ผู้เขียน หัวข้อ: การแต่งงานที่พยายามหนีวาลี (บิดามีแต่หนีไปแต่งงานที่ไกล)  (อ่าน 6141 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะมาตุลลอฮฺ วะบารอกาตุ

เห็นมีแต่มุสลีมินเข้ามาให้ความเห็นกันอย่างเต็มท่ีเลย

มุสลิมะฮฺขอแชร์ความคิดเห็นด้วยนะคะ
ผิดพลาดยังไงก็ชี้แจงด้วยนะคะ...

ในประสบการณ์ชีวิต เจอเหตุการณ์เช่นนี้มาให้พบเห็น
จนบ่อยมากค่ะ...หมายถึงเหตุการณ์ที่ชาวบ้าน
เรียกกันว่า "ชิงสุกก่อนห่าม"
ส่วนในทางศาสนา เรียกว่า การทำซินาในช่วงที่ยังไม่พร้อม
หรือยังไม่ได้แต่งงานกัน...จะด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่น่ะค่ะ

ที่เรียกเช่นนั้น เพราะพ่อเคยบอกว่า
เขาเปรียบกับมะม่วงค่ะ
มะม่วงที่อร่อย ต้องห่ามก่อนสุก...
แต่ถ้าชิงสุกเสียก่อนที่มะม่วงผลนั้นจะห่ามนั้น
มันจะไม่อร่อย...

ซึ่งหมายถึง เราต้องรอคอยค่ะ
รอเวลาให้ผลมันห่ามเสียก่อน
แล้วเมื่อมันสุก มันก็จะหอมหวานอร่อย น่ารับประทาน...
และคุ้มค่าแก่การรอคอย...

ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะเรานั้น ไม่ได้ตั้งมั่นอยู่บนความอดทน
ยอมปล่อยให้นัฟซูพาเราไปยังทางที่ผิด...

อัลลอฮฺสร้างธรรมชาติของมนุษย์แต่ละคนมาไม่แตกต่างกัน
และสร้างสติปัญญากับจิตใจมาให้คอยยับยั้งชั่งใจ...
ว่าอะไรถูกอะไรผิด ให้เรารู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี
อะไรไม่ดีก็ให้หลีกเลี่ยง...

ข้าน้อยเคยแนะนำน้องคนหนึ่งขณะที่เขายังเรียนไม่จบ
และอายุยังน้อยอยู่มาก น้อยมากจนไม่อาจจะให้เขา
แต่งงานในตอนนั้นได้จริงๆ...

เหตุผลง่ายๆก็คือ...

1.เขายังไม่พร้อมที่จะเป็นแม่คน...
หญิงที่จะแต่งงาน ต้องนึกถึงเหตุผลของการแต่งงานว่า
เราจะหนีการไม่มีลูกไม่ได้ ศาสนาให้แต่งงานเพื่อการใด

2.เขายังไม่พร้อมที่จะดูแลชีวิตตัวเอง ยังไม่พร้อม
ที่จะเป็นแม่บ้าน ไม่พร้อมที่จะดูแลใคร เพราะแค่ตัวเอง
เขายังไม่อาจดูแลได้...

3.ยังเรียนไม่จบ เรียนในที่นี้ หมายถึง ความรู้
ความสามารถของเขายังน้อยพอๆกับอายุ...
แล้วถ้าไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถ เขาจะเอาอะไร
เลี้ยงลูกที่จะเกิดมา...น้ำนมของแม่จะมีได้
แม่ต้องมีของกินที่ดี

พอถามเขาว่า เขาพร้อมจะเป็นแม่คนหรือยัง
คำตอบคือ ความเงียบ...

เมื่อเราไม่พร้อมที่จะเป็นแม่คน เราจะทำอย่างไร
กับตัวเราได้ นอกจาก อดทน ซอบัรฺ และคอยเวลา
ให้พร้อม...แม้ฝ่ายชายจะเร่งรัดเราแค่ไหน
เราก็ต้องพยายามแข็งใจ...ไม่ใช่เพราะอะไร
แต่เพราะการแต่งงานไม่ใช่เรื่องง่ายๆ....

มันไม่ได้จบแค่คนๆนึงรักกันแล้วก็จูงมือกัน
เข้าพิธีแต่งงาน แล้วเรื่องราวจะจบเพียงแค่นั้น...

การแต่งงานคือ การเริ่มต้นของการใช้ชีวิตคู่...
ที่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสักนิดเดียว...

หากเราเฉลียวใจสักนิด เราจะรู้ว่า ถ้าเราพร้อม
เขาพร้อม ทุกอย่างพร้อม แล้วด้วยอนุมัตของอัลลอฮฺ
ประชาชาติมุสลิมรุ่นต่อๆมาจะมีคุณภาพแค่ไหน...

หลายครั้งที่ข้าน้อยบอกว่าให้เราอดทนรอ
คนที่อดทนมากๆ อัลลอฮฺรัก และอัลลอฮฺจะตอบแทนให้
ซึ่งสิ่งที่ดีกว่า...

เพราะเรามีเหตุผลที่ทนรอ...

อัลลอฮฺรักเรา พ่อแม่ก็รักเรา...
เราลองหันมองสักนิด
ว่าเหตุใด พ่อแม่ถึงห้ามเราจากคนๆนั้น

เหตุใดพ่อแม่ถึงไม่พอใจคนๆนั้นที่เรารัก

แค่เขาจน ไม่ได้รวยหรือมีเหตุผลที่มากกว่านั้น...

หวนคิดสักนิดว่าถ้าเราทำร้ายจิตใจพ่อแม่
ทำให้พ่อแม่อับอาย แล้ววันนึงลูกของเรา
ก็กลับมาทำกับเราเช่นนั้น เราจะยอมรับได้ไหม...
เราจะเสียใจไหม...

หากลูกทุกคน ไม่สนใจจิตใจพ่อแม่ อยากทำร้ายพ่อแม่
ให้เจ็บช้ำน้ำใจ ให้อับอาย
บาปที่ทำกับพ่อแม่นั้นไม่ได้หายไปไหน
วันนึง ยามที่ท่านมีลูก ลูกก็จะทำอย่างที่ท่านทำกับพ่อแม่
เพราะอัลลอฮฺจะไม่ประวิงเวลาให้กับผู้ที่เนรคุณพ่อแม่...
เขาจะได้ลิ้มรสชาตินั้นในดุนยานี้...

พ่อเคยบอกว่า...

พ่อจะให้ลูกๆตัดสินใจเรื่องมะฮัรด้วยตนเอง...
แต่พ่อขอ...ขอให้ลูกๆทุกคน เลือกคนที่อีหม่าน
เป็นอันดับแรก...และการจะได้คนดีมีอีหม่านนั้น
ไม่ใช่เรื่องง่าย...อัลลอฮฺจะให้คนดีมีอีหม่าน
แก่ผู้ที่พระองค์ทรงรักและประสงค์...
และหากเราอยากได้คนดีมีอีหม่่าน เราจะต้องเป็นคนดี
มีอีหม่านด้วย...ต้องรู้จักอดทนรอคอยของขวัญ
จากอัลลอฮฺอย่างไม่มีสิ้นหวังในความเมตตา...
แล้วจงเก็บใจและรักษากายเอาไว้ให้ดีไว้รอคนๆนั้น...
วันใดที่ได้มา เราจะรู้ว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนกับการรอคอย...

บอกตามตรงเลยค่ะ ว่าไม่ค่อยเห็นด้วยกับการแต่งงาน
ที่พ่อแม่ไม่มีโอกาสได้รับรู้...
เหมือนเราลืมบุคคลสำคัญที่สุดในชีวิตไป...
หรือจริงๆแล้ว เราไม่เคยให้ความสำคัญ
กับผู้ที่ให้กำเนิดเรามา...ถึงทำแบบนั้นกับท่านทั้งสอง
ได้ลงคอ...

สำหรับข้าน้อย...ไม่ว่าชีวิตจะถูกทดสอบด้วยกับอะไร
มามากแค่ไหน แต่อย่างไรก็ตาม บุคคลสองคน
ที่ข้าน้อยจะคิดถึงเป็นลำดับถัดมาจากอัลลอฮฺก็คือ
พ่อกับแม่...

หากท่านไม่พอใจ อัลลอฮฺก็จะไม่พอใจเราด้วย...

เรื่องที่พ่อแม่บางท่านเรียกสินสอด(ขอเรียกว่าสินสอด
เพราะว่า มะฮัรกับสินสอด มันมีความหมายที่แตกต่างกัน)
มากจนว่าที่ลูกเขยถึงกับหนักอกหนักใจนั้น

เชื่อว่า ถ้าว่าที่ลูกเขยรู้จักการเจรจา หาข้อตกลงที่ดี
และทำให้ท่านทั้งสองเห็นถึงความดีของท่าน
เห็นถึงความตั้งใจดีของท่าน ทำให้ท่านรู้ว่า
ท่านสามารถดูแลลูกสาวของท่านได้ดีไม่น้อยไปกว่าท่าน
ข้าน้อยเชื่อว่า พ่อแม่ที่ดีและรักลูกอย่างแท้จริง
ก็คงจะยอมรับในตัวของท่านได้...

นอกเสียจากว่าท่านไม่มีอะไรไปพิสูจน์ให้ท่านทั้งสองเห็นเลย
ว่าท่านมีดีอะไรบ้าง...นอกเสียจากว่า
พาลูกสาวของท่านทั้งสองออกนอกลู่นอกทาง...

คนเราถ้ารักกันจริง ก็ควรจะพากันไปสู่หนทางที่ดี...
มิใช่หรือคะ...

และที่สำคัญ...เราต้องเรียนรู้ที่จะรอคอยให้ได้...
เพราะการพิสูจน์ตัวเองให้ใครคนนึงยอมรับได้นั้น
มันต้องใช้เวลาค่ะ...

วัยรุ่นนั้นมักใจร้อนค่ะ แต่เมื่อเวลาผ่านไป
วัยรุ่นที่ว่่าก็จะแก่ตัวขึ้น แล้ววันที่แก่ตัวขึ้น
ท่านจะได้รับบทเรียนบางอย่างในชีวิต
ว่าไม่ควรด่วนตัดสินใจอะไรง่ายๆเพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบ
และวันนั้นท่านจะร้องไห้คร่ำครวญเสียใจอย่างหนัก
กับบางอย่างที่ท่านตัดสินใจพลาดไปด้วยอารมณ์ล้วนๆ...

เรื่องบางเรื่อง มันใหญ่เกินที่เราจะเอาแค่อารมณ์
มาตัดสิน...เราต้องมององค์ประกอบอื่นๆด้วยน่ะค่ะ...

บางคน....ถึงกับหลุดปากออกมาว่า...

...น่าเสียดาย เราน่าจะอดใจรออีกสักนิด...
...จะได้ไม่ต้องมาเจอไม้งามเมื่อวันที่ขวานบิ่น...



และถ้าไม่ตายเสียก่อน เชื่อว่า เราคงได้แต่งงานกันทุกคน...

อินชาอัลลอฮฺ...

อิอิอิ...


ปล. มาให้อย่างยาวตามเคยค่ะ...
หากผิดพลาดประการใด...โปรดชี้แนะด้วยนะคะ...

วัสสลามค่ะ

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged