งหลายอย่าได้ปล่อยเวลาผ่านไปให้หัวใจฟุ้งซ่านเล่นเลย เอาเวลามารำลึกถึงอัลลอฮฺและขอดุอาอฺให้พระองค์ประทานอีมานที่มั่นคงให้แก่เรา และช่วยเหลือเราในการปฏิบัติอิบาดะฮฺต่อพระองค์ ตลอดรอมฎอนนี้และตลอดชีวิตดีกว่า

บริจาคทานอยู่เสมอ : ไม่ว่าจะด้วยทรัพย์ อาหาร หรือแรงกายในการช่วยเหลือพี่น้อง  เพราะการบริจาคนอกจากจะช่วยขัดเกลาจิตใจของเราแล้วยังเป็นการเก็บแต้มความดีในขณะที่เราไม่มีโอกาสจะสะสมแต้มจากอิบาดะฮฺอีกบางชนิดด้วยไง 

- อำนวยความสะดวกให้ผู้ที่ถือศีลอด : ในครอบครัวของเรา  เพื่อนร่วมหอพักของเรา  หรือคนใกล้ตัวของเราอีกหายคนย่อมจะมีคนที่ถือศีลอดอยู่ นั้นจงช่วยเหลือพวกเขาในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเบางานที่คนไม่ได้ถือศีลอดอย่างเราย่อมมีเรี่ยวแรงมากกว่า การจัดอาหารซุโฮรและอาหารละศีลอดให้พวกเขา หรือช่วยเหลือในกิจการใดใดที่มีโอกาสแม้ในเรื่องเล็กน้อย อินชาอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะบันทึกมันเนความดีให้แก่เรา อย่างน้อยๆควรจะหาโอกาสเลี้ยงอาหารหรือมีส่วนร่วมในการทำอาหารเลี้ยงละศีลอดคนใกล้ตัวเรา  นั่นคือผลบุญใหญ่หลวงทีเดียว

- อ่านตัฟซีรหรือหนังสือศาสนาที่ดีต่ออีมาน : แม้เราจะไม่สามารถอ่านอัล-กุรอานได้ แต่เราก็สามารถศึกษาอัล-กุรอานและเรื่องราวของศาสนาจากหนังสือตัฟซีรหรือตำราที่มีถ้อยคำที่ไม่ใช่อัล-กุรอานประกอบอยู่เป็นส่วนใหญ่ได้  ฉะนั้นอย่าปล่อยให้โอกาสที่จะได้ศึกษาความรู้อิสลามในช่วงเวลานี้หลุดมือไป การทบทวนอัล-กุรอานที่เราเคยท่องจำได้ในใจก็ถือเป็นกิจกรรมที่ดีงามอีกอย่างหนึ่งในช่วงที่เราไม่อาจสัมผัสตัวเล่มกุรอานได้นี้

- หาโอกาสนำตัวเองเข้าไปอยู่ในบรรยากาศแห่งการทำอิบาดะฮฺในรอมฎอน : ในบ้านของเราอาจมีใครสักคนนั่งอ่านอัล-กุรอานอยู่ มันเป็นโอกาสดีที่จะเข้าไปนั่งฟังและทบทวนความหมาย  รวมทั้งเข้าร่วมวงศึกษาอัล-กุรอานหรือพูดคุยกันในเรื่องเกี่ยวกับรอมฎอนที่อาจมีใครสักคนจัดขึ้นใกล้ๆตัวของเรา  พยายามเอาตัวเองเข้าไปเป็นหนึ่งในบรรยากาศของชาวรอมฎอน อย่ามัวแต่ขังตัวเองอยู่แต่ในห้องแค่เพียงเพราะว่าไม่สามารถถือศีลอดและร่วมละหมาดกับคนอื่นได้  ถ้าเราเป็นคนที่เคยตื่นกิยามุลลัยลฺอยู่เป็นประจำ  เราก็อาจตื่นในเวลาเดิม แล้วเอาเวลานั้นมาพิจารณาสรรพสิ่งต่างๆในยามก่อนรุงสางอันเปี่ยมไปด้วยบ่ะร่อกัต  รวมทั้งขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺ นอกจากจะได้สัมผัสบรรยากาศแห่งค่ำคืนยามรอมฎอนแล้ว ยังเป็นโอกาสให้เราได้ช่วยจัดเตรียมอาหารซุโฮรให้ผู้ถือศีลอดที่อยู่ร่วมกันด้วย  เหตุผลเรื่องการเข้าร่วมในบรรยากาศแห่งความดีงามเช่นนี้ก็คือเหตุผลเดียวกับการที่มีซุนนะฮฺให้หญิงมีประจำเดือนไปร่วมในสถานที่ละหมาดวันอีฎนั่นเอง

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความดีงามที่เราสามารถทำได้แม้ในคืนวันที่ไม่อาจถือศีลอดหรือละหมาดเหมือนคนอื่นๆได้  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือความตั้งใจและจริงจังของเราที่จะใช้ทุกๆวินาทีในรอมฎอนไปอย่างคุ้มค่า  ถ้าเรายืนหยัดในความตั้งใจนั้นและขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ   ทุกๆนาทีในรอมฎอนก็จะเป็นทุกๆนาทีที่มีน้ำหนักในตราชั่งความดีของเรา อินชาอัลลอฮฺ

เผื่อพอจะเป็นประโยชน์แก่พี่น้องบางคน..อินชาอัลลอฮฺ
จากสเปซของอุคตีท่าน๑ สมัยที่สเปซยังอะวายเลเบิ้ล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 11, 2011, 04:06 PM โดย - ครูจริงใจ- »

ท่าน ฮะซัน อัลบัศรีย์ (ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ) กล่าวว่า :
 
วัลลอฮฺ คนที่เป็นมุอฺมินจริงๆนั้น ท่านจะเห็นว่าเขาจะไม่ตำหนิใครเลยนอกจากตัวเองไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด
จะคิดว่าตนคือผู้บกพร่องเสมอจะเสียใจ และโทษตนเอง ...แต่ คน ฟาญิร (ไม่ดี) จะกระทำโดยไม่สนใจสิ่งใดและไม่เคยโทษตนเอง..

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
 mycool: mycool: mycool:

ออฟไลน์ Bangmud

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2821
  • Respect: +127
    • ดูรายละเอียด
 :salam:

ขุดมาทบทวน เผื่อใครยังไม่ได้อ่านบทความดี ๆ บทนี้

วัสสลาม

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
 :salam:

 myGreat: myGreat: myGreat:

 

GoogleTagged