ผู้เขียน หัวข้อ: หะดีษ “ฉันคือนครแห่งความรู้ และอะลีคือประตูของนครแห่งความรู้นั้น"  (อ่าน 1560 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Deeneeyah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 800
  • Respect: +8
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.alisuasaming.com/

الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛


 "أَنَامَدِيْنَةُ الْعِلْمِ وعلىٌّ بَابُهَا فَمَنْ أَرَادَ الْعِلْمَ فَلْيأتِ الْبَابَ"
“ฉันคือนครแห่งความรู้ และอะลีคือประตูของนครแห่งความรู้นั้น ฉะนั้นผู้ใดต้องการความรู้ ผู้นั้นก็จงมายังประตูนั้น”



อิหม่าม อัต-ติรมิซียฺ บันทึกหะดีษนี้จากหะดีษของท่านอะลี (ร.ฎ.) และกล่าวว่า : เป็นหะดีษ เฆาะรีบ มุงกัร หะดีษนี้มีทั้งหมด 5 สายรายงาน ทุกสายรายงานอ่อนทั้งหมด


อัล-เคาะฏีบ รายงานจาก อิบนุ อับบาส (ร.ฎ.) มี 10 สายรายงาน แต่ไม่มีสายใดเลยที่เศาะฮีหฺ


อัล-หากิม บันทึกไว้ใน อัล-มุสตัดรอก และกล่าวว่าเศาะฮีหฺ แต่ อัซ-ซะฮฺบียฺ วิจารณ์การตัศฮีหฺของอัล-หากิม และกล่าวว่า เป็นหะดีษเมาวฺฎูอฺ (ริสาละฮฺ ฟี อัร-ร็อดฺ อะลัร-รอฟิเฎาะฮฺ ; อบูหามิด มุฮัมหมัด อัล-มักดีสียฺ หน้า 230)


ยะหฺยา อิบนุ มะอีน กล่าวว่า : หะดีษนี้เป็นเรื่องโกหกไม่มีต้นตอที่มา


อิบนุ อะดียฺ กล่าวว่า : หะดีษนี้เมาวฺฎูวฺ รู้ได้ด้วย อบี อัศ-ศอลตฺ


อบูหาติม อิบนุ ฮิบบาน กล่าวว่า : หะดีษนี้ไม่มีที่มาจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม)


อะหฺมัด อิบนุ หัมบัล ถูกถามถึงหะดีษนี้ เขากล่าวว่า : ขออัลลอฮฺให้ อบา อัศ-ศอลตฺ เป็นคนอัปลักษณ์


อัล-บุคอรียฺ กล่าวว่า : ไม่มีประเด็นที่ถูกต้องสำหรับหะดีษนี้


อัด-ดาเราะกุฏนียฺ กล่าวว่า : เป็นหะดีษมุฏเฏาะริบ ไม่แน่ชัด


อิบนุ อัล-เญาซียฺ กล่าวว่า : ไม่มีต้นตอที่มาและนับหะดีษนี้รวมอยู่ในตำรา อัล-เมาวฺฎูอาต (ดู กิตาบ อัล-เมาวฺฎูอาต ; อิบนุลเญาวฺซียฺ 1/265, อัล-มะกอศิด อัล-หะสะนะฮฺ ; อัส-สะคอวียฺ หน้า 170, กัชฟุลเคาะฟาอฺ ; อัล-อิจญลูนียฺ 1/205)


อิบนุ ตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : การโกหกรู้ได้จากตัวบทของอัล-หะดีษ เพราะแท้จริงท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) เมื่อปรากฏว่าท่านเป็นนครแห่งความรู้ และนครนี้ก็ไม่มีประตูนอกจากประตูเดียว และไม่มีผู้ใดนำความรู้จากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) มาเผยแพร่นอกจากคนๆ เดียว เรื่องราวของอิสลามก็เสียหายหมด (มินฮาญุสสุนนะฮฺ 4/138)



กล่าวคือ กิตาบุลลอฮฺ และสุนนะฮฺของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) นั้นได้รับการถ่ายทอดแบบมุตะวาติร คือมีผู้รายงานในแต่ละรุ่นอย่างท่วมท้น โดยเฉพาะอัล-กุรอานนั้นมีเงื่อนไขและคุณสมบัติที่ถูกกำหนดว่าจะต้องรายงานถ่ายทอดมาจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) แบบมุตะวาติร มิใช่เพียงคนๆ เดียว



อีกทั้งโดยข้อเท็จจริง ท่านอะลี (ร.ฎ.) ก็ไม่ได้อยู่ร่วมกับท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ในทุกเหตุการณ์ และท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ก็มิได้ถ่ายทอดหลักคำสอนของศาสนาให้แก่ท่านอะลี (ร.ฎ.) เพียงคนเดียว หากเป็นตามอย่างที่พวกเขากล่าวโดยอาศัยหะดีษบทนี้แล้ว บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่มีอยู่จำนวนมากมายนั้นเล่า ท่านจะสั่งสอนเขาทำไม เพราะสอนไปแล้วพวกเขาก็ไม่มีสิทธิเป็นประตูแห่งความรู้อย่างที่ท่านอะลี (ร.ฎ.) ได้รับสิทธินั้นแต่เพียงผู้เดียว



ทุกครั้งที่อายะฮฺอัล-กุรอานถูกประทานลงมา ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) จะอ่านอายะฮฺนั้นให้บรรดาเศาะหาบะฮฺที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้นฟัง และท่านก็จะเรียกบรรดาผู้บันทึกวะฮียฺมาทำการจดบันทึกโดยบอกแก่พวกเขาว่า อายะฮฺนั้นๆ จะอยู่ตรงไหนในสูเราะฮฺอะไร เศาะหาบะฮฺบางท่านคอยปรนิบัติท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) อย่างท่าน อะนัส อิบนุ มาลิก เป็นต้น



ซึ่งในหลายๆ เหตุการณ์เศาะหาบะฮฺที่ทำหน้าที่ใกล้ชิดเหล่านี้จะรู้ถึงการปฏิบัติของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) แล้วก็รายงานถ่ายทอดให้รู้ว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ทำอย่างไร ซึ่งแน่นอนท่านอะลี (ร.ฎ.) ไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์เหล่านั้นทุกครั้งไป นี่ยังไม่รวมเหตุการณ์ต่างๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นแล้วมีการวางบัญญัติทางศาสนาเนื่องจากเหตุการณ์นั้น



หากบรรดาเศาะหาบะฮฺที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์เหล่านั้นไม่เป็นที่ยอมรับในการเอาความรู้จากเหตุการณ์ที่พวกเขาร่วมอยู่ด้วย เพราะพวกเขามิใช่ประตูของนครแห่งความรู้อย่างท่านอะลี (ร.ฎ.) หลักคำสอนอันเป็นบัญญัติของศาสนาที่ปรากฎในคำพูดและการกระทำตลอดจนการยอมรับของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) จะสูญเสียไปมากน้อยเพียงใด



และคำสั่งของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่ใช้ให้ผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์นำเอาไปบอกผู้ที่ไม่ได้อยู่ร่วมด้วย หรือใช้ให้เผยแผ่จากท่านสู่ผู้อื่น จะมีประโยชน์อันใดในเมื่อความรู้ทางศาสนาเป็นสิทธิของท่านอะลี (ร.ฎ.) เพียงผู้เดียวในฐานะประตูที่นบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) สั่งใช้ว่า “ผู้ใดต้องการความรู้ ก็ให้ผู้นั้นมายังประตูนั้น” เพราะไม่มีประตูอื่นอีกสำหรับความรู้อันมากมายมหาศาลของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม)



บรรดาหัวเมืองสำคัญๆ ของชาวมุสลิมในยุคต้นอิสลาม ไม่ว่าจะเป็น มะดีนะฮฺ มักกะฮฺ ชาม บัศเราะฮฺ ยะมัน และเมืองในแอฟริกาเหนือ พวกเขาเรียนรู้หลักการของศาสนาจากบรรดาเศาะหาบะฮฺและชนรุ่นถัดมาที่พำนักอยู่ในที่เหล่านั้นมากกว่าที่พวกเขาเรียนรู้จากท่านอะลี (ร.ฎ.)



ที่เมืองยะมันพวกเขาเรียนรู้หลักการของศาสนาจากท่านมุอาซฺ อิบนุ ญะบัล (ร.ฎ.) ซึ่งเป็นผู้ที่ท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ส่งไปสอนศาสนาที่นั่นเช่นเดียวกับท่านอะลี (ร.ฎ.) แต่ชาวยะมันก็รายงานจากท่าน มุอาซฺ (ร.ฎ.) มากกว่ารายงานจากท่าน อะลี (ร.ฎ.) หรือท่าน ชุรอยหฺ ซึ่งเป็นตาบิอีนรุ่นอาวุโส ในช่วงการเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่านอบูบักร (ร.ฎ.) ท่านอุมัร (ร.ฎ.) และท่านอุษมาน (ร.ฎ.)



พลเมืองมุสลิมในหัวเมืองของรัฐอิสลามเรียนรู้และถ่ายทอดคำสอนของศาสนาก่อนที่ท่านอะลี (ร.ฎ.) จะดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ พลเมืองกูฟะฮฺในอิรักก็เรียนรู้ศาสนามาก่อนที่ท่านอะลี (ร.ฎ.) จะย้ายฐานบัญชาการของท่านไปที่นั่นมาก่อนแล้ว



หากถือตามสมมุติฐานที่ว่า “ความรู้ของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่ถูกต้องจำเป็นจะต้องมาจากท่านอะลี (ร.ฎ.) แต่เพียงผู้เดียวเพราะท่านเป็นประตูเพียงบานเดียวของนครแห่งความรู้นั้น” แล้ว การถือศาสนาที่ถ่ายทอดมาจากเศาะหาบะฮฺท่านอื่นนั้นจะมีสภาพอย่างไร ความรู้ของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่ถ่ายทอดสั่งสอนผ่านระยะเวลามากกว่า 20 ปี ให้แก่บรรดาเศาะหาบะฮฺท่านอื่นๆ นั้นกลายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องกระนั้นหรือ พลเมืองในอดีตเหล่านั้นจะกลายเป็นผู้หลงผิดกระนั้นหรือ



เหตุนี้เองท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) จึงวิพากษ์หะดีษบทนี้ว่าเป็นการกุเรื่องของพวกนอกรีต (ซินดีก) ที่โง่เขลาเพราะหากมองผิวเผินก็อาจจะเข้าใจได้ว่า หะดีษนี้เป็นการเยินยอสถานภาพของท่านอะลี (ร.ฎ.) แต่ในเนื้อแท้ของมันแล้วคือการเปิดช่องให้พวกนอกรีตโจมตีหลักคำสอนของศาสนาอิสลามว่าถ่ายทอดผ่านบุคคลเพียงคนเดียวเท่านั้น


والله اعلم بالصواب
وصلى الله على سيدنا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين


ที่มา : http://www.alisuasaming.com/index.php/webbord/32--/2025
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 30, 2011, 08:25 AM โดย Deeneeyah »

كُلَّمَاأَدَّبَنِى الدّه    رُأََرَانِى نَقْصَ عَقْلِى    وإذاماازْدَدْتُ عِلْمًا   زَادَنِى عِلْمًابِجَهْلِى
 
ทุกครั้งคราที่กาลเวลาได้สอนสั่งฉัน  ฉันก็เห็นว่าตัวฉันปัญญาพร่อง  และเมื่อใดที่ฉันได้เพิ่มพูนความรู้  มันก็เพิ่มความรู้ว่าฉันโง่เขลา



ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
ชีอะฮ์บางพวกเชื่อว่า ภารกิจสำคัญที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งนบีย์มุหัมมัด ศ็อลฯ ขึ้นมาก็คือ เพื่อมาแจ้งให้ทราบว่า อลีย์เป็นอิมามหลังจากท่านเท่านั้น ... แสดงว่าภารกิจในการเรียกร้องมนุษย์สู่เตาหี้ดของอัลลอฮฺมันไม่สำคัญเท่าใช่ไหม ???
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

 

GoogleTagged