ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์คำพูดที่ว่า "สิ่งดีที่ศาสนาไม่ห้ามก็ย่อมทำได้"  (อ่าน 1780 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ความหมายของ “บิดอะฮ์หะสะนะฮ์”
โดยอัลฟฏอนีย์ ดารุสสลาม


          “สิ่งดีที่ศาสนาไม่ห้ามก็ย่อมทำได้” มักจะถูกอ้างโดยฝ่ายที่มีทัศนะว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์”  (อุตริกรรมที่ดี) ซึ่งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็มักจะคัดค้านอย่างหัวชนฝาอยู่เสมอเช่นกัน แต่อะไรคือความหมายที่แท้จริงของคำพูดข้างต้น แล้วมันเกี่ยวโยงอย่างไรกับบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ เราจะมาทำความเข้าใจในเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ร่วมกัน

          แท้จริงคำพูดข้างต้นตามความหมายของฝ่ายที่มีทัศนะว่ามีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น หมายถึงเฉพาะแค่ส่วนของ “วิธีการหนึ่งวิธีการใด” ที่จะนำไปสู่การตอบสนองตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติที่ถูกบ่งชี้ไว้ใน “ลักษณะเชิงกว้าง” โดยไม่มีหลักฐานใดๆ มา “ยกเว้น” หรือ “เจาะจง” หรือ “ห้าม” วิธีการหนึ่งวิธีการใดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับการปฏิบัติตามหลักฐานที่มีลักษณะเชิงกว้างนั้น ซึ่งไม่ได้หมายถึงในส่วนที่เป็น “เนื้อหาแห่งบทบัญญัติ” หรือ “สิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติวิธีการปฏิบัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว” แต่ประการใดไม่

          ตัวแปร หรือกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้วิธีการใดๆ ในการปฏิบัติต่อหลักฐานเชิงกว้างจากเดิมที่ “อนุญาต” (มุบาหฺ) ไปเป็นบิดอะฮ์ “หะสะนะฮ์” (ดี) หรือ “เฎาะลาละฮ์” (หลงผิด) นั้นก็คือ “นียะฮ์” (เจตนา) และ “อิอ์ติกอด” (หลักยึดมั่น) ของผู้ปฏิบัติตามหลักฐานเชิงกว้างนั้นเอง

          ดังนั้น หากผู้ที่ปฏิบัติตามหลักฐานเชิงกว้างได้นียะฮ์และอิอ์ติกอดว่าวิธีการที่เขาทำอยู่นั้น “มาจากศาสนา หรือต้องทำเฉพาะวิธีนี้ วิธีอื่นไม่ได้” แล้ว เขาก็จะต้องยกหลักฐานที่ชัดเจนจากศาสนามายืนยันตามที่เขาอ้างไว้นั้นให้ได้ เพราะทุกเรื่องในศาสนาจะต้องมีหลักฐานจากศาสนารองรับอยู่เสมอ แต่หากไม่มี ก็จะต้องปฏิเสธไปอย่างสิ้นเชิงเสีย เพราะจะถือว่าเป็น “บิดอะฮ์เฎาะลาละฮ์” (อุตริกรรมที่หลงผิด) ด้วยเหตุที่เขาได้พาดพิงวิธีการดังกล่าวไปยังศาสนา ทั้งที่ศาสนาไม่ได้บัญญัติเช่นนั้นไว้เลย แม้วิธีการนั้นจะดีแค่ไหนก็ตามในความคิดของเขา

          ในขณะเดียวกัน หากผู้ที่ปฏิบัติตามหลักฐานเชิงกว้างนั้นได้นียะฮ์และอิอ์ติกอดเพียงแค่ว่า “เป็นวิธีการหนึ่งที่สะดวก และคิดว่ามีประสิทธิภาพดีที่สุดในการตอบสนองต่อบทบัญญัติที่มีลักษณะเชิงกว้างนั้นโดยอาศัยตามบริบท สภาพ หรือประสบการณ์ที่เขาเคยประสบ หรือกำลังประสบอยู่” พร้อมกับ “ไม่ได้นียะฮ์และอิอ์ติกอด” ว่า “วิธีการนั้นมาจากศาสนา หรือต้องทำเฉพาะวิธีนี้ วิธีอื่นไม่ได้” เช่นนี้ก็ย่อมไม่มีปัญหา ดังนั้น หากมีการคัดค้านวิธีการหนึ่งวิธีการใดในการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงกว้างดังกล่าวแล้ว ทางฝ่ายที่คัดค้านก็จะต้องยกหลักฐานที่ชัดเจนจากศาสนามายืนยันให้ได้ว่าวิธีการนั้น/นี้ได้ถูกห้ามมาจากศาสนา หรือศาสนาได้เจาะจงวิธีการปฏิบัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว แต่หากไม่มี ก็ย่อมไม่บังควรที่เขาจะกล่าวหาผู้ที่ปฏิบัติต่อหลักฐานเชิงกว้างด้วยวิธีการหนึ่งวิธีการใดนั้น ว่าได้กระทำ “บิดอะฮ์เฎาะลาละฮ์” ตราบเท่าที่ผู้กระทำนั้นไม่ได้นียะฮ์และอิอ์ติกอดว่าวิธีการดังกล่าวมาจากศาสนา หรือต้องปฏิบัติเช่นนั้นเท่านั้น เพราะการเจาะจงห้ามบางวิธีการในการปฏิบัติต่อหลักฐานเชิงกว้างโดยไม่มีหลักฐานชัดเจนจากศาสนาที่ได้ห้ามวิธีการนั้นไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ก็ย่อมถือว่าเป็นการบัญญัติข้อห้ามในศาสนาเสียเอง  และถือเป็น “บิดอะฮ์เฎาะลาละฮ์” (อุตริกรรมที่หลงผิด) อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะเราต่างก็ทราบกันดีว่า ข้อบังคับ หรือข้อห้ามใดๆ ในทางศาสนานั้นจะต้องมีหลักฐานชัดเจนจากศาสนาที่รองรับถึงการบังคับ หรือห้ามนั้นเสมอ แต่หากไม่มี ก็ย่อมถือเป็นการบัญญัติในสิ่งที่ศาสนาไม่ได้บัญญัติไว้ ซึ่งต้องพึงระวังยิ่ง

          อนึ่ง ประเด็นที่ว่า “หลักการเดิมในเรื่องอิบาดะฮ์นั้นเป็นที่ต้องห้าม ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดว่ามีการสั่ง หรืออนุญาตให้กระทำได้” นั้น หมายถึงข้อห้ามในส่วนที่เป็น “เนื้อหาแห่งบทบัญญัติ” หรือ “สิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติวิธีการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว” แต่ไม่ได้หมายถึงข้อห้ามในส่วนที่เป็น “วิธีการหนึ่งวิธีการใดที่ศาสนาไม่ได้เจาะจงยกเว้น หรือสั่ง หรือห้ามปฏิบัติในการตามหลักฐานเชิงกว้างนั้นไว้” ดังนั้น เพื่อคงความหมายเชิงกว้างตามที่ศาสนาบัญญัติไว้ดังเดิมนั้น จึงห้ามมีการเจาะจงยกเว้น หรือสั่ง หรือห้ามวิธีการหนึ่งวิธีการใดจนกว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า ศาสนาได้บัญญัติไว้เช่นดังกล่าวแล้วในการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงกว้างนั้น

          ส่วนทางฝ่ายที่กังวลว่าเกรงจะเกิดการนียะฮ์ หรืออิอ์ติกอดที่ผิดพลาดในเรื่องนี้ ก็ควรตักเตือนกันแต่โดยดีอย่างฉันท์มิตร และไม่ด่วนสรุป หรือตัดสินว่าผิดในสิ่งที่ตัวเองก็ยังไม่ได้เข้าใจถึงลักษณะการอ้างหลักฐานของอีกฝ่ายต่อสิ่งนั้นอย่างเต็มเปี่ยมแต่ประการใด แต่อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายที่ปฏิบัติตามหลักฐานเชิงกว้างนั้นเอง ก็พึงต้องระมัดระวังและหมั่นตรวจสอบนียะฮ์และอิอ์ติกอดของตนเองอยู่เสมอว่า ได้ดำเนินการมาถูกต้องแล้วหรือยัง หากไม่ ก็พึงสำนึกผิด กลับตัวและรีบปรับให้ถูกต้องเสีย แต่หากถูกแล้ว ก็พึงระวังอย่าให้เกิดการหันเหออกจากความถูกต้องนั้นเสียด้วย

          อนึ่ง สำหรับอิบาดะฮ์ที่ศาสนาได้กำหนดวิธีการไว้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะในด้านเวลา และจำนวน เป็นต้นก็ตาม ก็จำเป็นที่เราจะต้องดำเนินไปตามนั้นโดยไม่มีการปรับแก้ ลด หรือเพิ่มเติมใดๆ ต่อวิธีการดังกล่าวแม้แต่น้อย เว้นแต่บางวิธีการที่ถูกระบุไว้นั้นไม่ชัดเจน ที่ทำให้เข้าใจได้หลายแง่มุม ซึ่งในส่วนนี้ ก็อาจมีความแตกต่างกันได้ แต่ต้องเป็นความแตกต่างที่ตั้งอยู่บนหลักวิชาการศาสนาที่ได้ผ่านการวินิจฉัย (อิจติฮาด) โดยผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาเท่านั้น ไม่ใช่เกิดจากกิเลส หรือความดื้อรั้นต่อสัจธรรมของตนเองแต่ประการใดทั้งสิ้น - วัลลอฮุอะอ์ลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 18, 2011, 09:41 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
บทความนี้ ผมเขียนขึ้นจากความเข้าใจส่วนตัว เพื่ออยากจะชี้จุดว่าส่วนไหนกันแน่ที่เราหมายถึง "บิดอะฮ์หะสะนะฮ์" อย่างน้อยก็อยากให้พี่น้องบางท่านที่ยังหลงประเด็น หรือยังสับสนในเรื่องนี้ให้มองภาพออกได้ในระดับ ก็อยากให้ท่านผู้รู้ ช่วยชี้แจงเพิ่มเติมไปอีกก็ยิ่งเป็นการดีครับ, และหากผิดพลาดประการใดก็ชี้แนะกันได้ครับผม - วัสสลามุอลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
ถ้าเช่นนั้นคุณ อัลฟาตอนี จำเป็นต้องแก้โจทน์จากคำพูดของอิบนุอุมัรต่อไปนี้ให้เคลียร์ด้วย

كلُّ بدعة ضلالة وإن رآها النّاسُ حسنة
ทุกๆบิดอะฮฺล้วนเป็นสิ่งหลงทาง ถึงแม้มนุษย์จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 18, 2011, 10:27 PM โดย GeT »

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
ถ้าเช่นนั้นคุณ อัลฟาตอนี จำเป็นต้องแก้โจทน์จากคำพูดของอิบนุอุมัรต่อไปนี้ให้เคลียร์ด้วย

كلُّ بدعة ضلالة وإن رآها النّاسُ حسنة
ทุกๆบิดอะฮฺล้วนเป็นสิ่งหลงทาง ถึงแม้มนุษย์จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม

            ผมเข้าใจว่า มันหมายถึง การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงกว้าง ซึ่งผู้ปฏิบัติได้ "นียะฮ์และอิอ์ติกอด" ว่าวิธีการที่เขาทำอยู่นั้น “มาจากศาสนา หรือต้องทำเฉพาะวิธีนี้ วิธีอื่นไม่ได้” แล้ว ทั้งที่ศาสนาก็ไม่ได้บัญญัติ หรือเจาะจงไว้เช่นนั้น ฉะนั้น ส่วนที่เป็น "บิดอะฮ์เฎาะลาละฮ์" จึงหมายถึง "นียะฮ์และอิอ์ติกอด" ของเขานั่นเอง ในกรณีนี้หมายถึงเฉพาะ “วิธีการหนึ่งวิธีการใด” ที่จะนำไปสู่การตอบสนองตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติที่ถูกบ่งชี้ไว้ใน “ลักษณะเชิงกว้าง” โดยไม่มีหลักฐานใดๆ มา “ยกเว้น” หรือ “เจาะจง” หรือ “ห้าม” วิธีการหนึ่งวิธีการใดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับการปฏิบัติตามหลักฐานที่มีลักษณะเชิงกว้างนั้น ... วัลลอฮุอะอ์ลัม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 :salam:

บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ต้องไม่ทำลายหลักซุนนะฮ์เดิมที่มีตัวบทระบุไว้  เนื่องจากแก่นแท้ของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ก็คือซุนนะฮ์นั่นเอง  ดังนั้นซุนนะฮ์ต้องไม่มาทำลายหลักซุนนะฮ์เดิม  เช่น  บางคนพูดว่า  เรามาละหมาดซุฮ์ริ 6 ร็อกอะฮ์กันเถอะเพราะนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ได้ห้าม  คำพูดแบบนี้ถือว่าไม่ถูกต้องและเข้าใจ  เนื่องจากละหมาด 6 ร็อกอะฮ์ทำลายหลักเดิมคือ 4 ร็อกอะฮ์ แบบนี้บิดอะฮ์ฎ่อลาละฮ์อย่างแน่นอน      
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
จำเป็นต้องแก้โจทน์จากคำพูดของอิบนุอุมัรต่อไปนี้ให้เคลียร์ด้วย

كلُّ بدعة ضلالة وإن رآها النّاسُ حسنة
ทุกๆบิดอะฮฺล้วนเป็นสิ่งหลงทาง ถึงแม้มนุษย์จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม

หมายถึง ทุกๆ บิดอะฮ์ที่ขัดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์นั้น เป็นสิ่งหลงทาง  ถึงแม้มนุษย์จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามก็ตาม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ abiatiya

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 316
  • Respect: +17
    • ดูรายละเอียด
    • Nurul Islam Patong
อ่านแล้ว อื่ม 
จำเป็นต้องแก้โจทน์จากคำพูดของอิบนุอุมัรต่อไปนี้ให้เคลียร์ด้วย

كلُّ بدعة ضلالة وإن رآها النّاسُ حسنة
ทุกๆบิดอะฮฺล้วนเป็นสิ่งหลงทาง ถึงแม้มนุษย์จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม

หมายถึง ทุกๆ บิดอะฮ์ที่ขัดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์นั้น เป็นสิ่งหลงทาง  ถึงแม้มนุษย์จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงามก็ตาม

สั้นและชัดเจน...

Jazakallah สำรับบทความดีๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 19, 2011, 10:57 AM โดย zaal »
(\__/)
(='.'=) ไม่มีอะไรสายเกินกว่า 8 โมงเช้า...
(")_(")

ออฟไลน์ anti-bid'ah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 839
  • ไม่รู้ อย่าเสือกชี้
  • Respect: +29
    • ดูรายละเอียด
:salam:

บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ต้องไม่ทำลายหลักซุนนะฮ์เดิมที่มีตัวบทระบุไว้  เนื่องจากแก่นแท้ของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ก็คือซุนนะฮ์นั่นเอง  ดังนั้นซุนนะฮ์ต้องไม่มาทำลายหลักซุนนะฮ์เดิม  เช่น  บางคนพูดว่า  เรามาละหมาดซุฮ์ริ 6 ร็อกอะฮ์กันเถอะเพราะนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ได้ห้าม  คำพูดแบบนี้ถือว่าไม่ถูกต้องและเข้าใจ  เนื่องจากละหมาด 6 ร็อกอะฮ์ทำลายหลักเดิมคือ 4 ร็อกอะฮ์ แบบนี้บิดอะฮ์ฎ่อลาละฮ์อย่างแน่นอน      

เคยอ่านเจอในบทความภาษาอังกฤษ ผู้เขียนบอกว่า บิดอะฮฺ คือ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงของที่มีอยู่เดิมในเรื่องอิบาดาต

เช่น มักริบเดิมเป็นอิบาดาตที่มี ๓ รอกาอาต  เราจะริเริ่มทำมักริบเป็น ๔ รอกากาต ดังนั้นการทำ

 ๔ รอกาอาตนั้นเป็นบิดอะฮฺ
رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
:salam:

บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ต้องไม่ทำลายหลักซุนนะฮ์เดิมที่มีตัวบทระบุไว้  เนื่องจากแก่นแท้ของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ก็คือซุนนะฮ์นั่นเอง  ดังนั้นซุนนะฮ์ต้องไม่มาทำลายหลักซุนนะฮ์เดิม  เช่น  บางคนพูดว่า  เรามาละหมาดซุฮ์ริ 6 ร็อกอะฮ์กันเถอะเพราะนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่ได้ห้าม  คำพูดแบบนี้ถือว่าไม่ถูกต้องและเข้าใจ  เนื่องจากละหมาด 6 ร็อกอะฮ์ทำลายหลักเดิมคือ 4 ร็อกอะฮ์ แบบนี้บิดอะฮ์ฎ่อลาละฮ์อย่างแน่นอน      

เคยอ่านเจอในบทความภาษาอังกฤษ ผู้เขียนบอกว่า บิดอะฮฺ คือ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงของที่มีอยู่เดิมในเรื่องอิบาดาต

เช่น มักริบเดิมเป็นอิบาดาตที่มี ๓ รอกาอาต  เราจะริเริ่มทำมักริบเป็น ๔ รอกากาต ดังนั้นการทำ

 ๔ รอกาอาตนั้นเป็นบิดอะฮฺ

           ก็เป็นบิดอะฮ์เฎาะลาละฮ์ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงรากฐานเดิมของอิบาดะฮ์นั้นนั่นเอง ...
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ al-ciddix

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 93
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
ถ้าเช่นนั้นคุณ อัลฟาตอนี จำเป็นต้องแก้โจทน์จากคำพูดของอิบนุอุมัรต่อไปนี้ให้เคลียร์ด้วย

كلُّ بدعة ضلالة وإن رآها النّاسُ حسنة
ทุกๆบิดอะฮฺล้วนเป็นสิ่งหลงทาง ถึงแม้มนุษย์จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม

แต่ผมเข้าใจว่า
 ::)หากบังเก็ต ยึดคำพูดของซอฮาบะท่านนี้ ก็ย่อมชี้แสดงให้เห็นว่าบังเก็ตเองก็ตามซุนนะเกาลียะของท่านอิบนุอุมัร(รด)ซึ่งไม่ใช่ซุนนะเกาลียะของท่านนบี(ซ.ล)โดยตรง
ดังนั้นบังเก็ตก็ควรยึดคำพูดอื่นๆของซอฮาบะท่านนี้ด้วยเช่นกันที่ว่า
            จากท่านอิบนุมัสอูด(ร.ฏ.) ท่านกล่าวว่า

      ما رأه المسلمون حسن فهو عند الله حسن
  "สิ่งที่บรรดามุสลิมมีนเห็นว่ามันดีนั้น มันก็ย่อมเป็น ตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ด้วย"

............................. และต้องรวมถึงคำพูดของซอฮาบะท่านอื่นๆด้วยที่พวกเขาเหล่านั้นเข้าใจว่าบิดอะนั้นมีทั้งฮาซนะ(ที่ไม่ขัดกับกีตาบุลลอและอัซซุนนะ)

เช่นท่านอุมัร(รด)ท่านอิบนุอุมัร(รด)เป็นต้น
และในขณะเดียวกันท่านอิบนุอุมัร(รด)ที่บังเก็ตนำซุนนะเกาลียะของท่านมาอ้างนั้นกลับกระทำบิดอะเสียเองซึ่งทั้งซุนนะเฟียละลียะและซุนนะเกาลียะนั้นก็คือหลักฐานต่อไปนี้

รายงานโดย อิบนุอบีชัยบะฮ์ ด้วยสายรายงานที่ซอฮิหฺ จาก อัลหะกัม บิน อะอฺร๊อจฐฺ จากท่านอัลอะอฺร๊อจญฺ เขากล่าวว่า

سألت ابن عمرعن صلاة الضحى ؟ فقال : بدعة ونعمت البدعة

" ฉันได้ถาม ท่านอิบนุอุมัร จากเรื่องละหมาด ดุฮา ท่านอิบนุอุมัรกล่าวว่า มันเป็นบิดอะฮ์ และเป็นบิดอะฮ์ที่ดี " ดู อัลมุซันนัฟ ของอิบนุอบีชัยบะฮ์ เล่ม 2 หน้า 406 อัลมั๊วะญัม อัลกะบีร ของท่าน อัฏฏ๊อบรอนีย์ หะดิษที่ 13524 และฟัตหุลบารีย์ เล่ม 3 หน้า 45

บังเก็ตครับ นี่้คือหลักฐานจากท่านอิบนุอุมัร (ร.ฏ.) ที่ชี้ถึงการแบ่งบิดอะฮ์  เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ด้วย จึงเป็นการแน่นอนว่าอิบนุอุมัร(รด)ซึ่งเป็นอุลามะที่ของซอฮาบะย่อมที่จะเข้าใจในเรื่องของบิดอะได้ดีกว่าพวกเรา

และจากท่าน อับดุร ร๊อซฺซฺาก ได้รายงาน โดยสายรายงานที่ซอฮิหฺ จาก ซาลิมบินอับดิลลาฮฺ จากบิดาของเขา คือท่านอับดุลลอฮ์บุตรอุมัร ได้กล่าวว่า

لقد قتل عثمان وما أحد يسبحها وما أحدث الناس شيئا أحب إلي منها

"ขอสาบาน ว่าแท้จริง ท่านอุษมานถูกสังหารไปแล้ว โดยที่ไม่มีคนใดเลย ที่ได้ทำาการละหมาดดุฮา และไม่มีสิ่งใด ที่ผู้คนได้กระทำมันขึ้นมาใหม่ อันเป็นที่รักสำหรับข้าพเจ้ายิ่ง ไปกว่าละหมาดดุฮา"  ดู อัลมุซอลนัฟ ของท่านอับดุรร๊อซฺซฺาก เล่ม 3 หน้า 78 หะดิษที่ 4868

และสายรายงานเหล่านี้ ท่านอิบนุหะญัร ได้ยืนยันความซอฮิหฺไว้ (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 3 หน้า 52)

  ผมขอย้ำว่า   การละหมาดดุฮานั้นเป็นซุนนะฮ์  แต่ท่านอิบนุอุมัร  ได้กล่าวว่าเป็นบิดอะฮ์ในเชิงรูปแบบการละหมาดดุฮาเป็นญะมาอะฮ์ในมัสยิด ซึ่งท่านถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ดี่   

       ดังนั้น การที่บังเก็ตอ้างคำพูดท่านอิบนุอุมัร(รด) มาคัดค้านในเรื่องการแบ่งประเภทของบิดอะ คือจุดบอดอีกข้อหนึ่งของผู้ที่เข้าใจในคำนิยามเรื่องบิดอะฮเดียวโดยไม่แบ่งแยก  ซึ่งย่อมฟังไม่ขึ้นเช่นกัน เพราะมันได้ถูกตอบโต้อย่างเป็นรูปธรรมจากอุลามะของซอฮาบะ(รด)อย่างอิบนุอุมัร(รด)ไปแล้ว
         
 หมายความว่า เอามาเป็นหลักฐานมาสนับสนุนในการปฏิเสธเรื่องของการแบ่งบิดอะฮไม่ได้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 22, 2011, 11:46 PM โดย webmaster »

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
สิ่งที่ผมอยากทราบเกี่ยวกับเืรื่อง "บิดอะฮ์" มากที่สุึดตอนนี้ก็คือ คำนิยามและขอบเขตของมัน ว่าแค่ไหนถึงจะเรียกว่า "บิดอะฮ์" และแค่ไหนที่เรียกว่ายังเป็น "สุนนะฮ์" อยู่ เพราะตำราบางเล่มที่เคยอ่าน ก็จำกัดแค่ว่า

         - เมื่อนบีย์ ศ็อลฯ ไม่ทำ ก็เป็นบิดอะฮ์ทันที
         - บางเล่มก็รวมนบีย์ ศ็อลฯ และคุละฟาอุรรอชิดีน
         - บางเล่มก็รวมนบีย์ ศ็อลฯ, คุละฟาอุรรอชิดีน และรวมถึงเศาะหาบะฮ์ทั่วไปด้วย

           ตกลงเราจะยึดขอบเขตอันไหนดีครับ แล้วขอบเขตอันไหนที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุด

         - แล้วคำว่า "ไม่มีในศาสนา" นี้ ซึ่งคำว่า "ศาสนา" (ชะรออ์) ในที่นี้หมายถึงใคร หมายถึงอัลลอฮฺกับเราะสูลเท่านั้น หรือรวมไปถึงการอิจติฮาดของบรรดาอุละมาอ์ด้วย และมีขอบเขตกว้างแค่ไหน ใครเข้าในนี้บ้าง - วัสสลามุอลัยกุม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 24, 2011, 08:42 AM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

 

GoogleTagged