ผู้เขียน หัวข้อ: สตรีสามารถเอียะติกาฟที่บ้านของนาง ได้หรือไม่ ??  (อ่าน 4122 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด


สตรีนางหนึ่ง ต้องการเอียะติกาฟที่บ้านของนาง ในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมาฎอน นางจะทำอย่างไร ??

ตอบ..

   ให้นางพักอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่จัดเตรียมเอาไว้โดยเฉพาะในบ้านของนาง และให้นางทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา อยู่ที่บริเวณที่นางได้จัดเตรียมเอาไว้นั้น โดยนางอย่าได้ออกจากบริเวณตรงนั้นตลอดช่วงที่นางได้ทำการเนียตเอียะติกาฟ โดยปลีกตัวอย่างสันโดษอยู่ตรงนั้น เพื่อทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา ซึ่งขณะที่นางกำลังเอียะติกาฟอยู่ที่บริเวณนั้น ก็ให้นางซิกรุลลอฮฺให้มากๆ อ่านอัล-กุรอานให้มากๆ และให้นางสาละวนอยู่กับสิ่งต่างๆ ที่เป็นอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ตะอาลาให้มากๆ เนื่องจากโอกาสที่นางจะได้เอียะติกาฟแบบนี้ ไม่ได้มีหลายครั้งในหนึ่งปี นอกจากแค่ช่วงนี้เท่านั้น ที่นางจะสามารถกระทำได้

   และในช่วงที่นางกำลังเอียะติกาฟอยู่นั้น นางจะต้องไม่ดูโทรทัศน์ ไม่ฟังวิทยุ ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ,นิตยสาร หรือวารสารต่างๆ และอย่าได้คุยในสิ่งที่ไร้สาระ นอกจากในสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้จิตใจมุ่งมั่นอยู่กับการอ่านอัล-กุรอาน ,การซิกรุลลอฮฺ และสิ่งอื่นๆ ที่เป็นอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา


ดู ตำรา فتاوى المرأة المسلمة  โดย ด็อกเตอร์ อะลีย์ ญุมอะฮฺ อัช-ชาฟิอีย์ มุฟตีย์ใหญ่แห่งประเทศอียิปต์ หน้าที่ 85

// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ ฮุ้นปวยเอี๊ยง

  • رَبِّ زدْنِيْ عِلْماً
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 994
  • เพศ: ชาย
  • وَارْزُقْنِيْ فَهْماً
  • Respect: +116
    • ดูรายละเอียด
بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ
الْحَمْدُ لِلَّهِ الْغَنِيِّ الْمُغْنِي الْكَرِيمِ الْفَتَّاحِ,وَالصَّلَاةُ وَالسَّلَامُ عَلَى مَنْ أَشْرَقَتْ كَوَاكِبُ مَجْدِهِ وَسَعْدِهِ فِي سَمَاءِ الْإِسْعَادِ


ท่านอาเหล่มอัลลามะห์อัชเชค อิบรอฮีม อัลบัยญูรีย์ ร่อฮิมาฮุ้ลลอฮ์ ซึ่งอธิบายตำราชาเราะห์มะตันฆอยะห์วัตตักรีบ โดย ท่าน อิบนุกอเซ็ม ในเรื่องเงื่อนไขของการเอียะอ์ตีกาฟในข้อที่สองคือ การพำนักในมัสยิด กล่าวว่า...

การเอียอ์ตีกาฟนั้นจะต้องเป็นมัสยิดเท่านั้นและถือว่าใชไม่ได้ในการเอียะอ์ตีกาฟในสถานที่อื่นจากมัสยิด โรงเรียน ปอเนาะ (รร. ศาสนา) หรือสถานที่ละหมาดวันอีด และมีทรรศนะ (ที่อ่อน) เมื่อสตรีได้เตรียมสถานที่หนึ่งจากบ้านของนางเสมือนว่าเป็นมัสยิดเพื่อทำการละหมาดและสำหรับนางอนุญาตให้นางนั้นทำการเอียะตีกาฟ

ดู حاشية الباجوري على ابن قاسم الغزى เล่ม 1 หน้า 305 ตีพิมพ์ บินฮาลาบีย์


อัชเชคอาเหล่มอัลฟาเกียะห์ ซะอีด บิน มุฮัมหมัด บาอาลีย์ บาอิชน์ กล่าวว่า...

อนุญาตให้ปฏิบัติเป็นการส่วนตัว กับบรรดาทรรศนะของอุลามาอ์ และทรรศนะของศานุศิษย์อีหม่ามชาฟีอีย์ที่อ่อน หรือเป็นที่เลือกไว้ของบรรดาอีหม่ามมัซฮับอื่น

ดู البشرى الكريم بشرح مسائل التعليم  หน้า 44 ตีพิมพ์ ดารุลมินฮาจ


سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ ، أَشْهَدُ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتْوبُ إِلَيْكَ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือมินฮาจญุฏฎอลิบีนของท่านว่า

وَالْجَدِيدُ أَنَّهُ لَا يَصِحُّ اعْتِكَافُ امْرَأَةٍ فِي مَسْجِدِ بَيْتِهَا ، وَهُوَ الْمُعْتَزَلُ الْمُهَيَّأُ لِلصَّلَاةِ

ทัศนะใหม่ของอิมามอัชชาฟิอีย์(ที่ท่านได้วินิจฉัยในอียิตป์)  คือ  แท้จริงใช้ไม่ได้การที่ผู้หญิงทำการเอี๊ยะอฺติก๊าฟในสถานที่สุยูด(เพื่อทำละหมาด)ในบ้านของนาง  และสถานที่สุยูดในบ้านของนางนั้น  คือ  เป็นสถานที่ถูกจัดไว้เป็นเอกเทศน์ที่ถูกเตรียมไว้สำหรับละหมาด”

ในหนังสือทุกเล่มที่อธิบายหนังสือมินฮาจญุฏฏอลิบีนของอิมามอันนะวาวีย์  เช่น  หนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์, หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลมั๊วะห์ตาจญ์, หนังสือนิฮายะตุลมั๊วะห์ตาจญ์, หนังสืออัลก็อลยูบีย์ วะ อุมัยเราะห์, หนังสืออัสสิรอญุลวะฮ์ฮาจญ์  เป็นต้น  ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องการเอี๊ยะอฺติก๊าฟของสตรีไว้ทั้งสิ้น  แต่ผมจะหยิบยกจากหนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์  เพื่อบอกให้รู้ถึงทัศนะต่างๆ ของอิมามชาฟิอีย์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ครับ

ท่านอิมามอัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์  กล่าวอธิบายว่า

وَالْجَدِيدُ أَنَّهُ لَا يَصِحُّ اعْتِكَافُ امْرَأَةٍ فِي مَسْجِدِ بَيْتِهَا ، وَهُوَ الْمُعْتَزَلُ الْمُهَيَّأُ لِلصَّلَاةِ لِأَنَّهُ لَيْسَ بِمَسْجِدٍ بِدَلِيلِ جَوَازِ تَغْيِيرِهِ وَمُكْثِ الْجُنُبِ فِيهِ ، وَلِأَنَّ نِسَاءَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَرَضِيَ عَنْهُنَّ كُنَّ يَعْتَكِفْنَ فِي الْمَسْجِدِ وَلَوْ كَفَى بُيُوتُهُنَّ لَكَانَتْ لَهُنَّ أَوْلَى ، وَالْقَدِيمُ يَصِحُّ لِأَنَّهُ مَكَانُ صَلَاتِهَا كَمَا أَنَّ الْمَسْجِدَ مَكَانُ صَلَاةِ الرَّجُلِ

ทัศนะใหม่ของอิมามอัชชาฟิอีย์(ที่ท่านได้วินิจฉัยในอียิตป์)   คือ  แท้จริงใช้ไม่ได้การที่ผู้หญิงทำการเอี๊ยะอฺติก๊าฟในสถานที่สุยูด(เพื่อทำละหมาด)ในบ้านของนาง  และสถานที่สุยูดในบ้านของนางนั้น  คือเป็นสถานที่ถูกจัดไว้เป็นเอกเทศน์ที่ถูกเตรียมไว้สำหรับละหมาด  เพราะสถานที่ดังกล่าวนั้นไม่ใช่มัสยิด  ด้วยการอ้างหลักฐานที่ว่า  อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่นั้น(ให้เป็นสถานที่สำหรับใช้การอย่างอื่น)ได้ และคนมีญุนุบก็หยุดพักอยู่ได้,  และเพราะว่าบรรดาภริยาของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมวะร่อฎิยัลลอฮุอันฮุนนฺ นั้น  พวกนางต่างก็ทำการเอี๊ยะติก๊าฟในมัสยิด  และถ้าหากในบ้านของพวกนางเป็นที่เพียงพอ(แก่การเอี๊ยะอฺติก๊าฟแล้ว)  แน่นอนว่า(การเอี๊ยะอฺติก๊าฟ)ที่บ้านของพวกนางย่อมดีกว่า

และทัศนะเก่าของอิมามอัชชาฟิอีย์(ที่ท่านได้วินิจฉัยไว้ที่อีรัก)  คือใช้ได้(การที่ผู้หญิงทำการเอี๊ยะอฺติก๊าฟในสถานที่สุยูดเพื่อทำละหมาดในบ้านของนาง) เพราะสถานที่ถูกจัดไว้เป็นเอกเทศน์ที่ถูกเตรียมไว้สำหรับละหมาดนั้น  เหมือนกับมัสยิดที่เป็นสถานที่ละหมาดสำหรับผู้ชาย” มุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์, เล่ม 2 หน้า 608.

วัลลอฮุอะลัม
 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
แสดงว่า ฟัตวาข้างต้น อ้างจาก "ทัศนะเก่าของอิมามอัชชาฟิอีย์ (ที่ท่านได้วินิจฉัยไว้ที่อีรัก)" สิครับ แล้วไม่ทราบว่าทัศนะไหนที่มีน้ำหนักมากกว่า หรือเป็นทัศนะที่ได้ถูกเลือกเฟ้นไว้ในมัฑฮับชาฟิอีย์ครับ - วัสสลามุอลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
แสดงว่า ฟัตวาข้างต้น อ้างจาก "ทัศนะเก่าของอิมามอัชชาฟิอีย์ (ที่ท่านได้วินิจฉัยไว้ที่อีรัก)" สิครับ แล้วไม่ทราบว่าทัศนะไหนที่มีน้ำหนักมากกว่า หรือเป็นทัศนะที่ได้ถูกเลือกเฟ้นไว้ในมัฑฮับชาฟิอีย์ครับ - วัสสลามุอลัยกุม

ทัศนะใหม่ของอิมามชาฟิอีย์ครับ  ที่มีน้ำหนักมากกว่า  เนื่องจากมีหลักฐานที่มีน้ำหนักมากกว่า  ถึงหากแม้ว่าทัศนะก่อดีม(เก่าของอิมามชาฟิอีย์) จะบอกว่า "เพราะสถานที่ถูกจัดไว้เป็นเอกเทศน์ที่ถูกเตรียมไว้สำหรับละหมาดนั้น  เหมือนกับมัสยิดที่เป็นสถานที่ละหมาดสำหรับผู้ชาย"

แต่ทัศนะคำกล่าวญะดีด(ใหม่)นั้น  มีข้อคัดค้าน  ซึ่งท่านอัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์  ได้นำเสนอข้อคัดค้านว่า

وَأَجَابَ الْأَوَّلَ بِأَنَّ الصَّلَاةَ لَا تَخْتَصُّ بِمَوْضِعٍ بِخِلَافِ الِاعْتِكَافِ

"และทัศนะใหม่ตอบกลับไปว่า  แท้จริงการละหมาดนั้นไม่ได้เจาะจงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง(คือจะละหมาดที่ใดก็ได้ จะละหมาดที่บ้าน ที่โรงเรียน ก็ได้) ซึ่งแตกต่างกับการเอี๊ยะอฺติก๊าฟ(ซึ่งจะไปเอี๊ยะอฺติก๊าฟตามสถานที่ใดตามที่ต้องนั้นไม่ได้แต่ต้องเอี๊ยะอฺติก๊าฟที่มัสยิดเท่านั้น)" มุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์, เล่ม 2 หน้า 608.

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

สตรีนางหนึ่ง ต้องการเอียะติกาฟที่บ้านของนาง ในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมาฎอน นางจะทำอย่างไร ??

ตอบ..

   ให้นางพักอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่จัดเตรียมเอาไว้โดยเฉพาะในบ้านของนาง และให้นางทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา อยู่ที่บริเวณที่นางได้จัดเตรียมเอาไว้นั้น โดยนางอย่าได้ออกจากบริเวณตรงนั้นตลอดช่วงที่นางได้ทำการเนียตเอียะติกาฟ โดยปลีกตัวอย่างสันโดษอยู่ตรงนั้น เพื่อทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา ซึ่งขณะที่นางกำลังเอียะติกาฟอยู่ที่บริเวณนั้น ก็ให้นางซิกรุลลอฮฺให้มากๆ อ่านอัล-กุรอานให้มากๆ และให้นางสาละวนอยู่กับสิ่งต่างๆ ที่เป็นอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ตะอาลาให้มากๆ เนื่องจากโอกาสที่นางจะได้เอียะติกาฟแบบนี้ ไม่ได้มีหลายครั้งในหนึ่งปี นอกจากแค่ช่วงนี้เท่านั้น ที่นางจะสามารถกระทำได้

   และในช่วงที่นางกำลังเอียะติกาฟอยู่นั้น นางจะต้องไม่ดูโทรทัศน์ ไม่ฟังวิทยุ ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ,นิตยสาร หรือวารสารต่างๆ และอย่าได้คุยในสิ่งที่ไร้สาระ นอกจากในสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้จิตใจมุ่งมั่นอยู่กับการอ่านอัล-กุรอาน ,การซิกรุลลอฮฺ และสิ่งอื่นๆ ที่เป็นอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา

ดู ตำรา فتاوى المرأة المسلمة  โดย ด็อกเตอร์ อะลีย์ ญุมอะฮฺ อัช-ชาฟิอีย์ มุฟตีย์ใหญ่แห่งประเทศอียิปต์ หน้าที่ 85



ฟัตวาของอัลลามะฮ์ ชัยค์ อะลี ญุมอะฮ์ นี้  ยังคุณประโยชน์สำหรับสตรีอย่างมาก  ไม่มีความเสียหายแต่ประการใด แม้ท่านจะเลือกฟัตวาทัศนะที่ฎออีฟตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์  แต่เป็นทัศนะที่มีน้ำหนักของมัซฮับหะนะฟีย์  ดังนั้นท่านชัยค์ อะลี ญุมอะฮ์  ได้ฟัตวาให้กับทุกมัซฮับนั่นเอง

ในตำราของมัซฮับหะนะฟีย์ได้ให้คำนิยามของการเอี๊ยะติก๊าฟ ว่า

هُوَ لَبْثُ ذَكَرٍ فِي مَسْجِدٍ جَمَاعَةً أَوْ امْرَأَةٍ فِي مَسْجِدِ بَيْتِهَا بِنِيَّةٍ

“คือการอยู่ของผู้ชายในมัสยิดที่ละหมาดญะมาอะฮ์หรือการอยู่ของผู้หญิงในสถานที่สุญูดในบ้านของนาง ด้วยการเหนียต(เอี๊ยะอฺติก๊าฟ)” ดู อัลลามะฮ์ อิบนุ อาบิดีน, ฮาชียะฮ์ ร็อดดุลมั๊วะห์ตาร เล่ม 2 หน้า 483-484.

แต่ถ้าหากแม้ว่าสตรีที่เอี๊ยะอฺติก๊าฟในสถานที่เตรียมไว้สำหรับละหมาดในบ้านนั้นใช้ไม่ได้ตามทัศนะใหม่ของอิมามชาฟิอีย์  แต่การหาช่วงเวลาปลีกตนเองของสตรีในการทำการซิกรุลลอฮ์  ทำการอ่านอัลกุรอาน และทำอิบาดะฮ์อื่นๆ อย่างมากมายนั้น  ก็อยู่ในความหมายของการ "ค็อลวะฮ์" (ปลีกตนเองเพื่อทำอิบาดะฮ์)  ซึ่งสมควรกระทำในช่วงสิบวันสุดท้ายของร่อมะฎอน

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged